สธ. เตือนภัยโรคพิษสุนัขบ้าพบได้ตลอดปี เป็นโรคร้ายแรงป่วยแล้วเสียชีวิต 100 เปอร์เซ็นต์ ทั่วโลกพบผู้เสียชีวิตปีละไม่ต่ำกว่า 50,000 ราย ส่วนไทยปีที่แล้วมี 6 ราย ชี้โรคนี้ป้องกันได้ด้วยวัคซีนโดยฉีดในสัตว์เลี้ยงทุกปี ส่วนในคนหากถูกสุนัขหรือแมวกัด ข่วน ให้รีบล้างแผลด้วยน้ำสะอาด และพบแพทย์เพื่อรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคทันที
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า โรคพิษสุนัขบ้า(Rabies) เป็นโรคร้ายแรงที่พบได้ตลอดปี โรคนี้มีความเป็นพิเศษต่างจากโรคอื่นๆ คือ หากติดเชื้อจนมีอาการป่วยจะไม่สามารถรักษาให้หายได้ ต้องเสียชีวิตทุกราย แต่โรคนี้ป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนในสัตว์เลี้ยง และในคนหลังถูกสุนัข หรือแมวกัด แต่ละปีทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้กว่า 50,000 คน ประเทศไทยสัตว์ที่แพร่เชื้อมากที่สุดคือ สุนัข พบผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าทุกปี ในปี 2556 มี 6 ราย ทุกรายถูกสุนัขกัด และไม่ได้ฉีกวัคซีนหลังถูกกัด จึงนับว่าโรคนี้ยังเป็นปัญหาอยู่ เนื่องจากอัตราการฉีดวัคซีนป้องกันในสุนัขบางพื้นที่ครอบคลุมไม่ถึงร้อยละ 80 ของสุนัขในพื้นที่ ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก ซึ่งคาดว่าทั่วประเทศมีประชากรสุนัขประมาณ 7 ล้านตัว ในแต่ละปีคนไทยถูกสุนัขกัดไม่ต่ำกว่า 1 ล้านคน ในจำนวนนี้ประมาณร้อยละ 50 เท่านั้นที่มารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรค
นพ.ณรงค์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุข ได้เร่งสร้างพื้นที่ในชนบท และเขตเมืองทั่วประเทศให้ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า ตั้งเป้าครบ 100 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี 2558 เพื่อกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปจากประเทศภายใน พ.ศ.2563 ตามเป้าที่อนามัยโลก และองค์การควบคุมโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศกำหนด โดยร่วมมือกับกรมปศุสัตว์ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสุนัขตั้งแต่อายุ 3 เดือนขึ้นไป ครอบคลุมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ของสุนัขที่มีในหมู่บ้าน ขึ้นทะเบียนการเลี้ยงทุกหลังคาเรือน และทำหมัน เพื่อควบคุมจำนวนสุนัข โดยเฉพาะสุนัขจรจัด และให้เจ้าของนำสุนัขไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคทุกปี
ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า โรคพิษสุนัขบ้า หรือโรคกลัวน้ำ เกิดจากเชื้อไวรัส ก่อโรคในสัตว์เลือดอุ่นเลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดเช่น สุนัข แมว วัว ควาย ลิง ชะนี เป็นต้น ในไทยพบว่าสุนัขป่วยเป็นโรคนี้มากที่สุดร้อยละ 96 รองลงมาคือ แมว เชื้อติดต่อสู่คนจากการถูกสัตว์ที่เป็นโรคกัด ข่วน เลีย น้ำลายกระเด็นเข้าทางตา ปาก หรือบาดแผลตามผิวหนัง โดยเชื้อไวรัสจะเพิ่มจำนวนที่บริเวณแผลถูกกัด หลังจากนั้นประมาณ 3 สัปดาห์-4 เดือน จะมีอาการป่วย บางรายอาจเร็วเพียง 4 วัน การป่วยจะช้า หรือเร็วขึ้นอยู่กับจำนวนเชื้อที่เข้าไป ตำแหน่งบาดแผล หากอยู่ใกล้สมอง เชื้อจะเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลาง หรือเข้าสู่สมองได้เร็ว ผู้ป่วยจะมีอาการคลุ้มคลั่ง ดุร้าย กระวนกระวาย หากเชื้อเข้าสู่ไขสันหลังจะทำให้สมอง และไขสันหลังทำงานผิดปกติ มีอาการอัมพาต และเสียชีวิตในที่สุด
ปัจจุบันยังไม่มียาใดที่รักษาโรคพิษสุนัขบ้าได้ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคพิษสุนัขบ้าแล้วจะเสียชีวิตทุกราย แต่สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน หากถูกสุนัขกัด ถูกเล็บข่วน หรือถูกเลียบริเวณที่มีบาดแผล ขอให้รีบล้างแผลด้วยน้ำสะอาด และไปพบแพทย์ทันทีเพื่อรับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ในสถานพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่ใกล้ที่สุด ทั้งนี้ อาการของสุนัขที่ป่วยเป็นโรคพิษสุนัขบ้าที่สังเกตง่ายคือ สุนัขจะมีอารมณ์หงุดหงิด หางตก น้ำลายไหล อาจมีอาการคล้ายคล้ายกระดูก หรือก้างติดคอ ซึ่งอาจทำให้เจ้าของเข้าใจผิด เอามือไปล้วงที่ปาก คลำหาก้าง หรือกระดูก หากพบสุนัขมีอาการดังกล่าวขอให้นึกถึงโรคพิษสุนัขบ้า และแยกสุนัขไว้ไม่ให้คลุกคลีกับสุนัขอื่น หรือคน และแจ้งปศุสัตว์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทันที
ด้านนพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณภัยด้านการแพทย์และสาธารณสุขกรณีการชุมนุมทางการเมืองของกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากการประเมินผลการปฏิบัติงานของทีมแพทย์กู้ชีพในรอบ 24ชั่วโมง มีผู้บาดเจ็บเพิ่ม 2 ราย ที่นำส่งรักษาที่โรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ ตรวจอาการและเย็บแผลให้กลับบ้านแล้ว
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ความคืบหน้าของการจัดบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขดูแลกลุ่มผู้ชุมนุมทางการเมืองและผู้ชุมนุมชาวนาว่า ได้จัดทีมแพทย์กู้ชีพชั้นสูง จากโรงพยาบาลบ้านหมี่ จ.ลพบุรี ปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับสภากาชาด และโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว จ.สระแก้ว เตรียมพร้อมดูแลผู้ชุมนุมในพื้นที่ ร่วมกับโรงพยาบาลราชวิถี นพรัตนราชธานี และเลิดสิน และปฏิบัติกู้ชีพขั้นพื้นฐาน เตรียมพร้อมดูแล คือบริเวณสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เมืองทองธานี โดยปฏิบัติงานร่วมกับมูลนิธิร่วมกตัญญู มูลนิธิป่อเต็กตึ้ง เตรียมพร้อมทีมแพทย์ฯ พร้อมให้การสนับสนุน
"ส่วนกรณีของผู้ชุมนุมชาวนาที่กระทรวงพาณิชย์ สนามบินน้ำ ได้มอบให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี และโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า โดยปฏิบัติงานร่วมกับมูลนิธิร่วมกตัญญู มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง และทีมมูลนิธิกู้ชีพในพื้นที่ ติดตามดูแลการเจ็บป่วยและให้ทุกจังหวัดที่มีการชุมนุมทางการเมืองและการชุมนุมของชาวนา จัดทีมแพทย์ดูแลทุกจุด" ปลักสธ. กล่าว
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า โรคพิษสุนัขบ้า(Rabies) เป็นโรคร้ายแรงที่พบได้ตลอดปี โรคนี้มีความเป็นพิเศษต่างจากโรคอื่นๆ คือ หากติดเชื้อจนมีอาการป่วยจะไม่สามารถรักษาให้หายได้ ต้องเสียชีวิตทุกราย แต่โรคนี้ป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนในสัตว์เลี้ยง และในคนหลังถูกสุนัข หรือแมวกัด แต่ละปีทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้กว่า 50,000 คน ประเทศไทยสัตว์ที่แพร่เชื้อมากที่สุดคือ สุนัข พบผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าทุกปี ในปี 2556 มี 6 ราย ทุกรายถูกสุนัขกัด และไม่ได้ฉีกวัคซีนหลังถูกกัด จึงนับว่าโรคนี้ยังเป็นปัญหาอยู่ เนื่องจากอัตราการฉีดวัคซีนป้องกันในสุนัขบางพื้นที่ครอบคลุมไม่ถึงร้อยละ 80 ของสุนัขในพื้นที่ ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก ซึ่งคาดว่าทั่วประเทศมีประชากรสุนัขประมาณ 7 ล้านตัว ในแต่ละปีคนไทยถูกสุนัขกัดไม่ต่ำกว่า 1 ล้านคน ในจำนวนนี้ประมาณร้อยละ 50 เท่านั้นที่มารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรค
นพ.ณรงค์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุข ได้เร่งสร้างพื้นที่ในชนบท และเขตเมืองทั่วประเทศให้ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า ตั้งเป้าครบ 100 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี 2558 เพื่อกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปจากประเทศภายใน พ.ศ.2563 ตามเป้าที่อนามัยโลก และองค์การควบคุมโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศกำหนด โดยร่วมมือกับกรมปศุสัตว์ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสุนัขตั้งแต่อายุ 3 เดือนขึ้นไป ครอบคลุมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ของสุนัขที่มีในหมู่บ้าน ขึ้นทะเบียนการเลี้ยงทุกหลังคาเรือน และทำหมัน เพื่อควบคุมจำนวนสุนัข โดยเฉพาะสุนัขจรจัด และให้เจ้าของนำสุนัขไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคทุกปี
ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า โรคพิษสุนัขบ้า หรือโรคกลัวน้ำ เกิดจากเชื้อไวรัส ก่อโรคในสัตว์เลือดอุ่นเลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดเช่น สุนัข แมว วัว ควาย ลิง ชะนี เป็นต้น ในไทยพบว่าสุนัขป่วยเป็นโรคนี้มากที่สุดร้อยละ 96 รองลงมาคือ แมว เชื้อติดต่อสู่คนจากการถูกสัตว์ที่เป็นโรคกัด ข่วน เลีย น้ำลายกระเด็นเข้าทางตา ปาก หรือบาดแผลตามผิวหนัง โดยเชื้อไวรัสจะเพิ่มจำนวนที่บริเวณแผลถูกกัด หลังจากนั้นประมาณ 3 สัปดาห์-4 เดือน จะมีอาการป่วย บางรายอาจเร็วเพียง 4 วัน การป่วยจะช้า หรือเร็วขึ้นอยู่กับจำนวนเชื้อที่เข้าไป ตำแหน่งบาดแผล หากอยู่ใกล้สมอง เชื้อจะเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลาง หรือเข้าสู่สมองได้เร็ว ผู้ป่วยจะมีอาการคลุ้มคลั่ง ดุร้าย กระวนกระวาย หากเชื้อเข้าสู่ไขสันหลังจะทำให้สมอง และไขสันหลังทำงานผิดปกติ มีอาการอัมพาต และเสียชีวิตในที่สุด
ปัจจุบันยังไม่มียาใดที่รักษาโรคพิษสุนัขบ้าได้ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคพิษสุนัขบ้าแล้วจะเสียชีวิตทุกราย แต่สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน หากถูกสุนัขกัด ถูกเล็บข่วน หรือถูกเลียบริเวณที่มีบาดแผล ขอให้รีบล้างแผลด้วยน้ำสะอาด และไปพบแพทย์ทันทีเพื่อรับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ในสถานพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่ใกล้ที่สุด ทั้งนี้ อาการของสุนัขที่ป่วยเป็นโรคพิษสุนัขบ้าที่สังเกตง่ายคือ สุนัขจะมีอารมณ์หงุดหงิด หางตก น้ำลายไหล อาจมีอาการคล้ายคล้ายกระดูก หรือก้างติดคอ ซึ่งอาจทำให้เจ้าของเข้าใจผิด เอามือไปล้วงที่ปาก คลำหาก้าง หรือกระดูก หากพบสุนัขมีอาการดังกล่าวขอให้นึกถึงโรคพิษสุนัขบ้า และแยกสุนัขไว้ไม่ให้คลุกคลีกับสุนัขอื่น หรือคน และแจ้งปศุสัตว์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทันที
ด้านนพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณภัยด้านการแพทย์และสาธารณสุขกรณีการชุมนุมทางการเมืองของกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากการประเมินผลการปฏิบัติงานของทีมแพทย์กู้ชีพในรอบ 24ชั่วโมง มีผู้บาดเจ็บเพิ่ม 2 ราย ที่นำส่งรักษาที่โรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ ตรวจอาการและเย็บแผลให้กลับบ้านแล้ว
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ความคืบหน้าของการจัดบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขดูแลกลุ่มผู้ชุมนุมทางการเมืองและผู้ชุมนุมชาวนาว่า ได้จัดทีมแพทย์กู้ชีพชั้นสูง จากโรงพยาบาลบ้านหมี่ จ.ลพบุรี ปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับสภากาชาด และโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว จ.สระแก้ว เตรียมพร้อมดูแลผู้ชุมนุมในพื้นที่ ร่วมกับโรงพยาบาลราชวิถี นพรัตนราชธานี และเลิดสิน และปฏิบัติกู้ชีพขั้นพื้นฐาน เตรียมพร้อมดูแล คือบริเวณสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เมืองทองธานี โดยปฏิบัติงานร่วมกับมูลนิธิร่วมกตัญญู มูลนิธิป่อเต็กตึ้ง เตรียมพร้อมทีมแพทย์ฯ พร้อมให้การสนับสนุน
"ส่วนกรณีของผู้ชุมนุมชาวนาที่กระทรวงพาณิชย์ สนามบินน้ำ ได้มอบให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี และโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า โดยปฏิบัติงานร่วมกับมูลนิธิร่วมกตัญญู มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง และทีมมูลนิธิกู้ชีพในพื้นที่ ติดตามดูแลการเจ็บป่วยและให้ทุกจังหวัดที่มีการชุมนุมทางการเมืองและการชุมนุมของชาวนา จัดทีมแพทย์ดูแลทุกจุด" ปลักสธ. กล่าว