สพฐ.ปรับระเบียบกองทุนอาหารกลางวัน เพิ่มนำการดอกผลมาใช้ดูแลปัญหาทุพโภชนการตั้งแต่อนุบาล-ม.3 จากเดิมกำหนดใช้ได้เฉพาะ ป.1-6 เท่านั้น เผยข้อมูลเด็กทั่วประเทศมีปัญหาขาดสารอาหารประมาณ 3.5 ล้านคน “จาตุรนต์” สั่งเดินหน้าโครงการ และสำรวจพื้นที่ ร.ร.ที่ต้องการดูแลเร่งด่วน ตั้งเป้าลดจำนวนเด็กขาดสารอาหารให้ได้ปีละ 20%
นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารองค์กรหลัก ศธ. ที่มีนายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธาน ว่า ได้หารือถึงกองทุนโครงการเพื่ออาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษาที่ได้รับงบประมาณ 6,000 ล้านบาท และให้นำดอกผลมาบริหารจัดการเพื่อแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการของเด็ก ส่งเสริมด้านสุขภาพอนามัย และการส่งการทำเกษตรเพื่ออาหารกลางวันเพืื่อการพัฒนาผู้เรียนอย่างยั่งยืน ซึ่งจากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติให้ปรับเพิ่มเงินค่าอาหารกลางวันนักเรียนจากรายละ 13 บาท เป็น 20 บาท ทางศธ.จึงได้นำมาปรับเพื่อจัดสรรอาหารให้เด็ก และการปรับตำรับอาหาร การจัดรายการอาหารเป็นคู่มือตำราอาหารให้แก่โรงเรียนของนักเรียน นอกจากนี้ จะทำแผนปฏิบัติการให้นำดอกผลจากกองทุนโครงการฯ มาใช้โดยในปีการศึกษา 2557 หลายโครงการ เช่น โครงการการพัฒนาโภชนาการและระบบสุขาภิบาลอาหารที่ดีในโรงเรียน โครงการเงินทุนหมุนเวียนเพื่อส่งเสริมอาหารกลางวัน การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารกองทุนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นต้น
ทั้งนี้ นายจาตุรนต์ ขอให้เร่งดำเนินการโครงการต่างๆ และควรเร่งสำรวจว่าในภาคไหน พื้นที่ใดที่นักเรียนยังมีภาวะทุพโภชนาการอยู่ เพื่อให้โรงเรียนได้มีการเสนอโครงการขอรับการอุดหนุนโดยเร่งด่วน ซึ่งอาจจะให้เขตพื้นที่การศึกษาช่วยกันติดตามโรงเรียนด้วย นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้รายงานว่ากำลังปรับระเบียบกองทุนโครงการฯ เพื่อให้สามารถใช้ดอกผลเงินกองทุนนี้มาใช้ได้ในระดับอนุบาล และมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จากในปัจจุบันใช้ได้เฉพาะในระดับประถมศึกษาปีที่ 1-6 เท่านั้น โดยหากดำเนินการได้จะเป็นประโยชน์อย่างมาก นอกจากนี้ จะต้องดูว่าจะปรับระเบียบเพิ่มเติมเพื่อหาช่องทางที่จะให้ภาคเอกชน หรือหน่วยงานอื่นๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนการส่งเสริมอาหารกลางวัน
“จากข้อมูลที่ สพฐ.รายงานพบว่า เด็กที่อยู่ในสภาวะทุพโภชนาการทั่วประเทศมีอยู่ประมาณ 3.5 ล้านคน ซึ่งเด็กในสภาวะนี้จะหมายถึงได้รับอาหารไม่ครบจนมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ หรือได้รับอาหารมากผิดปกติจนผิดสัดส่วนที่เหมาะสม นอกจากนี้ ยังมีเด็กที่ขาดอาหารหมายถึงอาจจะได้รับอาหารไม่ครบปริมาณหรือไม่ ได้รับอาหารกลางวัน 1.8 ล้านคน ทั้งนี้ แม้แนวโน้มของเด็กสภาวะทุพโภชนาการจะลดลงแต่ นายจาตุรนต์ มีนโยบายว่า ควรจะลดจำนวนประมาณปีละ 20% หรืออาจมากกว่านั้นเพื่อให้เด็กเหล่านี้หมดไป” นางสุทธศรี กล่าว
นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารองค์กรหลัก ศธ. ที่มีนายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธาน ว่า ได้หารือถึงกองทุนโครงการเพื่ออาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษาที่ได้รับงบประมาณ 6,000 ล้านบาท และให้นำดอกผลมาบริหารจัดการเพื่อแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการของเด็ก ส่งเสริมด้านสุขภาพอนามัย และการส่งการทำเกษตรเพื่ออาหารกลางวันเพืื่อการพัฒนาผู้เรียนอย่างยั่งยืน ซึ่งจากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติให้ปรับเพิ่มเงินค่าอาหารกลางวันนักเรียนจากรายละ 13 บาท เป็น 20 บาท ทางศธ.จึงได้นำมาปรับเพื่อจัดสรรอาหารให้เด็ก และการปรับตำรับอาหาร การจัดรายการอาหารเป็นคู่มือตำราอาหารให้แก่โรงเรียนของนักเรียน นอกจากนี้ จะทำแผนปฏิบัติการให้นำดอกผลจากกองทุนโครงการฯ มาใช้โดยในปีการศึกษา 2557 หลายโครงการ เช่น โครงการการพัฒนาโภชนาการและระบบสุขาภิบาลอาหารที่ดีในโรงเรียน โครงการเงินทุนหมุนเวียนเพื่อส่งเสริมอาหารกลางวัน การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารกองทุนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นต้น
ทั้งนี้ นายจาตุรนต์ ขอให้เร่งดำเนินการโครงการต่างๆ และควรเร่งสำรวจว่าในภาคไหน พื้นที่ใดที่นักเรียนยังมีภาวะทุพโภชนาการอยู่ เพื่อให้โรงเรียนได้มีการเสนอโครงการขอรับการอุดหนุนโดยเร่งด่วน ซึ่งอาจจะให้เขตพื้นที่การศึกษาช่วยกันติดตามโรงเรียนด้วย นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้รายงานว่ากำลังปรับระเบียบกองทุนโครงการฯ เพื่อให้สามารถใช้ดอกผลเงินกองทุนนี้มาใช้ได้ในระดับอนุบาล และมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จากในปัจจุบันใช้ได้เฉพาะในระดับประถมศึกษาปีที่ 1-6 เท่านั้น โดยหากดำเนินการได้จะเป็นประโยชน์อย่างมาก นอกจากนี้ จะต้องดูว่าจะปรับระเบียบเพิ่มเติมเพื่อหาช่องทางที่จะให้ภาคเอกชน หรือหน่วยงานอื่นๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนการส่งเสริมอาหารกลางวัน
“จากข้อมูลที่ สพฐ.รายงานพบว่า เด็กที่อยู่ในสภาวะทุพโภชนาการทั่วประเทศมีอยู่ประมาณ 3.5 ล้านคน ซึ่งเด็กในสภาวะนี้จะหมายถึงได้รับอาหารไม่ครบจนมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ หรือได้รับอาหารมากผิดปกติจนผิดสัดส่วนที่เหมาะสม นอกจากนี้ ยังมีเด็กที่ขาดอาหารหมายถึงอาจจะได้รับอาหารไม่ครบปริมาณหรือไม่ ได้รับอาหารกลางวัน 1.8 ล้านคน ทั้งนี้ แม้แนวโน้มของเด็กสภาวะทุพโภชนาการจะลดลงแต่ นายจาตุรนต์ มีนโยบายว่า ควรจะลดจำนวนประมาณปีละ 20% หรืออาจมากกว่านั้นเพื่อให้เด็กเหล่านี้หมดไป” นางสุทธศรี กล่าว