กทม.มีหมาแมวจรจัดมากกว่า 1 แสนตัว เร่งตรวจสอบเข้าข่ายโรคพิษสุนัขบ้าหรือไม่ พบแล้วทั่วกรุงมี 27 ตัว ใน 8 เขต แนะนำสัตว์เลี้ยงฉีดวัคซีนป้องกัน มั่นใจ 4 ปี ทำกรุงเทพฯ เป็นเมืองปลอดโรคได้
วันนี้ (9 ก.ย.) พญ.วันทนีย์ วัฒนะ ผู้อำนวยการสำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวถึงแนวทางการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่กำลังมีการระบาดอยู่ในขณะนี้ของ กทม.ว่า สำนักอนามัยได้ออกให้บริการฉีดวัคซีนและทำหมันแก่สุนัข แมว และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกประเภท โดยมีจุดบริการอยู่ตามหน่วยงานสาธารณสุขทั้ง 50 เขต สำหรับสุนัขและแมวจรจัดซึ่งจากผลสำรวจในปี 2553 พบว่ามีจำนวน 102,490 ตัว กทม.ได้พยายามเข้าไปจัดการโดยให้หน่วยงานไปรวบรวมสัตว์จรจัดไปยังด้านกักกันสัตว์เขตประเวศ เพื่อสังเกตอาการว่าเข้าข่ายเป็นโรคพิษสุนัขบ้าหรือไม่ และหากพบว่าไม่เป็นจะดำเนินการทำหมันให้แก่สัตว์ และนำไปดูแลต่อที่ด้านกักกันสัตว์ทับทัน จ.อุทัยธานี ทั้งนี้เขตที่พบว่ามีสุนัขติดเชื้อพิษสุนัขบ้า ได้แก่ เขตลาดกระบัง 9 ตัว พระโขนง 5 ตัว บางนา 4 ตัว ประเวศ 4 ตัว ดุสิต 1 ตัว บางขุนเทียน 2 ตัว สายไหม 1 ตัว สวนหลวง 1 ตัว แต่ใน 2 ปีที่ผ่านมา ทาง กทม.ยังไม่พบประชาชนที่ติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า
พญ.วันทนีย์ กล่าวต่อว่า ควรนำสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นประจำทุกปี และเมื่อถูกสุนัขหรือแมวกัด อันดับแรกต้องล้างแผลด้วยน้ำสบู่และน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง หลังจากนั้นต้องรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อทำการตรวจดูว่าตำแหน่งแผลที่ถูกกัดนั้นอยู่บริเวณปลายประสาทหรือไม่ เช่นปลายนิ้ว ใบหน้า หากเป็นบริเวณดังกล่าวจะได้รับวัคซีนแอนตีบอดี หรือวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าทันที เพื่อไม่ให้เชื้อโรคลุกลามไปยังเส้นประสาทส่วนอื่นๆ และหากผู้ได้รับเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าแต่ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทันทีจะมีโอกาสเสียชีวิต 100 เปอร์เซ็นต์ สำหรับคนที่ไม่ได้ถูกกัดบริเวณปลายประสาท เช่น บริเวณน่อง ขา ทางแพทย์ก็จะทำการซักประวัติและฉีดวัคซีนให้ทั้งหมด 5 เข็ม โดยมีระยะเวลาการฉีดดังนี้ วันที่โดนกัดวันแรกจะได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 และในวันที่ 4 จะได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 วันที่ 7 จะได้รับวัคซีนเข็มที่ 3 วันที่ 21 ได้รับวัคซีนเป็นเข็มที่ 4 และวันที่ 30 จะได้รับวัคซีนป้องกันเข็มที่ 5
ทั้งนี้ภายในระยะเวลา 3-4 ปี ทาง กทม.จะรณรงค์ให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่ปลอดจากโรคพิษสุนัขบ้าตามเป้าหมายขององค์กรอนามัยโลก (WHO) และองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) โดยการขอความร่วมมือประชาชนที่มีสัตว์เลี้ยงอยู่ในความดูแลให้มีความรับผิดชอบต่อสัตว์เลี้ยงด้วยความใส่ใจ อีกทั้งนำสัตว์ไปฉีดว้คซีนโรคพิษสุนัขบ้าและทำหมันแก่สัตว์เลี้ยงเพื่อลดจำนวนพาหะนำโรค นอกจากนี้จะจัดการให้มีการจดทะเบียนสัตว์เลี้ยงเพื่อง่ายต่อควบคุมโรค
วันนี้ (9 ก.ย.) พญ.วันทนีย์ วัฒนะ ผู้อำนวยการสำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวถึงแนวทางการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่กำลังมีการระบาดอยู่ในขณะนี้ของ กทม.ว่า สำนักอนามัยได้ออกให้บริการฉีดวัคซีนและทำหมันแก่สุนัข แมว และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกประเภท โดยมีจุดบริการอยู่ตามหน่วยงานสาธารณสุขทั้ง 50 เขต สำหรับสุนัขและแมวจรจัดซึ่งจากผลสำรวจในปี 2553 พบว่ามีจำนวน 102,490 ตัว กทม.ได้พยายามเข้าไปจัดการโดยให้หน่วยงานไปรวบรวมสัตว์จรจัดไปยังด้านกักกันสัตว์เขตประเวศ เพื่อสังเกตอาการว่าเข้าข่ายเป็นโรคพิษสุนัขบ้าหรือไม่ และหากพบว่าไม่เป็นจะดำเนินการทำหมันให้แก่สัตว์ และนำไปดูแลต่อที่ด้านกักกันสัตว์ทับทัน จ.อุทัยธานี ทั้งนี้เขตที่พบว่ามีสุนัขติดเชื้อพิษสุนัขบ้า ได้แก่ เขตลาดกระบัง 9 ตัว พระโขนง 5 ตัว บางนา 4 ตัว ประเวศ 4 ตัว ดุสิต 1 ตัว บางขุนเทียน 2 ตัว สายไหม 1 ตัว สวนหลวง 1 ตัว แต่ใน 2 ปีที่ผ่านมา ทาง กทม.ยังไม่พบประชาชนที่ติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า
พญ.วันทนีย์ กล่าวต่อว่า ควรนำสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นประจำทุกปี และเมื่อถูกสุนัขหรือแมวกัด อันดับแรกต้องล้างแผลด้วยน้ำสบู่และน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง หลังจากนั้นต้องรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อทำการตรวจดูว่าตำแหน่งแผลที่ถูกกัดนั้นอยู่บริเวณปลายประสาทหรือไม่ เช่นปลายนิ้ว ใบหน้า หากเป็นบริเวณดังกล่าวจะได้รับวัคซีนแอนตีบอดี หรือวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าทันที เพื่อไม่ให้เชื้อโรคลุกลามไปยังเส้นประสาทส่วนอื่นๆ และหากผู้ได้รับเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าแต่ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทันทีจะมีโอกาสเสียชีวิต 100 เปอร์เซ็นต์ สำหรับคนที่ไม่ได้ถูกกัดบริเวณปลายประสาท เช่น บริเวณน่อง ขา ทางแพทย์ก็จะทำการซักประวัติและฉีดวัคซีนให้ทั้งหมด 5 เข็ม โดยมีระยะเวลาการฉีดดังนี้ วันที่โดนกัดวันแรกจะได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 และในวันที่ 4 จะได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 วันที่ 7 จะได้รับวัคซีนเข็มที่ 3 วันที่ 21 ได้รับวัคซีนเป็นเข็มที่ 4 และวันที่ 30 จะได้รับวัคซีนป้องกันเข็มที่ 5
ทั้งนี้ภายในระยะเวลา 3-4 ปี ทาง กทม.จะรณรงค์ให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่ปลอดจากโรคพิษสุนัขบ้าตามเป้าหมายขององค์กรอนามัยโลก (WHO) และองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) โดยการขอความร่วมมือประชาชนที่มีสัตว์เลี้ยงอยู่ในความดูแลให้มีความรับผิดชอบต่อสัตว์เลี้ยงด้วยความใส่ใจ อีกทั้งนำสัตว์ไปฉีดว้คซีนโรคพิษสุนัขบ้าและทำหมันแก่สัตว์เลี้ยงเพื่อลดจำนวนพาหะนำโรค นอกจากนี้จะจัดการให้มีการจดทะเบียนสัตว์เลี้ยงเพื่อง่ายต่อควบคุมโรค