เครือข่ายความหลากหลายทางเพศ ดัน ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต ฉบับประชาชน ชี้ไม่แบ่งแยกชาย-หญิง รวมผู้มีความหลากหลายทางเพศ เน้นเสมอภาค เท่าเทียมกัน ไม่เลือกปฏิบัติ เล็งจัดเวทีรับฟังทั่วประเทศ ก่อนเสนอเข้าสภา
นางนัยนา สุภาพึ่ง ผู้อำนวยการมูลนิธิธีรนาถ กาญจนอักษร กล่าวในการเสวนาในหัวข้อ “กฎหมายคู่ชีวิตกับชีวิตคู่ของผู้มีความหลากหลายทางเพศ” จัดโดยมูลนิธิเพื่อสิทธิและความเป็นธรรมทางเพศ ร่วมกับมูลนิธิธีรนาถ กาญจนอักษร และองค์กรภาคีเครือข่ายด้านสิทธิความเป็นธรรมทางเพศ โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ว่า ขณะนี้ภาคประชาชนอยู่ระหว่างการจัดทำ พ.ร.บ.คู่ชีวิต ซึ่งมีความแตกต่างจากร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต ที่คณะกรรมาธิการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร ได้จัดทำออกมาก่อนหน้านี้ โดยสาระสำคัญ พ.ร.บ.คู่ชีวิตฉบับของคณะกรรมาธิการ กำหนดให้กฎหมายบังคับใช้กับบุคคลที่เป็นคู่ชีวิตเพศเดียวกันเท่านั้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อบุคคลข้ามเพศที่ไม่ได้นิยามว่าตัวเองเป็นบุคคลรักเพศเดียวกัน ทำให้ไม่ได้รับสิทธิตามกฎหมาย รวมถึงการกำหนดให้เฉพาะบุคคลเพศเดียวกันจดทะเบียนได้ ขณะที่ร่างฉบับของภาคประชาชนจะมีการนำเสนอทางเลือกใหม่ในการจดทะเบียนคู่ชีวิตสำหรับทุกเพศ เพื่อให้เกิดความเสมอภาคและเท่าเทียม และไม่เป็นการเลือกปฏิบัติ
“นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มเติ่มหลักการสำคัญ 8 ประการ อาทิ การไม่ระบุเพศหญิงหรือชายไว้ในกฎหมาย เพื่อให้ครอบคลุมคนทุกกลุ่มในสังคม เรื่องสิทธิในการจัดการทรัพย์สินมรดก การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม การอุปการะเลี้ยงดูบุตรเรื่องการสมรสและการหย่าตามหลักการในกฎหมายแพ่งว่าด้วยครอบครัวมรดก เป็นต้น” นางนัยนา กล่าว
นางภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สสส.กล่าวว่า สสส.สนใจและให้ความสำคัญต่อการเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการของทุกคนในสังคม โดยต้องได้รับสิทธิอย่างเท่าเทียมและเสมอภาคกัน อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา พบว่ากลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศมักจะประสบปัญหาเรื่องการเข้าถึงสิทธิต่างๆ อย่างมาก โดยเฉพาะสิทธิด้านสาธารณสุข เช่น สวัสดิการรักษาพยาบาลของคู่สมรส เป็นต้น ทั้งนี้ หวังว่าการจัดทำร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิตของภาคประชาชนน่าจะมีส่วนช่วยทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในเรื่องการสร้างความเท่าเทียมของคนในสังคม โดยเฉพาะการลดอคติต่อกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ
ด้าน น.ส.พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ มูลนิธิเพื่อสิทธิและความเป็นธรรมทางเพศ กล่าวว่า ในส่วนของความคืบหน้าในการจัดทำร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิตฉบับของภาคประชาชนนั้น คาดว่าประมาณสิ้นเดือนมีนาคมนี้ รายละเอียดสาระสำคัญต่างๆ ในเบื้องต้นน่าจะเสร็จออกมา จากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน โดยจะจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นทั้ง 4 ภาคทั่วประเทศ จากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนของการรวบรวมรายชื่อผู้สนับสนุนให้ได้จำนวน 1 หมื่นรายชื่อ เพื่อนำเสนอร่างกฎหมายให้สภาต่อไป
นางนัยนา สุภาพึ่ง ผู้อำนวยการมูลนิธิธีรนาถ กาญจนอักษร กล่าวในการเสวนาในหัวข้อ “กฎหมายคู่ชีวิตกับชีวิตคู่ของผู้มีความหลากหลายทางเพศ” จัดโดยมูลนิธิเพื่อสิทธิและความเป็นธรรมทางเพศ ร่วมกับมูลนิธิธีรนาถ กาญจนอักษร และองค์กรภาคีเครือข่ายด้านสิทธิความเป็นธรรมทางเพศ โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ว่า ขณะนี้ภาคประชาชนอยู่ระหว่างการจัดทำ พ.ร.บ.คู่ชีวิต ซึ่งมีความแตกต่างจากร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต ที่คณะกรรมาธิการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร ได้จัดทำออกมาก่อนหน้านี้ โดยสาระสำคัญ พ.ร.บ.คู่ชีวิตฉบับของคณะกรรมาธิการ กำหนดให้กฎหมายบังคับใช้กับบุคคลที่เป็นคู่ชีวิตเพศเดียวกันเท่านั้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อบุคคลข้ามเพศที่ไม่ได้นิยามว่าตัวเองเป็นบุคคลรักเพศเดียวกัน ทำให้ไม่ได้รับสิทธิตามกฎหมาย รวมถึงการกำหนดให้เฉพาะบุคคลเพศเดียวกันจดทะเบียนได้ ขณะที่ร่างฉบับของภาคประชาชนจะมีการนำเสนอทางเลือกใหม่ในการจดทะเบียนคู่ชีวิตสำหรับทุกเพศ เพื่อให้เกิดความเสมอภาคและเท่าเทียม และไม่เป็นการเลือกปฏิบัติ
“นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มเติ่มหลักการสำคัญ 8 ประการ อาทิ การไม่ระบุเพศหญิงหรือชายไว้ในกฎหมาย เพื่อให้ครอบคลุมคนทุกกลุ่มในสังคม เรื่องสิทธิในการจัดการทรัพย์สินมรดก การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม การอุปการะเลี้ยงดูบุตรเรื่องการสมรสและการหย่าตามหลักการในกฎหมายแพ่งว่าด้วยครอบครัวมรดก เป็นต้น” นางนัยนา กล่าว
นางภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สสส.กล่าวว่า สสส.สนใจและให้ความสำคัญต่อการเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการของทุกคนในสังคม โดยต้องได้รับสิทธิอย่างเท่าเทียมและเสมอภาคกัน อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา พบว่ากลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศมักจะประสบปัญหาเรื่องการเข้าถึงสิทธิต่างๆ อย่างมาก โดยเฉพาะสิทธิด้านสาธารณสุข เช่น สวัสดิการรักษาพยาบาลของคู่สมรส เป็นต้น ทั้งนี้ หวังว่าการจัดทำร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิตของภาคประชาชนน่าจะมีส่วนช่วยทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในเรื่องการสร้างความเท่าเทียมของคนในสังคม โดยเฉพาะการลดอคติต่อกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ
ด้าน น.ส.พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ มูลนิธิเพื่อสิทธิและความเป็นธรรมทางเพศ กล่าวว่า ในส่วนของความคืบหน้าในการจัดทำร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิตฉบับของภาคประชาชนนั้น คาดว่าประมาณสิ้นเดือนมีนาคมนี้ รายละเอียดสาระสำคัญต่างๆ ในเบื้องต้นน่าจะเสร็จออกมา จากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน โดยจะจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นทั้ง 4 ภาคทั่วประเทศ จากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนของการรวบรวมรายชื่อผู้สนับสนุนให้ได้จำนวน 1 หมื่นรายชื่อ เพื่อนำเสนอร่างกฎหมายให้สภาต่อไป