กมธ.ศึกษา ชี้ สมศ.ต้องคงอยู่เพราะเป็นหน่วยงานประเมินการศึกษาที่สำคัญ หากขาดก็จะไม่มีหน่วยงานที่ประเมินคุณภาพการศึกษา ย้ำเกณฑ์ประเมินมาตรฐานต้องมีเพียงหนึ่งเดียว เฉพาะสถานศึกษาเล็กๆ ที่ยังไม่ได้มาตรฐานต้องค่อยปรับปรุง
วันนี้ (17 ก.ค.) ที่สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) นายประกอบ รัตนพันธ์ ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การศึกษาสภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยภายหลังการประชุมสัญจรแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการพัฒนาการศึกษาของชาติร่วมกับผู้บริหาร สมศ.ว่า เวลานี้ กมธ.ศึกษา ค่อนข้างเป็นห่วงเพราะสังคมไทยค่อนข้างสับสน และมีหลายส่วนบอกว่าไม่ควรมี สมศ.แต่ที่ประชุมเห็นร่วมกันว่ายังควรจะต้องมี สมศ.เป็นหน่วยงานประเมินความพร้อมสถานศึกษา ครู และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน เพื่อนำจุดบกพร่องส่งให้ต้นสังกัดในการที่จะนำไปพัฒนา และปรับปรุงต่อไป ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะจุดนี้จะทำให้สถานศึกษา ไม่ว่าขนาดเล็ก กลาง หรือใหญ่ก็จะสามารถเข้าสู่มาตรฐานของ สมศ.ได้ทุกแห่ง
“หากไม่มี สมศ.แล้วใครจะมาตัดสินเรื่องคุณภาพได้ เพราะ สมศ.เป็นหน่วยงานกลางที่จะสะท้อนผลการดำเนินงานได้เป็นอย่างดี ส่วนประเด็นที่หลายฝ่ายมองว่าเกณฑ์การประเมินของ สมศ.นั้น ควรมีหลายมาตรฐาน เพราะโรงเรียนมีความพร้อมไม่เท่ากันเรื่องนี้ที่ประชุมเห็นว่าเป็นความสับสนของสังคม เพราะความจริงแล้วแต่ละประเทศควรมีเพียงมาตรฐานเดียว เพียงแต่โรงเรียนขนาดเล็ก และกลาง อาจต้องใช้เวลาค่อนข้างนานในการที่จะเข้าสู่มาตรฐาน ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องมาหารือ และแก้ไขร่วมกันว่าจะทำอย่างไรให้สถานศึกษาเข้าสู่มาตรฐานให้ได้ โดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็ก และกลาง จึงนับเป็นปัญหาที่ท้าทายของประเทศ” นายประกอบ กล่าว
ด้าน นายชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผอ.สมศ.กล่าวว่า ปัจจุบันสถานศึกษาเปิดกันง่ายมากขึ้น ดังนั้นจึงมีต้องมีหน่วยงาน และมีเกณฑ์เป็นตัวกำหนดในการที่จะรักษาคุณภาพของสถานศึกษานั้นๆ เพียงแต่ว่าผลการประเมินอาจจะไปกระทบความรู้สึกของสถานศึกษา จึงทำให้รู้สึกเบียดเบียนเวลา และสร้างภาระให้แก่สถานศึกษา ทั้งที่ สมศ.ก็เปรียบเหมือนหน่วยงานที่ช่วยคุ้มครองบริโภค ถ้าสถานศึกษาด้อยคุณภาพ ไม่มีครู จะปล่อยให้สอนเด็กต่อได้อย่างไร อีกทั้งในกลุ่มประเทศอาเซียนก็มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ประเมินคุณภาพกันหมด หากไทยไม่มีหน่วยงานนี้จะเป็นคุณกับประเทศหรือไม่ก็ต้องลองคิดดู
วันนี้ (17 ก.ค.) ที่สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) นายประกอบ รัตนพันธ์ ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การศึกษาสภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยภายหลังการประชุมสัญจรแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการพัฒนาการศึกษาของชาติร่วมกับผู้บริหาร สมศ.ว่า เวลานี้ กมธ.ศึกษา ค่อนข้างเป็นห่วงเพราะสังคมไทยค่อนข้างสับสน และมีหลายส่วนบอกว่าไม่ควรมี สมศ.แต่ที่ประชุมเห็นร่วมกันว่ายังควรจะต้องมี สมศ.เป็นหน่วยงานประเมินความพร้อมสถานศึกษา ครู และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน เพื่อนำจุดบกพร่องส่งให้ต้นสังกัดในการที่จะนำไปพัฒนา และปรับปรุงต่อไป ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะจุดนี้จะทำให้สถานศึกษา ไม่ว่าขนาดเล็ก กลาง หรือใหญ่ก็จะสามารถเข้าสู่มาตรฐานของ สมศ.ได้ทุกแห่ง
“หากไม่มี สมศ.แล้วใครจะมาตัดสินเรื่องคุณภาพได้ เพราะ สมศ.เป็นหน่วยงานกลางที่จะสะท้อนผลการดำเนินงานได้เป็นอย่างดี ส่วนประเด็นที่หลายฝ่ายมองว่าเกณฑ์การประเมินของ สมศ.นั้น ควรมีหลายมาตรฐาน เพราะโรงเรียนมีความพร้อมไม่เท่ากันเรื่องนี้ที่ประชุมเห็นว่าเป็นความสับสนของสังคม เพราะความจริงแล้วแต่ละประเทศควรมีเพียงมาตรฐานเดียว เพียงแต่โรงเรียนขนาดเล็ก และกลาง อาจต้องใช้เวลาค่อนข้างนานในการที่จะเข้าสู่มาตรฐาน ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องมาหารือ และแก้ไขร่วมกันว่าจะทำอย่างไรให้สถานศึกษาเข้าสู่มาตรฐานให้ได้ โดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็ก และกลาง จึงนับเป็นปัญหาที่ท้าทายของประเทศ” นายประกอบ กล่าว
ด้าน นายชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผอ.สมศ.กล่าวว่า ปัจจุบันสถานศึกษาเปิดกันง่ายมากขึ้น ดังนั้นจึงมีต้องมีหน่วยงาน และมีเกณฑ์เป็นตัวกำหนดในการที่จะรักษาคุณภาพของสถานศึกษานั้นๆ เพียงแต่ว่าผลการประเมินอาจจะไปกระทบความรู้สึกของสถานศึกษา จึงทำให้รู้สึกเบียดเบียนเวลา และสร้างภาระให้แก่สถานศึกษา ทั้งที่ สมศ.ก็เปรียบเหมือนหน่วยงานที่ช่วยคุ้มครองบริโภค ถ้าสถานศึกษาด้อยคุณภาพ ไม่มีครู จะปล่อยให้สอนเด็กต่อได้อย่างไร อีกทั้งในกลุ่มประเทศอาเซียนก็มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ประเมินคุณภาพกันหมด หากไทยไม่มีหน่วยงานนี้จะเป็นคุณกับประเทศหรือไม่ก็ต้องลองคิดดู