กาฬสินธุ์ - เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์นำหน่วยบริการกองสาธารณสุขออกบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคให้แก่สัตว์เลี้ยงของประชาชน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโรคจากสัตว์สู่คน ขณะที่นายแพทย์สาธารณสุขเตือนระวังโรคพิษสุนัขบ้าระบุป่วยแล้วเสียชีวิตทุกราย ซึ่งหากถูกสุนัขไม่มีเจ้าของกัดให้รีบไปพบแพทย์ทันที
วันนี้ (28 ก.พ.) นายจารุวัฒน์ บุญเพิ่ม นายกเทศมนตรีเมืองกาฬสินธุ์ นำเจ้าหน้าที่กองสาธารณสุข ออกตระเวนฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ให้กับสัตว์เลี้ยงของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโรคสัตว์สู่สัตว์ และโรคสัตว์สู่คน โดยครั้งนี้จะเป็นการวัคซีนหลายชนิดให้กับสุนัข
ได้แก่ โรคไข้หัด โรคลำไส้อักเสบ โรคฉี่หนู โรคไวรัสตับอักเสบ โรคพิษสุนัขบ้า วัคซีนป้องกันโรคหวัดแมวและโรคพิษสุนัขบ้าหรับหรับแมว นอกจากนั้นยังฉีดยากำจัดเห็บหมัด รวมถึงตรวจสุขภาพผิวหนัง ให้แก่สุนัขและแมวที่มาเข้ารับการตรวจ พร้อมให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพสัตว์เบื้องต้นแก่ผู้ดูแลสัตว์อีกด้วย
นายจารุวัฒน์ บุญเพิ่ม นายกเทศมนตรีเมืองกาฬสินธุ์ กล่าวว่า โรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคระบาดสัตว์ติดคนที่สำคัญอีกโรคหนึ่ง ซึ่งเกิดได้กับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด เช่น โค กระบือ สุนัข แมว เป็นต้น และเมื่อเป็นโรคแล้วจะทำให้มีอาการทางประสาท โดยเฉพาะระบบประสาทส่วนกลาง ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคพิษสุนัขบ้า จึงมักเสียชีวิตทุกราย
โดยเชื้อเรบีส์ไวรัส พบได้ในน้ำลายสัตว์ที่เป็นโรค ซึ่งคนจะติดเชื้อได้ทางบาดแผล ดังนั้นการที่ถูกสัตว์กัด ขวน หรือแม้กระทั่งการเลียของสัตว์บนร่างกายที่มีบาดแผล ก็มีโอกาสติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าได้ เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวและเพื่อความปลอดภัยของพี่น้องประชาชน
จึงได้ออกรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และฉีดยาคุมกำเนิดสุนัข - แมวเพศเมีย โดยจะทำการออกตระเวนฉีดวัคซีนเช่นนี้ให้ทั่วในเขตเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์
ด้านนายแพทย์พิสิทธิ์ เอื้อวงศกูล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวว่า หากประชาชนรายใดถูกสุนัขกัด ควรรีบไปพบแพทย์ภายใน 72 ชั่วโมง เพื่อรับคำปรึกษาเรื่องการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าทันที ซึ่งหากปล่อยให้ถึงขั้นป่วยจะเสียชีวิตได้ เพราะโรคนี้ยังไม่มียารักษา ทั้งนี้ โรคดังกล่าวจะแสดงอาการป่วยประมาณ 4 วันจนถึง 3-4 ปีก็ได้ แต่ส่วนใหญ่ไม่เกิน 1 ปี
โดย 2-3 วันแรกอาจมีไข้ต่ำ เจ็บคอ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย คัน หรือปวดแสบปวดร้อนตรงบริเวณแผลที่ถูกสุนัขกัด แม้ว่าแผลอาจหายเป็นปกติแล้ว ต่อไปอาการจะรุนแรงขึ้น มีอาการตื่นเต้นตกใจง่าย กระสับกระส่าย ไม่ชอบแสงสว่าง ลม เสียงดัง กลืนน้ำและอาหารลำบาก ชัก เป็นอัมพาต หมดสติ และเสียชีวิตในที่สุด
สำหรับการปฏิบัติตัวหลังถูกสุนัขหรือสัตว์ที่สงสัยว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัด ขอให้ล้างแผลทันทีด้วยสบู่และน้ำสะอาดหลายๆครั้ง แล้วเช็ดให้แห้งทาแผลด้วยยารักษาแผลสด แล้วรีบไปพบแพทย์เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า แต่หากสุนัขตายให้นำซากไปตรวจ หากไม่ตายให้ขังไว้ดูอาการ 10 วัน
ส่วนการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในคนต้องฉีดให้ครบ 5 เข็ม ทั้งนี้ การป้องกันที่ดีที่สุดคือการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้แก่สุนัข เริ่มฉีดครั้งแรกเมื่อสุนัขอายุตั้งแต่ 2 เดือนและฉีดซ้ำทุกๆ ปี
วันนี้ (28 ก.พ.) นายจารุวัฒน์ บุญเพิ่ม นายกเทศมนตรีเมืองกาฬสินธุ์ นำเจ้าหน้าที่กองสาธารณสุข ออกตระเวนฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ให้กับสัตว์เลี้ยงของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโรคสัตว์สู่สัตว์ และโรคสัตว์สู่คน โดยครั้งนี้จะเป็นการวัคซีนหลายชนิดให้กับสุนัข
ได้แก่ โรคไข้หัด โรคลำไส้อักเสบ โรคฉี่หนู โรคไวรัสตับอักเสบ โรคพิษสุนัขบ้า วัคซีนป้องกันโรคหวัดแมวและโรคพิษสุนัขบ้าหรับหรับแมว นอกจากนั้นยังฉีดยากำจัดเห็บหมัด รวมถึงตรวจสุขภาพผิวหนัง ให้แก่สุนัขและแมวที่มาเข้ารับการตรวจ พร้อมให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพสัตว์เบื้องต้นแก่ผู้ดูแลสัตว์อีกด้วย
นายจารุวัฒน์ บุญเพิ่ม นายกเทศมนตรีเมืองกาฬสินธุ์ กล่าวว่า โรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคระบาดสัตว์ติดคนที่สำคัญอีกโรคหนึ่ง ซึ่งเกิดได้กับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด เช่น โค กระบือ สุนัข แมว เป็นต้น และเมื่อเป็นโรคแล้วจะทำให้มีอาการทางประสาท โดยเฉพาะระบบประสาทส่วนกลาง ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคพิษสุนัขบ้า จึงมักเสียชีวิตทุกราย
โดยเชื้อเรบีส์ไวรัส พบได้ในน้ำลายสัตว์ที่เป็นโรค ซึ่งคนจะติดเชื้อได้ทางบาดแผล ดังนั้นการที่ถูกสัตว์กัด ขวน หรือแม้กระทั่งการเลียของสัตว์บนร่างกายที่มีบาดแผล ก็มีโอกาสติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าได้ เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวและเพื่อความปลอดภัยของพี่น้องประชาชน
จึงได้ออกรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และฉีดยาคุมกำเนิดสุนัข - แมวเพศเมีย โดยจะทำการออกตระเวนฉีดวัคซีนเช่นนี้ให้ทั่วในเขตเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์
ด้านนายแพทย์พิสิทธิ์ เอื้อวงศกูล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวว่า หากประชาชนรายใดถูกสุนัขกัด ควรรีบไปพบแพทย์ภายใน 72 ชั่วโมง เพื่อรับคำปรึกษาเรื่องการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าทันที ซึ่งหากปล่อยให้ถึงขั้นป่วยจะเสียชีวิตได้ เพราะโรคนี้ยังไม่มียารักษา ทั้งนี้ โรคดังกล่าวจะแสดงอาการป่วยประมาณ 4 วันจนถึง 3-4 ปีก็ได้ แต่ส่วนใหญ่ไม่เกิน 1 ปี
โดย 2-3 วันแรกอาจมีไข้ต่ำ เจ็บคอ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย คัน หรือปวดแสบปวดร้อนตรงบริเวณแผลที่ถูกสุนัขกัด แม้ว่าแผลอาจหายเป็นปกติแล้ว ต่อไปอาการจะรุนแรงขึ้น มีอาการตื่นเต้นตกใจง่าย กระสับกระส่าย ไม่ชอบแสงสว่าง ลม เสียงดัง กลืนน้ำและอาหารลำบาก ชัก เป็นอัมพาต หมดสติ และเสียชีวิตในที่สุด
สำหรับการปฏิบัติตัวหลังถูกสุนัขหรือสัตว์ที่สงสัยว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัด ขอให้ล้างแผลทันทีด้วยสบู่และน้ำสะอาดหลายๆครั้ง แล้วเช็ดให้แห้งทาแผลด้วยยารักษาแผลสด แล้วรีบไปพบแพทย์เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า แต่หากสุนัขตายให้นำซากไปตรวจ หากไม่ตายให้ขังไว้ดูอาการ 10 วัน
ส่วนการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในคนต้องฉีดให้ครบ 5 เข็ม ทั้งนี้ การป้องกันที่ดีที่สุดคือการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้แก่สุนัข เริ่มฉีดครั้งแรกเมื่อสุนัขอายุตั้งแต่ 2 เดือนและฉีดซ้ำทุกๆ ปี