ก.แรงงาน ผนึก ศธ.เเละ เอกชน เตรียมผลิตกำลังแรงงานในอีก 5-10 ปี เน้นระดับ ป.ตรี วิศวะ อุตสาหกรรม วิทย์ เเละอาชีวะด้านช่างฝีมือ เหตุเด็กเข้าเรียนน้อยกว่าความต้องการตลาด พร้อมปรับลดสัดส่วน นร.สายสามัญ ป.ตรีสายสังคมศาสตร์ บริหารและนิเทศศาสตร์
วันนี้ (16 ธ.ค.) นายสุเมธ มโหสถ รองปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงความคืบหน้าการแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานว่า ได้ประชุมร่วมกับผู้บริหารกรมต่างๆ ของกระทรงงแรงงาน ได้ข้อสรุปว่า ขณะนี้ประเทศไทยมีปัญหาขาดแคลนแรงงานโดนเฉพาะสายวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ รวมทั้งสาขาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมและผู้ที่จบวุฒิ ปวช. ปวส.ในสาขาต่างๆ โดยเฉพาะช่างฝีมือ เนื่องจากปัจจุบันเด็กไทยนิยมเรียนในระดับปริญญาตรีสายสังคมศาสตร์ ด้านบริหารและนิเทศศาสตร์ อีกทั้งมียังมีเด็กเข้าเรียนในระดับอาชีวะสาขาช่างเป็นจำนวนน้อยกว่าความต้องการของตลาดแรงงาน
รองปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวอีกว่า ที่ประชุมสรุปแนวทางแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานโดยจะขอให้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาหอการค้าไทย สำรวจความต้องการแรงงานในช่วง 5-10 ปีข้างหน้า รวมทั้งประเมินว่าความต้องการแรงงานในโครงการการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐบาลในระยะยาวว่ามีความต้องการแรงงานแต่ละระดับจำนวนเท่าใด และขอให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ร่วมกับกระทรวงแรงงาน จัดทำแผนยุทธศาสตร์ผลิตกำลังคนของประเทศในช่วง 5-10 ปี ข้างหน้าโดยเน้นผลิตกำลังคนระดับปริญญาตรีสาขาวิศวะ อุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และอาชีวะสาขาช่างฝีมือต่างๆ ให้มากขึ้น และลดสัดส่วนการผลิตกำลังคนระดับปริญญาตรีสายสังคมศาสตร์ บริหาร และนิเทศศาสตร์ รวมทั้งลดสัดส่วนรับนักเรียนสายสามัญเพื่อให้การผลิตแรงงานสอดคล้องกับความต้องการของประเทศ ซึ่งตนจะเสนอข้อสรุปการประชุมต่อ นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ ปลัดกระทรวงแรงงานภายในเดือนมกราคม 2557 เพื่อให้พิจารณาและประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและนัดหารือกันเพื่อร่วมกันจัดทำร่างแผนยุทธศาสตร์ผลิตกำลังคนต่อไป
วันนี้ (16 ธ.ค.) นายสุเมธ มโหสถ รองปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงความคืบหน้าการแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานว่า ได้ประชุมร่วมกับผู้บริหารกรมต่างๆ ของกระทรงงแรงงาน ได้ข้อสรุปว่า ขณะนี้ประเทศไทยมีปัญหาขาดแคลนแรงงานโดนเฉพาะสายวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ รวมทั้งสาขาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมและผู้ที่จบวุฒิ ปวช. ปวส.ในสาขาต่างๆ โดยเฉพาะช่างฝีมือ เนื่องจากปัจจุบันเด็กไทยนิยมเรียนในระดับปริญญาตรีสายสังคมศาสตร์ ด้านบริหารและนิเทศศาสตร์ อีกทั้งมียังมีเด็กเข้าเรียนในระดับอาชีวะสาขาช่างเป็นจำนวนน้อยกว่าความต้องการของตลาดแรงงาน
รองปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวอีกว่า ที่ประชุมสรุปแนวทางแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานโดยจะขอให้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาหอการค้าไทย สำรวจความต้องการแรงงานในช่วง 5-10 ปีข้างหน้า รวมทั้งประเมินว่าความต้องการแรงงานในโครงการการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐบาลในระยะยาวว่ามีความต้องการแรงงานแต่ละระดับจำนวนเท่าใด และขอให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ร่วมกับกระทรวงแรงงาน จัดทำแผนยุทธศาสตร์ผลิตกำลังคนของประเทศในช่วง 5-10 ปี ข้างหน้าโดยเน้นผลิตกำลังคนระดับปริญญาตรีสาขาวิศวะ อุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และอาชีวะสาขาช่างฝีมือต่างๆ ให้มากขึ้น และลดสัดส่วนการผลิตกำลังคนระดับปริญญาตรีสายสังคมศาสตร์ บริหาร และนิเทศศาสตร์ รวมทั้งลดสัดส่วนรับนักเรียนสายสามัญเพื่อให้การผลิตแรงงานสอดคล้องกับความต้องการของประเทศ ซึ่งตนจะเสนอข้อสรุปการประชุมต่อ นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ ปลัดกระทรวงแรงงานภายในเดือนมกราคม 2557 เพื่อให้พิจารณาและประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและนัดหารือกันเพื่อร่วมกันจัดทำร่างแผนยุทธศาสตร์ผลิตกำลังคนต่อไป