ปรับปรุงพจนานุกรมฉบับใหม่ เล็งบรรจุคำใช้บ่อย “วันธรรมสวนะ” และ “วีดีทัศน์” เพิ่ม ด้าน สพฐ.แนะส่งเสริมวัยรุ่นไทย อ่าน ใช้ภาษาถูกต้อง งดงามแต่เด็กสร้างความคุ้นเคย
ศ.พิเศษ จำนงค์ ทองประเสริฐ ประธานคณะกรรมการชำระพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน กล่าวระหว่างการเสวนาเรื่อง “พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานหนังสือที่คนทุกอาชีพใช้” ในงานเปิดตัวพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 พิมพ์ครั้งที่ 2 ว่า ราชบัณฑิตยสถานมีการประชุมเพื่อชำระพจนานุกรมอยู่ตลอดเวลา เพราะภาษาไทยมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกวัน โดยจะมีการประชุมสัปดาห์ละ 2 วัน และขณะนี้ก็เริ่มดำเนินการปรับปรุงพจนานุกรมฉบับใหม่แล้ว ซึ่งล่าสุดพระผู้ใหญ่ทักท้วงมาว่าพจนานุกรมยังไม่ได้บรรจุคำว่า วันธรรมสวนะ รวมทั้งคำว่า วีดีทัศน์ ซึ่งมีการใช้อย่างแพร่หลาย ซึ่งตนก็รับไว้ที่จะดำเนินการใส่ไว้ในพจนานุกรมเล่มต่อไป
“ภาษาไทยเป็นของคนไทยทุกคน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระอัจฉริยภาพหลายภาษา ครั้งหนึ่งพระองค์ทรงแนะนำรากศัพท์ของคำว่า คอมพิวเตอร์ ซึ่งมาจากภาษาละติน ทั้งทรงแนะนำว่าควรใช้ภาษาไทยว่า สัญจินตกรณ์ ซึ่งแปลว่า เครื่องคิดเอง แสดงให้เห็นว่าเรามีพระมหากษัตริย์ที่รอบรู้ทุกด้าน เราคนไทยจึงควรสนองพระมหากรุณาธิคุณด้วยการศึกษาภาษาไทยให้ถ่องแท้รู้ถึงที่มาที่ไปของภาษา” ศ.พิเศษ จำนงค์ กล่าว
ด้าน นางพจมาน พงษ์ไพบูลย์ ที่ปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า พจนานุกรมเปรียบเสมือนหนังสือสามัญประจำบ้าน ช่วยให้เราค้นหาคำศัพท์เพิ่มเติม ประโยชน์ของพจนานุกรมจะเกิดได้ก็ต่อเมื่อพจนานุกรมไม่ได้อยู่บนตู้เฉยๆ ครูควรมีกิจกรรมให้นักเรียนได้ค้นคว้าคำต่างๆ ในพจนานุกรม นอกจากนี้ตนยังมีแนวคิดว่า หากสามารถบรรจุพจนานุกรมไว้ในแท็บเล็ต ก็จะยิ่งเกิดประโยชน์ต่อนักเรียนมากขึ้น และอยากให้สื่อมวลชน ดารานักร้องนักแสดง นักการเมือง ซึ่งเป็นต้นแบบของสังคมในการพูด เขียน ได้ใช้ประโยชน์จากพจนานุกรมจะได้ใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้ถูกต้อง ส่วนการใช้ภาษาของวัยรุ่นที่บางครั้งอาจจะผิดเพี้ยนไปนั้น ตนคิดว่าเราคงห้ามไม่ได้ แต่หากเราส่งเสริมให้วัยรุ่นไทยได้อ่านหนังสือที่มีการใช้ภาษาที่งดงาม ถูกต้อง ได้อ่านบทกวีที่ไพเราะ หรือ นวนิยายที่ใช้ภาษาที่สละสลวย ตั้งแต่เด็ก ก็จะเกิดความคุ้นเคย และใช้ภาษาไทยได้ถูกต้อง
ศ.พิเศษ จำนงค์ ทองประเสริฐ ประธานคณะกรรมการชำระพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน กล่าวระหว่างการเสวนาเรื่อง “พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานหนังสือที่คนทุกอาชีพใช้” ในงานเปิดตัวพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 พิมพ์ครั้งที่ 2 ว่า ราชบัณฑิตยสถานมีการประชุมเพื่อชำระพจนานุกรมอยู่ตลอดเวลา เพราะภาษาไทยมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกวัน โดยจะมีการประชุมสัปดาห์ละ 2 วัน และขณะนี้ก็เริ่มดำเนินการปรับปรุงพจนานุกรมฉบับใหม่แล้ว ซึ่งล่าสุดพระผู้ใหญ่ทักท้วงมาว่าพจนานุกรมยังไม่ได้บรรจุคำว่า วันธรรมสวนะ รวมทั้งคำว่า วีดีทัศน์ ซึ่งมีการใช้อย่างแพร่หลาย ซึ่งตนก็รับไว้ที่จะดำเนินการใส่ไว้ในพจนานุกรมเล่มต่อไป
“ภาษาไทยเป็นของคนไทยทุกคน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระอัจฉริยภาพหลายภาษา ครั้งหนึ่งพระองค์ทรงแนะนำรากศัพท์ของคำว่า คอมพิวเตอร์ ซึ่งมาจากภาษาละติน ทั้งทรงแนะนำว่าควรใช้ภาษาไทยว่า สัญจินตกรณ์ ซึ่งแปลว่า เครื่องคิดเอง แสดงให้เห็นว่าเรามีพระมหากษัตริย์ที่รอบรู้ทุกด้าน เราคนไทยจึงควรสนองพระมหากรุณาธิคุณด้วยการศึกษาภาษาไทยให้ถ่องแท้รู้ถึงที่มาที่ไปของภาษา” ศ.พิเศษ จำนงค์ กล่าว
ด้าน นางพจมาน พงษ์ไพบูลย์ ที่ปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า พจนานุกรมเปรียบเสมือนหนังสือสามัญประจำบ้าน ช่วยให้เราค้นหาคำศัพท์เพิ่มเติม ประโยชน์ของพจนานุกรมจะเกิดได้ก็ต่อเมื่อพจนานุกรมไม่ได้อยู่บนตู้เฉยๆ ครูควรมีกิจกรรมให้นักเรียนได้ค้นคว้าคำต่างๆ ในพจนานุกรม นอกจากนี้ตนยังมีแนวคิดว่า หากสามารถบรรจุพจนานุกรมไว้ในแท็บเล็ต ก็จะยิ่งเกิดประโยชน์ต่อนักเรียนมากขึ้น และอยากให้สื่อมวลชน ดารานักร้องนักแสดง นักการเมือง ซึ่งเป็นต้นแบบของสังคมในการพูด เขียน ได้ใช้ประโยชน์จากพจนานุกรมจะได้ใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้ถูกต้อง ส่วนการใช้ภาษาของวัยรุ่นที่บางครั้งอาจจะผิดเพี้ยนไปนั้น ตนคิดว่าเราคงห้ามไม่ได้ แต่หากเราส่งเสริมให้วัยรุ่นไทยได้อ่านหนังสือที่มีการใช้ภาษาที่งดงาม ถูกต้อง ได้อ่านบทกวีที่ไพเราะ หรือ นวนิยายที่ใช้ภาษาที่สละสลวย ตั้งแต่เด็ก ก็จะเกิดความคุ้นเคย และใช้ภาษาไทยได้ถูกต้อง