ผู้ป่วยบัตรทองเฮ! 3,000 คนแรก ตรวจรักษา รับยาสมุนไพร นวดประคบฟรี ที่ รพ.แพทย์แผนไทยยศเส หลังประสาน สปสช.อัดงบสนับสนุน เล็งประสานประกันสังคมให้สิทธิผู้ประกันตนด้วย เผยรักษาแพทย์แผนไทยควบคู่แผนปัจจุบันให้ผลดี ช่วยไม่ต้องผ่าตัด หรือฉีดยาเบาหวาน เน้นรักษาตามความเหมาะสมเฉพาะบุคคล ได้ตำรับยาไม่เหมือนกัน
นพ.วัฒนะ พันธุ์ม่วง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน (ยศเส) กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า โรงพยาบาลได้ประสานกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพื่อเปิดให้บริการการแพทย์แผนไทยแก่ผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพ (บัตรทอง) ในเขตกรุงเทพฯ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทั้งการรับบริการตรวจรักษาทางแพทย์แผนไทย การตรวจวินิจฉัย การรับยาสมุนไพรทั้งตำรับเดี่ยว และตำรับเฉพาะรายบุคคล การนวดรักษา และการประคบ ซึ่งเริ่มให้บริการตั้งแต่เมื่อวันที่ 7 ม.ค.ที่ผ่านมา ขณะนี้มีผู้ใช้สิทธิบัตรทองเข้ารับบริการประมาณ 10-30 รายต่อวัน จากผู้เข้ารับบริการทั้งหมด 30-50 รายต่อวัน ซึ่งถือว่าเป็นอัตราที่น้อย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการเดินทางที่ไม่สะดวกจากการชุมนุมทางการเมือง แต่เชื่อว่าอนาคตจะมีผู้มารับบริการเพิ่มขึ้น
นพ.วัฒนะ กล่าวอีกว่า สำหรับปีงบประมาณ 2557 สปสช.สนับสนุนงบประมาณสำหรับผู้ที่ใช้บริการ 3,000 คนแรก จำนวน 1.3 ล้านบาท ส่วนปีต่อไป สปสช.จะคำนวณต้นทุนค่าใช้จ่ายต่อคนแล้ว อาจจะพิจารณาจ่ายเป็นงบประมาณเหมาจ่ายรายหัวให้กับโรงพยาบาล ทั้งนี้ ผู้ป่วยสิทธิสวัสดิการข้าราชการสามารถเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเช่นกัน แต่ผู้ประกันตนในสิทธิประกันสังคมเขตกรุงเทพฯ ยังไม่สามารถเข้าใช้บริการได้ฟรี แต่อนาคตจะประสานความร่วมมือกับสำนักงานประกันสังคม (สปส.)
“อาการส่วนใหญ่ที่ผู้ป่วยมารับบริการ คือ โรคปวดหลัง ปวดเมื่อยตามแขน ขน และโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ที่รับยาแผนปัจจุบันอยู่แล้วแต่ไม่ต้องการปรับเป็นยาเบาหวานแบบฉีด จึงเข้ามารับบริการการแพทย์แผนไทยควบคู่กับยาแผนปัจจุบัน ซึ่งการตอบสนองของโรคถือว่าดี เช่น ผู้ป่วยโรคกระดูกและข้อ ซึ่งแพทย์นัดผ่า แต่เมื่อมารับบริการด้วยการแช่ยาสมุนไพรและการนวด เส้นเอ็นคลายตัวดีขึ้นทำให้ไม่ต้องผ่า หรือผู้ป่วยโรคออฟฟิศซินโดรมที่มีอาการปวดคอ บ่า ไหล่ และไหล่ติด แพทย์ต้องทำการเปลี่ยนข้อไหล่ เมื่อมารับบริการนวด ประคบ กล้ามเนื้อคลายตัวทำให้ค่อยๆ หมุนข้อได้ เป็นการใช้การแพทย์แผนไทยเสริมการรักษาแผนปัจจุบัน” นพ.วัฒนะ กล่าว
นพ.วัฒนะ กล่าวด้วยว่า การให้ยาสมุนไพรตามหลักการแพทย์แผนไทยจ่ายคู่กับยาแผนปัจจุบันเป็นศิลปะที่แพทย์แผนไทยจะพิจารณาเกี่ยวกับเดือนเกิด อายุของผู้ป่วยและฤดูกาล ซึ่งการให้ยากับผู้ป่วยแต่ละรายไม่เหมือนกัน แพทย์แผนไทยจะพิจารณาตามความเหมาะสมเฉพาะบุคคลด้วย เช่น ผู้ป่วยเบาหวานบางรายนอกจากจะได้รับยาเกี่ยวกับโรคเบาหวานแล้ว บางคนท้องอืดต้องได้รับยาขับลมด้วย เป็นต้น นอกจากนี้ คาดว่าอีก 3-4 เดือน จะรับผู้ป่วยเข้ารักษาในโรงพยาบาลด้วย โดยเฉพาะผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต เพื่อทำการฟื้นฟูร่างกาย และผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมาก หรือผู้ป่วยมะเร็งบางชนิดที่ใช้สมุนไพรเพื่อทำการวิจัย
นพ.วัฒนะ พันธุ์ม่วง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน (ยศเส) กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า โรงพยาบาลได้ประสานกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพื่อเปิดให้บริการการแพทย์แผนไทยแก่ผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพ (บัตรทอง) ในเขตกรุงเทพฯ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทั้งการรับบริการตรวจรักษาทางแพทย์แผนไทย การตรวจวินิจฉัย การรับยาสมุนไพรทั้งตำรับเดี่ยว และตำรับเฉพาะรายบุคคล การนวดรักษา และการประคบ ซึ่งเริ่มให้บริการตั้งแต่เมื่อวันที่ 7 ม.ค.ที่ผ่านมา ขณะนี้มีผู้ใช้สิทธิบัตรทองเข้ารับบริการประมาณ 10-30 รายต่อวัน จากผู้เข้ารับบริการทั้งหมด 30-50 รายต่อวัน ซึ่งถือว่าเป็นอัตราที่น้อย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการเดินทางที่ไม่สะดวกจากการชุมนุมทางการเมือง แต่เชื่อว่าอนาคตจะมีผู้มารับบริการเพิ่มขึ้น
นพ.วัฒนะ กล่าวอีกว่า สำหรับปีงบประมาณ 2557 สปสช.สนับสนุนงบประมาณสำหรับผู้ที่ใช้บริการ 3,000 คนแรก จำนวน 1.3 ล้านบาท ส่วนปีต่อไป สปสช.จะคำนวณต้นทุนค่าใช้จ่ายต่อคนแล้ว อาจจะพิจารณาจ่ายเป็นงบประมาณเหมาจ่ายรายหัวให้กับโรงพยาบาล ทั้งนี้ ผู้ป่วยสิทธิสวัสดิการข้าราชการสามารถเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเช่นกัน แต่ผู้ประกันตนในสิทธิประกันสังคมเขตกรุงเทพฯ ยังไม่สามารถเข้าใช้บริการได้ฟรี แต่อนาคตจะประสานความร่วมมือกับสำนักงานประกันสังคม (สปส.)
“อาการส่วนใหญ่ที่ผู้ป่วยมารับบริการ คือ โรคปวดหลัง ปวดเมื่อยตามแขน ขน และโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ที่รับยาแผนปัจจุบันอยู่แล้วแต่ไม่ต้องการปรับเป็นยาเบาหวานแบบฉีด จึงเข้ามารับบริการการแพทย์แผนไทยควบคู่กับยาแผนปัจจุบัน ซึ่งการตอบสนองของโรคถือว่าดี เช่น ผู้ป่วยโรคกระดูกและข้อ ซึ่งแพทย์นัดผ่า แต่เมื่อมารับบริการด้วยการแช่ยาสมุนไพรและการนวด เส้นเอ็นคลายตัวดีขึ้นทำให้ไม่ต้องผ่า หรือผู้ป่วยโรคออฟฟิศซินโดรมที่มีอาการปวดคอ บ่า ไหล่ และไหล่ติด แพทย์ต้องทำการเปลี่ยนข้อไหล่ เมื่อมารับบริการนวด ประคบ กล้ามเนื้อคลายตัวทำให้ค่อยๆ หมุนข้อได้ เป็นการใช้การแพทย์แผนไทยเสริมการรักษาแผนปัจจุบัน” นพ.วัฒนะ กล่าว
นพ.วัฒนะ กล่าวด้วยว่า การให้ยาสมุนไพรตามหลักการแพทย์แผนไทยจ่ายคู่กับยาแผนปัจจุบันเป็นศิลปะที่แพทย์แผนไทยจะพิจารณาเกี่ยวกับเดือนเกิด อายุของผู้ป่วยและฤดูกาล ซึ่งการให้ยากับผู้ป่วยแต่ละรายไม่เหมือนกัน แพทย์แผนไทยจะพิจารณาตามความเหมาะสมเฉพาะบุคคลด้วย เช่น ผู้ป่วยเบาหวานบางรายนอกจากจะได้รับยาเกี่ยวกับโรคเบาหวานแล้ว บางคนท้องอืดต้องได้รับยาขับลมด้วย เป็นต้น นอกจากนี้ คาดว่าอีก 3-4 เดือน จะรับผู้ป่วยเข้ารักษาในโรงพยาบาลด้วย โดยเฉพาะผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต เพื่อทำการฟื้นฟูร่างกาย และผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมาก หรือผู้ป่วยมะเร็งบางชนิดที่ใช้สมุนไพรเพื่อทำการวิจัย