กศน. ดึงระบบประกันคุณภาพ พร้อมจัดประชุมชี้เเจงในเเนวคิด “คุณภาพการจัดการศึกษาที่ดีของท่านคือความมุ่งมั่นของสำนักงาน กศน.” เตรียมความพร้อมรับการประเมินรอบ 3
นายประเสริฐ บุญเรือง เลขาธิการ กศน.เปิดเผยว่า สำนักงาน กศน.ทำหน้าที่จัดการศึกษาให้มีคุณภาพ ซึ่งต้องใช้ระบบการประกันคุณภาพ สำนักงาน กศน.จึงได้จัดทำมาตรฐานการศึกษา โดยได้นำมาตรฐานการศึกษาของชาติ จุดมุ่งหมายของหลักสูตร และมาตรฐานการเรียนรู้เป็นองค์ประกอบหลักในการกำหนดมาตรฐาน อีกทั้งได้คำนึงถึงความเชื่อมโยงและความสอดคล้องกับสาระบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 43 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ มาตรา 9(3) และนโยบายการศึกษาของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภาด้วย
เลขาธิการ กศน.กล่าวเพิ่มเติมว่า การพัฒนากลไกการจัดการให้สถานศึกษามีข้อมูล และความรู้ที่จำเป็นเพื่อกำหนดทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการจัดการศึกษา โดยใช้กระบวนการวิจัย การดำเนินงาน การตอบคำถามเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษา การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากสภาพแวดล้อม สังคมการเรียนรู้ และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เหล่านี้คือเป้าหมายของการพัฒนา ความเข้มแข็งของระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ที่จะส่งผลต่อการขับเคลื่อนการดำเนินงานยกระดับคุณภาพการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของสังคมในภาพรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น สำนักงาน กศน.จึงได้กำหนดให้มีการประชุมชี้แจงภายใต้แนวคิด “คุณภาพการจัดการศึกษาที่ดีของท่านคือความมุ่งมั่นของสำนักงาน กศน.” เพื่อเตรียมความพร้อมและซักซ้อม ความเข้าใจเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม แก่สถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน.จำนวน 504 แห่ง ใน 57 จังหวัด เลขาธิการ กศน.กล่าวในที่สุด
นายประเสริฐ บุญเรือง เลขาธิการ กศน.เปิดเผยว่า สำนักงาน กศน.ทำหน้าที่จัดการศึกษาให้มีคุณภาพ ซึ่งต้องใช้ระบบการประกันคุณภาพ สำนักงาน กศน.จึงได้จัดทำมาตรฐานการศึกษา โดยได้นำมาตรฐานการศึกษาของชาติ จุดมุ่งหมายของหลักสูตร และมาตรฐานการเรียนรู้เป็นองค์ประกอบหลักในการกำหนดมาตรฐาน อีกทั้งได้คำนึงถึงความเชื่อมโยงและความสอดคล้องกับสาระบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 43 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ มาตรา 9(3) และนโยบายการศึกษาของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภาด้วย
เลขาธิการ กศน.กล่าวเพิ่มเติมว่า การพัฒนากลไกการจัดการให้สถานศึกษามีข้อมูล และความรู้ที่จำเป็นเพื่อกำหนดทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการจัดการศึกษา โดยใช้กระบวนการวิจัย การดำเนินงาน การตอบคำถามเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษา การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากสภาพแวดล้อม สังคมการเรียนรู้ และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เหล่านี้คือเป้าหมายของการพัฒนา ความเข้มแข็งของระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ที่จะส่งผลต่อการขับเคลื่อนการดำเนินงานยกระดับคุณภาพการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของสังคมในภาพรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น สำนักงาน กศน.จึงได้กำหนดให้มีการประชุมชี้แจงภายใต้แนวคิด “คุณภาพการจัดการศึกษาที่ดีของท่านคือความมุ่งมั่นของสำนักงาน กศน.” เพื่อเตรียมความพร้อมและซักซ้อม ความเข้าใจเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม แก่สถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน.จำนวน 504 แห่ง ใน 57 จังหวัด เลขาธิการ กศน.กล่าวในที่สุด