กรมสุขภาพจิต แนะวิธีลดเครียดช่วงเลือกตั้ง ต้องมีส่วนร่วมและไม่รุนแรง ระบุไปเลือกตั้งหรือโนโหวตล้วนเป็นสิทธิในการแสดงออก
นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ช่วงนี้ประชาชนมีความเครียดและวิตกกังวลกับสถานการณ์ในวันที่ 2 ก.พ.ซึ่งเป็นวันที่จะมีการจัดเลือกตั้งใหญ่ทั่วประเทศ กรมสุขภาพจิตได้ศึกษาแล้ว พบว่า ในการเผชิญกับภาวะวิกฤตทางการเมือง คนเราจะมีสุขภาพจิตดี มีความเครียดลดลง ต้องประกอบด้วย 2 องค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ การมีส่วนร่วมและไม่รุนแรง ทั้งนี้ การมีส่วนร่วม ณ เวลานี้ มี 2 ทางเลือก คือ การไปเลือกตั้งและไม่ไปเลือกตั้ง ซึ่งเป็นสิทธิและดุลยพินิจของแต่ละบุคคล อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะพิจารณาทางเลือกใด ต้องอยู่ภายใต้ความไม่รุนแรง
นพ.เจษฎา กล่าวอีกว่า 4 แนวทางสำคัญเพื่อไม่ให้เกิดความรุนแรง ได้แก่ 1.ไม่สนับสนุนความรุนแรง 2.ไม่สร้างความรุนแรง 3.เฝ้าระวังความรุนแรง และ 4.เตรียมรับมือกับความรุนแรง โดยการไม่สนับสนุนและไม่สร้างความรุนแรงนั้น จะต้องไม่สนับสนุนและไม่สร้างความรุนแรงทั้งทางตรงและทางอ้อม ทางตรง เช่น ไม่ขัดขวาง คัดค้าน หรือทำร้ายผู้ที่เห็นต่าง ทางอ้อม เช่น การไม่ใช้คำพูดที่ก่อให้เกิดความเกลียดชัง การดูถูก เหยียดหยาม ลดทอนความเป็นมนุษย์ของฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย เป็นต้น ส่วนการเฝ้าระวังความรุนแรงนั้น สิ่งที่เราทุกคนจะช่วยกันได้ คือ การร่วมมือกับเจ้าหน้าที่และสื่อมวลชนในการช่วยกันสอดส่องเฝ้าระวัง เมื่อพบเห็นความรุนแรงหรือความผิดปกติใดๆ ที่มีแนวโน้มนำไปสู่ความรุนแรง โดยต้องรีบแจ้งในทันที ขณะที่การเตรียมรับมือกับความรุนแรง ทุกคนสามารถรับมือได้ด้วยการตั้งสติ หลีกเลี่ยงการปะทะทุกรูปแบบ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของตนเองมากที่สุด
นพ.เจษฎา กล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่า ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้เตรียมความพร้อมกับเรื่องนี้เป็นอย่างมาก เช่น การเตรียมแผนปฏิบัติการด้านสาธารณสุขเพื่อเตรียมรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในทุกอำเภอ หรือการเตรียมทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤต (MCATT) ในระดับอำเภอ ซึ่งเป็นทีมสหวิชาชีพ ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาลจิตเวช เภสัชกร นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ นักวิชาการสาธารณสุข ผู้ที่รับผิดชอบงานด้านสุขภาพจิตและผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การช่วยเหลือด้านจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤติอย่างครอบคลุมและทั่วถึง ซึ่งจะทำงานร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) เป็นต้น
“ความคิดเห็นที่แตกต่างกันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ แต่ต้องเป็นไปด้วยการเคารพในสิทธิและบทบาทซึ่งกันและกัน เราจึงควรเปิดใจกว้าง ไม่มองคนที่เห็นต่างจากเราเป็นศัตรู ไม่ใช้ความรุนแรงตัดสินเมื่อเห็นต่าง มองเป้าหมายร่วม ซึ่งก็คือความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศให้ดีขึ้น ที่สำคัญ รักษาสายสัมพันธ์ที่ดีให้คงอยู่ในครอบครัว ชุมชนและสังคม อย่าให้เรื่องของการเมืองเข้ามามีอิทธิพลมากเกินไปจนอยู่เหนือความสัมพันธ์ ทั้งนี้ สามารถขอรับบริการปรึกษาได้ที่สายด่วน 1323 ฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง” อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว
นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ช่วงนี้ประชาชนมีความเครียดและวิตกกังวลกับสถานการณ์ในวันที่ 2 ก.พ.ซึ่งเป็นวันที่จะมีการจัดเลือกตั้งใหญ่ทั่วประเทศ กรมสุขภาพจิตได้ศึกษาแล้ว พบว่า ในการเผชิญกับภาวะวิกฤตทางการเมือง คนเราจะมีสุขภาพจิตดี มีความเครียดลดลง ต้องประกอบด้วย 2 องค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ การมีส่วนร่วมและไม่รุนแรง ทั้งนี้ การมีส่วนร่วม ณ เวลานี้ มี 2 ทางเลือก คือ การไปเลือกตั้งและไม่ไปเลือกตั้ง ซึ่งเป็นสิทธิและดุลยพินิจของแต่ละบุคคล อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะพิจารณาทางเลือกใด ต้องอยู่ภายใต้ความไม่รุนแรง
นพ.เจษฎา กล่าวอีกว่า 4 แนวทางสำคัญเพื่อไม่ให้เกิดความรุนแรง ได้แก่ 1.ไม่สนับสนุนความรุนแรง 2.ไม่สร้างความรุนแรง 3.เฝ้าระวังความรุนแรง และ 4.เตรียมรับมือกับความรุนแรง โดยการไม่สนับสนุนและไม่สร้างความรุนแรงนั้น จะต้องไม่สนับสนุนและไม่สร้างความรุนแรงทั้งทางตรงและทางอ้อม ทางตรง เช่น ไม่ขัดขวาง คัดค้าน หรือทำร้ายผู้ที่เห็นต่าง ทางอ้อม เช่น การไม่ใช้คำพูดที่ก่อให้เกิดความเกลียดชัง การดูถูก เหยียดหยาม ลดทอนความเป็นมนุษย์ของฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย เป็นต้น ส่วนการเฝ้าระวังความรุนแรงนั้น สิ่งที่เราทุกคนจะช่วยกันได้ คือ การร่วมมือกับเจ้าหน้าที่และสื่อมวลชนในการช่วยกันสอดส่องเฝ้าระวัง เมื่อพบเห็นความรุนแรงหรือความผิดปกติใดๆ ที่มีแนวโน้มนำไปสู่ความรุนแรง โดยต้องรีบแจ้งในทันที ขณะที่การเตรียมรับมือกับความรุนแรง ทุกคนสามารถรับมือได้ด้วยการตั้งสติ หลีกเลี่ยงการปะทะทุกรูปแบบ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของตนเองมากที่สุด
นพ.เจษฎา กล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่า ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้เตรียมความพร้อมกับเรื่องนี้เป็นอย่างมาก เช่น การเตรียมแผนปฏิบัติการด้านสาธารณสุขเพื่อเตรียมรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในทุกอำเภอ หรือการเตรียมทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤต (MCATT) ในระดับอำเภอ ซึ่งเป็นทีมสหวิชาชีพ ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาลจิตเวช เภสัชกร นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ นักวิชาการสาธารณสุข ผู้ที่รับผิดชอบงานด้านสุขภาพจิตและผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การช่วยเหลือด้านจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤติอย่างครอบคลุมและทั่วถึง ซึ่งจะทำงานร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) เป็นต้น
“ความคิดเห็นที่แตกต่างกันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ แต่ต้องเป็นไปด้วยการเคารพในสิทธิและบทบาทซึ่งกันและกัน เราจึงควรเปิดใจกว้าง ไม่มองคนที่เห็นต่างจากเราเป็นศัตรู ไม่ใช้ความรุนแรงตัดสินเมื่อเห็นต่าง มองเป้าหมายร่วม ซึ่งก็คือความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศให้ดีขึ้น ที่สำคัญ รักษาสายสัมพันธ์ที่ดีให้คงอยู่ในครอบครัว ชุมชนและสังคม อย่าให้เรื่องของการเมืองเข้ามามีอิทธิพลมากเกินไปจนอยู่เหนือความสัมพันธ์ ทั้งนี้ สามารถขอรับบริการปรึกษาได้ที่สายด่วน 1323 ฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง” อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว