รองนายกฯ แนะ สมศ.จัดระบบ ประเมินคุณภาพสถานศึกษาใหม่ ให้เกิดความร่วมมือระหว่างกันมากกว่าการแข่งขัน
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง “การประกันคุณภาพการศึกษา” ในการประชุมวิชาการนานาชาติ ประจำปี 2556 ภายใต้แนวคิด “คุณภาพ ศิษย์สะท้อนคุณภาพครู” ตอนหนึ่งว่า ปัจจุบันมาตรฐานเป็นเรื่องสำคัญในทุกแวดวง ซึ่งรวมถึงสถาบันการศึกษาที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงที่จะถูกประเมินคุณภาพได้ ดังนั้น สิ่งที่สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ซึ่งรับภาระหน้าที่เป็นผู้ประเมิน จึงมีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทย ขณะนี้ตนเชื่อว่ามีหลายคนที่อยากถาม สมศ.ว่า การที่ สมศ.เข้าไปประเมิน และรับรองคุณภาพมาตรฐานของสถาบันการศึกษานั้น มีความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน ซึ่งตนคิดว่าเมื่อไหร่ที่ผลการประเมินของ สมศ.สามารถทำให้ผู้เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง และนักเรียนนำไปใช้ประโยชน์ ก็จะทำให้ภาระหน้าที่ของ สมศ.ที่ทำอยู่ในทุกวันนี้ประสบความสำเร็จ เพราะผลการประเมินเป็นที่เชื่อถือได้
“ ที่ผ่านมา สมศ.จะถูกบ่นเสมอว่าการประกันคุณภาพภายนอกทำให้สถานศึกษาต้องมาเสียเวลา และทำงานซ้ำซ้อน เพราะมีการประกันคุณภาพภายในแล้ว ผมจึงได้บอกกับประธานบอร์ด สมศ.ว่า ในฐานะที่เราเป็นผู้ประเมินคุณภาพภายนอกจะต้องจัดระบบใหม่ร่วมกับการประเมินคุณภาพภายใน โดยให้ผู้รับบริการได้รับความสะดวกและลดภาระให้มากที่สุด ได้ความจริงมากที่สุด ไม่มีการจัดฉาก เพราะไม่มีใครอยากเห็นผักชีโรยหน้า” นายพงศ์เทพ กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนี้เมื่อ สมศ.จะเข้าไปประเมินก็เกิดผลกระทบข้างเคียง คือ การแข่งขันระหว่างสถาบันการศึกษาต่างๆ รวมถึงหน่วยงานในสถาบันการศึกษาเดียวกัน ทำให้ต่างคนต่างรู้สึกว่าอยากทำงานของตนเองให้ดีกว่าคนอื่น จึงทำให้ขาดความร่วมมือกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย เพราะถ้าร่วมกันทำจะเป็นประโยชน์มากกว่า โดย สมศ.ต้องไปพัฒนาระบบการประเมินให้เกิดความร่วมมือ มากกว่าการแข่งขัน
ด้าน ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผอ.สมศ.กล่าวว่า จากการประเมินคุณภาพภายนอกของ สมศ.ได้สะท้อนภาพความจริงให้แก่สถานศึกษาได้ทราบถึงระดับคุณภาพของตนเอง และจากการประเมินก็พบว่าครูเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาคุณภาพศิษย์ในมิติ คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ความคิด ทักษะการทำงาน ซึ่งคุณภาพครู และคุณภาพศิษย์เชื่อมโยงส่งต่อกัน ไม่สามารถแยกออกได้ ดังนั้นหัวใจสำคัญของการพัฒนาคุณภาพศิษย์ จึงต้องเกิดจากหัวใจที่มีจิตวิญญาณของครูที่มีความปรารถนาดีต่อศิษย์
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง “การประกันคุณภาพการศึกษา” ในการประชุมวิชาการนานาชาติ ประจำปี 2556 ภายใต้แนวคิด “คุณภาพ ศิษย์สะท้อนคุณภาพครู” ตอนหนึ่งว่า ปัจจุบันมาตรฐานเป็นเรื่องสำคัญในทุกแวดวง ซึ่งรวมถึงสถาบันการศึกษาที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงที่จะถูกประเมินคุณภาพได้ ดังนั้น สิ่งที่สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ซึ่งรับภาระหน้าที่เป็นผู้ประเมิน จึงมีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทย ขณะนี้ตนเชื่อว่ามีหลายคนที่อยากถาม สมศ.ว่า การที่ สมศ.เข้าไปประเมิน และรับรองคุณภาพมาตรฐานของสถาบันการศึกษานั้น มีความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน ซึ่งตนคิดว่าเมื่อไหร่ที่ผลการประเมินของ สมศ.สามารถทำให้ผู้เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง และนักเรียนนำไปใช้ประโยชน์ ก็จะทำให้ภาระหน้าที่ของ สมศ.ที่ทำอยู่ในทุกวันนี้ประสบความสำเร็จ เพราะผลการประเมินเป็นที่เชื่อถือได้
“ ที่ผ่านมา สมศ.จะถูกบ่นเสมอว่าการประกันคุณภาพภายนอกทำให้สถานศึกษาต้องมาเสียเวลา และทำงานซ้ำซ้อน เพราะมีการประกันคุณภาพภายในแล้ว ผมจึงได้บอกกับประธานบอร์ด สมศ.ว่า ในฐานะที่เราเป็นผู้ประเมินคุณภาพภายนอกจะต้องจัดระบบใหม่ร่วมกับการประเมินคุณภาพภายใน โดยให้ผู้รับบริการได้รับความสะดวกและลดภาระให้มากที่สุด ได้ความจริงมากที่สุด ไม่มีการจัดฉาก เพราะไม่มีใครอยากเห็นผักชีโรยหน้า” นายพงศ์เทพ กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนี้เมื่อ สมศ.จะเข้าไปประเมินก็เกิดผลกระทบข้างเคียง คือ การแข่งขันระหว่างสถาบันการศึกษาต่างๆ รวมถึงหน่วยงานในสถาบันการศึกษาเดียวกัน ทำให้ต่างคนต่างรู้สึกว่าอยากทำงานของตนเองให้ดีกว่าคนอื่น จึงทำให้ขาดความร่วมมือกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย เพราะถ้าร่วมกันทำจะเป็นประโยชน์มากกว่า โดย สมศ.ต้องไปพัฒนาระบบการประเมินให้เกิดความร่วมมือ มากกว่าการแข่งขัน
ด้าน ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผอ.สมศ.กล่าวว่า จากการประเมินคุณภาพภายนอกของ สมศ.ได้สะท้อนภาพความจริงให้แก่สถานศึกษาได้ทราบถึงระดับคุณภาพของตนเอง และจากการประเมินก็พบว่าครูเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาคุณภาพศิษย์ในมิติ คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ความคิด ทักษะการทำงาน ซึ่งคุณภาพครู และคุณภาพศิษย์เชื่อมโยงส่งต่อกัน ไม่สามารถแยกออกได้ ดังนั้นหัวใจสำคัญของการพัฒนาคุณภาพศิษย์ จึงต้องเกิดจากหัวใจที่มีจิตวิญญาณของครูที่มีความปรารถนาดีต่อศิษย์