เปิดโพลล์แรงงานไทย 70.7% เชื่อเลี้ยงปีใหม่ปลอดเหล้าในโรงงานช่วยลดอุบัติเหตุ ทะเลาะวิวาท น่าห่วง 1 ใน 4 ยังไม่รู้กฎหมายห้ามขายห้ามดื่มเหล้าในโรงงาน สสส.เผยยอดผู้ใช้แรงงานสังเวยชีวิตจากเหล้า 4 หมื่นคนต่อปี สูญเสียทางเศรษฐกิจ 2 แสนล้านบาท ด้านนายจ้าง ยันจัดงานเลี้ยงปลอดเหล้าทำได้ ช่วยประหยัดลดปัญหา หลังมีบทเรียนเลี้ยงปีใหม่น้ำเมาคร่าชีวิตลูกจ้าง 3 ศพ
วันนี้ (26 ธ.ค.) นางสาวมณี ขุนภักดี หัวหน้าฝ่ายรณรงค์และเผยแพร่ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นผู้ใช้แรงงานต่อกฎหมายห้ามขายห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในโรงงาน จาก 1,391 ตัวอย่าง แบ่งเป็น ชาย 43.9%หญิง 56.1% ใน 8 พื้นที่ได้แก่ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ นครปฐม สมุทรสาคร นนทบุรี อ่างทอง สระบุรี ปทุมธานี ระหว่างวันที่ 5-15 ธ.ค.2556 พบว่า กลุ่มตัวอย่างทราบดีว่าแอลกอฮอล์ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง เกิดอุบัติเหตุในการทำงาน สร้างปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ปัญหาหนี้สิน ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่าง 85.5% ต่างเห็นด้วยว่ากฎหมายห้ามขายห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในโรงงานมีประโยชน์ ทั้งต่อตัวนายจ้างและลูกจ้าง ขณะเดียวกันเกินครึ่ง หรือ 70.7% เห็นด้วยหากงานเลี้ยงปีใหม่ในโรงงานจะไม่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะเชื่อว่าช่วยลดปัญหาและผลกระทบต่างๆ ได้
“การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของกลุ่มผู้ใช้แรงงาน หากจำแนกจะพบว่าผู้หญิงรับรู้รับทราบต่อปัญหามากกว่าผู้ชาย เช่น ความรุนแรงในครอบครัว ปัญหาหนี้สิน และแม้ว่ากฎหมายดังกล่าวบังคับใช้มานานแล้ว แต่กลุ่มตัวอย่างกว่า 1 ใน 4 หรือ 25.2% ยังไม่ทราบว่าการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในโรงงานผิดกฎหมาย เนื่องจากช่องทางประชาสัมพันธ์ยังไม่เพียงพอ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยังต้องการให้ประชาสัมพันธ์ในโรงงานโดยตรง หรือทำป้ายโฆษณาในโรงงาน เมื่อถามถึงหน่วยงานที่ต้องรับผิดชอบ และเร่งประชาสัมพันธ์กฎหมาย กลุ่มตัวอย่างระบุว่า 22.2% สถานประกอบการโรงงาน 20.6% กระทรวงแรงงาน 19.2% กระทรวงสาธารณสุข 13.3% กระทรวงอุตสาหกรรม 11.3% สหภาพแรงงาน ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ใกล้ช่วงเทศกาลปีใหม่แล้ว ควรมีการเร่งดำเนินการประชาสัมพันธ์กฎหมายห้ามขายห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในโรงงาน เนื่องจากยังมีหลายโรงงานหลายบริษัทรวมถึงแรงงานส่วนใหญ่ยังไม่รับทราบกฎหมายนี้” นางสาวมณี กล่าว
นพ.บัณฑิต ศรไพศาล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า โครงการโรงงานสีขาว ลด ละ เลิกเหล้า เริ่มเกิดการยอมรับจากผู้ประกอบการ กลุ่มผู้ใช้แรงงาน ทำให้ประสบความสำเร็จเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นเราจึงเริ่มมองหาข้อดีและขยายกิจกรรมไปอย่างต่อเนื่อง เช่น งานเลี้ยงปลอดเหล้า ซึ่งช่วยลดความสูญเสีย ประหยัดเงิน ลดปัญหาทะเลาะวิวาท ส่งผลดีต่อองค์กรทั้งเรื่องความปลอดภัย ประสิทธิภาพในการทำงาน เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการนี้จะขยายผลเพิ่มช่องทางการรับรู้ เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม กระตุ้นให้ผู้ใช้แรงงาน นายจ้างผู้ประกอบการ ตระหนักถึงผลกระทบ ที่สำคัญรับรู้รับทราบกฎหมายห้ามขายห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานประกอบกิจการโรงงาน อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการเสริมพลังให้กับโรงงานต้นแบบ บุคคลต้นแบบ ลด ละ เลิกเหล้า วันนี้จึงได้มีการมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ พร้อมทั้งเปิดตัวคู่มือ โรงงานสีขาวลด ละ เลิกเหล้า ซึ่งทางมูลนิธิหญิงชายก้าวไกลได้ถอดบทเรียนจากการทำงานไว้อย่างน่าสนใจ
“หากดูข้อมูลจากผลวิจัยด้านนโยบายสุขภาพ น่าตกใจว่า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ส่งผลเสียทางเศรษฐกิจเกือบ 200,000 ล้านบาท และสถิติกลุ่มแรงงานที่เสียชีวิตก่อนวัยอันควรเพราะดื่มแอลกอฮอล์มีมากถึง40,000 คน ส่วนใหญ่อายุ 30-44 ปี รองลงมา 15-29 ปี ซึ่งผู้ที่ดื่มหรือเคยดื่มจะขาดงาน เพราะปัญหาสุขภาพ ประสิทธิภาพขณะทำงาน ลดลงกว่าผู้ไม่ดื่ม 1.7-5.7% และในช่วงเทศกาลปีใหม่นี้ หากแต่ละโรงงานจะส่งเสริมให้เกิดงานเลี้ยงปลอดเหล้า ก็จะช่วยให้ประหยัดงบ ลดรายจ่าย ลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุ ได้อย่างแน่นอน” นพ.บัณฑิต กล่าว
ขณะที่ นายบุญมี จิตรใจ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ยางโอตานิ กล่าวว่า จากบทเรียนเมื่อปี 2549 ทางโรงงานจัดให้มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงานเลี้ยงปีใหม่ จนสุดท้ายต้องสูญเสียพนักงานถึง 3 คน จากอุบัติเหตุเมาแล้วขับ อีกทั้งภายในงานเลี้ยงทุกปียังพบปัญหา ทะเลาะวิวาทชกต่อยกันเพราะความเมา จนต้องให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมาคอยควบคุมสถานการณ์ รวมถึงลงโทษพนักงานด้วยการไล่ออก จากนั้นปี 2550 จึงได้เข้าร่วมโครงการโรงงานสีขาว ลด ละ เลิกเหล้า กับมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล แรกๆ ก็พบปัญหาแอบดื่มก่อนเข้างาน แต่จากการรณรงค์และสร้างการรับรู้ รวมถึงมีกฎหมายห้ามขายห้ามดื่มในโรงงานก็ช่วยเป็นเครื่องได้มาก ทำให้พนักงานเข้าใจและเกิดการยอมรับสามารถปรับพฤติกรรมได้ในที่สุด
“โรงงานของเราประสบความสำเร็จในการลดละเลิกเหล้าของพนักงานได้จริง จนสามารถต่อยอดไปเป็นหอพักพนักงานปลอดเหล้า พนักงานหลายคนต้องการเลิกดื่มตลอดชีวิต และงานเลี้ยงปีใหม่วันที่ 28 ธ.ค.นี้ ต่างรับรู้ดีว่าจะไม่มีเหล้าในงานเลี้ยง โดยเราจะเน้นแข่งขันกีฬา จับสลากของขวัญ และรับประทานอาหารร่วมกัน อย่างไรก็ตาม ขอฝากไปถึงโรงงานอื่นๆ ที่ยังมีการเลี้ยงสังสรรค์มีเหล้าในงาน อยากให้มองกลับมาถึงการดูแลพนักงานให้เหมือนคนในครอบครัวเรา เพื่อให้เขาอยู่กับเราไปนานๆ เพราะพนักงานทุกคนถือเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญและมีค่า อย่าให้น้ำเมามาทำลาย” นายบุญมี กล่าว
วันนี้ (26 ธ.ค.) นางสาวมณี ขุนภักดี หัวหน้าฝ่ายรณรงค์และเผยแพร่ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นผู้ใช้แรงงานต่อกฎหมายห้ามขายห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในโรงงาน จาก 1,391 ตัวอย่าง แบ่งเป็น ชาย 43.9%หญิง 56.1% ใน 8 พื้นที่ได้แก่ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ นครปฐม สมุทรสาคร นนทบุรี อ่างทอง สระบุรี ปทุมธานี ระหว่างวันที่ 5-15 ธ.ค.2556 พบว่า กลุ่มตัวอย่างทราบดีว่าแอลกอฮอล์ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง เกิดอุบัติเหตุในการทำงาน สร้างปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ปัญหาหนี้สิน ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่าง 85.5% ต่างเห็นด้วยว่ากฎหมายห้ามขายห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในโรงงานมีประโยชน์ ทั้งต่อตัวนายจ้างและลูกจ้าง ขณะเดียวกันเกินครึ่ง หรือ 70.7% เห็นด้วยหากงานเลี้ยงปีใหม่ในโรงงานจะไม่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะเชื่อว่าช่วยลดปัญหาและผลกระทบต่างๆ ได้
“การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของกลุ่มผู้ใช้แรงงาน หากจำแนกจะพบว่าผู้หญิงรับรู้รับทราบต่อปัญหามากกว่าผู้ชาย เช่น ความรุนแรงในครอบครัว ปัญหาหนี้สิน และแม้ว่ากฎหมายดังกล่าวบังคับใช้มานานแล้ว แต่กลุ่มตัวอย่างกว่า 1 ใน 4 หรือ 25.2% ยังไม่ทราบว่าการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในโรงงานผิดกฎหมาย เนื่องจากช่องทางประชาสัมพันธ์ยังไม่เพียงพอ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยังต้องการให้ประชาสัมพันธ์ในโรงงานโดยตรง หรือทำป้ายโฆษณาในโรงงาน เมื่อถามถึงหน่วยงานที่ต้องรับผิดชอบ และเร่งประชาสัมพันธ์กฎหมาย กลุ่มตัวอย่างระบุว่า 22.2% สถานประกอบการโรงงาน 20.6% กระทรวงแรงงาน 19.2% กระทรวงสาธารณสุข 13.3% กระทรวงอุตสาหกรรม 11.3% สหภาพแรงงาน ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ใกล้ช่วงเทศกาลปีใหม่แล้ว ควรมีการเร่งดำเนินการประชาสัมพันธ์กฎหมายห้ามขายห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในโรงงาน เนื่องจากยังมีหลายโรงงานหลายบริษัทรวมถึงแรงงานส่วนใหญ่ยังไม่รับทราบกฎหมายนี้” นางสาวมณี กล่าว
นพ.บัณฑิต ศรไพศาล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า โครงการโรงงานสีขาว ลด ละ เลิกเหล้า เริ่มเกิดการยอมรับจากผู้ประกอบการ กลุ่มผู้ใช้แรงงาน ทำให้ประสบความสำเร็จเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นเราจึงเริ่มมองหาข้อดีและขยายกิจกรรมไปอย่างต่อเนื่อง เช่น งานเลี้ยงปลอดเหล้า ซึ่งช่วยลดความสูญเสีย ประหยัดเงิน ลดปัญหาทะเลาะวิวาท ส่งผลดีต่อองค์กรทั้งเรื่องความปลอดภัย ประสิทธิภาพในการทำงาน เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการนี้จะขยายผลเพิ่มช่องทางการรับรู้ เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม กระตุ้นให้ผู้ใช้แรงงาน นายจ้างผู้ประกอบการ ตระหนักถึงผลกระทบ ที่สำคัญรับรู้รับทราบกฎหมายห้ามขายห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานประกอบกิจการโรงงาน อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการเสริมพลังให้กับโรงงานต้นแบบ บุคคลต้นแบบ ลด ละ เลิกเหล้า วันนี้จึงได้มีการมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ พร้อมทั้งเปิดตัวคู่มือ โรงงานสีขาวลด ละ เลิกเหล้า ซึ่งทางมูลนิธิหญิงชายก้าวไกลได้ถอดบทเรียนจากการทำงานไว้อย่างน่าสนใจ
“หากดูข้อมูลจากผลวิจัยด้านนโยบายสุขภาพ น่าตกใจว่า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ส่งผลเสียทางเศรษฐกิจเกือบ 200,000 ล้านบาท และสถิติกลุ่มแรงงานที่เสียชีวิตก่อนวัยอันควรเพราะดื่มแอลกอฮอล์มีมากถึง40,000 คน ส่วนใหญ่อายุ 30-44 ปี รองลงมา 15-29 ปี ซึ่งผู้ที่ดื่มหรือเคยดื่มจะขาดงาน เพราะปัญหาสุขภาพ ประสิทธิภาพขณะทำงาน ลดลงกว่าผู้ไม่ดื่ม 1.7-5.7% และในช่วงเทศกาลปีใหม่นี้ หากแต่ละโรงงานจะส่งเสริมให้เกิดงานเลี้ยงปลอดเหล้า ก็จะช่วยให้ประหยัดงบ ลดรายจ่าย ลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุ ได้อย่างแน่นอน” นพ.บัณฑิต กล่าว
ขณะที่ นายบุญมี จิตรใจ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ยางโอตานิ กล่าวว่า จากบทเรียนเมื่อปี 2549 ทางโรงงานจัดให้มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงานเลี้ยงปีใหม่ จนสุดท้ายต้องสูญเสียพนักงานถึง 3 คน จากอุบัติเหตุเมาแล้วขับ อีกทั้งภายในงานเลี้ยงทุกปียังพบปัญหา ทะเลาะวิวาทชกต่อยกันเพราะความเมา จนต้องให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมาคอยควบคุมสถานการณ์ รวมถึงลงโทษพนักงานด้วยการไล่ออก จากนั้นปี 2550 จึงได้เข้าร่วมโครงการโรงงานสีขาว ลด ละ เลิกเหล้า กับมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล แรกๆ ก็พบปัญหาแอบดื่มก่อนเข้างาน แต่จากการรณรงค์และสร้างการรับรู้ รวมถึงมีกฎหมายห้ามขายห้ามดื่มในโรงงานก็ช่วยเป็นเครื่องได้มาก ทำให้พนักงานเข้าใจและเกิดการยอมรับสามารถปรับพฤติกรรมได้ในที่สุด
“โรงงานของเราประสบความสำเร็จในการลดละเลิกเหล้าของพนักงานได้จริง จนสามารถต่อยอดไปเป็นหอพักพนักงานปลอดเหล้า พนักงานหลายคนต้องการเลิกดื่มตลอดชีวิต และงานเลี้ยงปีใหม่วันที่ 28 ธ.ค.นี้ ต่างรับรู้ดีว่าจะไม่มีเหล้าในงานเลี้ยง โดยเราจะเน้นแข่งขันกีฬา จับสลากของขวัญ และรับประทานอาหารร่วมกัน อย่างไรก็ตาม ขอฝากไปถึงโรงงานอื่นๆ ที่ยังมีการเลี้ยงสังสรรค์มีเหล้าในงาน อยากให้มองกลับมาถึงการดูแลพนักงานให้เหมือนคนในครอบครัวเรา เพื่อให้เขาอยู่กับเราไปนานๆ เพราะพนักงานทุกคนถือเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญและมีค่า อย่าให้น้ำเมามาทำลาย” นายบุญมี กล่าว