เมื่อความเห็นไม่ลงรอย การแสดงออกเพื่อโจมตีฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย หรือมีความคิดเห็นที่ขัดแย้งกันทางหนึ่งในยุคเทคโนโลยีเช่นนี้ก็คือ การสาดน้ำลายผ่านโลกไซเบอร์ กลายเป็นสงครามออนไลน์ ที่มีการให้ข้อมูลอันหลากหลาย และมากมาย ที่บ้างก็เชื่อถือได้ และบ้างก็เชื่อถือไม่ได้
เช่นเดียวกับขณะนี้ในช่วงที่มวลมหาประชาชนต่างออกมาขับไล่รัฐบาล เพื่อล้มล้างระบอบทักษิณ จนมีเหตุการณ์ปะทะเกิดขึ้น จนผู้ชุมนุมได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก ทั้งจากแก๊สน้ำตา กระสุนยาง รวมไปถึงมีผู้ได้รับบาดเจ็บจากการถูกหนังสติ๊กยิงด้วยหัวน็อต และกระสุนจริงด้วย ก็ยังไม่แคล้วมีการออกมาเล่นสงครามออนไลน์ในเรื่อง "การช่วยเหลือดูแลผู้ได้รับบาดเจ็บ" จนสร้างความสับสนไปทั้งบาง
เรื่องนี้เริ่มต้นจากแฟนเพจเฟซบุ๊กของ "ชมรมแพทย์ชนบท" ที่มีการให้ข่าวเกี่ยวกับการทำหน้าที่ช่วยเหลือผู้ชุมนุมที่ได้รับบาดเจ็บของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ว่า ใส่เกียร์ว่างและจัดระบบการแพทย์ฉุกเฉินไม่ดีสำหรับการดูแลผู้ชุมนุม เช่น นำรถพยาบาลต่างๆ มาจอดทิ้งไว้เฉยๆ ไม่เข้าไปในพื้นที่ ปล่อยให้ทีมกู้ชีพ ทีมแพทย์อาสาทำงานกันเอง ทั้งที่น่าจะมีการจัดระบบได้ดีกว่านี้ รวมถึงมีคำสั่งไม่ให้องค์การเภสัชกรรม (อภ.) นำน้ำเกลือเข้าช่วยเหลือประชาชน ทั้งที่เป็นสิ่งจำเป็นมากจากการถูกแก๊สน้ำตา เป็นต้น
สธ.เดือดโต้กลับทันควัน
ทันทีที่มีข่าว นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข รีบตั้งโต๊ะชี้แจงให้เหตุผลว่า ทีมกู้ชีพและทีมแพทย์อาสาในพื้นที่แนวปะทะ มีความคล่องตัวและชำนาญเส้นทางในการนำผู้ได้รับบาดเจ็บออกมาส่งยังพื้นที่ปลอดภัย ซึ่งมีทีมแพทย์ฉุกเฉินของ สธ.ประจำอยู่ เพื่อส่งต่อไปยังโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ก็จะทำให้ผู้ได้รับบาดเจ็บได้รับการดูแลรักษาที่ปลอดภัย ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐาน และการไม่ส่งทีมแพทย์กู้ชีพขั้นสูงลงไปในพื้นที่ก็เพราะ รพ.สนามมีพื้นที่จำกัด การส่งคนลงไปมากจะเกิดอุปสรรค และเป็นภาระให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ต้องเข้ามาดูแลความปลอดภัย จึงทำหน้าที่เป็นผู้ประสานและสนับสนุนในสิ่งที่ทีมแพทย์ภาคสนามต้องการ ที่สำคัญหากทีมแพทย์ใดต้องการจะเข้ามาร่วมช่วยเหลือก็ต้องผ่านศูนย์ส่วนหน้า เพื่อที่จะจัดกำลังช่วยเหลือไปตามจุดต่างๆ อย่างเหมาะสม
ส่วนเรื่องน้ำเกลือและเวชภัณฑ์ นพ.ประดิษฐ อธิบายว่า ไม่ได้มีการสั่งห้ามไม่ให้นำมาแจกผู้ชุมนุม แต่เพราะเป็นเวชภัณฑ์สำหรับแพทย์ การจะจัดส่งหากส่งมายังศูนย์ส่วนหน้า ก็จะเป็นผู้กระจายน้ำเกลือไปยังจุดที่มีความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกว่าที่จะให้ผู้ชุมนุมมาเอาไปเองจากองค์การเภสัชกรรม ซึ่งเป็นเรื่องไม่เหมาะสม
การเมือง สธ.ระอุ ในวันที่การเมืองไทยดุเดือด
รูปการณ์ดังกล่าวหลายฝ่ายเชื่อกันว่า เป็นเพราะการเมืองภายใน สธ. ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า ในรอบปี 2556 มีความไม่ลงรอยกันระหว่างกลุ่มแพทย์ชนบทและผู้บริหาร สธ.โดยเฉพาะเจ้ากระทรวงหมออย่าง นพ.ประดิษฐ และ นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ.อันเนื่องมาจากการปรับวิธีการจ่ายค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย และการจ่ายค่าตอบแทนตามภาระงาน จนเรื่องราวบานปลายต้องมีตัวแทนจากรัฐบาลเข้ามาไกล่เกลี่ย แต่การเจรจาดูเหมือนจะไม่เกิดผลใดๆ โดยกลุ่มแพทย์ชนบทเชื่อว่า รมว.สาธารณสุข ไม่มีความจริงใจในการแก้ปัญหา ถึงขั้นสวดยับให้เป็นโมฆะบุรุษหมดความชอบธรรมในการเป็นรัฐมนตรี แจกแจงรายละเอียดถี่ยิบถึง 12 เหตุผลที่ไม่สมควรเป็นรัฐมนตรี ส่วนทางด้าน นพ.ประดิษฐ ก็ทำได้เพียงชี้แจงว่าได้ดำเนินการทุกอย่างตามที่เรียกร้องทั้งหมดแล้ว แต่ต้องเป็นไปตามขั้นตอน และเป็นที่พอใจของทุกฝ่าย รวมถึงอยากให้กลุ่มแพทย์ชนบทเข้ามาหารือเพื่อหาทางออกด้วย
แต่ดูเหมือนกลุ่มแพทย์ชนบทที่มี นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ นั่งแท่นประธานชมรมแพทย์ชนบท จะส่งเสียงเด็ดขาดแล้วว่า จะไม่มีการเจรจาใดๆ กับความสับปลับของรัฐมนตรีกระทรวงหมออีกต่อไป ถึงขั้นไปเผาผีในซอยบ้านนายกฯ ในช่วงระหว่างที่การชุมนุมขับไล่ระบอบทักษิณยังคงคุกรุ่น พร้อมอ้อนวอนให้นายกฯเด้ง รมว.สาธารณสุข และปลัด สธ.ออกจากตำแหน่ง แต่ขณะเดียวกันก็ออกแถลงการณ์โจมตีรัฐบาลและสนับสนุนผู้ชุมนุมอย่างเข้มข้น รวมถึงตอบโต้ รมว.สาธารณสุข ที่พูดแทนรัฐบาลว่าอยากให้มาคุยกันอย่างสันติ โดยระบุว่า เรื่องในกระทรวงยังไม่มีความจริงใจ ก็เชื่อถือไม่ได้ที่จะให้ผู้ชุมนุมหันหน้ามาเจรจาด้วย
เรียกได้ว่าช่วงเหตุการณ์ที่การเมืองไทยดุเดือด การเมืองใน สธ.ก็ยังร้อนระอุไม่ต่างกัน ทั้งที่ห้วงเวลาเช่นนี้กลุ่มวิชาชีพที่ได้ชื่อว่าต้องตามรอย “สมเด็จพระราชบิดา” นั้น ต้องยึดการช่วยเหลือประชาชนเป็นหน้าที่สำคัญ
สงครามออนไลน์ "หมอ" กระทบกู้ชีพ
ผลของการโต้ตอบไปมาของทั้งฝ่าย สธ. และหมอชนบทนี้ มีเสียงเล็กๆ เสียงหนึ่งยืนยันว่าก่อให้เกิดผลกระทบอย่างมากในการช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บจากการชุมนุม
นายสุทธิรัตส์ คุ้มสม เจ้าหน้าที่กู้ชีพ มูลนิธิร่วมกตัญญู เปิดใจผ่านสื่อหลายสำนักว่า ทำให้ดูเหมือนพวกตนทำงานอิงการเมือง ผู้คนก็มองในแง่ลบ เมื่อเข้าไปในพื้นที่ก็ถูกด่า และทำให้คนมองว่าพวกตนทำงานแบบเลือกสีเลือกข้าง รวมถึงถูกมองว่าการนำรถพยาบาลเข้ามาในพื้นที่คือจะมีการสลายการชุมนุมแล้วใช่หรือไม่ หรือนำรถเข้ามาทำไมยังไม่มีคนเจ็บคนตาย เป็นต้น ซึ่งพวกตนก็ต้องพยายามอดทน และอธิบายว่า ไม่ใช่เพราะมีการสลายการชุมนุม แต่ทุกครั้งที่มีการชุมนมพวกตนต้องเข้ามาเตรียมความพร้อมปกติ เพื่อดูแลความเรียบร้อยและการเจ็บป่วยของประชาชน เพราะพวกตนก็เป็นคนไทยคนหนึ่งเช่นกัน
“พวกผมไม่เคยเลือกสี เลือกข้าง ช่วยคนทุกคนเหมือนกัน ไม่ว่าอยู่ฝ่ายใด ไม่มีการแบ่งแยก และขอให้อย่าคิดว่าเราอยู่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เราเป็นคนกลางมีหน้าที่ช่วยทุกคน เพราะหากมองเช่นนี้แล้ว การทำงานพื้นที่ชุมนุมก็ลำบากมากขึ้น มวลชนที่ไม่ทราบก็จะมองอีกอย่างหนึ่ง ทำให้การช่วยเหลือยากกว่าเดิม”
ศึกตัวอักษรยังไม่จบ มีต่อยกสอง
อย่างไรก็ตาม แม้จะออกมาพูดผ่านสื่อแล้ว นายสุทธิรัตส์ ยังเผยแพร่ข้อความตอบโต้ผ่านสังคมออนไลน์เช่นกัน ในชื่อ “หยุดเถอะครับ คุณหมอเกรียงศักดิ์ ประธานชมรมแพทย์ชนบท” เรียกได้ว่าเพิ่มดีกรีความร้อนแรงให้สถานการณ์เพิ่มยิ่งขึ้น โดยเนื้อหาใจความมีดังต่อไปนี้
"ผมเป็นผู้ปฏิบัติงานในกู้ชีพ ที่มีส่วนร่วมในการสนับสนุนส่งต่อผู้ป่วยในเหตุการณ์วันที่ 1-2 ธ.ค.56 ภายใต้การสั่งการของกระทรวงสาธารณสุข เดิมทีผมตั้งใจจะก้มหน้าก้มตาทำงานไป ไม่สนใจความขัดแย้งใดๆ ที่อยู่รอบตัว ทำงานที่ได้รับมอบหมายให้ดีที่สุด ด้วยเพราะผมเป็นแค่คนทำงานตัวเล็กๆ เสียงก็ไม่ดัง แต่หลังจากได้รับข้อความทั้งจากไลน์และเฟซบุ๊ก ที่บิดเบือนการทำงานของพวกผม ถ้าเป็นแค่พวกคุณหมอจากชมรมแพทย์ชนบท ผมคงทนได้แค่ผ่านหูไป แต่นี่เพื่อนๆ ญาติๆ ต่างก็เข้าใจผิดไปหมด ผมรับไม่ได้ครับ
คุณหมอไม่รู้จริงๆ หรือแกล้งไม่รู้ครับ ขอโทษ ผมคิดว่าเป็นอย่างหลัง เพราะด้วยภูมิปัญญาของคุณหมอ น่าจะทราบดีว่าการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินเขาทำกันอย่างไร แม้ผมจะไม่ใช่หมอแต่ก็รู้ว่า นอกจากจะต้องประเมินสถานการณ์ คัดกรอง ปฐมพยาบาล การส่งต่อส่งกลับแล้ว การระวังภยันตรายที่อาจเกิดกับทีมกู้ชีพนั้นสำคัญอย่างยิ่ง เพราะอาจหมายอันตรายที่เกิดกับผู้ป่วยด้วย ดังนั้น การสั่งการและการทำงานเป็นทีมจึงมีความสำคัญที่สุด พวกเราทำงานประสานกันเป็นทีมทั้งกับโรงพยาบาลสนามของแพทย์อาสา ทีมกู้ชีพ กทม.กรมการแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และทีมกู้ชีพขั้นพื้นฐาน (BLS) ในพื้นที่ที่ท่านดูแคลนพวกเขานี่แหละ ตั้งแต่วันที่ 24 พ.ย.56 แล้วครับ ตอนนั้นพวกท่านอยู่ที่ไหนครับ? หรือกำลังหาเรื่องบิดเบือน จ้องทำลายกระทรวงสาธารณสุขเพียงเพราะความเคียดแค้นส่วนตัว สร้างเรื่องน้ำเกลือขององค์การเภสัช สร้างเรื่องต่างๆ ว่ากระทรวงไหนไม่สนใจดูแลผู้บาดเจ็บ ขอเถอะครับ ภาพที่ผมเห็น การทำงานของพวกเราชาวสาธารณสุขไม่มีทางเป็นอย่างที่คุณหมอใส่ร้ายแน่นอน
วันนี้ผมไม่มีภารกิจกับทีมกู้ชีพ ได้กลับมาพักที่โรงพยาบาล มีเวลาคิดเรื่องหลายเรื่อง แต่ที่คิดไม่ตกคือทำไมคุณหมอจึงทำแบบนี้ เลยแวะเข้าไปคุยกับพี่หมอจิตแพทย์ที่โรงพยาบาล พี่หมอวิเคราะห์ให้ฟังว่าอาจเป็นเพราะว่าคุณหมอเคยมีบทบาทสูง เป็นผู้นำทางความคิด ชี้นำกระทรวงมาโดยตลอด อยากได้อะไรก็ได้ เป็นอย่างนี้มาตลอด แต่ในช่วงปีนี้มันตรงกันข้าม ข่มขู่อะไรก็ไม่เป็นผล จึงทำได้ทุกอย่างแม้จะเป็นการทำลายองค์กรที่เป็นอู่ข้าวอู่น้ำของตัวเอง
ผมขออีกครั้งนะครับ หยุดเถอะครับ หยุดผูกเรื่องส่วนตัวมาโยงกับเรื่องการเมือง หยุดสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้มีจิตใจรักชาติ รักประชาธิปไตย พวกเราชาวสาธารณสุขมีหน้าที่ดูแลผู้ป่วยโดยไม่เลือกว่าจะเป็นใคร พวกเราเดินตามรอยสมเด็จพระราชบิดาครับคุณหมอ"
ซึ่งทางด้านแพทย์ชนบท ได้ชี้แจงกรณีนี้ผ่านแฟนเพจว่า ไม่ได้กล่าวหาว่าทีมกู้ชีพใส่เกียร์ว่าง ขอให้คนทำหน้าที่นี้สู้ต่อไป เราไม่มีการปัญหากัน แต่การที่ สธ.ไม่จัดระบบจึงยอมรับไม่ได้ ต้องยกพลเข้ากรุงมาช่วยเหลือ แต่จะไม่ไปรายงานตัวที่กระทรวงอย่างแน่นอน เพราะไม่ยอมรับการมีอยู่ของรัฐมนตรี ซึ่งเป็นคนคบไม่ได้
ขณะที่ นพ.เกรียงศักดิ์ ก็ยืนยันว่า เป็นเรื่องเข้าใจผิด และเข้าใจว่ามีความพยายามในการปั่นกระแสให้เหมือนชมรมแพทย์ชนบทเข้ามาช่วยผู้ชุมนุมเป็นเรื่องการเมือง ซึ่งไม่ใช่ แต่ชมรมแพทย์ชนบทได้รับการร้องขอจากผู้ชุมนุมให้ช่วยดูแลผู้ป่วยในที่ชุมนุม เนื่องจากมีคนป่วย เป็นลม หน้ามืด ไม่สบายจำนวนมาก แต่แพทย์ที่ลงมาไม่เพียงพอ ซึ่งได้มีการเตรียมทีมลงมาช่วยในวันที่ 2 ธ.ค.เพื่อมาประจำที่บริเวณเวทีราชดำเนิน แต่ไม่ทันได้ประจำพื้นที่ เกิดการปะทะที่บริเวณนางเลิ้ง จึงได้นำทีมไปประจำการช่วยเหลือจุดดังกล่าวเพียง 1-2 ทีมเท่านั้น และไม่ได้มีการลำเลียงหรือย้ายผู้บาดเจ็บเลย เป็นการประจำการเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้ จะมีการตั้ง รพ.สนาม เพื่อดูแลผู้ชุมนุมด้วย เพราะวันที่ 6 ธ.ค.จากการประเมินสถานการณ์อาจกลับมาน่าห่วง โดยจะตั้งจุดไว้ 4 จุดหลัก คือ ราชดำเนิน ศูนย์ราชการ กระทรวงการคลัง และบริเวณนางเลิ้ง อย่างน้อยจุดละ 4 ทีม
หลักการช่วยเหลือคนเจ็บจากการชุมนุม
จะเห็นได้ว่าการออกมาโจมตีผ่านสื่อออนไลน์จะมีการพูดถึงการดูแลผู้ชุมนุมด้วย เกี่ยวกับเรื่องนี้ นพ.เพชรพงษ์ กำจรกิจการ ผอ.ศูนย์เอราวัณ กทม.ก็ได้แสดงความเห็นว่า มีการโพสต์ข้อความว่ามีมูลนิธิจากต่างจังหวัดเข้ามาปฏิบัติงานโดยมิได้ร้องขอ ทำให้เกิดความสับสนและความขัดแย้ง จึงอยากเรียนว่าขณะนี้การโพสต์ข้อความทำนองนี้มาก อยากให้ทุกฝ่ายใช้วิจารณญาณ ส่วนกลุ่มแพทย์ชนบทที่เข้ามาทำงานและเกิดความสับสนก็เป็นความเข้าใจผิด ศูนย์เอราวัณยินดีและพร้อมทำงานร่วมกัน ไม่เคยแบ่งพรรคแบ่งกลุ่มใดๆ
อย่างไรก็ตาม สำหรับหลักการที่ปฏิบัติโดยทั่วไปในการดูแลผู้ชุมนุมนั้น นพ.เพชรพงษ์ อธิบายว่า รถพยาบาลไม่สามารถเข้าไปในพื้นที่แนวปะทะได้ หากเป็นเช่นการชุมนุมเมื่อปี 2551 ที่มีระเบิดจะเป็นเช่นไร หากส่งแพทย์ พยาบาล และรถพยาบาลเข้าไปก็จะเป็นอันตรายได้ ส่วนการชุมนุมในครั้งนี้กลุ่มผู้ชุมนุมก็มีการเตรียมความพร้อมด้านการดูแลผู้บาดเจ็บอย่างดี มีแพทย์ พยาบาลอาสาพร้อมดูแลผู้บาดเจ็บ ซึ่งเขาจะมีการนัดแนะกับผู้ชุมนุมอยู่แล้วว่า หากได้รับบาดเจ็บจะให้มาเจอกันที่จุดใดบ้าง หากปฐมพยาบาลแล้วไม่เป็นอะไรมาก คนส่วนใหญ่ก็จะกลับไปชุมนุมต่อ แต่หากอาการร้ายแรงก็จะมีการประสานทีมกู้ชีพ ทั้งส่วนของเอราวัณ และกรมการแพทย์ เข้าไปนำตัวผู้บาดเจ็บออกมา หากช่วยเหลือเบื้องต้นแล้วปลอดภัยก็ไม่จำเป็นต้องส่งต่อไปยังโรงพยาบาล หากประเมินแล้วว่าต้องส่งต่อก็จะส่งต่อไปยังโรงพยาบาล
หยุดเรื่องส่วนตัว ปชช.ต้องมาก่อน
การออกมาโต้ตอบผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์นั้น นายธาม เชื้อสถาปนาศิริ นักวิชาการสถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ (สวส.) อธิบายว่า ในช่วงที่เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงข่าวสารจะค่อนข้างรวดเร็ว การออกมาตอบโต้กันนั้นคงเป็นเพราะรู้สึกว่าถูกตำหนิจากการทำหน้าที่ของวิชาชีพ จึงมีการออกมาให้ข้อมูล ข้อเท็จจริงต่างๆ แต่ด้วยสถานการณ์จึงอาจมีการใช้ระดับภาษาที่ดูรุนแรงในการวิวาทะหรือโต้เถียง แต่คงไม่ใช่ว่ากลุ่มวิชาชีพนี้มีวุฒิภาวะทางอารมณ์น้อยลง อย่างไรก็ตาม การออกมาให้ข้อมูลต่างๆทางสื่อออนไลน์อยากให้ระมัดระวังเรื่องของอารมณ์ และควรให้แต่ข้อเท็จจริงที่ไม่ใส่อารมณ์ลงไป
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าฝ่ายใดจะออกมาโต้ตอบกัน จนกลายเป็นสงครามออนไลน์ แต่การดูแลผู้ชุมนุมในเหตุการณ์ที่อาจมีความรุนแรงเกิดขึ้นได้ตลอดเวลานั้น ควรเป็นสิ่งที่คนทำงานด้านนี้นึกถึงเป็นอันดับแรก การที่ยังออกมาโต้ตอบในเรื่องเช่นนี้จะทำให้คนทั่วไปคิดได้ว่า เป็นเกมการเมืองภายในกระทรวงที่เหตุใดสถานการณ์เช่นนี้ คนทำงานจึงไม่ปรองดอง แต่กลับทำให้การทำงานเกิดปัญหาขึ้นเสียแทน ซึ่งเป็นภาพลักษณ์ที่ไม่ดีแน่ต่อทั้งสองฝ่าย ดังนั้น เรื่องส่วนตัวอันใดก็ตามขณะนี้ขอให้ลืมไปก่อน และทำหน้าที่ตามวิชาชีพของตนเองอย่างเต็มที่ ดังพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2556 ว่า
"บ้านเมืองของเราสงบสุขมาช้านาน เพราะเรามีความเป็นปึกแผ่น ในชาติ และต่างบำเพ็ญกรณียกิจทำหน้าที่ให้สอดคล้องเกื้อกูลกัน เพื่อประโยชน์ ของชาติ คนไทยทุกคนจึงควรจะตระหนักในข้อนี้ให้มากและตั้งใจประพฤติตัว ปฏิบัติงานให้สมภาระและหน้าที่ เพื่อให้สำเร็จประโยชน์ส่วนรวม เพื่อความมั่นคงปลอดภัยของชาติบ้านเมืองไทย"
เช่นเดียวกับขณะนี้ในช่วงที่มวลมหาประชาชนต่างออกมาขับไล่รัฐบาล เพื่อล้มล้างระบอบทักษิณ จนมีเหตุการณ์ปะทะเกิดขึ้น จนผู้ชุมนุมได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก ทั้งจากแก๊สน้ำตา กระสุนยาง รวมไปถึงมีผู้ได้รับบาดเจ็บจากการถูกหนังสติ๊กยิงด้วยหัวน็อต และกระสุนจริงด้วย ก็ยังไม่แคล้วมีการออกมาเล่นสงครามออนไลน์ในเรื่อง "การช่วยเหลือดูแลผู้ได้รับบาดเจ็บ" จนสร้างความสับสนไปทั้งบาง
เรื่องนี้เริ่มต้นจากแฟนเพจเฟซบุ๊กของ "ชมรมแพทย์ชนบท" ที่มีการให้ข่าวเกี่ยวกับการทำหน้าที่ช่วยเหลือผู้ชุมนุมที่ได้รับบาดเจ็บของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ว่า ใส่เกียร์ว่างและจัดระบบการแพทย์ฉุกเฉินไม่ดีสำหรับการดูแลผู้ชุมนุม เช่น นำรถพยาบาลต่างๆ มาจอดทิ้งไว้เฉยๆ ไม่เข้าไปในพื้นที่ ปล่อยให้ทีมกู้ชีพ ทีมแพทย์อาสาทำงานกันเอง ทั้งที่น่าจะมีการจัดระบบได้ดีกว่านี้ รวมถึงมีคำสั่งไม่ให้องค์การเภสัชกรรม (อภ.) นำน้ำเกลือเข้าช่วยเหลือประชาชน ทั้งที่เป็นสิ่งจำเป็นมากจากการถูกแก๊สน้ำตา เป็นต้น
สธ.เดือดโต้กลับทันควัน
ทันทีที่มีข่าว นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข รีบตั้งโต๊ะชี้แจงให้เหตุผลว่า ทีมกู้ชีพและทีมแพทย์อาสาในพื้นที่แนวปะทะ มีความคล่องตัวและชำนาญเส้นทางในการนำผู้ได้รับบาดเจ็บออกมาส่งยังพื้นที่ปลอดภัย ซึ่งมีทีมแพทย์ฉุกเฉินของ สธ.ประจำอยู่ เพื่อส่งต่อไปยังโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ก็จะทำให้ผู้ได้รับบาดเจ็บได้รับการดูแลรักษาที่ปลอดภัย ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐาน และการไม่ส่งทีมแพทย์กู้ชีพขั้นสูงลงไปในพื้นที่ก็เพราะ รพ.สนามมีพื้นที่จำกัด การส่งคนลงไปมากจะเกิดอุปสรรค และเป็นภาระให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ต้องเข้ามาดูแลความปลอดภัย จึงทำหน้าที่เป็นผู้ประสานและสนับสนุนในสิ่งที่ทีมแพทย์ภาคสนามต้องการ ที่สำคัญหากทีมแพทย์ใดต้องการจะเข้ามาร่วมช่วยเหลือก็ต้องผ่านศูนย์ส่วนหน้า เพื่อที่จะจัดกำลังช่วยเหลือไปตามจุดต่างๆ อย่างเหมาะสม
ส่วนเรื่องน้ำเกลือและเวชภัณฑ์ นพ.ประดิษฐ อธิบายว่า ไม่ได้มีการสั่งห้ามไม่ให้นำมาแจกผู้ชุมนุม แต่เพราะเป็นเวชภัณฑ์สำหรับแพทย์ การจะจัดส่งหากส่งมายังศูนย์ส่วนหน้า ก็จะเป็นผู้กระจายน้ำเกลือไปยังจุดที่มีความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกว่าที่จะให้ผู้ชุมนุมมาเอาไปเองจากองค์การเภสัชกรรม ซึ่งเป็นเรื่องไม่เหมาะสม
การเมือง สธ.ระอุ ในวันที่การเมืองไทยดุเดือด
รูปการณ์ดังกล่าวหลายฝ่ายเชื่อกันว่า เป็นเพราะการเมืองภายใน สธ. ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า ในรอบปี 2556 มีความไม่ลงรอยกันระหว่างกลุ่มแพทย์ชนบทและผู้บริหาร สธ.โดยเฉพาะเจ้ากระทรวงหมออย่าง นพ.ประดิษฐ และ นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ.อันเนื่องมาจากการปรับวิธีการจ่ายค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย และการจ่ายค่าตอบแทนตามภาระงาน จนเรื่องราวบานปลายต้องมีตัวแทนจากรัฐบาลเข้ามาไกล่เกลี่ย แต่การเจรจาดูเหมือนจะไม่เกิดผลใดๆ โดยกลุ่มแพทย์ชนบทเชื่อว่า รมว.สาธารณสุข ไม่มีความจริงใจในการแก้ปัญหา ถึงขั้นสวดยับให้เป็นโมฆะบุรุษหมดความชอบธรรมในการเป็นรัฐมนตรี แจกแจงรายละเอียดถี่ยิบถึง 12 เหตุผลที่ไม่สมควรเป็นรัฐมนตรี ส่วนทางด้าน นพ.ประดิษฐ ก็ทำได้เพียงชี้แจงว่าได้ดำเนินการทุกอย่างตามที่เรียกร้องทั้งหมดแล้ว แต่ต้องเป็นไปตามขั้นตอน และเป็นที่พอใจของทุกฝ่าย รวมถึงอยากให้กลุ่มแพทย์ชนบทเข้ามาหารือเพื่อหาทางออกด้วย
แต่ดูเหมือนกลุ่มแพทย์ชนบทที่มี นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ นั่งแท่นประธานชมรมแพทย์ชนบท จะส่งเสียงเด็ดขาดแล้วว่า จะไม่มีการเจรจาใดๆ กับความสับปลับของรัฐมนตรีกระทรวงหมออีกต่อไป ถึงขั้นไปเผาผีในซอยบ้านนายกฯ ในช่วงระหว่างที่การชุมนุมขับไล่ระบอบทักษิณยังคงคุกรุ่น พร้อมอ้อนวอนให้นายกฯเด้ง รมว.สาธารณสุข และปลัด สธ.ออกจากตำแหน่ง แต่ขณะเดียวกันก็ออกแถลงการณ์โจมตีรัฐบาลและสนับสนุนผู้ชุมนุมอย่างเข้มข้น รวมถึงตอบโต้ รมว.สาธารณสุข ที่พูดแทนรัฐบาลว่าอยากให้มาคุยกันอย่างสันติ โดยระบุว่า เรื่องในกระทรวงยังไม่มีความจริงใจ ก็เชื่อถือไม่ได้ที่จะให้ผู้ชุมนุมหันหน้ามาเจรจาด้วย
เรียกได้ว่าช่วงเหตุการณ์ที่การเมืองไทยดุเดือด การเมืองใน สธ.ก็ยังร้อนระอุไม่ต่างกัน ทั้งที่ห้วงเวลาเช่นนี้กลุ่มวิชาชีพที่ได้ชื่อว่าต้องตามรอย “สมเด็จพระราชบิดา” นั้น ต้องยึดการช่วยเหลือประชาชนเป็นหน้าที่สำคัญ
สงครามออนไลน์ "หมอ" กระทบกู้ชีพ
ผลของการโต้ตอบไปมาของทั้งฝ่าย สธ. และหมอชนบทนี้ มีเสียงเล็กๆ เสียงหนึ่งยืนยันว่าก่อให้เกิดผลกระทบอย่างมากในการช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บจากการชุมนุม
นายสุทธิรัตส์ คุ้มสม เจ้าหน้าที่กู้ชีพ มูลนิธิร่วมกตัญญู เปิดใจผ่านสื่อหลายสำนักว่า ทำให้ดูเหมือนพวกตนทำงานอิงการเมือง ผู้คนก็มองในแง่ลบ เมื่อเข้าไปในพื้นที่ก็ถูกด่า และทำให้คนมองว่าพวกตนทำงานแบบเลือกสีเลือกข้าง รวมถึงถูกมองว่าการนำรถพยาบาลเข้ามาในพื้นที่คือจะมีการสลายการชุมนุมแล้วใช่หรือไม่ หรือนำรถเข้ามาทำไมยังไม่มีคนเจ็บคนตาย เป็นต้น ซึ่งพวกตนก็ต้องพยายามอดทน และอธิบายว่า ไม่ใช่เพราะมีการสลายการชุมนุม แต่ทุกครั้งที่มีการชุมนมพวกตนต้องเข้ามาเตรียมความพร้อมปกติ เพื่อดูแลความเรียบร้อยและการเจ็บป่วยของประชาชน เพราะพวกตนก็เป็นคนไทยคนหนึ่งเช่นกัน
“พวกผมไม่เคยเลือกสี เลือกข้าง ช่วยคนทุกคนเหมือนกัน ไม่ว่าอยู่ฝ่ายใด ไม่มีการแบ่งแยก และขอให้อย่าคิดว่าเราอยู่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เราเป็นคนกลางมีหน้าที่ช่วยทุกคน เพราะหากมองเช่นนี้แล้ว การทำงานพื้นที่ชุมนุมก็ลำบากมากขึ้น มวลชนที่ไม่ทราบก็จะมองอีกอย่างหนึ่ง ทำให้การช่วยเหลือยากกว่าเดิม”
ศึกตัวอักษรยังไม่จบ มีต่อยกสอง
อย่างไรก็ตาม แม้จะออกมาพูดผ่านสื่อแล้ว นายสุทธิรัตส์ ยังเผยแพร่ข้อความตอบโต้ผ่านสังคมออนไลน์เช่นกัน ในชื่อ “หยุดเถอะครับ คุณหมอเกรียงศักดิ์ ประธานชมรมแพทย์ชนบท” เรียกได้ว่าเพิ่มดีกรีความร้อนแรงให้สถานการณ์เพิ่มยิ่งขึ้น โดยเนื้อหาใจความมีดังต่อไปนี้
"ผมเป็นผู้ปฏิบัติงานในกู้ชีพ ที่มีส่วนร่วมในการสนับสนุนส่งต่อผู้ป่วยในเหตุการณ์วันที่ 1-2 ธ.ค.56 ภายใต้การสั่งการของกระทรวงสาธารณสุข เดิมทีผมตั้งใจจะก้มหน้าก้มตาทำงานไป ไม่สนใจความขัดแย้งใดๆ ที่อยู่รอบตัว ทำงานที่ได้รับมอบหมายให้ดีที่สุด ด้วยเพราะผมเป็นแค่คนทำงานตัวเล็กๆ เสียงก็ไม่ดัง แต่หลังจากได้รับข้อความทั้งจากไลน์และเฟซบุ๊ก ที่บิดเบือนการทำงานของพวกผม ถ้าเป็นแค่พวกคุณหมอจากชมรมแพทย์ชนบท ผมคงทนได้แค่ผ่านหูไป แต่นี่เพื่อนๆ ญาติๆ ต่างก็เข้าใจผิดไปหมด ผมรับไม่ได้ครับ
คุณหมอไม่รู้จริงๆ หรือแกล้งไม่รู้ครับ ขอโทษ ผมคิดว่าเป็นอย่างหลัง เพราะด้วยภูมิปัญญาของคุณหมอ น่าจะทราบดีว่าการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินเขาทำกันอย่างไร แม้ผมจะไม่ใช่หมอแต่ก็รู้ว่า นอกจากจะต้องประเมินสถานการณ์ คัดกรอง ปฐมพยาบาล การส่งต่อส่งกลับแล้ว การระวังภยันตรายที่อาจเกิดกับทีมกู้ชีพนั้นสำคัญอย่างยิ่ง เพราะอาจหมายอันตรายที่เกิดกับผู้ป่วยด้วย ดังนั้น การสั่งการและการทำงานเป็นทีมจึงมีความสำคัญที่สุด พวกเราทำงานประสานกันเป็นทีมทั้งกับโรงพยาบาลสนามของแพทย์อาสา ทีมกู้ชีพ กทม.กรมการแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และทีมกู้ชีพขั้นพื้นฐาน (BLS) ในพื้นที่ที่ท่านดูแคลนพวกเขานี่แหละ ตั้งแต่วันที่ 24 พ.ย.56 แล้วครับ ตอนนั้นพวกท่านอยู่ที่ไหนครับ? หรือกำลังหาเรื่องบิดเบือน จ้องทำลายกระทรวงสาธารณสุขเพียงเพราะความเคียดแค้นส่วนตัว สร้างเรื่องน้ำเกลือขององค์การเภสัช สร้างเรื่องต่างๆ ว่ากระทรวงไหนไม่สนใจดูแลผู้บาดเจ็บ ขอเถอะครับ ภาพที่ผมเห็น การทำงานของพวกเราชาวสาธารณสุขไม่มีทางเป็นอย่างที่คุณหมอใส่ร้ายแน่นอน
วันนี้ผมไม่มีภารกิจกับทีมกู้ชีพ ได้กลับมาพักที่โรงพยาบาล มีเวลาคิดเรื่องหลายเรื่อง แต่ที่คิดไม่ตกคือทำไมคุณหมอจึงทำแบบนี้ เลยแวะเข้าไปคุยกับพี่หมอจิตแพทย์ที่โรงพยาบาล พี่หมอวิเคราะห์ให้ฟังว่าอาจเป็นเพราะว่าคุณหมอเคยมีบทบาทสูง เป็นผู้นำทางความคิด ชี้นำกระทรวงมาโดยตลอด อยากได้อะไรก็ได้ เป็นอย่างนี้มาตลอด แต่ในช่วงปีนี้มันตรงกันข้าม ข่มขู่อะไรก็ไม่เป็นผล จึงทำได้ทุกอย่างแม้จะเป็นการทำลายองค์กรที่เป็นอู่ข้าวอู่น้ำของตัวเอง
ผมขออีกครั้งนะครับ หยุดเถอะครับ หยุดผูกเรื่องส่วนตัวมาโยงกับเรื่องการเมือง หยุดสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้มีจิตใจรักชาติ รักประชาธิปไตย พวกเราชาวสาธารณสุขมีหน้าที่ดูแลผู้ป่วยโดยไม่เลือกว่าจะเป็นใคร พวกเราเดินตามรอยสมเด็จพระราชบิดาครับคุณหมอ"
ซึ่งทางด้านแพทย์ชนบท ได้ชี้แจงกรณีนี้ผ่านแฟนเพจว่า ไม่ได้กล่าวหาว่าทีมกู้ชีพใส่เกียร์ว่าง ขอให้คนทำหน้าที่นี้สู้ต่อไป เราไม่มีการปัญหากัน แต่การที่ สธ.ไม่จัดระบบจึงยอมรับไม่ได้ ต้องยกพลเข้ากรุงมาช่วยเหลือ แต่จะไม่ไปรายงานตัวที่กระทรวงอย่างแน่นอน เพราะไม่ยอมรับการมีอยู่ของรัฐมนตรี ซึ่งเป็นคนคบไม่ได้
ขณะที่ นพ.เกรียงศักดิ์ ก็ยืนยันว่า เป็นเรื่องเข้าใจผิด และเข้าใจว่ามีความพยายามในการปั่นกระแสให้เหมือนชมรมแพทย์ชนบทเข้ามาช่วยผู้ชุมนุมเป็นเรื่องการเมือง ซึ่งไม่ใช่ แต่ชมรมแพทย์ชนบทได้รับการร้องขอจากผู้ชุมนุมให้ช่วยดูแลผู้ป่วยในที่ชุมนุม เนื่องจากมีคนป่วย เป็นลม หน้ามืด ไม่สบายจำนวนมาก แต่แพทย์ที่ลงมาไม่เพียงพอ ซึ่งได้มีการเตรียมทีมลงมาช่วยในวันที่ 2 ธ.ค.เพื่อมาประจำที่บริเวณเวทีราชดำเนิน แต่ไม่ทันได้ประจำพื้นที่ เกิดการปะทะที่บริเวณนางเลิ้ง จึงได้นำทีมไปประจำการช่วยเหลือจุดดังกล่าวเพียง 1-2 ทีมเท่านั้น และไม่ได้มีการลำเลียงหรือย้ายผู้บาดเจ็บเลย เป็นการประจำการเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้ จะมีการตั้ง รพ.สนาม เพื่อดูแลผู้ชุมนุมด้วย เพราะวันที่ 6 ธ.ค.จากการประเมินสถานการณ์อาจกลับมาน่าห่วง โดยจะตั้งจุดไว้ 4 จุดหลัก คือ ราชดำเนิน ศูนย์ราชการ กระทรวงการคลัง และบริเวณนางเลิ้ง อย่างน้อยจุดละ 4 ทีม
หลักการช่วยเหลือคนเจ็บจากการชุมนุม
จะเห็นได้ว่าการออกมาโจมตีผ่านสื่อออนไลน์จะมีการพูดถึงการดูแลผู้ชุมนุมด้วย เกี่ยวกับเรื่องนี้ นพ.เพชรพงษ์ กำจรกิจการ ผอ.ศูนย์เอราวัณ กทม.ก็ได้แสดงความเห็นว่า มีการโพสต์ข้อความว่ามีมูลนิธิจากต่างจังหวัดเข้ามาปฏิบัติงานโดยมิได้ร้องขอ ทำให้เกิดความสับสนและความขัดแย้ง จึงอยากเรียนว่าขณะนี้การโพสต์ข้อความทำนองนี้มาก อยากให้ทุกฝ่ายใช้วิจารณญาณ ส่วนกลุ่มแพทย์ชนบทที่เข้ามาทำงานและเกิดความสับสนก็เป็นความเข้าใจผิด ศูนย์เอราวัณยินดีและพร้อมทำงานร่วมกัน ไม่เคยแบ่งพรรคแบ่งกลุ่มใดๆ
อย่างไรก็ตาม สำหรับหลักการที่ปฏิบัติโดยทั่วไปในการดูแลผู้ชุมนุมนั้น นพ.เพชรพงษ์ อธิบายว่า รถพยาบาลไม่สามารถเข้าไปในพื้นที่แนวปะทะได้ หากเป็นเช่นการชุมนุมเมื่อปี 2551 ที่มีระเบิดจะเป็นเช่นไร หากส่งแพทย์ พยาบาล และรถพยาบาลเข้าไปก็จะเป็นอันตรายได้ ส่วนการชุมนุมในครั้งนี้กลุ่มผู้ชุมนุมก็มีการเตรียมความพร้อมด้านการดูแลผู้บาดเจ็บอย่างดี มีแพทย์ พยาบาลอาสาพร้อมดูแลผู้บาดเจ็บ ซึ่งเขาจะมีการนัดแนะกับผู้ชุมนุมอยู่แล้วว่า หากได้รับบาดเจ็บจะให้มาเจอกันที่จุดใดบ้าง หากปฐมพยาบาลแล้วไม่เป็นอะไรมาก คนส่วนใหญ่ก็จะกลับไปชุมนุมต่อ แต่หากอาการร้ายแรงก็จะมีการประสานทีมกู้ชีพ ทั้งส่วนของเอราวัณ และกรมการแพทย์ เข้าไปนำตัวผู้บาดเจ็บออกมา หากช่วยเหลือเบื้องต้นแล้วปลอดภัยก็ไม่จำเป็นต้องส่งต่อไปยังโรงพยาบาล หากประเมินแล้วว่าต้องส่งต่อก็จะส่งต่อไปยังโรงพยาบาล
หยุดเรื่องส่วนตัว ปชช.ต้องมาก่อน
การออกมาโต้ตอบผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์นั้น นายธาม เชื้อสถาปนาศิริ นักวิชาการสถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ (สวส.) อธิบายว่า ในช่วงที่เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงข่าวสารจะค่อนข้างรวดเร็ว การออกมาตอบโต้กันนั้นคงเป็นเพราะรู้สึกว่าถูกตำหนิจากการทำหน้าที่ของวิชาชีพ จึงมีการออกมาให้ข้อมูล ข้อเท็จจริงต่างๆ แต่ด้วยสถานการณ์จึงอาจมีการใช้ระดับภาษาที่ดูรุนแรงในการวิวาทะหรือโต้เถียง แต่คงไม่ใช่ว่ากลุ่มวิชาชีพนี้มีวุฒิภาวะทางอารมณ์น้อยลง อย่างไรก็ตาม การออกมาให้ข้อมูลต่างๆทางสื่อออนไลน์อยากให้ระมัดระวังเรื่องของอารมณ์ และควรให้แต่ข้อเท็จจริงที่ไม่ใส่อารมณ์ลงไป
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าฝ่ายใดจะออกมาโต้ตอบกัน จนกลายเป็นสงครามออนไลน์ แต่การดูแลผู้ชุมนุมในเหตุการณ์ที่อาจมีความรุนแรงเกิดขึ้นได้ตลอดเวลานั้น ควรเป็นสิ่งที่คนทำงานด้านนี้นึกถึงเป็นอันดับแรก การที่ยังออกมาโต้ตอบในเรื่องเช่นนี้จะทำให้คนทั่วไปคิดได้ว่า เป็นเกมการเมืองภายในกระทรวงที่เหตุใดสถานการณ์เช่นนี้ คนทำงานจึงไม่ปรองดอง แต่กลับทำให้การทำงานเกิดปัญหาขึ้นเสียแทน ซึ่งเป็นภาพลักษณ์ที่ไม่ดีแน่ต่อทั้งสองฝ่าย ดังนั้น เรื่องส่วนตัวอันใดก็ตามขณะนี้ขอให้ลืมไปก่อน และทำหน้าที่ตามวิชาชีพของตนเองอย่างเต็มที่ ดังพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2556 ว่า
"บ้านเมืองของเราสงบสุขมาช้านาน เพราะเรามีความเป็นปึกแผ่น ในชาติ และต่างบำเพ็ญกรณียกิจทำหน้าที่ให้สอดคล้องเกื้อกูลกัน เพื่อประโยชน์ ของชาติ คนไทยทุกคนจึงควรจะตระหนักในข้อนี้ให้มากและตั้งใจประพฤติตัว ปฏิบัติงานให้สมภาระและหน้าที่ เพื่อให้สำเร็จประโยชน์ส่วนรวม เพื่อความมั่นคงปลอดภัยของชาติบ้านเมืองไทย"