กพย.ชี้ปัญหาสเตียรอยด์ระบาด เพราะไม่มีการควบคุมที่ดี จี้ อย.ทำงานเชิงรุกร่วมกับ สสจ.แต่ละพื้นที่ พร้อมจวกทำงานสะเพร่า ไร้การตรวจสอบล็อตผลิตยา หลังพบผู้ผลิตยาขึ้นทะเบียนยาแค่ครึ่งเดียวของล็อตผลิต
ผศ.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) กล่าวว่า บริเวณชุมชนตามต่างจังหวัดมีความน่าเป็นห่วง เนื่องจากมีปัญหาการใช้ยาผสมสารสเตียรอยด์อยู่เป็นจำนวนมาก โดยมีการจำหน่ายเป็นยาชุดโบราณ คือเป็นเม็ดลูกกลอน อวดอ้างสรรพคุณรักษาได้สารพัดโรค ลดอาการปวดเมื่อย สาเหตุที่ทำให้คนไข้เสพติดยา เพราะในระยะสั้นๆ เมื่อกินเข้าไปจะรู้สึกว่าอาการดีขึ้นจริง จึงต้องกินต่อเนื่อง ทำให้ในระยะยาวมีผลร้าย ทั้งกระดูกผุ กระเพาะอักเสบ ต่อมหมวกไตฝ่อ เป็นแผลง่าย ติดเชื้อง่าย เป็นต้น แต่ที่ยังพบเห็นเพราะมีการจำหน่ายโดยปราศจากการควบคุมที่ดีพอ ทำให้พบเห็นร้านขายของชำมาขายยาบ้าง รถเร่ต่างๆ ขายยาบ้าง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากลัว และจะส่งผลกระทบต่อผู้กินยาเหล่านี้ในระยะยาว
“แม้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จะมีนโยบายในการควบคุม ดูแล เฝ้าระวัง แต่ปัญหาคือค่อนข้างควบคุมได้ยากในระดับภูมิภาค จึงเป็นหน้าที่ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ในการเฝ้าระวัง และแจ้ง อย.หากเป็นไปได้ควรจัดส่งเจ้าหน้าที่คอยตรวจสอบพื้นที่แต่ละเขต ร่วมกับ สสจ.อย่างสม่ำเสมอ โดยอาจหมุนเวียนแต่ละพื้นที่” ผู้จัดการ กพย.กล่าว
ผศ.ภญ.นิยดา กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ตนเคยเข้าไปหารือกับกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ถึงปัญหายาสเตียรอยด์ แต่ไม่ได้รับความสนใจมากนัก ทั้งที่เกี่ยวพันกับชีวิตของคน และยังพบว่าระบบการควบคุมการขึ้นเลขทะเบียนยาก็ไม่ดีพอ สังเกตได้ว่ายังมียาจำนวนมากที่อ้างว่าขึ้นทะเบียน มีการรับรองจาก อย.แต่เมื่อตรวจสอบกลับไม่มี เพราะผู้ผลิตยาบางแห่งผลิตยาได้ประมาณ 100-200 เม็ด แต่กลับแจ้งขึ้นทะเบียนเพียงครึ่งหนึ่ง เนื่องจากต้องการความรวดเร็วในการได้รับเลขทะเบียน เพื่อจำหน่าย โดยเมื่อได้รับเลขทะเบียนแล้วก็นำยาที่ผลิตทั้งหมดออกสู่ตลาด ทั้งที่ขึ้นทะเบียนจริงเพียงครึ่งเดียวจากล็อตการผลิต ตรงนี้ อย.ก็ไม่มีการตรวจสอบเลย อย.จึงควรเข้มงวดเรื่องนี้
ผศ.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) กล่าวว่า บริเวณชุมชนตามต่างจังหวัดมีความน่าเป็นห่วง เนื่องจากมีปัญหาการใช้ยาผสมสารสเตียรอยด์อยู่เป็นจำนวนมาก โดยมีการจำหน่ายเป็นยาชุดโบราณ คือเป็นเม็ดลูกกลอน อวดอ้างสรรพคุณรักษาได้สารพัดโรค ลดอาการปวดเมื่อย สาเหตุที่ทำให้คนไข้เสพติดยา เพราะในระยะสั้นๆ เมื่อกินเข้าไปจะรู้สึกว่าอาการดีขึ้นจริง จึงต้องกินต่อเนื่อง ทำให้ในระยะยาวมีผลร้าย ทั้งกระดูกผุ กระเพาะอักเสบ ต่อมหมวกไตฝ่อ เป็นแผลง่าย ติดเชื้อง่าย เป็นต้น แต่ที่ยังพบเห็นเพราะมีการจำหน่ายโดยปราศจากการควบคุมที่ดีพอ ทำให้พบเห็นร้านขายของชำมาขายยาบ้าง รถเร่ต่างๆ ขายยาบ้าง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากลัว และจะส่งผลกระทบต่อผู้กินยาเหล่านี้ในระยะยาว
“แม้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จะมีนโยบายในการควบคุม ดูแล เฝ้าระวัง แต่ปัญหาคือค่อนข้างควบคุมได้ยากในระดับภูมิภาค จึงเป็นหน้าที่ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ในการเฝ้าระวัง และแจ้ง อย.หากเป็นไปได้ควรจัดส่งเจ้าหน้าที่คอยตรวจสอบพื้นที่แต่ละเขต ร่วมกับ สสจ.อย่างสม่ำเสมอ โดยอาจหมุนเวียนแต่ละพื้นที่” ผู้จัดการ กพย.กล่าว
ผศ.ภญ.นิยดา กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ตนเคยเข้าไปหารือกับกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ถึงปัญหายาสเตียรอยด์ แต่ไม่ได้รับความสนใจมากนัก ทั้งที่เกี่ยวพันกับชีวิตของคน และยังพบว่าระบบการควบคุมการขึ้นเลขทะเบียนยาก็ไม่ดีพอ สังเกตได้ว่ายังมียาจำนวนมากที่อ้างว่าขึ้นทะเบียน มีการรับรองจาก อย.แต่เมื่อตรวจสอบกลับไม่มี เพราะผู้ผลิตยาบางแห่งผลิตยาได้ประมาณ 100-200 เม็ด แต่กลับแจ้งขึ้นทะเบียนเพียงครึ่งหนึ่ง เนื่องจากต้องการความรวดเร็วในการได้รับเลขทะเบียน เพื่อจำหน่าย โดยเมื่อได้รับเลขทะเบียนแล้วก็นำยาที่ผลิตทั้งหมดออกสู่ตลาด ทั้งที่ขึ้นทะเบียนจริงเพียงครึ่งเดียวจากล็อตการผลิต ตรงนี้ อย.ก็ไม่มีการตรวจสอบเลย อย.จึงควรเข้มงวดเรื่องนี้