นักวิชาการไต้หวันแนะสร้างเครือข่ายรู้คุณค่าการกินผัก-ผลไม้ ชี้กินอย่างน้อย 400 กรัมต่อวัน ช่วยลดการป่วยโรคเรื้อรังได้ แถมลดต้นทุนเศรษฐกิจ และสังคมของรัฐบาล และรายได้การรักษาพยาบาลส่วนบุคคล
นายเรย์-ยู หยาง นักโภชนาการจากศูนย์พืชผักโลก จากไต้หวัน กล่าวภายในงานประชุมวิชาการแห่งชาติด้านอาหารและโภชนาการเพื่อสุขภาพ ครั้งที่ 1 จัดโดยสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ภาคีข่ายด้านอาหารและโภชนาการ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ว่า ในรอบ 2 ทศวรรษที่ผ่านมา อุตสาหกรรมอาหาร และการค้าเสรีตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจของหลายๆ ประเทศ ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางโภชนาการของคนเรา ประชากรโลกหันไปรับประทานอาหารสะดวกซื้อ (ฟาสต์ฟูด) ที่มีปริมาณไขมันมาก ให้พลังงานสูง และมีคุณค่าทางโภชนาการน้อยเพิ่มมากขึ้น จึงเป็นผลให้ประชากรโลกเจ็บป่วยด้วยโรคอ้วน และโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นตามมา
“งานวิจัยหลายชิ้นพิสูจน์ว่า การกินผัก และผลไม้ทุกวันอย่างน้อย 5 ส่วน หรือ 400 กรัมต่อวัน มีส่วนช่วยลดอัตราการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และโรคมะเร็งต่างๆ ได้ ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกแนะนำไว้ว่า เพื่อสุขภาพที่ดีควรบริโภคผัก และผลไม้อย่างน้อยวันละ 400 กรัม หรือเท่ากับ 5 ส่วนมาตรฐาน คือ ผัก 3 ส่วน ผลไม้ 2 ส่วน หรือตามข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย และธงโภชนาการว่า แต่ละมื้อควรกินผักอย่างน้อยมื้อละ 2 ทัพพี และผลไม้มื้อละ 1 ส่วน” นายเรย์-ยู กล่าว
นายเรย์-ยู กล่าวอีกว่า หากไม่มีกระบวนการในการสร้างเครือข่ายเพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงคุณค่าของการกินผัก และผลไม้อย่างจริงจัง ย่อมส่งผลให้ประชาชนอาจป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มขึ้น ทั้งที่เราสามารถป้องกันได้ ซึ่งการทำให้ประชาชนไม่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง จะช่วยลดต้นทุนทางเศรษฐกิจ และสังคมของรัฐบาล รวมถึงรายได้ในการรักษาพยาบาลส่วนบุคคลด้วย หากแต่ประชากรส่วนใหญ่ทั่วโลกยังบริโภคผักผลไม้ไม่เพียงพอต่อปริมาณดังกล่าว ฉะนั้น หากต้องการขับเคลื่อนงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพด้วยโภชนาการ การสร้างความตระหนักเพื่อให้ประชากรโลกเห็นคุณค่าของการกินผักผลไม้
นายเรย์-ยู หยาง นักโภชนาการจากศูนย์พืชผักโลก จากไต้หวัน กล่าวภายในงานประชุมวิชาการแห่งชาติด้านอาหารและโภชนาการเพื่อสุขภาพ ครั้งที่ 1 จัดโดยสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ภาคีข่ายด้านอาหารและโภชนาการ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ว่า ในรอบ 2 ทศวรรษที่ผ่านมา อุตสาหกรรมอาหาร และการค้าเสรีตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจของหลายๆ ประเทศ ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางโภชนาการของคนเรา ประชากรโลกหันไปรับประทานอาหารสะดวกซื้อ (ฟาสต์ฟูด) ที่มีปริมาณไขมันมาก ให้พลังงานสูง และมีคุณค่าทางโภชนาการน้อยเพิ่มมากขึ้น จึงเป็นผลให้ประชากรโลกเจ็บป่วยด้วยโรคอ้วน และโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นตามมา
“งานวิจัยหลายชิ้นพิสูจน์ว่า การกินผัก และผลไม้ทุกวันอย่างน้อย 5 ส่วน หรือ 400 กรัมต่อวัน มีส่วนช่วยลดอัตราการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และโรคมะเร็งต่างๆ ได้ ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกแนะนำไว้ว่า เพื่อสุขภาพที่ดีควรบริโภคผัก และผลไม้อย่างน้อยวันละ 400 กรัม หรือเท่ากับ 5 ส่วนมาตรฐาน คือ ผัก 3 ส่วน ผลไม้ 2 ส่วน หรือตามข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย และธงโภชนาการว่า แต่ละมื้อควรกินผักอย่างน้อยมื้อละ 2 ทัพพี และผลไม้มื้อละ 1 ส่วน” นายเรย์-ยู กล่าว
นายเรย์-ยู กล่าวอีกว่า หากไม่มีกระบวนการในการสร้างเครือข่ายเพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงคุณค่าของการกินผัก และผลไม้อย่างจริงจัง ย่อมส่งผลให้ประชาชนอาจป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มขึ้น ทั้งที่เราสามารถป้องกันได้ ซึ่งการทำให้ประชาชนไม่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง จะช่วยลดต้นทุนทางเศรษฐกิจ และสังคมของรัฐบาล รวมถึงรายได้ในการรักษาพยาบาลส่วนบุคคลด้วย หากแต่ประชากรส่วนใหญ่ทั่วโลกยังบริโภคผักผลไม้ไม่เพียงพอต่อปริมาณดังกล่าว ฉะนั้น หากต้องการขับเคลื่อนงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพด้วยโภชนาการ การสร้างความตระหนักเพื่อให้ประชากรโลกเห็นคุณค่าของการกินผักผลไม้