สธ.เผยคนไทยกว่า 10 ล้านคนหลุดเข้าโลกส่วนตัวจากการใช้สื่อออนไลน์มากขึ้น พบแนวโน้มปัญหาล่อลวงเด็ก-ผู้หญิงไปข่มขืน กระทำความรุนแรง ผ่านสื่อมากขึ้นตามไปด้วย เตือนระมัดระวังในการใช้ เตรียมขยาย “ศูนย์พึ่งได้” ใน รพ.สต.ทุกแห่งเป็นช่องทางรับแจ้งเหตุ และดูแลปัญหาท้องไม่พร้อม ค้ามนุษย์ แรงงานเด็ก และความรุนแรง
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า องค์การสหประชาชาติประกาศให้วันที่ 25 พ.ย.ของทุกปีเป็นวันขจัดความรุนแรงต่อสตรีสากล ส่วนไทยได้กำหนดให้ พ.ย.เป็นเดือนรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรีตั้งแต่ปี 2542 เพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาความรุนแรง ซึ่งต้องยอมรับว่าปัญหาความรุนแรงในสังคมไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ส่งผลกระทบทั้งการบาดเจ็บ พิการ เสียชีวิต และเกิดบาดแผลทางใจ ต้องใช้เวลาเยียวยานาน จากการวิเคราะห์สถิติในรอบ 7 ปี มีเด็กและสตรีที่ถูกทำร้ายมารับบริการเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว โดยปี 2554 มี 22,565 ราย เฉลี่ยวันละ 62 ราย เพิ่มจากปี 2548 ที่มี 11,542 ราย เฉลี่ยวันละ 32 อย่างไรก็ตาม สธ.ได้เปิดบริการ “ศูนย์พึ่งได้” ในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่งทั่วประเทศ
นพ.ประดิษฐกล่าวอีกว่า ในปี 2557 สธ.จะขยายบริการศูนย์พึ่งได้ให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย 4 กลุ่ม ได้แก่ ปัญหาท้องไม่พร้อม การค้ามนุษย์ การใช้แรงงานเด็ก และการกระทำรุนแรงในเด็กและสตรี รวมทั้งปัญหาอื่นๆ เช่น ยาเสพติด ติดเกม ติดพนันบอล เป็นต้น ตามนโยบาย OSCC ศูนย์ช่วยเหลือสังคม พร้อมทั้งกระจายบริการลงไปถึงระดับหมู่บ้านในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลซึ่งมี 9,750 แห่งทั่วประเทศ เพื่อให้เป็นช่องทางรับแจ้งเหตุหรือทำการคัดกรองช่วยเหลือเบื้องต้น ทำงานเชื่อมโยงแบบสหวิชาชีพ และบูรณาการส่งต่อผู้ประสบปัญหากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งพัฒนาระบบการตรวจวินิจฉัยทางด้านนิติเวชในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป ในการพิสูจน์หาหลักฐานความรุนแรงต่างๆ สนับสนุนบริการของศูนย์ช่วยเหลือสังคม และรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
“ช่วงปีหลังมานี้ คนไทยใช้สื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ เช่น เฟซบุ๊ก ไลน์ เป็นต้น ทำให้อยู่ในโลกส่วนตัวมากขึ้น มีจำนวนมากกว่า 10 ล้านคน ทำให้มีแนวโน้มปัญหาการล่อลวงจากทางสื่อเหล่านี้เพิ่มตามไปด้วย ทั้งในกลุ่มเด็กและผู้หญิง เนื่องจากใช้ง่าย ใช้วิธีสื่อสารผ่านทางตัวหนังสือแทนการพูดคุย โดยไม่จำเป็นต้องรู้จักกันมาก่อน หรือไม่ต้องเผชิญหน้า จึงเป็นเรื่องที่น่าห่วงว่าจะชักจูงเด็กและสตรีออกนอกบ้านเป็นเหยื่อความรุนแรงง่ายขึ้น จึงขอให้ผู้ปกครอง ครู เพิ่มการดูแลเด็กและสอนให้รู้จักวิธีใช้สื่ออย่างเหมาะสม ส่วนผู้ใช้สื่อขอให้ระมัดระวังในการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว และอย่าหลงเชื่อการชักจูงต่างๆ ควรปรึกษาผู้ปกครองหรือผู้ที่ไว้วางใจ เพื่อป้องกันการนำภัยมาสู่ตัวเอง” รมว.สาธารณสุขกล่าว
ด้าน นพ.ชาญวิทย์ ทระเทพ รองปลัด สธ.กล่าวว่า ปัญหาสังคมไทยที่กำลังประสบอยู่ขณะนี้คือ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ซึ่งไทยพบค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอาเซียน และปัญหาการใช้แรงงานเด็ก รวมทั้งปัญหาการค้ามนุษย์ ซึ่งอยู่ในการติดตามของประเทศคู่ค้า หากไม่เร่งแก้ไขอาจมีผลกระทบทางเศรษฐกิจของไทย โดย สธ.จะเร่งพัฒนาระบบข้อมูลบริการสุขภาพ เชื่อมโยงกับศูนย์ช่วยเหลือสังคมของรัฐบาล ให้เป็นฐานข้อมูลที่เชื่อถือได้ และนำไปใช้ในการวางแผนเพื่อการป้องกันปัญหาและให้ความช่วยเหลือผู้ถูกกระทำรุนแรง 4 กลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นพ.ชาญวิทย์กล่าวอีกว่า ปัญหาความรุนแรงในกลุ่มเด็กที่พบสูงเป็นอันดับ 1 ติดต่อกันทุกปี คือถูกกระทำทางเพศ พบมากถึงร้อยละ 74 ของเด็กที่มารับบริการ รองลงมาคือถูกทำร้ายร่างกายร้อยละ 21 ส่วนที่เหลือเป็นการถูกทำร้ายจิตใจ ถูกทอดทิ้งและถูกล่อลวง บังคับแสวงหาผลประโยชน์ เช่น ให้ขอทาน เป็นต้น โดยผู้กระทำส่วนใหญ่เป็นคนใกล้ชิด เช่น แฟน เพื่อน รองลงมาคือคนที่ไม่รู้จัก ญาติ พี่น้อง ต้นเหตุของการกระทำรุนแรงอันดับ 1 มาจากการรับสื่อลามกต่างๆ ความใกล้ชิด และโอกาสเอื้ออำนวย รองลงมาคือการดื่มเหล้า ใช้สารเสพติด และการทะเลาะ หึงหวง เป็นต้น ส่วนในกลุ่มผู้หญิงปัญหาที่พบมากอันดับ 1 คือถูกทำร้ายร่างกายร้อยละ 79 รองลงมาคือถูกกระทำทางเพศ ส่วนที่เหลือถูกทำร้ายจิตใจ ถูกทอดทิ้งและถูกล่อลวง บังคับแสวงหาผลประโยชน์ เช่น บังคับให้ขายบริการทางเพศ เป็นต้น ผู้กระทำรุนแรงกว่าครึ่งเป็นสามีและแฟน สาเหตุหลักมาจากการนอกใจ ทะเลาะ หึงหวง รองลงมาคือการใช้สารเสพติด สารกระตุ้น และสื่อลามก หรือความใกล้ชิดต่างๆ
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า องค์การสหประชาชาติประกาศให้วันที่ 25 พ.ย.ของทุกปีเป็นวันขจัดความรุนแรงต่อสตรีสากล ส่วนไทยได้กำหนดให้ พ.ย.เป็นเดือนรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรีตั้งแต่ปี 2542 เพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาความรุนแรง ซึ่งต้องยอมรับว่าปัญหาความรุนแรงในสังคมไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ส่งผลกระทบทั้งการบาดเจ็บ พิการ เสียชีวิต และเกิดบาดแผลทางใจ ต้องใช้เวลาเยียวยานาน จากการวิเคราะห์สถิติในรอบ 7 ปี มีเด็กและสตรีที่ถูกทำร้ายมารับบริการเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว โดยปี 2554 มี 22,565 ราย เฉลี่ยวันละ 62 ราย เพิ่มจากปี 2548 ที่มี 11,542 ราย เฉลี่ยวันละ 32 อย่างไรก็ตาม สธ.ได้เปิดบริการ “ศูนย์พึ่งได้” ในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่งทั่วประเทศ
นพ.ประดิษฐกล่าวอีกว่า ในปี 2557 สธ.จะขยายบริการศูนย์พึ่งได้ให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย 4 กลุ่ม ได้แก่ ปัญหาท้องไม่พร้อม การค้ามนุษย์ การใช้แรงงานเด็ก และการกระทำรุนแรงในเด็กและสตรี รวมทั้งปัญหาอื่นๆ เช่น ยาเสพติด ติดเกม ติดพนันบอล เป็นต้น ตามนโยบาย OSCC ศูนย์ช่วยเหลือสังคม พร้อมทั้งกระจายบริการลงไปถึงระดับหมู่บ้านในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลซึ่งมี 9,750 แห่งทั่วประเทศ เพื่อให้เป็นช่องทางรับแจ้งเหตุหรือทำการคัดกรองช่วยเหลือเบื้องต้น ทำงานเชื่อมโยงแบบสหวิชาชีพ และบูรณาการส่งต่อผู้ประสบปัญหากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งพัฒนาระบบการตรวจวินิจฉัยทางด้านนิติเวชในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป ในการพิสูจน์หาหลักฐานความรุนแรงต่างๆ สนับสนุนบริการของศูนย์ช่วยเหลือสังคม และรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
“ช่วงปีหลังมานี้ คนไทยใช้สื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ เช่น เฟซบุ๊ก ไลน์ เป็นต้น ทำให้อยู่ในโลกส่วนตัวมากขึ้น มีจำนวนมากกว่า 10 ล้านคน ทำให้มีแนวโน้มปัญหาการล่อลวงจากทางสื่อเหล่านี้เพิ่มตามไปด้วย ทั้งในกลุ่มเด็กและผู้หญิง เนื่องจากใช้ง่าย ใช้วิธีสื่อสารผ่านทางตัวหนังสือแทนการพูดคุย โดยไม่จำเป็นต้องรู้จักกันมาก่อน หรือไม่ต้องเผชิญหน้า จึงเป็นเรื่องที่น่าห่วงว่าจะชักจูงเด็กและสตรีออกนอกบ้านเป็นเหยื่อความรุนแรงง่ายขึ้น จึงขอให้ผู้ปกครอง ครู เพิ่มการดูแลเด็กและสอนให้รู้จักวิธีใช้สื่ออย่างเหมาะสม ส่วนผู้ใช้สื่อขอให้ระมัดระวังในการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว และอย่าหลงเชื่อการชักจูงต่างๆ ควรปรึกษาผู้ปกครองหรือผู้ที่ไว้วางใจ เพื่อป้องกันการนำภัยมาสู่ตัวเอง” รมว.สาธารณสุขกล่าว
ด้าน นพ.ชาญวิทย์ ทระเทพ รองปลัด สธ.กล่าวว่า ปัญหาสังคมไทยที่กำลังประสบอยู่ขณะนี้คือ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ซึ่งไทยพบค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอาเซียน และปัญหาการใช้แรงงานเด็ก รวมทั้งปัญหาการค้ามนุษย์ ซึ่งอยู่ในการติดตามของประเทศคู่ค้า หากไม่เร่งแก้ไขอาจมีผลกระทบทางเศรษฐกิจของไทย โดย สธ.จะเร่งพัฒนาระบบข้อมูลบริการสุขภาพ เชื่อมโยงกับศูนย์ช่วยเหลือสังคมของรัฐบาล ให้เป็นฐานข้อมูลที่เชื่อถือได้ และนำไปใช้ในการวางแผนเพื่อการป้องกันปัญหาและให้ความช่วยเหลือผู้ถูกกระทำรุนแรง 4 กลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นพ.ชาญวิทย์กล่าวอีกว่า ปัญหาความรุนแรงในกลุ่มเด็กที่พบสูงเป็นอันดับ 1 ติดต่อกันทุกปี คือถูกกระทำทางเพศ พบมากถึงร้อยละ 74 ของเด็กที่มารับบริการ รองลงมาคือถูกทำร้ายร่างกายร้อยละ 21 ส่วนที่เหลือเป็นการถูกทำร้ายจิตใจ ถูกทอดทิ้งและถูกล่อลวง บังคับแสวงหาผลประโยชน์ เช่น ให้ขอทาน เป็นต้น โดยผู้กระทำส่วนใหญ่เป็นคนใกล้ชิด เช่น แฟน เพื่อน รองลงมาคือคนที่ไม่รู้จัก ญาติ พี่น้อง ต้นเหตุของการกระทำรุนแรงอันดับ 1 มาจากการรับสื่อลามกต่างๆ ความใกล้ชิด และโอกาสเอื้ออำนวย รองลงมาคือการดื่มเหล้า ใช้สารเสพติด และการทะเลาะ หึงหวง เป็นต้น ส่วนในกลุ่มผู้หญิงปัญหาที่พบมากอันดับ 1 คือถูกทำร้ายร่างกายร้อยละ 79 รองลงมาคือถูกกระทำทางเพศ ส่วนที่เหลือถูกทำร้ายจิตใจ ถูกทอดทิ้งและถูกล่อลวง บังคับแสวงหาผลประโยชน์ เช่น บังคับให้ขายบริการทางเพศ เป็นต้น ผู้กระทำรุนแรงกว่าครึ่งเป็นสามีและแฟน สาเหตุหลักมาจากการนอกใจ ทะเลาะ หึงหวง รองลงมาคือการใช้สารเสพติด สารกระตุ้น และสื่อลามก หรือความใกล้ชิดต่างๆ