โดย...ปวีณรัตน์ เฟื่องสีไหม
เมื่อ “ผู้หญิง” ลุกขึ้นสู้และไม่ยอมเป็นกระสอบทรายให้ “ผู้ชาย” ประเคนหมัด ศอก เข่า หรือกระทำรุนแรงต่อร่างกาย และจิตใจอีกต่อไป !?
เหตุการณ์ผู้หญิงถูกกระทำความรุนแรง ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นแต่ในกลับกันมีมาหลายปีและทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ที่ผ่านมาผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ มักจะอายและต้องจำยอมที่จะต้องแบกความเจ็บปวดจากการถูกกระทำความรุนแรงจากผู้ชาย โดยเฉพาะไม่ว่าผู้ชายคนนั้น จะได้ชื่อว่าเป็น “สามี” หรืออยู่ในสถานะอื่นๆ ก็ตาม
โดยจากสถิติองค์การสหประชาชาติปี 2555 พบว่า หญิงไทยยอมรับการถูกทำร้ายมากเป็นอันดับ 2 ของโลก อีกทั้งผู้ถูกกระทำจำนวนไม่น้อยเมื่อโดนทำร้ายจะไม่กล้าร้องเรียนหรือแจ้งตำรวจเพื่อเอาผิด ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเพิกเฉยต่อความรุนแรง ขณะเดียวกัน มีข้อมูลสถิติความรุนแรงในปี 2555 จากมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล พบว่า เกิดกรณีการฆ่ากันตาย 186 เรื่อง ในจำนวนนี้มีทั้งฝ่ายหญิงที่กระทำกับฝ่ายชาย เนื่องจากว่าทนเป็นฝ่ายถูกกระทำไม่ไหวอีกต่อไป
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีผู้หญิงที่ลุกขึ้นสู้เพื่อตัวเอง แม้จะใช้วิธีการที่ผิดวิธีนำไปสู่การฆาตกรรมเป็นคดีความ แต่ยังมีผู้หญิงอีกหลายคนที่ยังทนยอมถูกทำร้ายร่างกายและจิตใจ ด้วยอายที่บอกเล่าเรื่องราวที่ถูกกระทำให้ผู้อื่นได้รับรู้ หรือแม้จะบอกเล่าต่อคนในครอบครัวเพื่อให้ช่วยเหลือแก้ไข ก็มักจะเกิดเสียงห้ามปรามและบอกให้อดทน....กลายไปสู่การยอมทนต่อการถูกทำร้ายร่างกายครั้งแล้วครั้งเล่า และแม้ว่าในปัจจุนี้จะมีหน่วยงานด้านสังคม ที่ยื่นมือเพื่อโอบอุ้มและคอยให้คำปรึกษามากมาย รวมทั้งรณรงค์ให้ยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงมากเพียงใดก็ตาม แต่ไม่ได้ทำให้สถานการณ์ หรือการกระทำรุนแรงต่อผู้หญิงทุเลาลงไป ดังนั้น หน่วยการรัฐจึงปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เน้นการส่งเสริม กระตุ้นให้ผู้หญิงไทยลุกขึ้นมาปกป้องตัวเองและกล้าที่จะดำเนินคดีหรือจัดการผู้ที่กระทำความรุนแรงกับพวกเขา
ความรุนแรงที่ใกล้ตัวที่สุด นั่นคือ ความรุนแรงในครอบครัวที่เกิดจาก “สามี” กระทำต่อ “ภรรยา” น.ส.ดารา (นามสมมติ) ได้สะท้อนเรื่องราวที่ถูกสามีทำร้าย ว่า พื้นฐานนิสัยของสามีเป็นคนอารมณ์ร้าย ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เมื่อใดก็ตามที่สามีดื่มและมีอารมณ์โมโหขึ้นมา ตนก็พยายามที่จะหลีกเลี่ยงเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาทะเลาะกัน แม้จะพยายามหนีเท่าไรสุดท้ายก็ไม่พ้นเงื้อมมือถูกทำร้ายร่างกายอย่างหนักเป็นแบบนี้ทุกวัน แม้กระทั่งเพื่อนบ้านก็ไม่มีใครกล้าช่วย เพราะมองว่าเป็นเรื่องของสามีภรรยาจึงไม่กล้ายุ่ง ที่ผ่านมาตนให้เกียรติสามีมาตลอดแต่เมื่อเจอแบบนี้นานวันเข้ารู้สึกว่าจิตใจมันกร่อนลงทุกวัน จนกระทั่งมานั่งคิดไตร่ตรองและตัดสินใจเด็ดขาดว่าจะไม่ทนให้สามีมาทำร้ายร่างกายและจิตใจเธออีกต่อไป
“ดิฉันตัดสินใจก้าวออกมา ตอนที่ตัดสินใจออกมานั้นชีวิตแทบจะไม่เหลืออะไร ต้องลาออกจากงานและไปอยู่กับพี่ชายที่จังหวัดชุมพรเล่าเรื่องที่ถูกกระทำที่ผ่านๆ มาให้พี่ชายฟัง และก็ได้เรียนรู้ว่าปัจจุบันมีกฎหมายที่คุ้มครองผู้ที่ถูกทำร้าย จึงตัดสินใจเดินทางไปปรึกษาและขอความช่วยเหลือกับหน่วยงาน ซึ่งนอกเหนือจะได้รับคำแนะนำแล้วทางหน่วยงานยังสอนอาชีพ ทำให้เรามีกำลังใจขึ้นทำให้เราเกิดประกายความคิดว่าเราตัดสินใจไม่ผิด และชีวิตเขาเราต้องลุกขึ้นมาสู้เพื่อปกป้อองสิทธิและชีวิตของตัวเอง โดยต้องไม่ยอมก้มหน้ารับชะตากรรมของความทุกข์ที่สามีเป็นคนยัดเยียดให้อีก”
ขณะที่ตัวอย่างของความรุนแรงที่เกิดจากครอบครัวที่สุดท้ายนำไปสู่บทสรุปที่น่าสลด หดหู่ใจ ที่ปรากฏเป็นข่าวครึกโครมและเป็นที่จับตามองของสังคม นั่นคือ กรณี นายจักรกฤณ์ พณิชย์ผาติกรรม หรือ เอ็กซ์ นักกีฬายิงปืนทีมชาติไทย และ พญ.นิธิวดี ภู่เจริญยศ หรือ หมอนิ่ม ภรรยา ที่ถูกกระทำบ่อยครั้งนำไปสู่การแจ้งความดำเนินคดีจนท้ายสุดเกิดเป็นเหตุการณ์ฆาตกรรม แม้จากการสืบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจจะพบหลักฐานและพยานที่ซักทอดไปว่าผู้ที่อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์อันน่าสลดนี้ คือ มารดาของ พญ.นิธิวดี เป็นผู้สั่งการเนื่องจากทนไม่ได้ที่เห็นลูกสาวถูกทำร้าย กรณีดังกล่าวสะท้อนแง่คิดมากมายให้กับทุกคนในสังคม
โดย นายจะเด็จ เชาว์วิไล ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ให้ความเห็นว่า กรณีดังกล่าวจะเห็นได้ว่าเกิดจากถูกกระทำรุนแรงแต่ก็ต้องอดทนต่อความเจ็บปวดจนกลายเป็นการสะสมมานาน ตัวผู้หญิงเองรู้สึกอายและใม่กล้าที่จะพูดเรื่องนี้ อีกทั้งยังกลัวว่าจะเสียความสัมพันธ์ในครอบครัว ซึ่งในระบบของครอบครัวหรือสังคมก็ดีต้องยอมรับความเชื่อที่ว่า “ผู้ชายเป็นใหญ่” ครอบงำความคิดทั้งผู้ชายและผู้หญิงไว้ กรณีที่เกิดขึ้นก็เพราะผู้ชายมีความรู้สึกว่าตัวเองมีอำนาจเหนือกว่า และรู้สึกว่าภรรยาเป็นสมบัติของตัวเองจึงได้กระทำความรุนแรง และเมื่อถูกกระทำบ่อยครั้งจะทำให้ผู้หญิงรู้สึกว่าเราต้องตอบโต้ และหลายครั้งที่ผู้หญิงคิดแบบนี้และหาทางออกไม่ได้ก็ตัดสินใจที่จะใช้ความรุนแรงโต้กลับไป ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้อง แต่สิ่งที่ผู้หญิงควรทำคือการพูดคุยกับผู้ชายและทำให้เขาทราบว่าหากเขากระทำความรุนแรงก็ยังกฎหมายที่จะสามารถจัดการเขาได้
ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องรีบเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหา ไม่ว่าจะเป็นให้คำปรึกษากับตัวผู้ชายเองเพื่อให้เขาได้รู้สึกผ่อนคลายความโกรธ รวมทั้งให้คำปรึกษากับผู้หญิงด้วย พร้อมทั้งแนะนำว่าหากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นเขาจะแยกทางกันหรือไม่ ซึ่งกระบวนการเหล่านี้จะทำให้ผู้หญิงมองเห็นถึงพลังของตัวเองตัวเธอเองสามารถเลือกได้ว่าหากต้องการที่ร่วมทางกันต่อจะต้องมีการพูดคุยกับสามีว่าจะสามารถปรับพฤติกรรมได้หรือไม่ หากยังไม่มีการปรับพฤติกรรมก็จะไม่คืนดี แต่ในกรณีที่ไม่อยากร่วมทางกันต่อก็จำเป็นที่จะต้องใช้กฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นหน่วยงานรัฐจะต้องทำเรื่องนี้ให้มีกลไกในการปรับพฤติกรรมผู้ชายให้มากขึ้น
“ท้ายที่สุดหากสังคมยังปล่อยให้ผู้หญิงติดอยู่กับความอาย ความกลัว ความรู้สึกกังวลใจ หรือสังคมยังนิ่งเฉยก็ยิ่งจะส่งผลให้ปัญหาความรุนแรงทวีคูณมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นผู้หญิงจะต้องไม่อายและกล้าลุกขึ้นมาสู้ปกป้องสิทธิของตัวเอง แต่การปกป้องนั้นจะต้องไม่ใช่วิธีการใช้ความรุนแรงเข้าต่อสู้เพราะนั้นหมายถึงว่าจะยิ่งเป็นการเติมเชื้อไฟให้ลุกลามมากขึ้นยิ่งกว่าเดิม และตัวผู้ชายเองจะต้องมีจิตใต้สำนึกที่ดีให้มากกว่าเดิมไม่ใช่คิดว่าภรรยาเป็นสมบัติของตัวเองจะทำอย่างไรกับเขาก็ได้ เพราะหากวันหนึ่งที่ผู้หญิงทนไม่ไหวและเข้าลุกขึ้นมาต่อต้านตัวคุณผู้ชายเองจะฝ่ายที่ไม่เหลืออะไรเลย” นายจะเด็จ กล่าว
อย่าปล่อยให้ความรุนแรงเป็นตัวกระชากขีดของความอดทนของผู้หญิงจนเหลือเพียง “ฟางเส้นสุดท้าย” ถึงเวลาแล้วที่ทุกคนในสังคมจะต้องตระหนักและร่วมมือกันยุติความรุนแรง ไม่เมินเฉยเมื่อพบเจอ สำคัญที่สุดคุณผู้ชายจะต้องหยุดทำร้าย และตระหนักถึงความเท่าเทียมในความเป็น “มนุษย์”
เมื่อ “ผู้หญิง” ลุกขึ้นสู้และไม่ยอมเป็นกระสอบทรายให้ “ผู้ชาย” ประเคนหมัด ศอก เข่า หรือกระทำรุนแรงต่อร่างกาย และจิตใจอีกต่อไป !?
เหตุการณ์ผู้หญิงถูกกระทำความรุนแรง ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นแต่ในกลับกันมีมาหลายปีและทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ที่ผ่านมาผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ มักจะอายและต้องจำยอมที่จะต้องแบกความเจ็บปวดจากการถูกกระทำความรุนแรงจากผู้ชาย โดยเฉพาะไม่ว่าผู้ชายคนนั้น จะได้ชื่อว่าเป็น “สามี” หรืออยู่ในสถานะอื่นๆ ก็ตาม
โดยจากสถิติองค์การสหประชาชาติปี 2555 พบว่า หญิงไทยยอมรับการถูกทำร้ายมากเป็นอันดับ 2 ของโลก อีกทั้งผู้ถูกกระทำจำนวนไม่น้อยเมื่อโดนทำร้ายจะไม่กล้าร้องเรียนหรือแจ้งตำรวจเพื่อเอาผิด ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเพิกเฉยต่อความรุนแรง ขณะเดียวกัน มีข้อมูลสถิติความรุนแรงในปี 2555 จากมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล พบว่า เกิดกรณีการฆ่ากันตาย 186 เรื่อง ในจำนวนนี้มีทั้งฝ่ายหญิงที่กระทำกับฝ่ายชาย เนื่องจากว่าทนเป็นฝ่ายถูกกระทำไม่ไหวอีกต่อไป
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีผู้หญิงที่ลุกขึ้นสู้เพื่อตัวเอง แม้จะใช้วิธีการที่ผิดวิธีนำไปสู่การฆาตกรรมเป็นคดีความ แต่ยังมีผู้หญิงอีกหลายคนที่ยังทนยอมถูกทำร้ายร่างกายและจิตใจ ด้วยอายที่บอกเล่าเรื่องราวที่ถูกกระทำให้ผู้อื่นได้รับรู้ หรือแม้จะบอกเล่าต่อคนในครอบครัวเพื่อให้ช่วยเหลือแก้ไข ก็มักจะเกิดเสียงห้ามปรามและบอกให้อดทน....กลายไปสู่การยอมทนต่อการถูกทำร้ายร่างกายครั้งแล้วครั้งเล่า และแม้ว่าในปัจจุนี้จะมีหน่วยงานด้านสังคม ที่ยื่นมือเพื่อโอบอุ้มและคอยให้คำปรึกษามากมาย รวมทั้งรณรงค์ให้ยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงมากเพียงใดก็ตาม แต่ไม่ได้ทำให้สถานการณ์ หรือการกระทำรุนแรงต่อผู้หญิงทุเลาลงไป ดังนั้น หน่วยการรัฐจึงปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เน้นการส่งเสริม กระตุ้นให้ผู้หญิงไทยลุกขึ้นมาปกป้องตัวเองและกล้าที่จะดำเนินคดีหรือจัดการผู้ที่กระทำความรุนแรงกับพวกเขา
ความรุนแรงที่ใกล้ตัวที่สุด นั่นคือ ความรุนแรงในครอบครัวที่เกิดจาก “สามี” กระทำต่อ “ภรรยา” น.ส.ดารา (นามสมมติ) ได้สะท้อนเรื่องราวที่ถูกสามีทำร้าย ว่า พื้นฐานนิสัยของสามีเป็นคนอารมณ์ร้าย ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เมื่อใดก็ตามที่สามีดื่มและมีอารมณ์โมโหขึ้นมา ตนก็พยายามที่จะหลีกเลี่ยงเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาทะเลาะกัน แม้จะพยายามหนีเท่าไรสุดท้ายก็ไม่พ้นเงื้อมมือถูกทำร้ายร่างกายอย่างหนักเป็นแบบนี้ทุกวัน แม้กระทั่งเพื่อนบ้านก็ไม่มีใครกล้าช่วย เพราะมองว่าเป็นเรื่องของสามีภรรยาจึงไม่กล้ายุ่ง ที่ผ่านมาตนให้เกียรติสามีมาตลอดแต่เมื่อเจอแบบนี้นานวันเข้ารู้สึกว่าจิตใจมันกร่อนลงทุกวัน จนกระทั่งมานั่งคิดไตร่ตรองและตัดสินใจเด็ดขาดว่าจะไม่ทนให้สามีมาทำร้ายร่างกายและจิตใจเธออีกต่อไป
“ดิฉันตัดสินใจก้าวออกมา ตอนที่ตัดสินใจออกมานั้นชีวิตแทบจะไม่เหลืออะไร ต้องลาออกจากงานและไปอยู่กับพี่ชายที่จังหวัดชุมพรเล่าเรื่องที่ถูกกระทำที่ผ่านๆ มาให้พี่ชายฟัง และก็ได้เรียนรู้ว่าปัจจุบันมีกฎหมายที่คุ้มครองผู้ที่ถูกทำร้าย จึงตัดสินใจเดินทางไปปรึกษาและขอความช่วยเหลือกับหน่วยงาน ซึ่งนอกเหนือจะได้รับคำแนะนำแล้วทางหน่วยงานยังสอนอาชีพ ทำให้เรามีกำลังใจขึ้นทำให้เราเกิดประกายความคิดว่าเราตัดสินใจไม่ผิด และชีวิตเขาเราต้องลุกขึ้นมาสู้เพื่อปกป้อองสิทธิและชีวิตของตัวเอง โดยต้องไม่ยอมก้มหน้ารับชะตากรรมของความทุกข์ที่สามีเป็นคนยัดเยียดให้อีก”
ขณะที่ตัวอย่างของความรุนแรงที่เกิดจากครอบครัวที่สุดท้ายนำไปสู่บทสรุปที่น่าสลด หดหู่ใจ ที่ปรากฏเป็นข่าวครึกโครมและเป็นที่จับตามองของสังคม นั่นคือ กรณี นายจักรกฤณ์ พณิชย์ผาติกรรม หรือ เอ็กซ์ นักกีฬายิงปืนทีมชาติไทย และ พญ.นิธิวดี ภู่เจริญยศ หรือ หมอนิ่ม ภรรยา ที่ถูกกระทำบ่อยครั้งนำไปสู่การแจ้งความดำเนินคดีจนท้ายสุดเกิดเป็นเหตุการณ์ฆาตกรรม แม้จากการสืบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจจะพบหลักฐานและพยานที่ซักทอดไปว่าผู้ที่อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์อันน่าสลดนี้ คือ มารดาของ พญ.นิธิวดี เป็นผู้สั่งการเนื่องจากทนไม่ได้ที่เห็นลูกสาวถูกทำร้าย กรณีดังกล่าวสะท้อนแง่คิดมากมายให้กับทุกคนในสังคม
โดย นายจะเด็จ เชาว์วิไล ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ให้ความเห็นว่า กรณีดังกล่าวจะเห็นได้ว่าเกิดจากถูกกระทำรุนแรงแต่ก็ต้องอดทนต่อความเจ็บปวดจนกลายเป็นการสะสมมานาน ตัวผู้หญิงเองรู้สึกอายและใม่กล้าที่จะพูดเรื่องนี้ อีกทั้งยังกลัวว่าจะเสียความสัมพันธ์ในครอบครัว ซึ่งในระบบของครอบครัวหรือสังคมก็ดีต้องยอมรับความเชื่อที่ว่า “ผู้ชายเป็นใหญ่” ครอบงำความคิดทั้งผู้ชายและผู้หญิงไว้ กรณีที่เกิดขึ้นก็เพราะผู้ชายมีความรู้สึกว่าตัวเองมีอำนาจเหนือกว่า และรู้สึกว่าภรรยาเป็นสมบัติของตัวเองจึงได้กระทำความรุนแรง และเมื่อถูกกระทำบ่อยครั้งจะทำให้ผู้หญิงรู้สึกว่าเราต้องตอบโต้ และหลายครั้งที่ผู้หญิงคิดแบบนี้และหาทางออกไม่ได้ก็ตัดสินใจที่จะใช้ความรุนแรงโต้กลับไป ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้อง แต่สิ่งที่ผู้หญิงควรทำคือการพูดคุยกับผู้ชายและทำให้เขาทราบว่าหากเขากระทำความรุนแรงก็ยังกฎหมายที่จะสามารถจัดการเขาได้
ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องรีบเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหา ไม่ว่าจะเป็นให้คำปรึกษากับตัวผู้ชายเองเพื่อให้เขาได้รู้สึกผ่อนคลายความโกรธ รวมทั้งให้คำปรึกษากับผู้หญิงด้วย พร้อมทั้งแนะนำว่าหากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นเขาจะแยกทางกันหรือไม่ ซึ่งกระบวนการเหล่านี้จะทำให้ผู้หญิงมองเห็นถึงพลังของตัวเองตัวเธอเองสามารถเลือกได้ว่าหากต้องการที่ร่วมทางกันต่อจะต้องมีการพูดคุยกับสามีว่าจะสามารถปรับพฤติกรรมได้หรือไม่ หากยังไม่มีการปรับพฤติกรรมก็จะไม่คืนดี แต่ในกรณีที่ไม่อยากร่วมทางกันต่อก็จำเป็นที่จะต้องใช้กฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นหน่วยงานรัฐจะต้องทำเรื่องนี้ให้มีกลไกในการปรับพฤติกรรมผู้ชายให้มากขึ้น
“ท้ายที่สุดหากสังคมยังปล่อยให้ผู้หญิงติดอยู่กับความอาย ความกลัว ความรู้สึกกังวลใจ หรือสังคมยังนิ่งเฉยก็ยิ่งจะส่งผลให้ปัญหาความรุนแรงทวีคูณมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นผู้หญิงจะต้องไม่อายและกล้าลุกขึ้นมาสู้ปกป้องสิทธิของตัวเอง แต่การปกป้องนั้นจะต้องไม่ใช่วิธีการใช้ความรุนแรงเข้าต่อสู้เพราะนั้นหมายถึงว่าจะยิ่งเป็นการเติมเชื้อไฟให้ลุกลามมากขึ้นยิ่งกว่าเดิม และตัวผู้ชายเองจะต้องมีจิตใต้สำนึกที่ดีให้มากกว่าเดิมไม่ใช่คิดว่าภรรยาเป็นสมบัติของตัวเองจะทำอย่างไรกับเขาก็ได้ เพราะหากวันหนึ่งที่ผู้หญิงทนไม่ไหวและเข้าลุกขึ้นมาต่อต้านตัวคุณผู้ชายเองจะฝ่ายที่ไม่เหลืออะไรเลย” นายจะเด็จ กล่าว
อย่าปล่อยให้ความรุนแรงเป็นตัวกระชากขีดของความอดทนของผู้หญิงจนเหลือเพียง “ฟางเส้นสุดท้าย” ถึงเวลาแล้วที่ทุกคนในสังคมจะต้องตระหนักและร่วมมือกันยุติความรุนแรง ไม่เมินเฉยเมื่อพบเจอ สำคัญที่สุดคุณผู้ชายจะต้องหยุดทำร้าย และตระหนักถึงความเท่าเทียมในความเป็น “มนุษย์”