ชูญี่ปุ่นควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าได้ชะงัด ปลอดโรคมานานกว่า 50 ปี ชี้ขึ้นทะเบียนสุนัขทุกตัว พร้อมฝังไมโครชิป หากนำเข้าประเทศมีระบบตรวจสอบประวัติการฉีดวัคซีนแบบเข้มงวด พร้อมต้องอยู่สถานกักกัน 7 วัน ด้านมาเลเซียเน้นฉีดวัคซีนสุนัขชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน สธ.ตั้งเป้ากำจัดโรคให้หมด
วันนี้ (17 ก.ย.) นพ.ธวัชชัย กมลธรรม ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานจัดการประชุมโรคพิษสุนัขบ้านานาชาติของทวีปเอเชีย ครั้งที่ 4 กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่จัดขึ้นในประเทศไทย จัดโดยมูลนิธิโรคพิษสุนัขบ้าเอเชีย(Rabies of Asia) ร่วมกับ สธ.มีประเทศต่างๆ เข้าร่วมการประชุม 21 ประเทศ โดยที่ประชุมได้มีการพูดถึงประสบการณ์การป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในอดีต ย้อนหลัง 25 ปี โดย ดร.ฟรานซิส เมสลิน (Dr. F.X. Meslin) ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคพิษสุนัขบ้า องค์การอนามัยโลกสำนักงานใหญ่ และคาดการณ์การป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในอีก 25 ปีข้างหน้า โดย ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ นอกจากนี้ ยังได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ดีของแต่ละประเทศ ซึ่งประเทศไทยในฐานะที่เป็นแกนนำในการกวาดล้างโรคพิษสุนัขบ้าประสบความสำเร็จเป็นประเทศตัวอย่างที่ดีในกลุ่มประเทศที่ยังคงมีปัญหาโรคพิษสุนัขบ้าอยู่ แต่ที่น่าสนใจคือ มาเลเซีย และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า โดยเฉพาะญี่ปุ่นปลอดโรคพิษสุนัขบ้ามานานกว่า 50 ปี
นพ.ธวัชชัย กล่าวอีกว่า ญี่ปุ่นมีการขึ้นทะเบียนสุนัขทุกตัว มีการฝังไมโครชิปในสุนัข หากมีสุนัขเข้าประเทศเจ้าหน้าที่ต้องตรวจสอบประวัติการฉีดวัคซีนอย่างเข้มงวด และอยู่ในที่กักกันเป็นระยะเวลา 7 วัน ส่วนมาเลเซียมีการลงทะเบียนสุนัขทุกตัว มีมาตรการควบคุมการเคลื่อนย้ายสุนัข และแมว และมีกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคจากสัตว์สู่คนอย่างเข้มงวดหลายฉบับ โดยเฉพาะโรคพิษสุนัขบ้า นอกจากนี้ ยังมีมาตรการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าจากประเทศเพื่อนบ้านที่เข็มแข็ง ด้วยการให้วัคซีนแก่สุนัขทุกตัวที่อยู่บริเวณชายแดนของมาเลเซีย กับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อเป็นเขตกันชนไม่ให้โรคเข้าไปแพร่ภายในประเทศ (Immune Belt) ซึ่งจากประสบการณ์ของทั้ง 2 ประเทศ ทำให้นักวิชาการของประเทศต่างๆ สามารถนำประสบการณ์ที่ดีมาใช้ในการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศของตนต่อไป
“การประชุมในครั้งนี้มีข้อตกลงร่วมกันที่จะกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปจากเอเชีย ภายในปี พ.ศ.2563 (ค.ศ.2020) โดยแต่ละประเทศต้องมีนโยบายที่ชัดเจน และแผนปฏิบัติงาน 5 ปี ในการป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า เป็นแผนระดับประเทศ และทำงานร่วมกันระหว่าง สธ.กรมปศุสัตว์ และกรมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การดำเนินงานครอบคลุมทั้งคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งชุมชนและท้องถิ่นมีบทบาทหน้าที่ป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า โดยการสนับสนุนจาก สธ. และกรมปศุสัตว์” ผู้ตรวจ สธ.กล่าว
นพ.ธวัชชัย กล่าวด้วยว่า ด้านการเข้าถึงบริการนั้น รัฐต้องเตรียมพร้อมดูแล ป้องกันโรคในคน คนที่ถูกสุนัข หรือแมวบ้ากัด ให้ได้รับวัคซีนที่มีคุณภาพอย่างรวดเร็ว หลังถูกสัตว์กัด ส่วนสุนัขร้อยละ 70 ของสุนัขทั้งหมดต้องได้รับการฉีดวัคซีน รวมทั้งต้องควบคุมไม่ให้มีจำนวนสุนัขที่มากเกินไป นอกจากนี้ทุกประเทศต้องจัดให้มีห้องปฏิบัติการที่เพียงพอในการเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้าของประเทศ สำหรับประเทศไทยได้มีแผนการดำเนินงานตามข้อตกลงแล้ว โดยมีเป้าหมายการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสุนัขไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80
วันนี้ (17 ก.ย.) นพ.ธวัชชัย กมลธรรม ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานจัดการประชุมโรคพิษสุนัขบ้านานาชาติของทวีปเอเชีย ครั้งที่ 4 กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่จัดขึ้นในประเทศไทย จัดโดยมูลนิธิโรคพิษสุนัขบ้าเอเชีย(Rabies of Asia) ร่วมกับ สธ.มีประเทศต่างๆ เข้าร่วมการประชุม 21 ประเทศ โดยที่ประชุมได้มีการพูดถึงประสบการณ์การป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในอดีต ย้อนหลัง 25 ปี โดย ดร.ฟรานซิส เมสลิน (Dr. F.X. Meslin) ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคพิษสุนัขบ้า องค์การอนามัยโลกสำนักงานใหญ่ และคาดการณ์การป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในอีก 25 ปีข้างหน้า โดย ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ นอกจากนี้ ยังได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ดีของแต่ละประเทศ ซึ่งประเทศไทยในฐานะที่เป็นแกนนำในการกวาดล้างโรคพิษสุนัขบ้าประสบความสำเร็จเป็นประเทศตัวอย่างที่ดีในกลุ่มประเทศที่ยังคงมีปัญหาโรคพิษสุนัขบ้าอยู่ แต่ที่น่าสนใจคือ มาเลเซีย และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า โดยเฉพาะญี่ปุ่นปลอดโรคพิษสุนัขบ้ามานานกว่า 50 ปี
นพ.ธวัชชัย กล่าวอีกว่า ญี่ปุ่นมีการขึ้นทะเบียนสุนัขทุกตัว มีการฝังไมโครชิปในสุนัข หากมีสุนัขเข้าประเทศเจ้าหน้าที่ต้องตรวจสอบประวัติการฉีดวัคซีนอย่างเข้มงวด และอยู่ในที่กักกันเป็นระยะเวลา 7 วัน ส่วนมาเลเซียมีการลงทะเบียนสุนัขทุกตัว มีมาตรการควบคุมการเคลื่อนย้ายสุนัข และแมว และมีกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคจากสัตว์สู่คนอย่างเข้มงวดหลายฉบับ โดยเฉพาะโรคพิษสุนัขบ้า นอกจากนี้ ยังมีมาตรการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าจากประเทศเพื่อนบ้านที่เข็มแข็ง ด้วยการให้วัคซีนแก่สุนัขทุกตัวที่อยู่บริเวณชายแดนของมาเลเซีย กับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อเป็นเขตกันชนไม่ให้โรคเข้าไปแพร่ภายในประเทศ (Immune Belt) ซึ่งจากประสบการณ์ของทั้ง 2 ประเทศ ทำให้นักวิชาการของประเทศต่างๆ สามารถนำประสบการณ์ที่ดีมาใช้ในการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศของตนต่อไป
“การประชุมในครั้งนี้มีข้อตกลงร่วมกันที่จะกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปจากเอเชีย ภายในปี พ.ศ.2563 (ค.ศ.2020) โดยแต่ละประเทศต้องมีนโยบายที่ชัดเจน และแผนปฏิบัติงาน 5 ปี ในการป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า เป็นแผนระดับประเทศ และทำงานร่วมกันระหว่าง สธ.กรมปศุสัตว์ และกรมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การดำเนินงานครอบคลุมทั้งคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งชุมชนและท้องถิ่นมีบทบาทหน้าที่ป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า โดยการสนับสนุนจาก สธ. และกรมปศุสัตว์” ผู้ตรวจ สธ.กล่าว
นพ.ธวัชชัย กล่าวด้วยว่า ด้านการเข้าถึงบริการนั้น รัฐต้องเตรียมพร้อมดูแล ป้องกันโรคในคน คนที่ถูกสุนัข หรือแมวบ้ากัด ให้ได้รับวัคซีนที่มีคุณภาพอย่างรวดเร็ว หลังถูกสัตว์กัด ส่วนสุนัขร้อยละ 70 ของสุนัขทั้งหมดต้องได้รับการฉีดวัคซีน รวมทั้งต้องควบคุมไม่ให้มีจำนวนสุนัขที่มากเกินไป นอกจากนี้ทุกประเทศต้องจัดให้มีห้องปฏิบัติการที่เพียงพอในการเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้าของประเทศ สำหรับประเทศไทยได้มีแผนการดำเนินงานตามข้อตกลงแล้ว โดยมีเป้าหมายการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสุนัขไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80