ศธ.เตรียมรวบรวมข้อมูลสถานศึกษาและเด็กที่ได้รับผลกระทบชุมนุม ส่งให้คณะกรรมการสิทธิฯ ทราบ พร้อมเผยหอพัก และสถานพยาบาล สกสค.ต้องปิดทำการไป 15 แห่ง เฉพาะสถานพยาบาลเสียรายได้ 2.28 ล.บาท
นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การชุมนุมทางการเมือง พบว่า ข้อมูลล่าสุดถึงวันที่ 24 ม.ค.ที่ผ่านมา มีสถานศึกษา ครู บุคลากรทางการศึกษา รวมถึงหน่วยงานต่างๆ ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งที่ตั้งอยู่ใน และนอก ศธ.ได้รับผลกระทบ โดยในส่วนของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ประกอบด้วย สำนักงานศึกษาธิการภาค 2 แห่ง หน่วยงานในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) 14 แห่ง สำนักงานส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) จังหวัด 3 แห่ง สถานศึกษาในสังกัด สช.24 แห่ง โดยมีนักเรียน นักศึกษา ได้รับผลกระทบ 11,825 คน ครู 565 คน ขณะที่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) 61 แห่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) 777 แห่ง มีนักเรียนได้รับผลกระทบ 2.4 แสนคน ครู 17,000 คน ขณะที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) มีสถานศึกษาได้รับผลกระทบ 53 แห่ง นักเรียน นักศึกษา ได้รับผลกระทบ 57,637 คน
ทั้งนี้ ในภาพรวมมีสถานศึกษาที่ต้องปิดสถานศึกษา ในลักษณะถูกบีบบังคับ และกดดันให้ปิด 934 แห่ง มีนักเรียน นักศึกษา ที่ได้รับผลกระทบ 316,982 คน ครู 18,164 คน ส่วนความเสียหายนั้นอยู่ระหว่างการตรวจสอบ ทั้งนี้ได้มอบให้นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัด ศธ.จัดทำข้อมูล เพื่อแจ้งให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนทราบ เพื่อหาทางดูแลสถานศึกษาที่ถูกข่มขู่ให้ปิดเรียน เพราะกระทบต่อสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน และทำให้เด็กเสียโอกาส อย่างไรก็ตาม สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ได้รายงานการตรวจสอบความเสียหายหลังจากกลุ่ม กปปส.มาปิดล้อมที่องค์การค้าของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครู (สกสค.) ในช่วงที่ผ่านมา โดยพบว่าได้รับความเสียหายประมาณ 1.42 ล้านบาท และส่งผลให้หอพักคุรุสภาหยุดทำการ 15 วัน เช่นเดียวกับสถานพยาบาล สกสค.หยุดทำการ 15 วัน ซึ่งเสียรายได้ประมาณ 2.28 ล้านบาท แต่ที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือ นักเรียนต้องหยุดเรียนหลายวัน แต่ขณะนี้ได้เปิดเรียนหมดทุกแห่งแล้ว และกำลังเตรียมการเรื่องการสอนชดเชย
นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การชุมนุมทางการเมือง พบว่า ข้อมูลล่าสุดถึงวันที่ 24 ม.ค.ที่ผ่านมา มีสถานศึกษา ครู บุคลากรทางการศึกษา รวมถึงหน่วยงานต่างๆ ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งที่ตั้งอยู่ใน และนอก ศธ.ได้รับผลกระทบ โดยในส่วนของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ประกอบด้วย สำนักงานศึกษาธิการภาค 2 แห่ง หน่วยงานในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) 14 แห่ง สำนักงานส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) จังหวัด 3 แห่ง สถานศึกษาในสังกัด สช.24 แห่ง โดยมีนักเรียน นักศึกษา ได้รับผลกระทบ 11,825 คน ครู 565 คน ขณะที่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) 61 แห่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) 777 แห่ง มีนักเรียนได้รับผลกระทบ 2.4 แสนคน ครู 17,000 คน ขณะที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) มีสถานศึกษาได้รับผลกระทบ 53 แห่ง นักเรียน นักศึกษา ได้รับผลกระทบ 57,637 คน
ทั้งนี้ ในภาพรวมมีสถานศึกษาที่ต้องปิดสถานศึกษา ในลักษณะถูกบีบบังคับ และกดดันให้ปิด 934 แห่ง มีนักเรียน นักศึกษา ที่ได้รับผลกระทบ 316,982 คน ครู 18,164 คน ส่วนความเสียหายนั้นอยู่ระหว่างการตรวจสอบ ทั้งนี้ได้มอบให้นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัด ศธ.จัดทำข้อมูล เพื่อแจ้งให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนทราบ เพื่อหาทางดูแลสถานศึกษาที่ถูกข่มขู่ให้ปิดเรียน เพราะกระทบต่อสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน และทำให้เด็กเสียโอกาส อย่างไรก็ตาม สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ได้รายงานการตรวจสอบความเสียหายหลังจากกลุ่ม กปปส.มาปิดล้อมที่องค์การค้าของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครู (สกสค.) ในช่วงที่ผ่านมา โดยพบว่าได้รับความเสียหายประมาณ 1.42 ล้านบาท และส่งผลให้หอพักคุรุสภาหยุดทำการ 15 วัน เช่นเดียวกับสถานพยาบาล สกสค.หยุดทำการ 15 วัน ซึ่งเสียรายได้ประมาณ 2.28 ล้านบาท แต่ที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือ นักเรียนต้องหยุดเรียนหลายวัน แต่ขณะนี้ได้เปิดเรียนหมดทุกแห่งแล้ว และกำลังเตรียมการเรื่องการสอนชดเชย