กกจ.หารือ สตม.-สตช.แก้ปัญหาต่างด้าววีซ่าหมดอายุต้องกลับประเทศ ให้ยื่นเอกสารขอทำงานต่อ พร้อมส่งหนังสื่อแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผ่อนปรนการจับกุมต่างด้าวที่ยื่นเอกสาร ระบุเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าระหว่างรอรัฐบาลชุดใหม่
วันนี้ (3 มี.ค.)นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหารงาน (กกจ.) กล่าวภายหลังหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักตำรวจตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(สตช.) ถึงกรณีปัญหาแรงงานข้ามชาติที่ได้รับการอนุญาตให้พักอาศัยและทำงานในไทยระยะเวลา 4 ปี (วีซ่า) หมดอายุ ว่า ในเรื่องนี้ได้ข้อสรุปถึงแนวทางร่วมกันในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเรื่องนี้ไม่ใช่ความผิดของแรงงานข้ามชาติและนายจ้าง เราจึงจะให้ลูกจ้างยื่นเอกสารต่อสำนักงานจัดหางานพื้นที่และจังหวัดในแต่ละแห่ง เพื่อยื่นเอกสารหลักฐานในการขออนุญาตเข้ามาทำงานต่ออีก ซึ่งในการยื่นหลักฐานนี้จะเป็นการแสดงตนและหลักฐานที่จะไม่ถูกจับกุมหรือเอาผิด กรณีที่อยู่เกินระยะเวลาที่อนุญาตให้อยู่ (over stay) โดย กกจ.จะทำหนังสือถึง สตม.และ สตช.เพื่อขอให้ผ่อนปรนการจับกุมแรงงานเหล่านี้ ซึ่งในเรื่องนี้ถือเป็นความร่วมมือในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อนระหว่างรอรัฐบาลใหม่ ทั้งนี้จะมีการเรียกประชุมของคณะกรรมการในการพิจารณาลดโทษปรับกรณีที่อยู่เกินระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งเดิมมีโทษปรับวันละ 500 บาท สูงสุดไม่เกิน 20,000 บาท เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนแก่นายจ้างและลูกจ้าง
นายประวิทย์ กล่าวอีกว่า ในเรื่องนี้ถือเป็นการหาทางออกโดยขอความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องของการยื่นเอกสาร โดยให้ยื่นเพื่อเตรียมพร้อมเมื่อมีรัฐบาลชุดใหม่จะได้เสนอประเด็นที่เป็นสาระสำคัญ ในการแก้ไขบันทึกความเข้าใจระหว่างประเทศ (เอ็มโอยู) เพื่อยกเว้นการบังคับใช้ในเรื่องที่กำหนดให้แรงงานที่หมดสัญญาจ้าง 4 ปี ต้องกลับประเทศต้นทางไม่น้อยกว่า 3 ปี จึงจะขอกลับมาทำงานได้ใหม่อีก โดยจะนำเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ลดระยะเวลา หากรัฐบาลมีนโยบายชัดเจนอย่างไรแล้ว แรงงานที่ยื่นเอกสารไว้จะสามารถยื่นเรื่องกลับมาทำงานได้โดยทันที
“ส่วนเรื่องของสิทธิและเรื่องของประกันสังคมของลูกจ้างยังคงได้รับเช่นเดิม เพราะนายจ้างยังจ้างงานอยู่ เพียงแต่อยู่ระหว่างการดำเนินการต่อเอกสารเท่านั้น” นายประวิทย์ กล่าว
นายประวิทย์ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ได้มีการจัดตั้งศูนย์วันสตอปเซอร์วิส ที่ อ.แม่สอด จ.ตาก อ.แม่สาย จ.เชียงราย และ จ.ระนอง เพื่อให้บริการทางด้านเอกสารในการขอกลับเข้ามาทำงานในไทย และการนำเข้าแรงงานอย่างถูกต้องสำหรับแรงงานกลุ่มใหม่ รวมทั้งการพิสูจน์สัญชาติในกรณีที่เป็นแรงงานที่ตกค้างการพิสูจน์สัญชาติ นอกจากนี้กระทรวงแรงงานยังได้เตรียมนำเสนอต่อ ครม.ในเรื่องการขออนุญาตใช้แรงงานเข้าชาติประเภทเช้าไปเย็นกลับ ที่อนุญาตให้เข้ามาทำงานครั้งละไม่เกิน 7 วัน และแรงงานที่เข้ามาทำงานตามฤดูกาลในภาคการเกษตรในพื้นที่จังหวัดชายแดน โดยจะอนุญาตให้เข้ามาครั้งละ 3 เดือน ทั้งนี้แรงงานเหล่านี้ก็ต้องตรวจสุขภาพและทำประกันสุขภาพ
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้หารือถึงแนวทางการดำเนินการเปิดให้จดทะเบียนแรงงานต่างด้าวภาคประมงใน 22 จังหวัดพื้นที่ชายทะเล ระหว่างวันที่ 3 มีนาคม - 31 พฤษภาคม นี้ ซึ่งขอเตือนไปยังนายจ้างให้นำลูกจ้างที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนมาขึ้นทะเบียนให้ถูกต้อง หากไม่ดำเนินการจะมีโทษตามกฎหมาย
ด้านนายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ ประธานหอการค้าไทย กล่าวว่า ในเรื่องนี้ผู้ประกอบการขอบคุณและพึงพอใจต่อแนวทางการแก้ปัญหา เพราะถือเป็นการทุเลาปัญหาในช่วงที่รัฐบาลรักษาการไม่พร้อมดำเนินการ ซึ่งในเรื่องนี้เราก็จะติดตามดูผลที่เกิดจากการตกลงในวันนี้ ทั้งนี้เรื่องนี้ถือเป็นผลประโยชน์ร่วมที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ จึงอยากให้ทุกฝ่ายเห็นใจแรงงานและผู้ประกอบการ เนื่องจากไม่ใช่ความผิดของทั้งนายจ้างและลูกจ้าง
วันนี้ (3 มี.ค.)นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหารงาน (กกจ.) กล่าวภายหลังหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักตำรวจตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(สตช.) ถึงกรณีปัญหาแรงงานข้ามชาติที่ได้รับการอนุญาตให้พักอาศัยและทำงานในไทยระยะเวลา 4 ปี (วีซ่า) หมดอายุ ว่า ในเรื่องนี้ได้ข้อสรุปถึงแนวทางร่วมกันในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเรื่องนี้ไม่ใช่ความผิดของแรงงานข้ามชาติและนายจ้าง เราจึงจะให้ลูกจ้างยื่นเอกสารต่อสำนักงานจัดหางานพื้นที่และจังหวัดในแต่ละแห่ง เพื่อยื่นเอกสารหลักฐานในการขออนุญาตเข้ามาทำงานต่ออีก ซึ่งในการยื่นหลักฐานนี้จะเป็นการแสดงตนและหลักฐานที่จะไม่ถูกจับกุมหรือเอาผิด กรณีที่อยู่เกินระยะเวลาที่อนุญาตให้อยู่ (over stay) โดย กกจ.จะทำหนังสือถึง สตม.และ สตช.เพื่อขอให้ผ่อนปรนการจับกุมแรงงานเหล่านี้ ซึ่งในเรื่องนี้ถือเป็นความร่วมมือในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อนระหว่างรอรัฐบาลใหม่ ทั้งนี้จะมีการเรียกประชุมของคณะกรรมการในการพิจารณาลดโทษปรับกรณีที่อยู่เกินระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งเดิมมีโทษปรับวันละ 500 บาท สูงสุดไม่เกิน 20,000 บาท เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนแก่นายจ้างและลูกจ้าง
นายประวิทย์ กล่าวอีกว่า ในเรื่องนี้ถือเป็นการหาทางออกโดยขอความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องของการยื่นเอกสาร โดยให้ยื่นเพื่อเตรียมพร้อมเมื่อมีรัฐบาลชุดใหม่จะได้เสนอประเด็นที่เป็นสาระสำคัญ ในการแก้ไขบันทึกความเข้าใจระหว่างประเทศ (เอ็มโอยู) เพื่อยกเว้นการบังคับใช้ในเรื่องที่กำหนดให้แรงงานที่หมดสัญญาจ้าง 4 ปี ต้องกลับประเทศต้นทางไม่น้อยกว่า 3 ปี จึงจะขอกลับมาทำงานได้ใหม่อีก โดยจะนำเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ลดระยะเวลา หากรัฐบาลมีนโยบายชัดเจนอย่างไรแล้ว แรงงานที่ยื่นเอกสารไว้จะสามารถยื่นเรื่องกลับมาทำงานได้โดยทันที
“ส่วนเรื่องของสิทธิและเรื่องของประกันสังคมของลูกจ้างยังคงได้รับเช่นเดิม เพราะนายจ้างยังจ้างงานอยู่ เพียงแต่อยู่ระหว่างการดำเนินการต่อเอกสารเท่านั้น” นายประวิทย์ กล่าว
นายประวิทย์ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ได้มีการจัดตั้งศูนย์วันสตอปเซอร์วิส ที่ อ.แม่สอด จ.ตาก อ.แม่สาย จ.เชียงราย และ จ.ระนอง เพื่อให้บริการทางด้านเอกสารในการขอกลับเข้ามาทำงานในไทย และการนำเข้าแรงงานอย่างถูกต้องสำหรับแรงงานกลุ่มใหม่ รวมทั้งการพิสูจน์สัญชาติในกรณีที่เป็นแรงงานที่ตกค้างการพิสูจน์สัญชาติ นอกจากนี้กระทรวงแรงงานยังได้เตรียมนำเสนอต่อ ครม.ในเรื่องการขออนุญาตใช้แรงงานเข้าชาติประเภทเช้าไปเย็นกลับ ที่อนุญาตให้เข้ามาทำงานครั้งละไม่เกิน 7 วัน และแรงงานที่เข้ามาทำงานตามฤดูกาลในภาคการเกษตรในพื้นที่จังหวัดชายแดน โดยจะอนุญาตให้เข้ามาครั้งละ 3 เดือน ทั้งนี้แรงงานเหล่านี้ก็ต้องตรวจสุขภาพและทำประกันสุขภาพ
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้หารือถึงแนวทางการดำเนินการเปิดให้จดทะเบียนแรงงานต่างด้าวภาคประมงใน 22 จังหวัดพื้นที่ชายทะเล ระหว่างวันที่ 3 มีนาคม - 31 พฤษภาคม นี้ ซึ่งขอเตือนไปยังนายจ้างให้นำลูกจ้างที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนมาขึ้นทะเบียนให้ถูกต้อง หากไม่ดำเนินการจะมีโทษตามกฎหมาย
ด้านนายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ ประธานหอการค้าไทย กล่าวว่า ในเรื่องนี้ผู้ประกอบการขอบคุณและพึงพอใจต่อแนวทางการแก้ปัญหา เพราะถือเป็นการทุเลาปัญหาในช่วงที่รัฐบาลรักษาการไม่พร้อมดำเนินการ ซึ่งในเรื่องนี้เราก็จะติดตามดูผลที่เกิดจากการตกลงในวันนี้ ทั้งนี้เรื่องนี้ถือเป็นผลประโยชน์ร่วมที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ จึงอยากให้ทุกฝ่ายเห็นใจแรงงานและผู้ประกอบการ เนื่องจากไม่ใช่ความผิดของทั้งนายจ้างและลูกจ้าง