สอศ.-วท.มาบตาพุด และหน่วยงานภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมี สานต่อความร่วมมือ V-ChEPC ระยะที่ 3 ผลิตช่างปิโตรเคมีพันธุ์ใหม่ หลังดำเนินการที่ผ่านมาผลิตมาแล้ว 128 คน ได้ทำงาน 100% ขณะที่ สอศ.เตรียมถอดบทเรียนโครงการไปต่อยอดกับกลุ่มสาขาอื่น
วันนี้ (28 ต.ค.) นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวระหว่างเป็นประธานและร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการพัฒนาช่างเทคนิควิศวกรรมเคมี (Vocational Chemical Engineering Practice College หรือ V-ChEPC) ระยะที่ 3 (2557-2559) ระหว่างวิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และมูลนิธิศึกษาพัฒน์ กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ว่า โครงการนี้ถือเป็นโครงการที่ดีเพราะมีการร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและภาคเอกชน ในการอบรมพัฒนาหลักสูตรเพื่อผลิตนักศึกษาให้ได้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม จากการดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนเข้าสู่ระยะที่ 3 จึงอยากให้ สอศ.ถอดบทเรียนและประสบการณ์ต่างๆ ที่ทำในโครงการนี้ไปต่อยอดและขยายผลเพื่อนำไปพัฒนานักศึกษาอาชีวศึกษา ในกลุ่มสาขาอื่นๆ โดยเฉพาะสาขาที่กำลังเป็นที่ต้องการของประเทศในขณะนี้ด้วย
ด้าน นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) กล่าวว่า โครงการดังกล่าวดำเนินการมาแล้ว 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 (ปีการศึกษา 2551-2553) และระยะที่ 2 (ปีการศึกษา 2554-2556) ที่ผ่านมานั้นสามารถผลิตนักศึกษาระดับประกาศนียบัติวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาปิโตรเคมี ในวิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุด มาแล้ว 4 รุ่น จำนวน 128 คน และได้เข้าทำงานในสถานประกอบการปิโตรเลียมและปิโตรเคมี 100% มีเงินเดือนขั้นต่ำ 25,000 บาท นับเป็นความสำเร็จอย่างดียิ่งจนนำมาสู่ความร่วมมือในระยะที่ 3 โดย สอศ.ยืนยันว่าจะสานต่อโครงการนี้อย่างต่อเนื่องต่อไป พร้อมทั้งนำรูปแบบไปขยายผลกับการเรียนอาชีวะสาขาอื่นๆ อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าวนี้ สอศ.เปิดรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาที่เกี่ยวข้องกับช่างอุตสาหกรรมจากทั่วประเทศ แต่ต้องมีเกรดเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 2.75 ขึ้นไป และต้องผ่านการคัดเลือกทั้งการสอบข้อเขียน สอบสัมภาษณ์ จากคณะผู้แทนของสถานประกอบการด้วย โดยผู้เรียนจะได้รับการสนับสนุนทุนการศึกษา หอพัก ค่าอาหารและอุปกรณ์การเรียนรวมทั้งค่าเบี้ยเลี้ยงระหว่างฝึกงาน
วันนี้ (28 ต.ค.) นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวระหว่างเป็นประธานและร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการพัฒนาช่างเทคนิควิศวกรรมเคมี (Vocational Chemical Engineering Practice College หรือ V-ChEPC) ระยะที่ 3 (2557-2559) ระหว่างวิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และมูลนิธิศึกษาพัฒน์ กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ว่า โครงการนี้ถือเป็นโครงการที่ดีเพราะมีการร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและภาคเอกชน ในการอบรมพัฒนาหลักสูตรเพื่อผลิตนักศึกษาให้ได้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม จากการดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนเข้าสู่ระยะที่ 3 จึงอยากให้ สอศ.ถอดบทเรียนและประสบการณ์ต่างๆ ที่ทำในโครงการนี้ไปต่อยอดและขยายผลเพื่อนำไปพัฒนานักศึกษาอาชีวศึกษา ในกลุ่มสาขาอื่นๆ โดยเฉพาะสาขาที่กำลังเป็นที่ต้องการของประเทศในขณะนี้ด้วย
ด้าน นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) กล่าวว่า โครงการดังกล่าวดำเนินการมาแล้ว 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 (ปีการศึกษา 2551-2553) และระยะที่ 2 (ปีการศึกษา 2554-2556) ที่ผ่านมานั้นสามารถผลิตนักศึกษาระดับประกาศนียบัติวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาปิโตรเคมี ในวิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุด มาแล้ว 4 รุ่น จำนวน 128 คน และได้เข้าทำงานในสถานประกอบการปิโตรเลียมและปิโตรเคมี 100% มีเงินเดือนขั้นต่ำ 25,000 บาท นับเป็นความสำเร็จอย่างดียิ่งจนนำมาสู่ความร่วมมือในระยะที่ 3 โดย สอศ.ยืนยันว่าจะสานต่อโครงการนี้อย่างต่อเนื่องต่อไป พร้อมทั้งนำรูปแบบไปขยายผลกับการเรียนอาชีวะสาขาอื่นๆ อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าวนี้ สอศ.เปิดรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาที่เกี่ยวข้องกับช่างอุตสาหกรรมจากทั่วประเทศ แต่ต้องมีเกรดเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 2.75 ขึ้นไป และต้องผ่านการคัดเลือกทั้งการสอบข้อเขียน สอบสัมภาษณ์ จากคณะผู้แทนของสถานประกอบการด้วย โดยผู้เรียนจะได้รับการสนับสนุนทุนการศึกษา หอพัก ค่าอาหารและอุปกรณ์การเรียนรวมทั้งค่าเบี้ยเลี้ยงระหว่างฝึกงาน