สปสช.ตั้งศูนย์บริการสุขภาพชุมชนใกล้บ้านใกล้ใจ เพิ่มขึ้น 372 แห่ง ฟุ้งดันให้ได้มาตรฐานบริการแล้วกว่า 8.6 พันแห่ง เร่งทำตัวชี้วัดคุณภาพและผลงาน พร้อมจับมือหน่วยงานต่างๆ เร่งผลิตบุคลากรที่เกี่ยวข้องเข้าสู่หน่วยบริการปฐมภูมิ หวังช่วยคัดกรองโรคเบื้องต้น ลดรอคิวแออัด รพ.ใหญ่
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิเป็นนโยบายที่ สปสช.และกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้ความสำคัญ และสนับสนุนให้มีเพียงพอ เพราะช่วยทำหน้าที่คัดกรองผู้ป่วย ช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษากรณีเจ็บป่วยด้วยโรคทั่วไปอย่างทั่วถึง เป็นการลดปัญหาการรอคิว และความแออัดในโรงพยาบาลใหญ่ รวมถึงมีภารกิจส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค และการฟื้นฟูผู้ป่วยด้วย ซึ่งผลการดำเนินงานตามแผนงานสนับสนุนระบบบริการปฐมภูมิของ สปสช.ส่งผลให้มีการจัดตั้งศูนย์บริการสุขภาพชุมชนใกล้บ้านใกล้ใจ ซึ่งเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิในเขตเมืองเพิ่มขึ้น โดยปี 2556 จัดตั้งเพิ่มเป็น 372 แห่ง เกินจำนวนจากเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยเพิ่มจากปี 2555 จำนวน 80 แห่ง ส่งผลให้ปี 2556 มีครอบครัวที่มีหมอใกล้บ้านใกล้ใจดูแลถึงบ้านเพิ่มเป็นร้อยละ 72 จากเดิมปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 57.97
นพ.วินัย กล่าวอีกว่า นอกจากการเพิ่มจำนวนศูนย์ฯ แล้ว การพัฒนาหน่วยบริการปฐมภูมิทั่วประเทศให้ได้มาตรฐานบริการก็เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่ง สปสช.ส่งเสริมจนมีจำนวนหน่วยบริการปฐมภูมิผ่านเกณฑ์มาตรฐานเพิ่มมาก จากปี 2553 มีเพียง 4,486 แห่ง จาก 11,260 แห่ง หรือร้อยละ 40 เพิ่มเป็น 8,663 แห่ง จาก 11,329 แห่ง หรือร้อยละ 76 ในปี 2556 โดยมีจำนวนเพิ่มขึ้น 4,177 แห่ง ทั้งนี้ ปี 2557 สปสช.ได้จัดทำตัวชี้วัดคุณภาพ และผลงานบริการปฐมภูมิ เช่น หญิงมีครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ 5 ครั้งตามเกณฑ์ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ 30-60 ปี ภายใน 5 ปี อัตราการใช้บริการที่หน่วยบริการปฐมภูมิกับแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาล เป็นต้น เหล่านี้จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการบริการของหน่วยบริการปฐมภูมิเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตประชาชน
“การพัฒนาหน่วยบริการปฐมภูมิ การผลิต การจัดหา และการกระจายด้านบุคลากรในระบบบริการปฐมภูมิเป็นปัจจัยสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว นักกายภาพบำบัด และพยาบาลเวชปฎิบัติ ซึ่งยอมรับว่ายังมีจำนวนไม่เพียงพอเพื่อรองรับการดูแลผู้ป่วย ดังนั้น สปสช.จึงได้ร่วมกับ สธ. และสถาบันที่เกี่ยวข้อง เช่น ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว สมาคมนักกายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย และสภาการพยาบาล เป็นต้น เพื่อเพิ่มการผลิตบุคลากรที่จำเป็นเหล่านี้ ซึ่งที่ผ่านมา สามารถผลิตบุคลากรเข้าสู่หน่วยบริการปฐมภูมิได้ในระดับหนึ่ง” เลขาธิการ สปสช. กล่าว
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิเป็นนโยบายที่ สปสช.และกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้ความสำคัญ และสนับสนุนให้มีเพียงพอ เพราะช่วยทำหน้าที่คัดกรองผู้ป่วย ช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษากรณีเจ็บป่วยด้วยโรคทั่วไปอย่างทั่วถึง เป็นการลดปัญหาการรอคิว และความแออัดในโรงพยาบาลใหญ่ รวมถึงมีภารกิจส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค และการฟื้นฟูผู้ป่วยด้วย ซึ่งผลการดำเนินงานตามแผนงานสนับสนุนระบบบริการปฐมภูมิของ สปสช.ส่งผลให้มีการจัดตั้งศูนย์บริการสุขภาพชุมชนใกล้บ้านใกล้ใจ ซึ่งเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิในเขตเมืองเพิ่มขึ้น โดยปี 2556 จัดตั้งเพิ่มเป็น 372 แห่ง เกินจำนวนจากเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยเพิ่มจากปี 2555 จำนวน 80 แห่ง ส่งผลให้ปี 2556 มีครอบครัวที่มีหมอใกล้บ้านใกล้ใจดูแลถึงบ้านเพิ่มเป็นร้อยละ 72 จากเดิมปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 57.97
นพ.วินัย กล่าวอีกว่า นอกจากการเพิ่มจำนวนศูนย์ฯ แล้ว การพัฒนาหน่วยบริการปฐมภูมิทั่วประเทศให้ได้มาตรฐานบริการก็เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่ง สปสช.ส่งเสริมจนมีจำนวนหน่วยบริการปฐมภูมิผ่านเกณฑ์มาตรฐานเพิ่มมาก จากปี 2553 มีเพียง 4,486 แห่ง จาก 11,260 แห่ง หรือร้อยละ 40 เพิ่มเป็น 8,663 แห่ง จาก 11,329 แห่ง หรือร้อยละ 76 ในปี 2556 โดยมีจำนวนเพิ่มขึ้น 4,177 แห่ง ทั้งนี้ ปี 2557 สปสช.ได้จัดทำตัวชี้วัดคุณภาพ และผลงานบริการปฐมภูมิ เช่น หญิงมีครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ 5 ครั้งตามเกณฑ์ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ 30-60 ปี ภายใน 5 ปี อัตราการใช้บริการที่หน่วยบริการปฐมภูมิกับแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาล เป็นต้น เหล่านี้จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการบริการของหน่วยบริการปฐมภูมิเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตประชาชน
“การพัฒนาหน่วยบริการปฐมภูมิ การผลิต การจัดหา และการกระจายด้านบุคลากรในระบบบริการปฐมภูมิเป็นปัจจัยสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว นักกายภาพบำบัด และพยาบาลเวชปฎิบัติ ซึ่งยอมรับว่ายังมีจำนวนไม่เพียงพอเพื่อรองรับการดูแลผู้ป่วย ดังนั้น สปสช.จึงได้ร่วมกับ สธ. และสถาบันที่เกี่ยวข้อง เช่น ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว สมาคมนักกายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย และสภาการพยาบาล เป็นต้น เพื่อเพิ่มการผลิตบุคลากรที่จำเป็นเหล่านี้ ซึ่งที่ผ่านมา สามารถผลิตบุคลากรเข้าสู่หน่วยบริการปฐมภูมิได้ในระดับหนึ่ง” เลขาธิการ สปสช. กล่าว