ราชบัณฑิตยสถาน แจกพจนานุกรมแสนเล่ม เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระบุจุดเด่น รวบรวมคำศัพท์ในหลวง รูปเล่มใหม่ เบา ทันสมัย แจกจ่ายสถาบันการศึกษา องค์กรหลัก 85,000 แห่ง
วันนี้ (26 ก.ค.) ที่ราชบัณฑิตยสถาน สนามเสือป่า นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงข่าวเรื่องการแจกจ่ายพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ว่า สืบเนื่องจากภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติของประเทศไทย และเป็นภาษาที่คนไทยทั้งประเทศมีความภาคภูมิใจ และภาษาไทยมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงมีความจำเป็นที่ต้องรวบรวมและจัดเป็นหมวดหมู่รูปเล่มของพจนานุกรม เพราะภาษาไทยใช้กันหลากหลาย ใช้ทั้งในชีวิตประจำวัน ใช้ในด้านวิชาการ ซึ่งแต่ละแบบมีการพูดที่แตกต่างกันออกไป แต่ความหมายเหมือนกัน
นายสันติ กล่าวว่า พจนานุกรมฉบับนี้ มีความทันสมัยมากที่สุด ทั้งยังมีนัยยะสำคัญของประเทศไทย เนื่องจากเป็นการรวบรวมพจนานุกรม เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทางราชบัณฑิตยสถานได้จัดพิมพ์จำนวน 100,000 เล่ม โดยจะนำขึ้นเพื่อทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ผู้ใช้ และแจกจ่ายมอบหมายไปให้องค์กรสถาบันการศึกษา และหน่วยงานของรัฐ ประมาณ 85,000 แห่ง อาทิ โรงเรียน ส่วนราชการองค์กรต่างๆ ตลอดจนสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และคณะรัฐมนตรี เจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นครั้งแรก
โดยรัฐบาลให้ความสำคัญในเรื่องภาษา ได้จัดงบประมาณ 40 ล้านบาท ทางราชบัณฑิตยสถาน ได้มอบให้เอกชนไปจัดพิมพ์เพื่อไปจัดจำหน่าย หรือแจกจ่ายเพิ่มเติมประมาณ 50,000 เล่ม คาดว่าจะแล้วเสร็จเดือนธันวาคม อย่างไรก็ตาม ในระหว่างจัดพิมพ์เพื่อจำหน่ายนั้น จะมีการนำข้อมูลพจนานุกรมทั้งหมด ขึ้นเว็บไซต์ราชบัณฑิตยสถาน www.royin.go.th และจะมีการพัฒนาและเผยแพร่ผ่านแอปพลิเคชัน ของสมาร์ทโฟนต่างๆ ด้วย เพื่อเผยแพร่ภาษาไทยให้คนไทยได้ใช้ภาษาไทย เข้าใจในคำแปลของคำศัพท์ต่างๆ ได้ทั่วถึง และเป็นมาตรฐานเดียวกัน เพราะก่อนที่เราจะไปเรียนภาษาที่ 2 อย่างภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียน ก็ควรจะเรียน สร้างภูมิคุ้มในการใช้ภาษาไทยให้เข้มแข็งด้วย
ด้าน น.ส.สุปัญญา ธารีเกษ รองโฆษกราชบัณฑิตยสถาน กล่าวว่า พจนานุกรมฉบับนี้มีความแตกต่างจากพจนานุกรมฉบับอื่นๆ ตรงที่มีการรวบรวมคำศัพท์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใช้ เช่น ธนาคารโค แก้มลิง เป็นต้น อีกทั้งพจนานุกรมฉบับนี้จะเบากว่าทุกฉบับ เพราะใช้กระดาษที่มีความทับแสง เบา เช่นเดียวกับต่างประเทศ อีกทั้งยังได้จัดวางรูปเล่มที่สวยงามมากขึ้น ทำให้พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ดูมีความเป็นสากลเพิ่มขึ้น
วันนี้ (26 ก.ค.) ที่ราชบัณฑิตยสถาน สนามเสือป่า นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงข่าวเรื่องการแจกจ่ายพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ว่า สืบเนื่องจากภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติของประเทศไทย และเป็นภาษาที่คนไทยทั้งประเทศมีความภาคภูมิใจ และภาษาไทยมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงมีความจำเป็นที่ต้องรวบรวมและจัดเป็นหมวดหมู่รูปเล่มของพจนานุกรม เพราะภาษาไทยใช้กันหลากหลาย ใช้ทั้งในชีวิตประจำวัน ใช้ในด้านวิชาการ ซึ่งแต่ละแบบมีการพูดที่แตกต่างกันออกไป แต่ความหมายเหมือนกัน
นายสันติ กล่าวว่า พจนานุกรมฉบับนี้ มีความทันสมัยมากที่สุด ทั้งยังมีนัยยะสำคัญของประเทศไทย เนื่องจากเป็นการรวบรวมพจนานุกรม เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทางราชบัณฑิตยสถานได้จัดพิมพ์จำนวน 100,000 เล่ม โดยจะนำขึ้นเพื่อทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ผู้ใช้ และแจกจ่ายมอบหมายไปให้องค์กรสถาบันการศึกษา และหน่วยงานของรัฐ ประมาณ 85,000 แห่ง อาทิ โรงเรียน ส่วนราชการองค์กรต่างๆ ตลอดจนสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และคณะรัฐมนตรี เจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นครั้งแรก
โดยรัฐบาลให้ความสำคัญในเรื่องภาษา ได้จัดงบประมาณ 40 ล้านบาท ทางราชบัณฑิตยสถาน ได้มอบให้เอกชนไปจัดพิมพ์เพื่อไปจัดจำหน่าย หรือแจกจ่ายเพิ่มเติมประมาณ 50,000 เล่ม คาดว่าจะแล้วเสร็จเดือนธันวาคม อย่างไรก็ตาม ในระหว่างจัดพิมพ์เพื่อจำหน่ายนั้น จะมีการนำข้อมูลพจนานุกรมทั้งหมด ขึ้นเว็บไซต์ราชบัณฑิตยสถาน www.royin.go.th และจะมีการพัฒนาและเผยแพร่ผ่านแอปพลิเคชัน ของสมาร์ทโฟนต่างๆ ด้วย เพื่อเผยแพร่ภาษาไทยให้คนไทยได้ใช้ภาษาไทย เข้าใจในคำแปลของคำศัพท์ต่างๆ ได้ทั่วถึง และเป็นมาตรฐานเดียวกัน เพราะก่อนที่เราจะไปเรียนภาษาที่ 2 อย่างภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียน ก็ควรจะเรียน สร้างภูมิคุ้มในการใช้ภาษาไทยให้เข้มแข็งด้วย
ด้าน น.ส.สุปัญญา ธารีเกษ รองโฆษกราชบัณฑิตยสถาน กล่าวว่า พจนานุกรมฉบับนี้มีความแตกต่างจากพจนานุกรมฉบับอื่นๆ ตรงที่มีการรวบรวมคำศัพท์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใช้ เช่น ธนาคารโค แก้มลิง เป็นต้น อีกทั้งพจนานุกรมฉบับนี้จะเบากว่าทุกฉบับ เพราะใช้กระดาษที่มีความทับแสง เบา เช่นเดียวกับต่างประเทศ อีกทั้งยังได้จัดวางรูปเล่มที่สวยงามมากขึ้น ทำให้พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ดูมีความเป็นสากลเพิ่มขึ้น