ช่วงปิดเทอม สธ.เตือนผู้ปกครองระวังเด็กถูกสุนัขกัดตาย แนะใช้หลัก 5ย พร้อมติวเข้มแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข หวังลดตายจากโรคพิษสุนัขบ้า
วันนี้ (7 มี.ค.) นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังพิธีเปิดการอบรมฟื้นฟูเวชปฏิบัติ สำหรับแพทย์ และบุคลากรทางสาธารณสุข ณ จังหวัดสงขลา ว่า โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนที่อันตรายร้ายแรง ผู้ป่วยมีอาการแล้วต้องเสียชีวิตทุกราย ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากโลกนี้ ไม่ต่ำกว่า 55,000 รายต่อปี ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภาพรวมปีละประมาณ 18,000 ล้านบาท องค์การอนามัยโลก (WHO) องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) ประชาคมอาเซียนมีเป้าหมายร่วมกันจะกำจัดโรคนี้ ให้หมดไปจาก ASEAN ภายในปี ค.ศ.2020 หรือ พ.ศ.2563 สำหรับประเทศไทย มีผู้สัมผัสโรคได้รับการฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าไม่ต่ำกว่าปีละ 5 แสนรายคิดเป็นความสูญเสียกว่า 1 พันล้านบาท แต่ก็ยังมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ทุกปี จากรายงานสถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้า ระหว่างปี พ.ศ.2551- 2555 พบผู้เสียชีวิตด้วยโรคดังกล่าว 9, 24, 15, 8 และ 4 ตามลำดับ ในปี พ.ศ.2556 ตั้งแต่ต้นปีถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ มีผู้เสียชีวิตแล้ว 1 ราย
นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า ส่วนผู้ที่ถูกสุนัขกัดและไปรับวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้านั้นพบว่าส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี (33.17%ของผู้มารับการฉีดวัคซีน) และมักโดนลูกสุนัขกัด ดังนั้นในช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อนนี้ ขอความร่วมมือผู้ปกครองระวังบุตรหลานอย่าเข้าใกล้สุนัขที่ตนเองไม่ได้เลี้ยง แม้จะเป็นลูกสุนัขที่น่ารักไม่ดุก็ตาม อย่าปล่อยให้เด็กอยู่กับสุนัขตามลำพัง เพราะหากสุนัขที่มีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้ามาข่วน ขบ กัด แค่เพียงเป็นรอยแผลเป็นเล็กๆก็สามารถติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าได้ โรคนี้เป็นแล้วตายไม่มียารักษา แต่ถ้าถูกสุนัขกัด ให้รีบล้างแผลด้วยสบู่และน้ำสะอาดหลายๆครั้ง เช็ดให้แห้ง ใส่ยาฆ่าเชื้อโรค เช่น เบตาดีน แล้วรีบไปพบแพทย์ เพื่อรับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและปฏิบัติตามที่แพทย์แนะนำ และควรกักขังหรือติดตามดูอาการสุนัข 10 วัน (ถ้าเป็นสุนัขบ้าจะตายภายใน 10 วันหลังแสดงอาการ)
“เพื่อป้องกันการถูกสุนัขกัด ควรปฏิบัติตามคำแนะนำ 5ย ได้แก่ อย่าแหย่ อย่าเหยียบ อย่าแยก อย่าหยิบ และอย่ายุ่ง กล่าวคืออย่าแหย่สุนัขให้โมโห อย่าเหยียบ ตัว หัว ขา หาง และอย่าทำให้สุนัขตกใจ อย่าแยกสุนัขที่กำลังกัดกันด้วยมือเปล่า อย่าหยิบอาหาร หรือชามขณะที่สุนัขกินอาหารอยู่ และสุดท้ายอย่ายุ่งกับสุนัขที่ตัวไม่ได้เลี้ยง สำหรับสุนัขเลี้ยงต้องนำไปฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าเป็นประจำทุกปี” อธิบดี คร. กล่าว
นพ.พรเทพ กล่าวด้วยว่า สธ.มีนโยบายกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปภายในปี พ.ศ.2568 ซึ่งหมายถึงต้องไม่มีคนและสัตว์เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้า ดังนั้นเพื่อลดการเสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้า นอกจากผู้ถูกสุนัขกัดจะรีบมาพบแพทย์เพื่อฉีดวัคซีนแล้ว แพทย์ และบุคลากรสาธารณสุข ต้องให้ความสำคัญในการซักประวัติโดยละเอียด เมื่อผู้ถูกกัดมาสถานพยาบาลแล้ว แพทย์ต้องให้การดูแลรักษาอย่างถูกต้องการอบรมครั้งนี้เพื่อพัฒนาและฟื้นฟูความรู้แก่แพทย์โรงพยาบาลในเขตจังหวัดภาคใต้ ในการดูแลป้องกันรักษาผู้สัมผัสโรคให้ปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า ทั้งนี้ ต้องขอความร่วมมือจากผู้ถูกสุนัขกัดให้จำเหตุการณ์ต่างๆ และตอบผู้ทำการซักประวัติโดยละเอียดเช่นกัน พร้อมกันนี้ต้องรีบติดตามค้นหาผู้สัมผัสโรคคนอื่นๆ มารับการฉีดวัคซีน ให้ครบโดยเร็ว หากประชาชนมีข้อสงสัย สอบถามได้ที่ ศูนย์บริการข้อมูลฮอตไลน์ กระทรวงสาธารณสุข 1422 หรือศูนย์ปฏิบัติการกรมควบคุมโรค 02-590-3333
วันนี้ (7 มี.ค.) นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังพิธีเปิดการอบรมฟื้นฟูเวชปฏิบัติ สำหรับแพทย์ และบุคลากรทางสาธารณสุข ณ จังหวัดสงขลา ว่า โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนที่อันตรายร้ายแรง ผู้ป่วยมีอาการแล้วต้องเสียชีวิตทุกราย ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากโลกนี้ ไม่ต่ำกว่า 55,000 รายต่อปี ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภาพรวมปีละประมาณ 18,000 ล้านบาท องค์การอนามัยโลก (WHO) องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) ประชาคมอาเซียนมีเป้าหมายร่วมกันจะกำจัดโรคนี้ ให้หมดไปจาก ASEAN ภายในปี ค.ศ.2020 หรือ พ.ศ.2563 สำหรับประเทศไทย มีผู้สัมผัสโรคได้รับการฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าไม่ต่ำกว่าปีละ 5 แสนรายคิดเป็นความสูญเสียกว่า 1 พันล้านบาท แต่ก็ยังมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ทุกปี จากรายงานสถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้า ระหว่างปี พ.ศ.2551- 2555 พบผู้เสียชีวิตด้วยโรคดังกล่าว 9, 24, 15, 8 และ 4 ตามลำดับ ในปี พ.ศ.2556 ตั้งแต่ต้นปีถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ มีผู้เสียชีวิตแล้ว 1 ราย
นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า ส่วนผู้ที่ถูกสุนัขกัดและไปรับวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้านั้นพบว่าส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี (33.17%ของผู้มารับการฉีดวัคซีน) และมักโดนลูกสุนัขกัด ดังนั้นในช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อนนี้ ขอความร่วมมือผู้ปกครองระวังบุตรหลานอย่าเข้าใกล้สุนัขที่ตนเองไม่ได้เลี้ยง แม้จะเป็นลูกสุนัขที่น่ารักไม่ดุก็ตาม อย่าปล่อยให้เด็กอยู่กับสุนัขตามลำพัง เพราะหากสุนัขที่มีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้ามาข่วน ขบ กัด แค่เพียงเป็นรอยแผลเป็นเล็กๆก็สามารถติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าได้ โรคนี้เป็นแล้วตายไม่มียารักษา แต่ถ้าถูกสุนัขกัด ให้รีบล้างแผลด้วยสบู่และน้ำสะอาดหลายๆครั้ง เช็ดให้แห้ง ใส่ยาฆ่าเชื้อโรค เช่น เบตาดีน แล้วรีบไปพบแพทย์ เพื่อรับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและปฏิบัติตามที่แพทย์แนะนำ และควรกักขังหรือติดตามดูอาการสุนัข 10 วัน (ถ้าเป็นสุนัขบ้าจะตายภายใน 10 วันหลังแสดงอาการ)
“เพื่อป้องกันการถูกสุนัขกัด ควรปฏิบัติตามคำแนะนำ 5ย ได้แก่ อย่าแหย่ อย่าเหยียบ อย่าแยก อย่าหยิบ และอย่ายุ่ง กล่าวคืออย่าแหย่สุนัขให้โมโห อย่าเหยียบ ตัว หัว ขา หาง และอย่าทำให้สุนัขตกใจ อย่าแยกสุนัขที่กำลังกัดกันด้วยมือเปล่า อย่าหยิบอาหาร หรือชามขณะที่สุนัขกินอาหารอยู่ และสุดท้ายอย่ายุ่งกับสุนัขที่ตัวไม่ได้เลี้ยง สำหรับสุนัขเลี้ยงต้องนำไปฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าเป็นประจำทุกปี” อธิบดี คร. กล่าว
นพ.พรเทพ กล่าวด้วยว่า สธ.มีนโยบายกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปภายในปี พ.ศ.2568 ซึ่งหมายถึงต้องไม่มีคนและสัตว์เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้า ดังนั้นเพื่อลดการเสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้า นอกจากผู้ถูกสุนัขกัดจะรีบมาพบแพทย์เพื่อฉีดวัคซีนแล้ว แพทย์ และบุคลากรสาธารณสุข ต้องให้ความสำคัญในการซักประวัติโดยละเอียด เมื่อผู้ถูกกัดมาสถานพยาบาลแล้ว แพทย์ต้องให้การดูแลรักษาอย่างถูกต้องการอบรมครั้งนี้เพื่อพัฒนาและฟื้นฟูความรู้แก่แพทย์โรงพยาบาลในเขตจังหวัดภาคใต้ ในการดูแลป้องกันรักษาผู้สัมผัสโรคให้ปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า ทั้งนี้ ต้องขอความร่วมมือจากผู้ถูกสุนัขกัดให้จำเหตุการณ์ต่างๆ และตอบผู้ทำการซักประวัติโดยละเอียดเช่นกัน พร้อมกันนี้ต้องรีบติดตามค้นหาผู้สัมผัสโรคคนอื่นๆ มารับการฉีดวัคซีน ให้ครบโดยเร็ว หากประชาชนมีข้อสงสัย สอบถามได้ที่ ศูนย์บริการข้อมูลฮอตไลน์ กระทรวงสาธารณสุข 1422 หรือศูนย์ปฏิบัติการกรมควบคุมโรค 02-590-3333