บอร์ดคุรุสภา ไฟเขียวปรับเกณฑ์ใบอนุญาตชั่วคราว เอื้อผู้จบทุกสาขา มีโอกาสได้ตั๋วครูอย่างถูกต้องภายใต้หลักเกณฑ์เดิม พร้อมตั้งคณะอนุกรรมการฯ ศึกษาหาช่องทางพิเศษช่วยครูถิ่นทุรกันดาร ครู ตชด.ที่ไม่มีตั๋วครูและขาดโอกาสพัฒนาตัวให้ได้ตั๋วครู และผ่านเกณฑ์และกำหนดให้ครูต่างชาติที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู และวุฒิการศึกษาต่างประเทศขอรับตั๋วครูได้แต่ต้องผ่านอบรม 5 ด้าน 40 ชม.จากเดิมที่อบรมเพียงภาษาและวัฒนธรรม หวังเสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการศึกษาของไทย อุปนิสัยเด็กไทยที่ไม่ค่อยกล้าแสดงออก
วันนี้ (30 ม.ค.) ที่มหาวิทยาลัยนราชภัฏสวนดุสิต (มสด.) ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ประธานกรรมการคุรุสภา เป็นเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการคุรุสภา ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการคุรุสภาเสนอ เรื่องการปรับหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพครูโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ จากเดิมคุรุสภาอนุญาตให้สถานศึกษารับผู้ที่มีวุฒิการศึกษาอื่นซึ่งไม่ใช่วุฒิสายการศึกษาโดยตรง มาเป็นครูได้หากมีความจำเป็นและเน้นสาขาที่ขาดแคลน มาเป็นการขยายโอกาสให้สถานศึกษาสามารถรับผู้ที่มีวุฒิการศึกษาอื่นได้ทุกสาขา แต่ยังคงยึดหลักเกณฑ์เดิม คือ บุคคลดังกล่าวจะต้องมีโรงเรียนและชั่วโมงสอนแน่นอน จากนั้นคุรุสภาจะออกหนังสืออนุญาตให้ประกอบวิชาชีพครูโดยไม่ไม่มีใบอนุญาต หรือ ใบอนุญาตชั่วคราว ซึ่งมีระยะเวลา 2 ปีโดยภายในระยะเวลาดังกล่าวบุคคลนั้นๆ จะต้องพัฒนาตัวเองเพื่อให้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู จากคุรุสภา เช่น เรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต หรือ ป.บัณฑิต เรียนเพิ่มเติมในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เป็นต้น หากยังไม่สามารถได้ใบอนุญาตฯ ทางคุรุสภาจะต่ออายุใบอนุญาตชั่วคราวเพิ่มให้อีก 2 ปี รวมเป็น 4 ปี เมื่อครบกำหนดยังไม่สามารถมีใบอนุญาตฯ ได้ก็จะไม่สามารถสอนได้อีก ทั้งนี้ การขยายหลักเกณฑ์ดังกล่าวรวมถึงโรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร หรือพื้นที่ห่างไกล และชาวต่างประเทศที่ไม่มีวุฒิทางด้านการศึกษา แต่มาทำการสอนในสถานศึกษาของประเทศไทย แต่ยังไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ ด้วย
“กรณีครูในถิ่นทุรกันดารนั้น ที่ประชุมมีการหารือกว้างขวาง เนื่องจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชปรารภว่า ครูในโรงเรียนทุรกันดาร และครูในโรงเรียนพื้นที่ห่างไกล อาจจะขาดโอกาส ในการพัฒนาตนเองเพื่อให้มีใบอนุญาตฯ ทั้งข้อจำกัดในเรื่องของการเดินทางมาเรียน รวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ซึ่งบางคนปฏิบัติการสอนมานานกว่า 10 ปี และเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ ดังนั้นที่ประชุมจึงมอบให้คณะอนุกรรมการกำหนดแนวทางการออกใบอนุญาตสำหรับผู้มีความความชำนาญเฉพาะด้าน ไปหาแนวทางภายใน 2 สัปดาห์ ว่า ทำอย่างไรให้ครูกลุ่มนี้ สามารถได้รับใบอนุญาตฯ อย่างถูกต้อง โดยอาจจะมีหลักเกณฑ์พิเศษ เฉพาะครูกลุ่มนี้ขึ้นมา ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนครูในส่วนหนึ่งด้วย ขณะเดียวกัน หลักเกณฑ์ดังกล่าวอาจจะรวมไปถึงครูตำรวจตระเวนชายแดนที่อยากมีใบอนุญาตฯ ด้วย” ประธานกรรมการคุรุสภา กล่าว
ศ.ดร.ไพฑูรย์ กล่าวต่อว่า นอกจากนั้นที่ประชุมยังเห็นชอบ ตามที่คณะกรรมการคุรุสภาเสนอ เรื่องการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูของชาวต่างประเทศ สำหรับผู้ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู หรือมีวุฒิทางการศึกษาจากต่างประเทศ ที่ต้องการขอรับใบอนุญาตฯ โดยต่อไปจะต้องเข้ารับการอบรมจากคุรุสภาเป็นเวลาประมาณ 40 ชั่วโมง ก่อนทำการสอนในสถานศึกษาไทย ใน 5 หัวข้อคือ ภาษาและวัฒนธรรมไทย กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพ ปรัชญาการศึกษาไทย การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และจิตวิทยาการศึกษา จากเดิมที่อมรมเพียงหัวข้อเดียวคือ ภาษาและวัฒนธรรมเท่านั้น โดยสาเหตุที่มีการเพิ่มหัวข้อในการอบรมก็เพื่อให้ชาวต่างประเทศ มีความเข้าใจวัฒนธรรม การใช้ชีวิต รวมถึงบุคลิกลักษณะของเด็กไทย ว่าเป็นอย่างไร เช่น ทำไมเด็กไทยถึงไม่ค่อยกล้าแสดงออก ไม่กล้าซักถาม เพื่อไม่ให้ดูถูกเด็กไทย และหวังว่าชาวต่างประเทศเหล่านี้จะสอนอยู่ในประเทศไทยนานขึ้นด้วย
วันนี้ (30 ม.ค.) ที่มหาวิทยาลัยนราชภัฏสวนดุสิต (มสด.) ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ประธานกรรมการคุรุสภา เป็นเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการคุรุสภา ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการคุรุสภาเสนอ เรื่องการปรับหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพครูโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ จากเดิมคุรุสภาอนุญาตให้สถานศึกษารับผู้ที่มีวุฒิการศึกษาอื่นซึ่งไม่ใช่วุฒิสายการศึกษาโดยตรง มาเป็นครูได้หากมีความจำเป็นและเน้นสาขาที่ขาดแคลน มาเป็นการขยายโอกาสให้สถานศึกษาสามารถรับผู้ที่มีวุฒิการศึกษาอื่นได้ทุกสาขา แต่ยังคงยึดหลักเกณฑ์เดิม คือ บุคคลดังกล่าวจะต้องมีโรงเรียนและชั่วโมงสอนแน่นอน จากนั้นคุรุสภาจะออกหนังสืออนุญาตให้ประกอบวิชาชีพครูโดยไม่ไม่มีใบอนุญาต หรือ ใบอนุญาตชั่วคราว ซึ่งมีระยะเวลา 2 ปีโดยภายในระยะเวลาดังกล่าวบุคคลนั้นๆ จะต้องพัฒนาตัวเองเพื่อให้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู จากคุรุสภา เช่น เรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต หรือ ป.บัณฑิต เรียนเพิ่มเติมในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เป็นต้น หากยังไม่สามารถได้ใบอนุญาตฯ ทางคุรุสภาจะต่ออายุใบอนุญาตชั่วคราวเพิ่มให้อีก 2 ปี รวมเป็น 4 ปี เมื่อครบกำหนดยังไม่สามารถมีใบอนุญาตฯ ได้ก็จะไม่สามารถสอนได้อีก ทั้งนี้ การขยายหลักเกณฑ์ดังกล่าวรวมถึงโรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร หรือพื้นที่ห่างไกล และชาวต่างประเทศที่ไม่มีวุฒิทางด้านการศึกษา แต่มาทำการสอนในสถานศึกษาของประเทศไทย แต่ยังไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ ด้วย
“กรณีครูในถิ่นทุรกันดารนั้น ที่ประชุมมีการหารือกว้างขวาง เนื่องจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชปรารภว่า ครูในโรงเรียนทุรกันดาร และครูในโรงเรียนพื้นที่ห่างไกล อาจจะขาดโอกาส ในการพัฒนาตนเองเพื่อให้มีใบอนุญาตฯ ทั้งข้อจำกัดในเรื่องของการเดินทางมาเรียน รวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ซึ่งบางคนปฏิบัติการสอนมานานกว่า 10 ปี และเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ ดังนั้นที่ประชุมจึงมอบให้คณะอนุกรรมการกำหนดแนวทางการออกใบอนุญาตสำหรับผู้มีความความชำนาญเฉพาะด้าน ไปหาแนวทางภายใน 2 สัปดาห์ ว่า ทำอย่างไรให้ครูกลุ่มนี้ สามารถได้รับใบอนุญาตฯ อย่างถูกต้อง โดยอาจจะมีหลักเกณฑ์พิเศษ เฉพาะครูกลุ่มนี้ขึ้นมา ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนครูในส่วนหนึ่งด้วย ขณะเดียวกัน หลักเกณฑ์ดังกล่าวอาจจะรวมไปถึงครูตำรวจตระเวนชายแดนที่อยากมีใบอนุญาตฯ ด้วย” ประธานกรรมการคุรุสภา กล่าว
ศ.ดร.ไพฑูรย์ กล่าวต่อว่า นอกจากนั้นที่ประชุมยังเห็นชอบ ตามที่คณะกรรมการคุรุสภาเสนอ เรื่องการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูของชาวต่างประเทศ สำหรับผู้ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู หรือมีวุฒิทางการศึกษาจากต่างประเทศ ที่ต้องการขอรับใบอนุญาตฯ โดยต่อไปจะต้องเข้ารับการอบรมจากคุรุสภาเป็นเวลาประมาณ 40 ชั่วโมง ก่อนทำการสอนในสถานศึกษาไทย ใน 5 หัวข้อคือ ภาษาและวัฒนธรรมไทย กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพ ปรัชญาการศึกษาไทย การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และจิตวิทยาการศึกษา จากเดิมที่อมรมเพียงหัวข้อเดียวคือ ภาษาและวัฒนธรรมเท่านั้น โดยสาเหตุที่มีการเพิ่มหัวข้อในการอบรมก็เพื่อให้ชาวต่างประเทศ มีความเข้าใจวัฒนธรรม การใช้ชีวิต รวมถึงบุคลิกลักษณะของเด็กไทย ว่าเป็นอย่างไร เช่น ทำไมเด็กไทยถึงไม่ค่อยกล้าแสดงออก ไม่กล้าซักถาม เพื่อไม่ให้ดูถูกเด็กไทย และหวังว่าชาวต่างประเทศเหล่านี้จะสอนอยู่ในประเทศไทยนานขึ้นด้วย