รมว.ศึกษาฯ อ้างเหตุการณ์ชุลมุนเลยช่วยศิษย์ลูกพ่อขุนไม่ได้ โยนปลัด ศธ.เดินหน้าเยียวยาผู้เสียชีวิต บอกไม่ขอไปเยี่ยม เพราะสถานการณ์ยังตึงเครียด หวั่นเข้าใจผิดมากขึ้น พร้อมยอมถอยรับข้อเสนอ ทปอ.แต่ขอให้ไปทำข้อเสนอเพิ่มเติมให้ได้รัฐบาลรักษาการตามรัฐธรรมนูญและทุกฝ่ายพอใจ
วันนี้ ( 4 ธ.ค.) เมื่อเวลา 14.00 น. นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้นัดประชุมร่วมกับตัวแทนที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เพื่อหารือถึงสถานการณ์บ้านเมืองที่เกิดขึ้น โดยมีผศ.นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ผศ.ดร.ชัยชาญ ถาวรเวช อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร ดร.ชัยเลิศ พิชิตพรชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) ใช้เวลาประชุมกว่า 2 ชม.
นายจาตุรนต์ กล่าวภายหลังหารือว่า ตนได้นัดหารือในฐานะ รมว.ศึกษาธิการ และรัฐมนตรีในคณะรัฐบาล ซึ่งมีความสนใจในข้อเสนอ ทปอ.ซึ่งเป็นไปตามแนวทางของนายกรัฐมนตรีที่ต้องการรับฟังความเห็นจากทุกฝ่ายเพื่อประโยชน์ต่อการแก้ปัญหาวิกฤตบ้านเมือง ทั้งนี้ตนได้ขอให้ ทปอ.ไปช่วยจัดทำข้อเสนอเพิ่มเติมจากแถลงการณ์ของ ทปอ.รวมถึงหาทางเจรจาระหว่างรัฐบาลและกลุ่มผู้ชุมนุม โดยตนได้ขอให้ ทปอ.ไปคิดว่าจะทำอย่างไรให้ได้รัฐบาลรักษาการที่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ และมีองค์ประกอบเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย และคณะกรรมการกลางที่จะจัดตั้งขึ้น จะมีที่มาและกระบวนการสรรหาอย่างไร รวมถึงจะมีสถานะทางกฎหมายในระดับใด และขอให้ ทปอ.ช่วยหาแนวทางการเจรจาหารือ เนื่องจากข้อเสนอ ทปอ.จะเกิดผลได้ จะต้องมีการเจรจาหารือระหว่างรัฐบาลและกลุ่มผู้ชุมนุม
“ตนเห็นด้วยในหลักการว่าข้อเสนอ ทปอ.เป็นข้อเสนอที่ดีและเป็นประโยชน์ แต่ในรายละเอียดต้องทำให้เกิดความชัดเจน รวมถึงต้องหาแนวทางว่าจะทำอย่างไรให้การดำเนินการดังกล่าวสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นหลักของรัฐบาลว่าข้อเสนอใดๆ ต้องไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ โดยผมจะนำผลการหารือในวันนี้เสนอรัฐบาลเพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาต่อไป” นายจาตุรนต์ กล่าว
นายจาตุรนต์ กล่าวด้วยว่า ส่วนกรณีที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าทำไมตนเลือกข้างและไม่สนใจดูแลนักศึกษา มร.นั้น เรื่องนี้ไม่ได้มีการคุยในการประชุม แต่ยืนยันว่าขณะนั้นเหตุการณ์การชุมนุมมีความวุ่นวายมาก ไม่สามารถออกไปได้ และหลังจากวันนั้นเหตุการณ์ทางการเมืองมีความเข้มข้นขึ้น มีการบุกยึดสถานที่ราชการ ตนในฐานะที่เป็นหนึ่งในคณะรัฐมนตรีก็ต้องให้ความสำคัญและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตามในการช่วยเหลือนักศึกษาที่เสียชีวิตได้มอบหมายปลัด ศธ.เป็นผู้ดำเนินการ ส่วนผู้บาดเจ็บรายอื่นๆ ทางรัฐบาลก็มีมาตรการดูแลต่อไป ส่วนการที่จะไปดูแลนักศึกษาด้วยตนเองนั้น คงต้องรอให้เหตุการณ์ผ่านไปสักระยะ และทุกฝ่ายมีความเข้าใจที่ตรงกัน เพราะขณะนี้เชื่อว่ายังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน หากผมเข้าไปตอนนี้ก็อาจจะทำให้สถานการณ์ตึงเครียด และทำให้เกิดความเข้าใจผิดมากขึ้นจึงเป็นเหตุที่ยังไม่ไปเยี่ยมในเวลานี้
ด้าน ผศ.นพ.เฉลิมชัย กล่าวว่า ตนจะนำข้อสรุปจากการหารือเข้าสู่การพิจารณาของ ทปอ.เร็วๆ นี้ ซึ่งทปอ.และ รมว.ศึกษาธิการ มีความเห็นในหลักการใหญ่ๆ ตรงกันว่าไม่อยากให้เกิดความรุนแรง เสียเลือดเนื้อในประเทศไทยขึ้น และน่าจะมีการยุบสภาคืนอำนาจให้ประชาชน แต่ต้องเป็นการยุบอย่างมีเงื่อนไขทั้งก่อนและหลัง โดยเงื่อนไขต้องเป็นที่ยอมรับจากทุกฝ่ายที่เห็นต่างมาพูดคุยหารือว่าเมื่อยุบสภาแล้วจะมีขั้นตอน กลไกในการดำเนินการอย่างไร และเมื่อยุบสภาแล้วรัฐบาลรักษาการจะต้องแต่งตั้งขึ้นภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญและเป็นที่ยอมรับจากทุกฝ่าย อย่างไรก็ตาม ทปอ.คิดว่าไม่ควรผูกขาดในการเป็นผู้ประสานงานหรือเป็นตัวกลางในเรื่องนี้ แต่ควรให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและหาทางออกร่วมกัน
วันนี้ ( 4 ธ.ค.) เมื่อเวลา 14.00 น. นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้นัดประชุมร่วมกับตัวแทนที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เพื่อหารือถึงสถานการณ์บ้านเมืองที่เกิดขึ้น โดยมีผศ.นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ผศ.ดร.ชัยชาญ ถาวรเวช อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร ดร.ชัยเลิศ พิชิตพรชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) ใช้เวลาประชุมกว่า 2 ชม.
นายจาตุรนต์ กล่าวภายหลังหารือว่า ตนได้นัดหารือในฐานะ รมว.ศึกษาธิการ และรัฐมนตรีในคณะรัฐบาล ซึ่งมีความสนใจในข้อเสนอ ทปอ.ซึ่งเป็นไปตามแนวทางของนายกรัฐมนตรีที่ต้องการรับฟังความเห็นจากทุกฝ่ายเพื่อประโยชน์ต่อการแก้ปัญหาวิกฤตบ้านเมือง ทั้งนี้ตนได้ขอให้ ทปอ.ไปช่วยจัดทำข้อเสนอเพิ่มเติมจากแถลงการณ์ของ ทปอ.รวมถึงหาทางเจรจาระหว่างรัฐบาลและกลุ่มผู้ชุมนุม โดยตนได้ขอให้ ทปอ.ไปคิดว่าจะทำอย่างไรให้ได้รัฐบาลรักษาการที่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ และมีองค์ประกอบเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย และคณะกรรมการกลางที่จะจัดตั้งขึ้น จะมีที่มาและกระบวนการสรรหาอย่างไร รวมถึงจะมีสถานะทางกฎหมายในระดับใด และขอให้ ทปอ.ช่วยหาแนวทางการเจรจาหารือ เนื่องจากข้อเสนอ ทปอ.จะเกิดผลได้ จะต้องมีการเจรจาหารือระหว่างรัฐบาลและกลุ่มผู้ชุมนุม
“ตนเห็นด้วยในหลักการว่าข้อเสนอ ทปอ.เป็นข้อเสนอที่ดีและเป็นประโยชน์ แต่ในรายละเอียดต้องทำให้เกิดความชัดเจน รวมถึงต้องหาแนวทางว่าจะทำอย่างไรให้การดำเนินการดังกล่าวสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นหลักของรัฐบาลว่าข้อเสนอใดๆ ต้องไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ โดยผมจะนำผลการหารือในวันนี้เสนอรัฐบาลเพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาต่อไป” นายจาตุรนต์ กล่าว
นายจาตุรนต์ กล่าวด้วยว่า ส่วนกรณีที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าทำไมตนเลือกข้างและไม่สนใจดูแลนักศึกษา มร.นั้น เรื่องนี้ไม่ได้มีการคุยในการประชุม แต่ยืนยันว่าขณะนั้นเหตุการณ์การชุมนุมมีความวุ่นวายมาก ไม่สามารถออกไปได้ และหลังจากวันนั้นเหตุการณ์ทางการเมืองมีความเข้มข้นขึ้น มีการบุกยึดสถานที่ราชการ ตนในฐานะที่เป็นหนึ่งในคณะรัฐมนตรีก็ต้องให้ความสำคัญและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตามในการช่วยเหลือนักศึกษาที่เสียชีวิตได้มอบหมายปลัด ศธ.เป็นผู้ดำเนินการ ส่วนผู้บาดเจ็บรายอื่นๆ ทางรัฐบาลก็มีมาตรการดูแลต่อไป ส่วนการที่จะไปดูแลนักศึกษาด้วยตนเองนั้น คงต้องรอให้เหตุการณ์ผ่านไปสักระยะ และทุกฝ่ายมีความเข้าใจที่ตรงกัน เพราะขณะนี้เชื่อว่ายังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน หากผมเข้าไปตอนนี้ก็อาจจะทำให้สถานการณ์ตึงเครียด และทำให้เกิดความเข้าใจผิดมากขึ้นจึงเป็นเหตุที่ยังไม่ไปเยี่ยมในเวลานี้
ด้าน ผศ.นพ.เฉลิมชัย กล่าวว่า ตนจะนำข้อสรุปจากการหารือเข้าสู่การพิจารณาของ ทปอ.เร็วๆ นี้ ซึ่งทปอ.และ รมว.ศึกษาธิการ มีความเห็นในหลักการใหญ่ๆ ตรงกันว่าไม่อยากให้เกิดความรุนแรง เสียเลือดเนื้อในประเทศไทยขึ้น และน่าจะมีการยุบสภาคืนอำนาจให้ประชาชน แต่ต้องเป็นการยุบอย่างมีเงื่อนไขทั้งก่อนและหลัง โดยเงื่อนไขต้องเป็นที่ยอมรับจากทุกฝ่ายที่เห็นต่างมาพูดคุยหารือว่าเมื่อยุบสภาแล้วจะมีขั้นตอน กลไกในการดำเนินการอย่างไร และเมื่อยุบสภาแล้วรัฐบาลรักษาการจะต้องแต่งตั้งขึ้นภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญและเป็นที่ยอมรับจากทุกฝ่าย อย่างไรก็ตาม ทปอ.คิดว่าไม่ควรผูกขาดในการเป็นผู้ประสานงานหรือเป็นตัวกลางในเรื่องนี้ แต่ควรให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและหาทางออกร่วมกัน