กสร.เผยผลตรวจแรงงานประมงใน จ.สมุทรสาคร พบสถานประกอบการ 10 แห่ง จ้างแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย 77 คน ผ่อนผันให้พาไปจดทะเบียนกับ กกจ.เดือน มี.ค.นี้ ไม่ทำตามเอาผิดแน่ ตั้งคณะทำงานเร่งสรุปรายงานผลแก้ปัญหาค้ามนุษย์ของ ก.แรงงาน เสนอ รมว.แรงงาน ภายในเดือน ก.พ.นี้
วันนี้ (23 ม.ค.) นายพานิช จิตร์แจ้ง อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ช่วงตั้งแต่ต้นจนถึงกลางเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา กสร.ได้ส่งทีมเฉพาะกิจเพื่อไปตรวจสอบปัญหาการค้ามนุษย์ ใช้แรงงานเด็ก และแรงงานบังคับโดยได้สุ่มตรวจสอบสถานประกอบการในจังหวัดต่างๆ ซึ่งเป็นพื้นที่เสียงโดยด้านประมงได้ไปตรวจที่สมุทรสาคร นครศรีธรรมราช และสงขลา ซึ่งที่ จ.สมุทรสาคร ได้ตรวจสอบสถานประกอบการด้านประมง 10 แห่ง พบว่า ไม่มีการค้ามนุษย์หรือแรงงานบังคับ แต่มีการจ้างงานแรงงานต่างด้าวโดยไม่ถูกกฎหมาย ไม่มีใบอนุญาตทำงานและหนังสือเดินทางรวมแล้ว 77 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานพม่า แต่เนื่องจากผู้ประกอบการมีปัญหาขาดแคลนแรงงานอย่างหนัก ทางทีมเฉพาะกิจของ กสร.จึงตักเตือนและผ่อนผันให้ผู้ประกอบการนำแรงงานประมงเหล่านี้ไปขึ้นทะเบียนกับกรมการจัดหางาน (กกจ.) ซึ่งจะเปิดให้ขึ้นทะเบียนแรงงานประมงอีกรอบในเดือน มี.ค.นี้ หากไม่ดำเนินการขึ้นทะเบียนให้ถูกต้อง ก็จะเอาผิดกับผู้ประกอบการตามกฎหมาย
อธิบดี กสร.กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกันทีมเฉพาะกิจของ กสร.ยังได้ลงไปตรวจสอบสถานประกอบการด้านเครื่องนุ่งห่มในกรุงเทพฯ และ จ.ตาก จำนวน 348 แห่ง ซึ่งพบว่าไม่มีการใช้แรงงานบังคับและแรงงานเด็ก แต่มีการจ้างแรงงานต่างด้าวมาทำงานแบบเช้าไปเย็นกลับโดยข้ามชายแดนไทย-พม่ามาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ส่วนกลุ่มผู้ประกอบการไร่อ้อยและน้ำตาลนั้นได้ไปตรวจสอบที่ จ.อุดรธานี และ จ.ขอนแก่น ด้วย ขณะนี้อยู่ระหว่างสรุปผลการตรวจและจะมีการประชุมร่วมกับผู้ประกอบการในวันที่ 11 ก.พ.นี้ ที่ จ.ขอนแก่น และเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สถานทูตอเมริกา องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) มารับฟังสรุปผลการดำเนินงานตามข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง กสร.กับผู้ประกอบการไร่อ้อยและน้ำตาลที่ไม่ให้มีการใช้แรงงานเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี และแรงงานบังคับว่าปฏิบัติตามข้อตกลงอย่างไรบ้างและได้ผลอย่างไร
“กสร.ยังได้ตั้งคณะทำงานเพื่อสรุปและรวบรวมผลการดำเนินงานแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ ใช้แรงงานเด็กและแรงงานบังคับ จะเสนอรายละเอียดปัญหา แนวทางการแก้ปัญหาและความคืบหน้าการแก้ปัญหาทั้งในกลุ่มผู้ประกอบการประมง อ้อย น้ำตาล และเครื่องนุ่งห่ม โดยจะจัดทำให้แล้วเสร็จภายในสิ้นเดือน ม.ค.นี้แล้วเสนอต่อ ม.ล.ปุณฑริก สมิติ รองปลัดกระทรวงแรงงาน ซึ่งทำหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะทำงานรวบรวมผลการดำเนินงานแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ของกระทรวงแรงงานเสนอต่อ นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ ปลัดกระทรวงแรงงาน เพื่อพิจารณาเสนอต่อ รมว.แรงงานต่อไป หากผ่านความเห็นชอบจาก รมว.แรงงาน ก็จะเสนอไปยัง รมว.กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เพื่อเสนอต่อสหรัฐอเมริกาต่อไปเพื่อพิจารณาให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากการถูกกล่าวหาเป็นประเทศที่ต้องจับตาด้านการค้ามนุษย์” นายพานิช กล่าว
วันนี้ (23 ม.ค.) นายพานิช จิตร์แจ้ง อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ช่วงตั้งแต่ต้นจนถึงกลางเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา กสร.ได้ส่งทีมเฉพาะกิจเพื่อไปตรวจสอบปัญหาการค้ามนุษย์ ใช้แรงงานเด็ก และแรงงานบังคับโดยได้สุ่มตรวจสอบสถานประกอบการในจังหวัดต่างๆ ซึ่งเป็นพื้นที่เสียงโดยด้านประมงได้ไปตรวจที่สมุทรสาคร นครศรีธรรมราช และสงขลา ซึ่งที่ จ.สมุทรสาคร ได้ตรวจสอบสถานประกอบการด้านประมง 10 แห่ง พบว่า ไม่มีการค้ามนุษย์หรือแรงงานบังคับ แต่มีการจ้างงานแรงงานต่างด้าวโดยไม่ถูกกฎหมาย ไม่มีใบอนุญาตทำงานและหนังสือเดินทางรวมแล้ว 77 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานพม่า แต่เนื่องจากผู้ประกอบการมีปัญหาขาดแคลนแรงงานอย่างหนัก ทางทีมเฉพาะกิจของ กสร.จึงตักเตือนและผ่อนผันให้ผู้ประกอบการนำแรงงานประมงเหล่านี้ไปขึ้นทะเบียนกับกรมการจัดหางาน (กกจ.) ซึ่งจะเปิดให้ขึ้นทะเบียนแรงงานประมงอีกรอบในเดือน มี.ค.นี้ หากไม่ดำเนินการขึ้นทะเบียนให้ถูกต้อง ก็จะเอาผิดกับผู้ประกอบการตามกฎหมาย
อธิบดี กสร.กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกันทีมเฉพาะกิจของ กสร.ยังได้ลงไปตรวจสอบสถานประกอบการด้านเครื่องนุ่งห่มในกรุงเทพฯ และ จ.ตาก จำนวน 348 แห่ง ซึ่งพบว่าไม่มีการใช้แรงงานบังคับและแรงงานเด็ก แต่มีการจ้างแรงงานต่างด้าวมาทำงานแบบเช้าไปเย็นกลับโดยข้ามชายแดนไทย-พม่ามาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ส่วนกลุ่มผู้ประกอบการไร่อ้อยและน้ำตาลนั้นได้ไปตรวจสอบที่ จ.อุดรธานี และ จ.ขอนแก่น ด้วย ขณะนี้อยู่ระหว่างสรุปผลการตรวจและจะมีการประชุมร่วมกับผู้ประกอบการในวันที่ 11 ก.พ.นี้ ที่ จ.ขอนแก่น และเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สถานทูตอเมริกา องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) มารับฟังสรุปผลการดำเนินงานตามข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง กสร.กับผู้ประกอบการไร่อ้อยและน้ำตาลที่ไม่ให้มีการใช้แรงงานเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี และแรงงานบังคับว่าปฏิบัติตามข้อตกลงอย่างไรบ้างและได้ผลอย่างไร
“กสร.ยังได้ตั้งคณะทำงานเพื่อสรุปและรวบรวมผลการดำเนินงานแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ ใช้แรงงานเด็กและแรงงานบังคับ จะเสนอรายละเอียดปัญหา แนวทางการแก้ปัญหาและความคืบหน้าการแก้ปัญหาทั้งในกลุ่มผู้ประกอบการประมง อ้อย น้ำตาล และเครื่องนุ่งห่ม โดยจะจัดทำให้แล้วเสร็จภายในสิ้นเดือน ม.ค.นี้แล้วเสนอต่อ ม.ล.ปุณฑริก สมิติ รองปลัดกระทรวงแรงงาน ซึ่งทำหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะทำงานรวบรวมผลการดำเนินงานแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ของกระทรวงแรงงานเสนอต่อ นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ ปลัดกระทรวงแรงงาน เพื่อพิจารณาเสนอต่อ รมว.แรงงานต่อไป หากผ่านความเห็นชอบจาก รมว.แรงงาน ก็จะเสนอไปยัง รมว.กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เพื่อเสนอต่อสหรัฐอเมริกาต่อไปเพื่อพิจารณาให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากการถูกกล่าวหาเป็นประเทศที่ต้องจับตาด้านการค้ามนุษย์” นายพานิช กล่าว