สำนักวิจัยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เผยผลสำรวจการใช้คำศัพท์แผลง พบว่า วัยรุ่นไทยในกรุงเทพมหานคร พบใช้คำว่า “ชิมิ” มากที่สุด
สำนักวิจัยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เปิดเผยผลการสำรวจการใช้คำศัพท์แผลงที่กำลังใช้กันอย่างกว้างขวางในกลุ่มเยาวชนไทย และเป็นที่กังวลว่าจะส่งผลต่อการหลักการใช้ภาษาไทยในอนาคต เช่นคำศัพท์แผลงคำว่า ชิมิ บ่องตง จุ๊บุ จุ๊บุ ฯลฯ กับเยาวชนไทยอายุระหว่าง 15-25 ปี การศึกษาตั้งแต่ภาคบังคับถึงสูงกว่าปริญญาตรี ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,065 คน พบว่า 89% ทราบความหมายของคำศัพท์แผลงที่ใช้คำศัพท์แผลงมากที่สุดคือคำว่า “ชิมิ” ซึ่งใช้ในความหมายว่า “ใช่ไหม” ส่วนในรอบสามเดือนกลุ่มเยาวชนไทยในกรุงเทพมหานครใช้คำศัพท์แผลง คำว่า “จุงเบย” ซึ่งในความหมายว่า “จังเลย” 72.68% รองลงมาคือคำศัพท์แผลงคำว่า “บ่องตง” “มะรุ” “ช่ะ” “มะเปง” และ “ชิมิ”
สำหรับคำศัพท์แผลงคำอื่นๆ ที่เยาวชนไทยมักใช้ เช่น เมพขิงๆ, ฟิน, งานเข้า, เกรียน, คีบัป, คิขุ, ซุย, อิอิ, งานงอก และแอ๊บแบ๊ว อีก 51.17% ส่วนเยาวชนไทยที่ไม่เคยใช้คำศัพท์แผลงเลยมี 12.95% ที่มาของคำศัพท์แผลงต่างๆ ดังกล่าว เยาวชนไทยกล่าวว่าที่มาของคำศัพท์แผลงที่เข้าถึงได้ง่ายที่สุด คือบนอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายสังคมออนไลน์ 51.35% พบว่าเข้าถึงและผ่านหู/ผ่านตาจากละคร/ภาพยนตร์ระดับต่ำเพียง 4.85%
สำนักวิจัยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ยังพบอีกว่าเยาวชนไทยใช้คำศัพท์แผลง เพราะต้องการลดความเครียดในการสนทนาและสร้างอารมณ์ขัน คิดเป็นร้อยละ 73.68 และ 70.01 ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างมากกว่าร้อยละ 90 ใช้คำศัพท์แผลงกับเพื่อนๆ และ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 57.09 เห็นว่าราชบัณฑิตยสถานควรจัดทำพจนานุกรมเพื่อรวบรวมคำศัพท์แผลงต่างๆ ที่กลุ่มวัยรุ่นใช้ในปัจจุบันไว้เป็นการเฉพาะ
สำนักวิจัยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เปิดเผยผลการสำรวจการใช้คำศัพท์แผลงที่กำลังใช้กันอย่างกว้างขวางในกลุ่มเยาวชนไทย และเป็นที่กังวลว่าจะส่งผลต่อการหลักการใช้ภาษาไทยในอนาคต เช่นคำศัพท์แผลงคำว่า ชิมิ บ่องตง จุ๊บุ จุ๊บุ ฯลฯ กับเยาวชนไทยอายุระหว่าง 15-25 ปี การศึกษาตั้งแต่ภาคบังคับถึงสูงกว่าปริญญาตรี ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,065 คน พบว่า 89% ทราบความหมายของคำศัพท์แผลงที่ใช้คำศัพท์แผลงมากที่สุดคือคำว่า “ชิมิ” ซึ่งใช้ในความหมายว่า “ใช่ไหม” ส่วนในรอบสามเดือนกลุ่มเยาวชนไทยในกรุงเทพมหานครใช้คำศัพท์แผลง คำว่า “จุงเบย” ซึ่งในความหมายว่า “จังเลย” 72.68% รองลงมาคือคำศัพท์แผลงคำว่า “บ่องตง” “มะรุ” “ช่ะ” “มะเปง” และ “ชิมิ”
สำหรับคำศัพท์แผลงคำอื่นๆ ที่เยาวชนไทยมักใช้ เช่น เมพขิงๆ, ฟิน, งานเข้า, เกรียน, คีบัป, คิขุ, ซุย, อิอิ, งานงอก และแอ๊บแบ๊ว อีก 51.17% ส่วนเยาวชนไทยที่ไม่เคยใช้คำศัพท์แผลงเลยมี 12.95% ที่มาของคำศัพท์แผลงต่างๆ ดังกล่าว เยาวชนไทยกล่าวว่าที่มาของคำศัพท์แผลงที่เข้าถึงได้ง่ายที่สุด คือบนอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายสังคมออนไลน์ 51.35% พบว่าเข้าถึงและผ่านหู/ผ่านตาจากละคร/ภาพยนตร์ระดับต่ำเพียง 4.85%
สำนักวิจัยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ยังพบอีกว่าเยาวชนไทยใช้คำศัพท์แผลง เพราะต้องการลดความเครียดในการสนทนาและสร้างอารมณ์ขัน คิดเป็นร้อยละ 73.68 และ 70.01 ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างมากกว่าร้อยละ 90 ใช้คำศัพท์แผลงกับเพื่อนๆ และ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 57.09 เห็นว่าราชบัณฑิตยสถานควรจัดทำพจนานุกรมเพื่อรวบรวมคำศัพท์แผลงต่างๆ ที่กลุ่มวัยรุ่นใช้ในปัจจุบันไว้เป็นการเฉพาะ