ศธ.เตรียมดัน กพฐ.ไฟเขียวหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานใหม่ภายในเดือน ม.ค.57 หวั่นหลังรัฐบาลหมดอำนาจ ร่างหลักสูตรอาจไม่ได้รับการเหลียวแล “ภาวิช” ย้ำร่างหลักสูตรใหม่เป็นหลักสูตรที่ดีที่สุด พร้อมเผยเตรียม 3 แนวทางเพื่อผลักดันหลักสูตรใช้ใน ร.ร.และดันจัดตั้งสถาบันหลักสูตรฯ ไปพร้อมกัน
วันนี้ (17 ธ.ค.) ศ. (พิเศษ) ดร.ภาวิช ทองโรจน์ รักษาการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะประธานคณะกรรมการปฏิรูปหลักสูตรและตำราการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวถึงความคืบหน้าการยกร่างหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ...ฉบับใหม่ เพื่อใช้แทนหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ว่า ขณะนี้การยกร่างหลักสูตรใหม่ใกล้เสร็จสมบูรณ์แล้ว 100% แล้ว เหลือเพียงการลงรายละเอียดรายชั่วโมง ซึ่งก็พร้อมจะเสร็จในเร็วๆ นี้ เพราะมีการเพิ่มจำนวนผู้เชี่ยวชาญที่มาช่วยยกร่างหลักสูตร เช่น หลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์ เพิ่มจำนวนผู้เชี่ยวชาญยกร่างหลักสูตรเป็น 95 คน เป็นต้น ทั้งนี้ ขั้นตอนต่อไปที่ต้องดำเนินการต่อเมื่อยกร่างหลักสูตรเสร็จเรียบร้อย คือ จะต้องนำร่างหลักสูตรใหม่เข้าสู่วาระการพิจารณาของที่ประชุมคณะกรรมการขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เพื่อขอความเห็นชอบ จากนั้นหลักสูตรใหม่ก็สามารถประกาศใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้องให้ รมว.ศึกษาธิการ ลงนาม เพราะถือเป็นอำนาจของ กพฐ.
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสถานการณ์การเมืองในปัจจุบันตนจึงเตรียมหารือ นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการ รมว.ศึกษาธิการ ว่า ขอให้นำร่างหลักสูตรใหม่เข้าขอความเห็นชอบจาก กพฐ.ภายในเดือนมกราคม 2557 แล้วให้ประกาศใช้ทันที เพราะหากไม่ประกาศใช้หลักสูตรใหม่ภายในรัฐบาลนี้ แล้วส่งร่างหลักสูตรใหม่เก็บไว้ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ก็ไม่รู้ว่ารัฐบาลชุดใหม่จะนำมาใช้หรือไม่ ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายเพราะหลักสูตรที่ยกร่างอยู่นี้เป็นหลักสูตรที่ดีมาก
“จากการสัมมนาในเวทีต่างๆ พบว่า คนรอหลักสูตรใหม่กันอยู่ เพราะหลักสูตรเดิมที่ใช้อยู่ไม่ตอบโจทย์ในเรื่องสำคัญต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องการคิดวิเคราะห์ แต่หลักสูตรใหม่ปรับปรุงให้ตอบโจทย์ในเรื่องคิดวิเคราะห์อย่างมาก ระดมผู้เชี่ยวชาญมาช่วยกันยกร่าง ถือว่าเป็นร่างหลักสูตรที่ดี เพราะฉะนั้น ควรประกาศใช้หลักสูตรใหม่ทันที เร่งให้ กพฐ.ให้ความเห็นชอบภายในเดือนมกราคม 2557 ซึ่งถ้าทำได้ตามนี้ก็น่าจะประกาศใช้หลักสูตรได้ทัน เพราะกว่าจะเลือกตั้งเสร็จได้คณะรัฐมนตรีชุดใหม่น่าจะเป็นต้นเดือนมีนาคม 2557 ยังเหลือเวลาทำงานอีกกว่า 2 เดือน เบื้องต้นได้หารือกับ สพฐ.และ ดร.สุรัฐ ศิลปอนันต์ ประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไว้แล้ว เพราะฉะนั้น เมื่อเสนอร่างหลักสูตรใหม่เข้าสู่ที่ประชุม กพฐ. ก็ไม่น่าจะมีปัญหา” ศ. (พิเศษ) ดร.ภาวิช กล่าว
ศ. (พิเศษ) ดร.ภาวิช กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม สำหรับการประกาศใช้หลักสูตรใหม่มาใช้นั้น กำลังหารือว่าจะใช้รูปแบบใดโดยวางแผนไว้ 3 แนวทาง แนวทางแรก จะนำร่องในโรงเรียนที่มีความพร้อม และสมัครใจเข้าร่วมโครงการนำร่องก่อน ซึ่งทราบว่า น่าจะมีโรงเรียนสนใจสมัครเข้าร่วมโครงการจำนวนมาก แนวทางที่ 2 จะประกาศใช้ในช่วงชั้นที่ 1 คือ ป.1-ป.3 และช่วงชั้นที่ 3 คือ ม.1 -ม.3 ก่อน เพราะหลักสูตรใหม่นี้เป็นหลักสูตรแบบบูรณาการ สามารถนำไปปรับใช้ในโรงเรียนที่ขาดแคลนครู เพราะครู 1 คน สามารถสอน 3 ชั้นปีได้พร้อมกัน เพราะฉะนั้น จึงให้มีการนำร่องเป็นช่วงชั้น และแนวทางที่ 3 ให้ปูพรมใช้ทุกชั้นปีซึ่งแนวทางนี้มีความเป็นไปได้ต่ำ
ทั้งนี้ ตามแผนเดิมที่วางไว้จะประกาศใช้หลักสูตรใหม่ไปพร้อมกับการตั้งสถาบันหลักสูตร และนวัตกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้สถาบันฯ นี้เป็นตัวขับเคลื่อนการใช้หลักสูตรในโรงเรียนทุกสังกัด และเป็นทำหน้าที่พัฒนาหลักสูตรด้วย ขณะนี้ ศธ.ได้ยกร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันฯ ไว้เรียบร้อย รอแค่เสนอคณะรัฐมนตรีห้ความเห็นชอบ แต่ในช่วงรักษาการนี้ ไม่สามารถเสนอมีการกฎหมายใหม่ เพราะฉะนั้น จึงวางแผนให้อาศัยอำนาจ รมว.ศึกษาธิการ ตั้งคณะกรรมการจัดตั้งสถาบันฯ ก่อน ทำหน้าที่เสมือนกรรมการสถาบันไปจนกว่ากฎหมายจะผ่าน และมีการสรรหากรรรมการสถาบันตัวจริง โดยวางแผนให้ นางเบญลักษณ์ น้ำฟ้า อดีตรองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในฐานะเลขานุการของคณะทำงานจัดตั้งสถาบันฯ มาทำหน้าที่รักษาการ ผอ.ก่อน
วันนี้ (17 ธ.ค.) ศ. (พิเศษ) ดร.ภาวิช ทองโรจน์ รักษาการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะประธานคณะกรรมการปฏิรูปหลักสูตรและตำราการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวถึงความคืบหน้าการยกร่างหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ...ฉบับใหม่ เพื่อใช้แทนหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ว่า ขณะนี้การยกร่างหลักสูตรใหม่ใกล้เสร็จสมบูรณ์แล้ว 100% แล้ว เหลือเพียงการลงรายละเอียดรายชั่วโมง ซึ่งก็พร้อมจะเสร็จในเร็วๆ นี้ เพราะมีการเพิ่มจำนวนผู้เชี่ยวชาญที่มาช่วยยกร่างหลักสูตร เช่น หลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์ เพิ่มจำนวนผู้เชี่ยวชาญยกร่างหลักสูตรเป็น 95 คน เป็นต้น ทั้งนี้ ขั้นตอนต่อไปที่ต้องดำเนินการต่อเมื่อยกร่างหลักสูตรเสร็จเรียบร้อย คือ จะต้องนำร่างหลักสูตรใหม่เข้าสู่วาระการพิจารณาของที่ประชุมคณะกรรมการขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เพื่อขอความเห็นชอบ จากนั้นหลักสูตรใหม่ก็สามารถประกาศใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้องให้ รมว.ศึกษาธิการ ลงนาม เพราะถือเป็นอำนาจของ กพฐ.
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสถานการณ์การเมืองในปัจจุบันตนจึงเตรียมหารือ นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการ รมว.ศึกษาธิการ ว่า ขอให้นำร่างหลักสูตรใหม่เข้าขอความเห็นชอบจาก กพฐ.ภายในเดือนมกราคม 2557 แล้วให้ประกาศใช้ทันที เพราะหากไม่ประกาศใช้หลักสูตรใหม่ภายในรัฐบาลนี้ แล้วส่งร่างหลักสูตรใหม่เก็บไว้ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ก็ไม่รู้ว่ารัฐบาลชุดใหม่จะนำมาใช้หรือไม่ ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายเพราะหลักสูตรที่ยกร่างอยู่นี้เป็นหลักสูตรที่ดีมาก
“จากการสัมมนาในเวทีต่างๆ พบว่า คนรอหลักสูตรใหม่กันอยู่ เพราะหลักสูตรเดิมที่ใช้อยู่ไม่ตอบโจทย์ในเรื่องสำคัญต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องการคิดวิเคราะห์ แต่หลักสูตรใหม่ปรับปรุงให้ตอบโจทย์ในเรื่องคิดวิเคราะห์อย่างมาก ระดมผู้เชี่ยวชาญมาช่วยกันยกร่าง ถือว่าเป็นร่างหลักสูตรที่ดี เพราะฉะนั้น ควรประกาศใช้หลักสูตรใหม่ทันที เร่งให้ กพฐ.ให้ความเห็นชอบภายในเดือนมกราคม 2557 ซึ่งถ้าทำได้ตามนี้ก็น่าจะประกาศใช้หลักสูตรได้ทัน เพราะกว่าจะเลือกตั้งเสร็จได้คณะรัฐมนตรีชุดใหม่น่าจะเป็นต้นเดือนมีนาคม 2557 ยังเหลือเวลาทำงานอีกกว่า 2 เดือน เบื้องต้นได้หารือกับ สพฐ.และ ดร.สุรัฐ ศิลปอนันต์ ประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไว้แล้ว เพราะฉะนั้น เมื่อเสนอร่างหลักสูตรใหม่เข้าสู่ที่ประชุม กพฐ. ก็ไม่น่าจะมีปัญหา” ศ. (พิเศษ) ดร.ภาวิช กล่าว
ศ. (พิเศษ) ดร.ภาวิช กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม สำหรับการประกาศใช้หลักสูตรใหม่มาใช้นั้น กำลังหารือว่าจะใช้รูปแบบใดโดยวางแผนไว้ 3 แนวทาง แนวทางแรก จะนำร่องในโรงเรียนที่มีความพร้อม และสมัครใจเข้าร่วมโครงการนำร่องก่อน ซึ่งทราบว่า น่าจะมีโรงเรียนสนใจสมัครเข้าร่วมโครงการจำนวนมาก แนวทางที่ 2 จะประกาศใช้ในช่วงชั้นที่ 1 คือ ป.1-ป.3 และช่วงชั้นที่ 3 คือ ม.1 -ม.3 ก่อน เพราะหลักสูตรใหม่นี้เป็นหลักสูตรแบบบูรณาการ สามารถนำไปปรับใช้ในโรงเรียนที่ขาดแคลนครู เพราะครู 1 คน สามารถสอน 3 ชั้นปีได้พร้อมกัน เพราะฉะนั้น จึงให้มีการนำร่องเป็นช่วงชั้น และแนวทางที่ 3 ให้ปูพรมใช้ทุกชั้นปีซึ่งแนวทางนี้มีความเป็นไปได้ต่ำ
ทั้งนี้ ตามแผนเดิมที่วางไว้จะประกาศใช้หลักสูตรใหม่ไปพร้อมกับการตั้งสถาบันหลักสูตร และนวัตกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้สถาบันฯ นี้เป็นตัวขับเคลื่อนการใช้หลักสูตรในโรงเรียนทุกสังกัด และเป็นทำหน้าที่พัฒนาหลักสูตรด้วย ขณะนี้ ศธ.ได้ยกร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันฯ ไว้เรียบร้อย รอแค่เสนอคณะรัฐมนตรีห้ความเห็นชอบ แต่ในช่วงรักษาการนี้ ไม่สามารถเสนอมีการกฎหมายใหม่ เพราะฉะนั้น จึงวางแผนให้อาศัยอำนาจ รมว.ศึกษาธิการ ตั้งคณะกรรมการจัดตั้งสถาบันฯ ก่อน ทำหน้าที่เสมือนกรรมการสถาบันไปจนกว่ากฎหมายจะผ่าน และมีการสรรหากรรรมการสถาบันตัวจริง โดยวางแผนให้ นางเบญลักษณ์ น้ำฟ้า อดีตรองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในฐานะเลขานุการของคณะทำงานจัดตั้งสถาบันฯ มาทำหน้าที่รักษาการ ผอ.ก่อน