แรงงานพม่า 2 แสนคนครบกำหนดเวลาอยู่ในไทยต้องกลับประเทศ กกจ.เผย เปิด 3 ด่าน นำเข้าผ่านเอ็มโอยู ระบุงดจดทะเบียนรอบใหม่ แนะนายจ้างนำลูกจ้างต่างด้าวเข้าประกันสังคม
วันนี้ (19 ก.พ.) นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีแรงงานต่างด้าวทั้งพม่า กัมพูชา และลาวที่ได้รับอนุญาตให้อาศัยและทำงานอยู่ในไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมายกว่า 2.2 ล้านคน ซึ่งในจำนวนนี้มีแรงงานต่างด้าว 1 หมื่นคนที่นำเข้าตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน (เอ็มโอยู) และขณะนี้ได้ครบกำหนดจะต้องกลับประเทศต้นทางไปก่อน 3 ปี จึงจะกลับเข้ามาทำงานในไทย ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้กกจ.ได้เสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้มีมติผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวกลุ่มนี้ไม่ต้องรอถึง 3 ปีก็ให้กลับเข้ามาทำงานในไทยใหม่ได้แต่เรื่องค้างอยู่รอเสนอ ครม.ทำให้แรงงานต่างด้าวกลุ่มนี้ต้องกลับออกไปก่อน 3 ปีและจะนำเข้ามาโดยผ่านเอ็มโอยู
อธิบดี กกจ.กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกัน มีแรงงานต่างด้าวอีกกว่า 3 แสนคน ซึ่งอยู่ระหว่างพิสูจน์สัญชาติโดยในจำนวนนี้เป็นแรงงานพม่ากว่า 2 แสนคน ซึ่งพม่าจะให้แรงงานกลับไปทำบัตรประชาชนและออกหนังสือเดินทาง ดังนั้น กกจ.จึงกำหนดให้หากเป็นแรงงานพม่าที่มีหนังสือเดินทางอายุมากกว่า 2 ปี ก็สามารถใช้เล่มเก่าได้ แต่ถ้าหนังสือเดินทางมีอายุน้อยกว่า 2 ปี ก็ต้องกลับไปทำหนังสือเดินทางใหม่ และกกจ.ได้เปิดด่าน 3 ด่านคือ ที่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย อ.แม่สอด จ.ตาก และเกาะสอง จ.ระนอง เพื่อให้แรงงานพม่าเดินทางออกจากไทยและกลับเข้ามาใหม่ได้โดยระบบเอ็มโอยู แต่ละด่านจะมีการจัดอบรมและให้ทำสัญญาจ้าง ส่วนแรงงานพม่าที่มีใบ ทร.38/1 ให้อยู่ในไทยได้ชั่วคราวซึ่งมีอยู่ 3 หมื่นคน ก็ให้มายื่นเอกสารเพื่อพิสูจน์สัญชาติที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดหรือสำนักงานบริหารแรงงานต่างด้าว กกจ.จะส่งเอกสารไปให้สถานทูตพม่า เมื่อมีหนังสือตอบกลับมาแรงงานพม่าก็ไปยังด่าน กกจ.ได้ทั้ง 3 ด่าน
“ส่วนการพิสูจน์สัญชาติแรงงานลาวนั้น ทางลาวไม่ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาตามศูนย์พิสูจน์สัญชาติในไทย โดยแจ้งว่าเหตุการณ์ทางการเมืองในไทยยังไม่สงบ ขณะที่ กัมพูชาส่งเจ้าหน้าที่มาสำรวจและเก็บข้อมูลเพื่อไปออกพาสสปอร์ต อย่างไรก็ตาม ปีนี้กกจ.จะเร่งพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าวที่ยังเหลือตกค้างอยู่ประมาณ 1 แสนคน และได้รับการประสานจากองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (ไอโอเอ็ม) ว่าจะเข้ามาดูการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวของไทยเพื่อป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ซึ่งก็แจ้งไปว่ากกจ.ยินดีให้เข้ามาดูและนโยบายกกจ. หลังจากนี้จะไม่เปิดจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวรอบใหม่อีกเพราะหากเปิดจดทะเบียนก็ต้องเปิดอยู่เรื่อยๆ ต่อไปจะนำเข้าผ่านเอ็มโอยูเท่านั้น” นายประวิทย์ กล่า;
อธิบดี กกจ.กล่าวด้วยว่า ส่วนการประสานกับสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เพื่อนำแรงงานต่างด้าวที่มีใบอนุญาตทำงานและผ่านการพิสูจน์สัญชาติแล้วเข้าประกันสังคมนั้นจะใช้ใบอนุญาตทำงานจริง ไม่สามารถใช้ใบเสร็จการออกใบอนุญาตทำงานได้เพราะไม่มีเลขที่ใบอนุญาต ขณะนี้ กกจ.ได้ส่งหนังสือใบอนุญาตทำงานแรงงานต่างด้าวที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติเกือบ 9 แสนคน ไปให้แก่นายจ้างครบทั้งหมดแล้ว รวมทั้งได้ส่งข้อมูลเลขหนังสือใบอนุญาตทำงานของแรงงานต่างด้าวไปให้สปส.เรียบร้อยแล้ว หลังจากนี้จึงเป็นหน้าที่ของ สปส.ที่จะต้องไปแจ้งเตือนนายจ้างให้นำลูกจ้างต่างด้าวมาเข้าประกันสังคม
วันนี้ (19 ก.พ.) นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีแรงงานต่างด้าวทั้งพม่า กัมพูชา และลาวที่ได้รับอนุญาตให้อาศัยและทำงานอยู่ในไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมายกว่า 2.2 ล้านคน ซึ่งในจำนวนนี้มีแรงงานต่างด้าว 1 หมื่นคนที่นำเข้าตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน (เอ็มโอยู) และขณะนี้ได้ครบกำหนดจะต้องกลับประเทศต้นทางไปก่อน 3 ปี จึงจะกลับเข้ามาทำงานในไทย ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้กกจ.ได้เสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้มีมติผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวกลุ่มนี้ไม่ต้องรอถึง 3 ปีก็ให้กลับเข้ามาทำงานในไทยใหม่ได้แต่เรื่องค้างอยู่รอเสนอ ครม.ทำให้แรงงานต่างด้าวกลุ่มนี้ต้องกลับออกไปก่อน 3 ปีและจะนำเข้ามาโดยผ่านเอ็มโอยู
อธิบดี กกจ.กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกัน มีแรงงานต่างด้าวอีกกว่า 3 แสนคน ซึ่งอยู่ระหว่างพิสูจน์สัญชาติโดยในจำนวนนี้เป็นแรงงานพม่ากว่า 2 แสนคน ซึ่งพม่าจะให้แรงงานกลับไปทำบัตรประชาชนและออกหนังสือเดินทาง ดังนั้น กกจ.จึงกำหนดให้หากเป็นแรงงานพม่าที่มีหนังสือเดินทางอายุมากกว่า 2 ปี ก็สามารถใช้เล่มเก่าได้ แต่ถ้าหนังสือเดินทางมีอายุน้อยกว่า 2 ปี ก็ต้องกลับไปทำหนังสือเดินทางใหม่ และกกจ.ได้เปิดด่าน 3 ด่านคือ ที่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย อ.แม่สอด จ.ตาก และเกาะสอง จ.ระนอง เพื่อให้แรงงานพม่าเดินทางออกจากไทยและกลับเข้ามาใหม่ได้โดยระบบเอ็มโอยู แต่ละด่านจะมีการจัดอบรมและให้ทำสัญญาจ้าง ส่วนแรงงานพม่าที่มีใบ ทร.38/1 ให้อยู่ในไทยได้ชั่วคราวซึ่งมีอยู่ 3 หมื่นคน ก็ให้มายื่นเอกสารเพื่อพิสูจน์สัญชาติที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดหรือสำนักงานบริหารแรงงานต่างด้าว กกจ.จะส่งเอกสารไปให้สถานทูตพม่า เมื่อมีหนังสือตอบกลับมาแรงงานพม่าก็ไปยังด่าน กกจ.ได้ทั้ง 3 ด่าน
“ส่วนการพิสูจน์สัญชาติแรงงานลาวนั้น ทางลาวไม่ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาตามศูนย์พิสูจน์สัญชาติในไทย โดยแจ้งว่าเหตุการณ์ทางการเมืองในไทยยังไม่สงบ ขณะที่ กัมพูชาส่งเจ้าหน้าที่มาสำรวจและเก็บข้อมูลเพื่อไปออกพาสสปอร์ต อย่างไรก็ตาม ปีนี้กกจ.จะเร่งพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าวที่ยังเหลือตกค้างอยู่ประมาณ 1 แสนคน และได้รับการประสานจากองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (ไอโอเอ็ม) ว่าจะเข้ามาดูการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวของไทยเพื่อป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ซึ่งก็แจ้งไปว่ากกจ.ยินดีให้เข้ามาดูและนโยบายกกจ. หลังจากนี้จะไม่เปิดจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวรอบใหม่อีกเพราะหากเปิดจดทะเบียนก็ต้องเปิดอยู่เรื่อยๆ ต่อไปจะนำเข้าผ่านเอ็มโอยูเท่านั้น” นายประวิทย์ กล่า;
อธิบดี กกจ.กล่าวด้วยว่า ส่วนการประสานกับสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เพื่อนำแรงงานต่างด้าวที่มีใบอนุญาตทำงานและผ่านการพิสูจน์สัญชาติแล้วเข้าประกันสังคมนั้นจะใช้ใบอนุญาตทำงานจริง ไม่สามารถใช้ใบเสร็จการออกใบอนุญาตทำงานได้เพราะไม่มีเลขที่ใบอนุญาต ขณะนี้ กกจ.ได้ส่งหนังสือใบอนุญาตทำงานแรงงานต่างด้าวที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติเกือบ 9 แสนคน ไปให้แก่นายจ้างครบทั้งหมดแล้ว รวมทั้งได้ส่งข้อมูลเลขหนังสือใบอนุญาตทำงานของแรงงานต่างด้าวไปให้สปส.เรียบร้อยแล้ว หลังจากนี้จึงเป็นหน้าที่ของ สปส.ที่จะต้องไปแจ้งเตือนนายจ้างให้นำลูกจ้างต่างด้าวมาเข้าประกันสังคม