โดย...สิรวุฒิ รวีไชยวัฒน์
บรรดาระบบบริการสุขภาพของไทยทั้ง 3 กองทุน ประกอบด้วย กองทุนสวัสดิการข้าราชการ โดยกรมบัญชีกลาง กองทุนประกันสังคม โดยสำนักงานประกันสังคม (สปส.) และกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) นั้น ดูเหมือนว่ากองทุนหลักประกันสุขภาพฯ (สิทธิ 30 บาทรักษาทุกโรค หรือกลุ่มบัตรทอง) จะมีการเพิ่มสิทธิประโยชน์มากกว่ากองทุนอื่นๆ
เพราะนับตั้งแต่ตั้ง สปสช.ขึ้นเมื่อวันที่ 19 พ.ย. 2545 เพื่อดูแลผู้ที่ไม่อยู่ในสิทธิข้าราชการและประกันสังคมได้เข้าถึงบริการสาธารณสุขนั้น ระยะเวลากว่า 11 ปี สปสช.ได้เพิ่มสิทธิประโยชน์ต่างๆ มาโดยตลอด โดยเฉพาะช่วงหลังที่รัฐบาลเน้นเรื่องการบูรณาการ 3 กองทุน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ โดยสิทธิประโยชน์ของแต่ละกองทุนต้องไม่ลดลง โดยจะยกระดับสิทธิประโยชน์ของแต่ละกองทุนขึ้นไปให้เท่ากันและมีมาตรฐานเดียว
ซึ่งแปลได้อย่างชัดเจนว่า กองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ซึ่งกำเนิดขึ้นในภายหลัง และมีสิทธิประโยชน์น้อยกว่าทุกกองทุนกำลังจะได้รับการยกระดับให้ขึ้นมาเท่าเทียม จนกระทั่งเกิดกระแสเสียงขึ้นมาว่า กองทุนประกันสังคมที่เหล่าแรงงานต้องจ่ายเงินสมทบในฐานะผู้ประกันตนนั้น “ไม่เวิร์ก” เพราะสิทธิประโยชน์ต่างๆ ดูเหมือนจะด้อยกว่าอย่างชัดเจน
สำหรับสิทธิประโยชน์ที่ สปสช.เพิ่มให้แก่กลุ่มบัตรทอง พบว่า มีทั้งการเพิ่มยาต้านไวรัสเอดส์ในปี 2548 เพิ่มสิทธิประโยชน์ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในปี 2551 เพิ่มการเข้าถึงยากำพร้าในปี 2553 เพิ่มสิทธิประโยชน์ปลูกถ่ายตับในเด็กและการปลูกถ่ายหัวใจในปี 2554 รวมไปถึงขยายสิทธิประโยชน์จากการรับฟังความคิดเห็น เช่น เปลี่ยนหน่วยบริการจาก 2 ครั้งเป็น 4 ครั้ง การเพิ่มการเข้าถึงบริการแพทย์แผนไทย การบริหารจัดการโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงครบวงจร การเพิ่มการเข้าถึงยาราคาแพง และยาในบัญชี จ(2) เป็นต้น
แต่ดูเหมือนว่าในปี 2557 กลุ่มบัตรทองอาจจะต้อง “ฝันค้าง” เพราะ นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช.ระบุว่า ขณะนี้สิทธิประโยชน์ของกลุ่มบัตรทองถือว่ามากพอแล้ว ในปี 2557 คงไม่ได้เพิ่มสิทธิประโยชน์ใดๆ แต่จะพัฒนาที่มีอยู่เดิมให้ดีขึ้น
สำหรับข้อเสนอเพิ่มสิทธิประโยชน์ต่างๆ จากการรับฟังความเห็น เช่น การเจาะน้ำคร่ำในครรภ์แรก การรักษาแผลผู้ป่วยเบาหวานด้วยออกซิเจนความดันสูง การรักษาภาวะมีบุตรยาก การเข้าถึงวัคซีนมะเร็งปากมดลูก อีสุกอีใส ตับอักเสบ และเยื่อหุ้มสมองอักเสบ การเพิ่มค่าใช้จ่ายให้ รพ.ทุรกันดารและเสี่ยงภัย ก็ต้องเฝ้ารอกันต่อไปเช่นกัน
โดย ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ โฆษก สปสช.ยืนยันว่า แม้บอร์ด สปสช.จะเห็นชอบในข้อเสนอ แต่ยังไม่มีการเพิ่มสิทธิประโยชน์ เพราะต้องรอเข้าสู่การพิจารณาของคณะอนุกรรมการชุดสิทธิประโยชน์ ซึ่งจะให้โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) ประเมินประโยชน์ที่ได้รับและความคุ้มค่าแล้วเสนอกลับมา หากเป็นประโยชน์ก็จะบรรจุเป็นสิทธิประโยชน์ต่อไป ซึ่งจะมีการพิจารณาภายในปี 2557
ทพ.อรรถพร อธิบายเพิ่มว่า แม้จะไม่เพิ่มสิทธิประโยชน์ แต่ สปสช.จะเดินหน้าดูแลสุขภาพกลุ่มบัตรทองให้ดีขึ้น 4 เรื่อง คือ 1.การบูรณาการมะเร็ง 3 กองทุน 2.พัฒนาการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาว เพราะไทยจะมีจำนวนผู้สูงอายุมากขึ้น และใช้งบประมาณดูแลมากขึ้น จึงจะเน้นสอนทักษะให้แก่ญาติหรือลูกหลานในการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน
“เรื่องนี้เป็นประโยชน์มาก เพราะผู้สูงอายุไม่อยากมาโรงพยาบาล หากได้มาพักฟื้นที่บ้านก็จะช่วยให้มีอายุยืนขึ้น เพราะมีกำลังใจในการอยู่ต่อ ช่วยลดการรอคิวในโรงพยาบาล และลดภาระค่าใช้จ่าย ซึ่งหากไม่รีบดำเนินการก็จะเหมือนญี่ปุ่นที่งบบานปลาย ทั้งนี้ จะให้ อปท.เข้ามามีบทบาทในการดำเนินการ และมีพยาบาลคอยตรวจเยี่ยมการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน หากเจ็บไข้ก็จะมีเจ้าหน้าที่รับมารักษาที่โรงพยาบาล”
3.เพิ่มกลุ่มเป้าหมายการได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่จากเดิมที่มี 4 กลุ่ม คือ 1.ผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป 2.หญิงตั้งครรภ์อายุครรภ์ตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป 3.เด็กอายุ 6 เดือน - 2 ปี และ 4.ผู้ป่วยทุกอายุที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง 7 โรค ได้แก่ โรคปอด ปอดอุดกั้น หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย เบาหวาน และผู้ป่วยมะเร็งที่รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด โดยจะขยายเพิ่มเติมในกลุ่ม “เด็กอายุ 2-14 ปี” และ 4.เพิ่มสิทธิประโยชน์การรักษาผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งต่อมน้ำเหลืองโดยวิธีการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด ซึ่งบอร์ด สปสช.เห็นชอบเมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2556
คงต้องมาลุ้นว่าในปี 2557 คณะอนุฯสิทธิประโยชน์จะพิจารณาข้อเสนอจากการรับฟังความคิดเห็นเมื่อใด และเรื่องใดบ้างที่จะเข้าวินคลอดออกมาเป็นสิทธิประโยชน์ต่อไป
บรรดาระบบบริการสุขภาพของไทยทั้ง 3 กองทุน ประกอบด้วย กองทุนสวัสดิการข้าราชการ โดยกรมบัญชีกลาง กองทุนประกันสังคม โดยสำนักงานประกันสังคม (สปส.) และกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) นั้น ดูเหมือนว่ากองทุนหลักประกันสุขภาพฯ (สิทธิ 30 บาทรักษาทุกโรค หรือกลุ่มบัตรทอง) จะมีการเพิ่มสิทธิประโยชน์มากกว่ากองทุนอื่นๆ
เพราะนับตั้งแต่ตั้ง สปสช.ขึ้นเมื่อวันที่ 19 พ.ย. 2545 เพื่อดูแลผู้ที่ไม่อยู่ในสิทธิข้าราชการและประกันสังคมได้เข้าถึงบริการสาธารณสุขนั้น ระยะเวลากว่า 11 ปี สปสช.ได้เพิ่มสิทธิประโยชน์ต่างๆ มาโดยตลอด โดยเฉพาะช่วงหลังที่รัฐบาลเน้นเรื่องการบูรณาการ 3 กองทุน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ โดยสิทธิประโยชน์ของแต่ละกองทุนต้องไม่ลดลง โดยจะยกระดับสิทธิประโยชน์ของแต่ละกองทุนขึ้นไปให้เท่ากันและมีมาตรฐานเดียว
ซึ่งแปลได้อย่างชัดเจนว่า กองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ซึ่งกำเนิดขึ้นในภายหลัง และมีสิทธิประโยชน์น้อยกว่าทุกกองทุนกำลังจะได้รับการยกระดับให้ขึ้นมาเท่าเทียม จนกระทั่งเกิดกระแสเสียงขึ้นมาว่า กองทุนประกันสังคมที่เหล่าแรงงานต้องจ่ายเงินสมทบในฐานะผู้ประกันตนนั้น “ไม่เวิร์ก” เพราะสิทธิประโยชน์ต่างๆ ดูเหมือนจะด้อยกว่าอย่างชัดเจน
สำหรับสิทธิประโยชน์ที่ สปสช.เพิ่มให้แก่กลุ่มบัตรทอง พบว่า มีทั้งการเพิ่มยาต้านไวรัสเอดส์ในปี 2548 เพิ่มสิทธิประโยชน์ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในปี 2551 เพิ่มการเข้าถึงยากำพร้าในปี 2553 เพิ่มสิทธิประโยชน์ปลูกถ่ายตับในเด็กและการปลูกถ่ายหัวใจในปี 2554 รวมไปถึงขยายสิทธิประโยชน์จากการรับฟังความคิดเห็น เช่น เปลี่ยนหน่วยบริการจาก 2 ครั้งเป็น 4 ครั้ง การเพิ่มการเข้าถึงบริการแพทย์แผนไทย การบริหารจัดการโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงครบวงจร การเพิ่มการเข้าถึงยาราคาแพง และยาในบัญชี จ(2) เป็นต้น
แต่ดูเหมือนว่าในปี 2557 กลุ่มบัตรทองอาจจะต้อง “ฝันค้าง” เพราะ นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช.ระบุว่า ขณะนี้สิทธิประโยชน์ของกลุ่มบัตรทองถือว่ามากพอแล้ว ในปี 2557 คงไม่ได้เพิ่มสิทธิประโยชน์ใดๆ แต่จะพัฒนาที่มีอยู่เดิมให้ดีขึ้น
สำหรับข้อเสนอเพิ่มสิทธิประโยชน์ต่างๆ จากการรับฟังความเห็น เช่น การเจาะน้ำคร่ำในครรภ์แรก การรักษาแผลผู้ป่วยเบาหวานด้วยออกซิเจนความดันสูง การรักษาภาวะมีบุตรยาก การเข้าถึงวัคซีนมะเร็งปากมดลูก อีสุกอีใส ตับอักเสบ และเยื่อหุ้มสมองอักเสบ การเพิ่มค่าใช้จ่ายให้ รพ.ทุรกันดารและเสี่ยงภัย ก็ต้องเฝ้ารอกันต่อไปเช่นกัน
โดย ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ โฆษก สปสช.ยืนยันว่า แม้บอร์ด สปสช.จะเห็นชอบในข้อเสนอ แต่ยังไม่มีการเพิ่มสิทธิประโยชน์ เพราะต้องรอเข้าสู่การพิจารณาของคณะอนุกรรมการชุดสิทธิประโยชน์ ซึ่งจะให้โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) ประเมินประโยชน์ที่ได้รับและความคุ้มค่าแล้วเสนอกลับมา หากเป็นประโยชน์ก็จะบรรจุเป็นสิทธิประโยชน์ต่อไป ซึ่งจะมีการพิจารณาภายในปี 2557
ทพ.อรรถพร อธิบายเพิ่มว่า แม้จะไม่เพิ่มสิทธิประโยชน์ แต่ สปสช.จะเดินหน้าดูแลสุขภาพกลุ่มบัตรทองให้ดีขึ้น 4 เรื่อง คือ 1.การบูรณาการมะเร็ง 3 กองทุน 2.พัฒนาการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาว เพราะไทยจะมีจำนวนผู้สูงอายุมากขึ้น และใช้งบประมาณดูแลมากขึ้น จึงจะเน้นสอนทักษะให้แก่ญาติหรือลูกหลานในการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน
“เรื่องนี้เป็นประโยชน์มาก เพราะผู้สูงอายุไม่อยากมาโรงพยาบาล หากได้มาพักฟื้นที่บ้านก็จะช่วยให้มีอายุยืนขึ้น เพราะมีกำลังใจในการอยู่ต่อ ช่วยลดการรอคิวในโรงพยาบาล และลดภาระค่าใช้จ่าย ซึ่งหากไม่รีบดำเนินการก็จะเหมือนญี่ปุ่นที่งบบานปลาย ทั้งนี้ จะให้ อปท.เข้ามามีบทบาทในการดำเนินการ และมีพยาบาลคอยตรวจเยี่ยมการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน หากเจ็บไข้ก็จะมีเจ้าหน้าที่รับมารักษาที่โรงพยาบาล”
3.เพิ่มกลุ่มเป้าหมายการได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่จากเดิมที่มี 4 กลุ่ม คือ 1.ผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป 2.หญิงตั้งครรภ์อายุครรภ์ตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป 3.เด็กอายุ 6 เดือน - 2 ปี และ 4.ผู้ป่วยทุกอายุที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง 7 โรค ได้แก่ โรคปอด ปอดอุดกั้น หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย เบาหวาน และผู้ป่วยมะเร็งที่รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด โดยจะขยายเพิ่มเติมในกลุ่ม “เด็กอายุ 2-14 ปี” และ 4.เพิ่มสิทธิประโยชน์การรักษาผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งต่อมน้ำเหลืองโดยวิธีการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด ซึ่งบอร์ด สปสช.เห็นชอบเมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2556
คงต้องมาลุ้นว่าในปี 2557 คณะอนุฯสิทธิประโยชน์จะพิจารณาข้อเสนอจากการรับฟังความคิดเห็นเมื่อใด และเรื่องใดบ้างที่จะเข้าวินคลอดออกมาเป็นสิทธิประโยชน์ต่อไป