“หมอพรเทพ” ชวนกินไข่มดแดง ชี้มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เหตุโปรตีนเพียบ แต่ไขมันและแคลอรีน้อย แถมอยู่ในช่วงฤดูกาลไข่มดแดง แนะปรุงสุกก่อนกินป้องกันติดเชื้อโรค ระบุควรกินคู่ผักพื้นบ้าน
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า ช่วงนี้เป็นฤดูกาลที่เมนูไข่มดแดงกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะหาซื้อได้ตามท้องตลาด และบางพื้นที่ยังสามารถสอยไข่มดแดงมาปรุงประกอบได้เอง ทั้งเมนูแกงผักหวานไข่มดแดง ต้มยำปลาช่อนไข่มดแดง แกงขี้เหล็กไข่มดแดง ห่อหมกไข่มดแดง ไข่เจียวไข่มดแดง หรือยำไข่มดแดง ซึ่งไข่มดแดงถือเป็นเมนูที่มีคุณค่าทางโภชนาการเพราะมีโปรตีนสูง โดยในไข่มดแดง 100 กรัม หรือประมาณ 6 ช้อนกินข้าว จะมีโปรตีนสูงถึง 8.2 กรัม แถมไข่มดแดงยังมีไขมันและแคลอรีน้อยกว่าเมื่อเทียบกับไข่ไก่ เพราะไข่มดแดงมีไขมันเพียง 2.6 กรัม ในขณะที่ไข่ไก่มีไขมันมากถึง 11.7 กรัม สำหรับปริมาณกิโลแคลอรีในไข่มดแดงให้พลังงาน 86 กิโลแคลอรี ในขณะที่ไข่ไก่ให้พลังงานถึง 155 กิโลแคลอรี เมื่อเทียบคุณค่าทางโภชนาการในปริมาณ 100 กรัมเท่ากัน
นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า นอกจากไข่มดแดงจะเป็นเมนูที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเพราะมีคุณค่าทางโภชนาการแล้ว วิธีการนำไข่มดแดงมาปรุงประกอบให้สะอาด ปลอดภัยก็เป็นสิ่งสำคัญ โดยต้องล้างก่อนนำมาปรุงประกอบอาหาร และต้มหรือลวกให้สุกทุกครั้ง ไม่ควรกินแบบสุกๆ ดิบๆ เพราะอาจปนเปื้อนเชื้อโรค สำหรับวัตถุดิบที่นิยมนำมาปรุงประกอบกับไข่มดแดง มักจะเป็นผักพื้นบ้านจะต้องล้างทำความสะอาด เพื่อลดการปนเปื้อนจากเชื้อโรคและพยาธิ สารพิษหรือยาฆ่าแมลงเช่นเดียวกัน โดยการล้างอย่างน้อย 3 น้ำ คือ 1.ล้างด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้งหรือล้างด้วยการเปิดน้ำไหลผ่านผักสดอย่างน้อย 2 นาที 2.ใช้สารละลายอื่นๆ ในการล้างหรือแช่นานประมาณ 2-10 นาที อาทิ น้ำเกลือ หรือใช้น้ำส้มสายชู หรือใช้โซเดียมไบคาร์บอเนต (เบคกิงโซดาหรือผงฟู) และ 3.นำมาล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งเพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีสารพิษตกค้างและไม่ควรใช้อุปกรณ์ประกอบอาหาร เช่น เขียงหรือมีดร่วมกันระหว่างอาหารสุกและอาหารดิบ
“การกินอาหารที่ปรุงสุกใหม่จะมีความสะอาด ปลอดภัย แต่ถ้าต้องเก็บอาหารไว้รับประทานมื้อต่อไป ต้องใส่กล่องหรือเก็บในถุงให้มิดชิดและไม่ควรทิ้งไว้เกิน 2-4 ชั่วโมง หากนานกว่านั้นต้องเก็บไว้ในตู้เย็น และก่อนนำมารับประทานต้องอุ่นให้ร้อนอย่างทั่วถึงนาน 5-10 นาที สำหรับอาหารประเภทยำไม่ควรเก็บไว้ค้างมื้อโดยเด็ดขาด เพราะบูดเสียได้ง่ายทำให้ผู้บริโภคเสี่ยงต่อการปวดท้องและโรคอุจจาระร่วงได้” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า ช่วงนี้เป็นฤดูกาลที่เมนูไข่มดแดงกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะหาซื้อได้ตามท้องตลาด และบางพื้นที่ยังสามารถสอยไข่มดแดงมาปรุงประกอบได้เอง ทั้งเมนูแกงผักหวานไข่มดแดง ต้มยำปลาช่อนไข่มดแดง แกงขี้เหล็กไข่มดแดง ห่อหมกไข่มดแดง ไข่เจียวไข่มดแดง หรือยำไข่มดแดง ซึ่งไข่มดแดงถือเป็นเมนูที่มีคุณค่าทางโภชนาการเพราะมีโปรตีนสูง โดยในไข่มดแดง 100 กรัม หรือประมาณ 6 ช้อนกินข้าว จะมีโปรตีนสูงถึง 8.2 กรัม แถมไข่มดแดงยังมีไขมันและแคลอรีน้อยกว่าเมื่อเทียบกับไข่ไก่ เพราะไข่มดแดงมีไขมันเพียง 2.6 กรัม ในขณะที่ไข่ไก่มีไขมันมากถึง 11.7 กรัม สำหรับปริมาณกิโลแคลอรีในไข่มดแดงให้พลังงาน 86 กิโลแคลอรี ในขณะที่ไข่ไก่ให้พลังงานถึง 155 กิโลแคลอรี เมื่อเทียบคุณค่าทางโภชนาการในปริมาณ 100 กรัมเท่ากัน
นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า นอกจากไข่มดแดงจะเป็นเมนูที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเพราะมีคุณค่าทางโภชนาการแล้ว วิธีการนำไข่มดแดงมาปรุงประกอบให้สะอาด ปลอดภัยก็เป็นสิ่งสำคัญ โดยต้องล้างก่อนนำมาปรุงประกอบอาหาร และต้มหรือลวกให้สุกทุกครั้ง ไม่ควรกินแบบสุกๆ ดิบๆ เพราะอาจปนเปื้อนเชื้อโรค สำหรับวัตถุดิบที่นิยมนำมาปรุงประกอบกับไข่มดแดง มักจะเป็นผักพื้นบ้านจะต้องล้างทำความสะอาด เพื่อลดการปนเปื้อนจากเชื้อโรคและพยาธิ สารพิษหรือยาฆ่าแมลงเช่นเดียวกัน โดยการล้างอย่างน้อย 3 น้ำ คือ 1.ล้างด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้งหรือล้างด้วยการเปิดน้ำไหลผ่านผักสดอย่างน้อย 2 นาที 2.ใช้สารละลายอื่นๆ ในการล้างหรือแช่นานประมาณ 2-10 นาที อาทิ น้ำเกลือ หรือใช้น้ำส้มสายชู หรือใช้โซเดียมไบคาร์บอเนต (เบคกิงโซดาหรือผงฟู) และ 3.นำมาล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งเพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีสารพิษตกค้างและไม่ควรใช้อุปกรณ์ประกอบอาหาร เช่น เขียงหรือมีดร่วมกันระหว่างอาหารสุกและอาหารดิบ
“การกินอาหารที่ปรุงสุกใหม่จะมีความสะอาด ปลอดภัย แต่ถ้าต้องเก็บอาหารไว้รับประทานมื้อต่อไป ต้องใส่กล่องหรือเก็บในถุงให้มิดชิดและไม่ควรทิ้งไว้เกิน 2-4 ชั่วโมง หากนานกว่านั้นต้องเก็บไว้ในตู้เย็น และก่อนนำมารับประทานต้องอุ่นให้ร้อนอย่างทั่วถึงนาน 5-10 นาที สำหรับอาหารประเภทยำไม่ควรเก็บไว้ค้างมื้อโดยเด็ดขาด เพราะบูดเสียได้ง่ายทำให้ผู้บริโภคเสี่ยงต่อการปวดท้องและโรคอุจจาระร่วงได้” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว