คณะรับฟังข้อเท็จจริงเด้ง “หมอวิทิต” ส่อล่ม ฝั่งเครือข่ายเพื่อความเป็นธรรมในระบบสุขภาพทั้งหมด 7 คนขอถอนตัว จวก “ประดิษฐ-พิพัฒน์” บิดเบือนข้อตกลงที่ทำไว้
วันนี้ (28 มิ.ย.) นพ.วชิระ บถพิบูลย์ ผู้อำนวยการ รพ.ชุมพวง จ.นครราชสีมา อดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวถึงกรณีประธานคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม (บอร์ด อภ.) ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะบุคคลเพื่อรับฟังและพิจารณารายงานการสอบสวนข้อเท็จจริงการปลด นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการ อภ.วันที่ 8 ก.ค.ว่า คำสั่งแต่งตั้งมีเนื้อหาผิดไปจากข้อตกลงที่เครือข่ายเพื่อความเป็นธรรมในระบบสุขภาพได้มีไว้กับนายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในฐานะตัวแทนนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 มิ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งได้ข้อสรุปร่วมกันให้เป็นการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง แต่กลับมีคำสั่งจาก นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สั่งให้ นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี ประธานบอร์ด อภ. ออกคำสั่งให้เป็นคณะบุคคลเพื่อรับฟังและพิจารณารายงานข้อเท็จจริงแทน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคู่กรณี
“การเป็นผู้รับฟังทำให้ไม่สามารถตรวจสอบหลักฐานเอกสารหรือสืบค้นข้อมูลภายในของ อภ.ที่เกี่ยวเนื่องกับการปลด นพ.วิทิต ได้ เท่ากับว่า รมว.สาธารณสุข บิดเบือนข้อตกลงในการเจรจา ชมรมแพทย์ชนบทมีไฟล์เสียงการประชุมที่ทั้ง รมว.สาธารณสุข และนายสุรนันทน์ สรุปตรงกันในการเจรจาวันที่ 4 มิ.ย.ว่า จะตั้งกรรมการที่มีอำนาจในการขอดูหลักฐาน เอกสาร สอบถามบุคคล หรือตรวจสอบข้อมูลว่าจริงหรือเท็จประการใด ไม่ใช่เป็นเพียงกรรมการรับฟังการชี้แจงเท่านั้น” นพ.วชิระ กล่าว
นพ.วชิระ กล่าวอีกว่า ชมรมแพทย์ชนบทพยายามมองโลกในแง่ดีกับ นพ.ประดิษฐ มาหลายหน แต่หนนี้คงตอบได้ชัดเจนแล้วว่า นพ.ประดิษฐ ไม่มีความจริงใจ ไม่ใช่ลูกผู้ชายที่มีสัจจะเป็นคุณธรรม ที่ยอมเจรจาหรือยอมทำท่าจะทำตามมติการเจรจาก็เพียงเพื่อเอาตัวรอดจากการถูกปลดจากตำแหน่งรัฐมนตรีในการปรับ ครม.ไม่ได้จริงใจในการแก้ปัญหา หากไม่มีสัจจะก็ไม่ควรมาปกครองบ้านเมือง
นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล อดีตรองปลัด สธ.กล่าวว่า คำสั่งนี้ผิดไปจากข้อตกลงที่นายสุรนันทน์ทำไว้กับเครือข่ายฯ ซึ่งเอกสารข้อสรุปที่ทางทีมงานของ นายสุรนันทน์ ทำไว้และเป็นเอกสารที่เข้าการประชุม ครม.เมื่อวันที่ 9 มิ.ย.ชัดเจนว่า ให้เข้าไปเป็นคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง แต่คำสั่งที่ออกมาให้ไปรับฟัง ไม่ใช่เข้าไปตรวจสอบ จึงขอไม่ร่วมสังฆกรรมกับคำสั่งนี้โดยสิ้นเชิง
รศ.ภญ.จิราพร ลิ้มปานานนท์ ประธานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า จะไม่เข้าร่วมกระบวนการดังกล่าว เพราะในคำสั่งให้เป็นแค่คณะผู้รับฟังฯเท่านั้น ซึ่งไม่สามารถทำให้ความจริงกระจ่างได้ ดังนั้น เมื่อเริ่มกระบวนการก็ไม่โปร่งใส จึงรับไม่ได้ในคำสั่งลักษณะบิดเบือนเช่นนี้
นายระวัย ภู่ระกา ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ อภ.กล่าวว่า การไปฟังคำชี้แจงเช่นนี้ไม่เกิดประโยชน์ แค่เข้าไปดูข้อมูลแค่นั้นไม่สามารถตัดสินอะไรได้ ท้ายสุดก็จบที่ศาล จึงไม่ขอเข้าร่วม
ผศ.ดร.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) กล่าวว่า ไม่ยอมรับคำสั่งแบบนี้ สิ่งที่ควรจะเป็นคือ ต้องมีการเข้าไปตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้งกระบวนการว่าถูกต้อง ชอบธรรมหรือไม่ ไม่ใช่ไปฟังและดูแค่เอกสารผลการสอบข้อเท็จจริง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รายชื่อคณะรับฟังฯมีทั้งหมด 15 คน ประกอบด้วย ฝั่ง สธ. มี นพ.จรัล ตฤณวุฒิพงษ์ อดีตรักษาราชการแทนปลัด สธ.เป็นประธาน นายกมล บันไดเพชร นพ.พิพัฒน์ นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย กรรมการ อภ. นพ.สมชัย นิจพานิช กรรมการ อภ. ภญ.พิศมร กลิ่นสุวรรณ รักษาการผอ.อภ. นพ.ทรงยศ ชัยชนะ ผู้ตรวจราชการฯ และนายสุจินต์ สิริอภัย นิติกรชำนาญการ
ฝั่งเครือข่ายฯ มี รศ.ภญ.จิราพร ผศ.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวังระบบยา ศ.ภญ.กาญจน์พิมล ฤทธิเดช ภาควิชาการวิทยาการเภสัชกรรม และเภสัชอุตสาหกรรม จุฬาฯ นพ.ศิริวัฒน์ นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ นพ.11 กระทรวงฯ นายชำนาญ พิเชษฐ์พันธุ์ นักกฎหมายอิสระ และนายระวัย ทั้งนี้ นพ.สุวิทย์ ศ.ภญ.กาญจน์พิมล และนายชำนาญ ต่างได้แสดงเจตจำนงชัดเจนไม่ร่วมเป็นคณะผู้รับฟังข้อเท็จจริงอย่างเด็ดขาด
วันนี้ (28 มิ.ย.) นพ.วชิระ บถพิบูลย์ ผู้อำนวยการ รพ.ชุมพวง จ.นครราชสีมา อดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวถึงกรณีประธานคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม (บอร์ด อภ.) ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะบุคคลเพื่อรับฟังและพิจารณารายงานการสอบสวนข้อเท็จจริงการปลด นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการ อภ.วันที่ 8 ก.ค.ว่า คำสั่งแต่งตั้งมีเนื้อหาผิดไปจากข้อตกลงที่เครือข่ายเพื่อความเป็นธรรมในระบบสุขภาพได้มีไว้กับนายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในฐานะตัวแทนนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 มิ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งได้ข้อสรุปร่วมกันให้เป็นการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง แต่กลับมีคำสั่งจาก นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สั่งให้ นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี ประธานบอร์ด อภ. ออกคำสั่งให้เป็นคณะบุคคลเพื่อรับฟังและพิจารณารายงานข้อเท็จจริงแทน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคู่กรณี
“การเป็นผู้รับฟังทำให้ไม่สามารถตรวจสอบหลักฐานเอกสารหรือสืบค้นข้อมูลภายในของ อภ.ที่เกี่ยวเนื่องกับการปลด นพ.วิทิต ได้ เท่ากับว่า รมว.สาธารณสุข บิดเบือนข้อตกลงในการเจรจา ชมรมแพทย์ชนบทมีไฟล์เสียงการประชุมที่ทั้ง รมว.สาธารณสุข และนายสุรนันทน์ สรุปตรงกันในการเจรจาวันที่ 4 มิ.ย.ว่า จะตั้งกรรมการที่มีอำนาจในการขอดูหลักฐาน เอกสาร สอบถามบุคคล หรือตรวจสอบข้อมูลว่าจริงหรือเท็จประการใด ไม่ใช่เป็นเพียงกรรมการรับฟังการชี้แจงเท่านั้น” นพ.วชิระ กล่าว
นพ.วชิระ กล่าวอีกว่า ชมรมแพทย์ชนบทพยายามมองโลกในแง่ดีกับ นพ.ประดิษฐ มาหลายหน แต่หนนี้คงตอบได้ชัดเจนแล้วว่า นพ.ประดิษฐ ไม่มีความจริงใจ ไม่ใช่ลูกผู้ชายที่มีสัจจะเป็นคุณธรรม ที่ยอมเจรจาหรือยอมทำท่าจะทำตามมติการเจรจาก็เพียงเพื่อเอาตัวรอดจากการถูกปลดจากตำแหน่งรัฐมนตรีในการปรับ ครม.ไม่ได้จริงใจในการแก้ปัญหา หากไม่มีสัจจะก็ไม่ควรมาปกครองบ้านเมือง
นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล อดีตรองปลัด สธ.กล่าวว่า คำสั่งนี้ผิดไปจากข้อตกลงที่นายสุรนันทน์ทำไว้กับเครือข่ายฯ ซึ่งเอกสารข้อสรุปที่ทางทีมงานของ นายสุรนันทน์ ทำไว้และเป็นเอกสารที่เข้าการประชุม ครม.เมื่อวันที่ 9 มิ.ย.ชัดเจนว่า ให้เข้าไปเป็นคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง แต่คำสั่งที่ออกมาให้ไปรับฟัง ไม่ใช่เข้าไปตรวจสอบ จึงขอไม่ร่วมสังฆกรรมกับคำสั่งนี้โดยสิ้นเชิง
รศ.ภญ.จิราพร ลิ้มปานานนท์ ประธานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า จะไม่เข้าร่วมกระบวนการดังกล่าว เพราะในคำสั่งให้เป็นแค่คณะผู้รับฟังฯเท่านั้น ซึ่งไม่สามารถทำให้ความจริงกระจ่างได้ ดังนั้น เมื่อเริ่มกระบวนการก็ไม่โปร่งใส จึงรับไม่ได้ในคำสั่งลักษณะบิดเบือนเช่นนี้
นายระวัย ภู่ระกา ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ อภ.กล่าวว่า การไปฟังคำชี้แจงเช่นนี้ไม่เกิดประโยชน์ แค่เข้าไปดูข้อมูลแค่นั้นไม่สามารถตัดสินอะไรได้ ท้ายสุดก็จบที่ศาล จึงไม่ขอเข้าร่วม
ผศ.ดร.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) กล่าวว่า ไม่ยอมรับคำสั่งแบบนี้ สิ่งที่ควรจะเป็นคือ ต้องมีการเข้าไปตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้งกระบวนการว่าถูกต้อง ชอบธรรมหรือไม่ ไม่ใช่ไปฟังและดูแค่เอกสารผลการสอบข้อเท็จจริง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รายชื่อคณะรับฟังฯมีทั้งหมด 15 คน ประกอบด้วย ฝั่ง สธ. มี นพ.จรัล ตฤณวุฒิพงษ์ อดีตรักษาราชการแทนปลัด สธ.เป็นประธาน นายกมล บันไดเพชร นพ.พิพัฒน์ นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย กรรมการ อภ. นพ.สมชัย นิจพานิช กรรมการ อภ. ภญ.พิศมร กลิ่นสุวรรณ รักษาการผอ.อภ. นพ.ทรงยศ ชัยชนะ ผู้ตรวจราชการฯ และนายสุจินต์ สิริอภัย นิติกรชำนาญการ
ฝั่งเครือข่ายฯ มี รศ.ภญ.จิราพร ผศ.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวังระบบยา ศ.ภญ.กาญจน์พิมล ฤทธิเดช ภาควิชาการวิทยาการเภสัชกรรม และเภสัชอุตสาหกรรม จุฬาฯ นพ.ศิริวัฒน์ นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ นพ.11 กระทรวงฯ นายชำนาญ พิเชษฐ์พันธุ์ นักกฎหมายอิสระ และนายระวัย ทั้งนี้ นพ.สุวิทย์ ศ.ภญ.กาญจน์พิมล และนายชำนาญ ต่างได้แสดงเจตจำนงชัดเจนไม่ร่วมเป็นคณะผู้รับฟังข้อเท็จจริงอย่างเด็ดขาด