สธ.โต้กลับหมอชนบทกล่าวหาใช้กรอบ MOC จัดสรรงบรายหัว สปสช.ทำ รพช.ได้รับงบน้อยลง ยันจัดสรรให้ รพช.ถึง 1,400 ล้านบาท รพศ./รพท.400 ล้านบาท ชี้ช่วยโรงพยาบาลขาดสภาพคล่องจากการมีค่าใช้จ่ายขั้นต่ำสูงกว่างบรายหัว

วันนี้ (12 พ.ย.) นพ.บัญชา ค้าของ ผู้อำนวยการสำนักบริหารกลาง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) ในฐานะผู้อำนวยการกลุ่มประกันสุขภาพ กล่าวถึงกรณีกลุ่มแพทย์ชนบทโจมตีเรื่องการจัดสรรงบตามค่าใช้จ่ายขั้นต่ำ (Minimal Operation Cost : MOC) ของ สธ.ทำให้โรงพยาบาลชุมชนได้รับผลกระทบ เพราะได้รับการจัดสรรงบรายหัว สปสช.ลดลง ว่า เรื่องนี้ไม่เป็นความจริง คาดว่าเกิดจากความเข้าใจผิด เพราะยังได้รับข้อมูลไม่ครบ โดยอาจจะเห็นเพียงยอดเงินเปรียบเทียบระหว่างค่าใช้จ่ายขั้นต่ำ (MOC) ของโรงพยาบาลปี 2557 ซึ่งนักวิชาการทางบัญชีประเมินจากบัญชีของโรงพยาบาลที่มีการบันทึกข้อมูลจริงกับงบเหมาจ่ายรายหัวปี 2557 จาก สปสช.ที่มีส่วนต่างถึง 8,000 ล้านบาท โดยพบว่า รพ.สังกัด สธ.มีค่าใช้จ่ายขั้นต่ำสูงกว่างบเหมาจ่ายรายหัว โดยจำนวน 6,000-7,000 ล้านบาท เป็นส่วนของโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ซึ่ง สธ.และ สปสช.หารือกันว่าจะช่วยโรงพยาบาลแก้ปัญหาด้วยการเพิ่มเงินให้ แต่คงยังไม่รู้วิธีการเติมเงิน ทำให้เข้าใจว่า สธ.จะเพิ่มเงินให้โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปมากกว่า
นพ.บัญชา กล่าวอีกว่า เบื้องต้น สปสช.จัดสรรวงเงิน 1,800 ล้านบาทแล้ว และบอร์ด สปสช.ก็มอบอำนาจให้ สธ.ดำเนินการเกลี่ยงบดังกล่าว โดยจะจัดสรรให้โรงพยาบาลชุมชน 1,400 ล้านบาท ที่ส่วนใหญ่จะประสบปัญหาไม่มีกำไร ส่วนโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปจัดสรรให้ 400 ล้านบาท เพราะส่วนใหญ่มีสถานะการเงินดี จึงมีศักยภาพที่จะนำเงินของโรงพยาบาลในส่วนอื่นมาแก้ปัญหาได้ แต่ต้องไม่กระทบการเงินของโรงพยาบาล และมีค่าจ้าง ค่าตอบแทนให้เจ้าหน้าที่อย่างเพียงพอ
“เกณฑ์การจัดสรรจะพิจารณาจากกรอบ MOC และประสิทธิภาพการบริหารของโรงพยาบาล เช่น โรงพยาบาลมีกรอบ MOC 600 ล้านบาท แต่พบว่าขาดประสิทธิภาพการบริหาร 200 ล้านบาท ก็จะได้รับจัดสรรเพียง 400 ล้านบาท เป็นต้น ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการประเมินประสิทธิภาพการบริหารของโรงพยาบาล คาดว่าจะสามารถจัดสรรงบรอบแรกได้ภายในวันที่ 30 พ.ย.ราว 400 ล้านบาท จากนั้นจะดำเนินการจัดสรรให้เพิ่มเติมเป็นรายไตรมาส เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง อย่างไรก็ตาม การใช้กรอบ MOC จัดสรรเงินไม่ได้เป็นการยกเลิกเกณฑ์การจัดสรรงบรายหัวของ สปสช.แต่จะใช้จัดสรรเพิ่มเติมให้กับโรงพยาบาลที่ได้รับเงินรายหัวน้อยกว่าค่าใช้จ่ายขั้นต่ำ เป็นคนละส่วน” นพ.บัญชา กล่าว
นพ.บัญชา กล่าวด้วยว่า สำหรับเงินบำรุงของโรงพยาบาลทั่วประเทศ มีราว 40,000 ล้านบาท แต่เมื่อหักหนี้จะเหลือเพียง 15,000-17,000 ล้านบาท และบางโรงพยาบาลติดลบ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรงพยาบาลชุมชน และอาจมีบางแห่งขาดสภาพคล่องทางการเงิน ทั้งนี้มีโรงพยาบาลที่อยู่ในการเฝ้าระวังทางการเงินระดับ 7 จำนวน 160-170 แห่ง คิดเป็น 15-20% เนื่องจากประชากรในพื้นที่น้อยจึงได้รับการจัดสรรงบประมาณเหมาจ่ายร่ายหัวต่ำ, มีโรงพยาบาลขนาดใหญ่ในพื้นที่ 2 แห่ง ทำให้มีบุคลากรจำนวนมาก งบรายหัวที่ได้รับเมื่อหักค่าเงินเดือน จึงเหลือเงินทำงานจริงน้อย เหล่านี้ทำให้ต้องใช้กรอบ MOC เข้าไปช่วยเหลือทางการเงินให้กับโรงพยาบาล
วันนี้ (12 พ.ย.) นพ.บัญชา ค้าของ ผู้อำนวยการสำนักบริหารกลาง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) ในฐานะผู้อำนวยการกลุ่มประกันสุขภาพ กล่าวถึงกรณีกลุ่มแพทย์ชนบทโจมตีเรื่องการจัดสรรงบตามค่าใช้จ่ายขั้นต่ำ (Minimal Operation Cost : MOC) ของ สธ.ทำให้โรงพยาบาลชุมชนได้รับผลกระทบ เพราะได้รับการจัดสรรงบรายหัว สปสช.ลดลง ว่า เรื่องนี้ไม่เป็นความจริง คาดว่าเกิดจากความเข้าใจผิด เพราะยังได้รับข้อมูลไม่ครบ โดยอาจจะเห็นเพียงยอดเงินเปรียบเทียบระหว่างค่าใช้จ่ายขั้นต่ำ (MOC) ของโรงพยาบาลปี 2557 ซึ่งนักวิชาการทางบัญชีประเมินจากบัญชีของโรงพยาบาลที่มีการบันทึกข้อมูลจริงกับงบเหมาจ่ายรายหัวปี 2557 จาก สปสช.ที่มีส่วนต่างถึง 8,000 ล้านบาท โดยพบว่า รพ.สังกัด สธ.มีค่าใช้จ่ายขั้นต่ำสูงกว่างบเหมาจ่ายรายหัว โดยจำนวน 6,000-7,000 ล้านบาท เป็นส่วนของโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ซึ่ง สธ.และ สปสช.หารือกันว่าจะช่วยโรงพยาบาลแก้ปัญหาด้วยการเพิ่มเงินให้ แต่คงยังไม่รู้วิธีการเติมเงิน ทำให้เข้าใจว่า สธ.จะเพิ่มเงินให้โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปมากกว่า
นพ.บัญชา กล่าวอีกว่า เบื้องต้น สปสช.จัดสรรวงเงิน 1,800 ล้านบาทแล้ว และบอร์ด สปสช.ก็มอบอำนาจให้ สธ.ดำเนินการเกลี่ยงบดังกล่าว โดยจะจัดสรรให้โรงพยาบาลชุมชน 1,400 ล้านบาท ที่ส่วนใหญ่จะประสบปัญหาไม่มีกำไร ส่วนโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปจัดสรรให้ 400 ล้านบาท เพราะส่วนใหญ่มีสถานะการเงินดี จึงมีศักยภาพที่จะนำเงินของโรงพยาบาลในส่วนอื่นมาแก้ปัญหาได้ แต่ต้องไม่กระทบการเงินของโรงพยาบาล และมีค่าจ้าง ค่าตอบแทนให้เจ้าหน้าที่อย่างเพียงพอ
“เกณฑ์การจัดสรรจะพิจารณาจากกรอบ MOC และประสิทธิภาพการบริหารของโรงพยาบาล เช่น โรงพยาบาลมีกรอบ MOC 600 ล้านบาท แต่พบว่าขาดประสิทธิภาพการบริหาร 200 ล้านบาท ก็จะได้รับจัดสรรเพียง 400 ล้านบาท เป็นต้น ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการประเมินประสิทธิภาพการบริหารของโรงพยาบาล คาดว่าจะสามารถจัดสรรงบรอบแรกได้ภายในวันที่ 30 พ.ย.ราว 400 ล้านบาท จากนั้นจะดำเนินการจัดสรรให้เพิ่มเติมเป็นรายไตรมาส เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง อย่างไรก็ตาม การใช้กรอบ MOC จัดสรรเงินไม่ได้เป็นการยกเลิกเกณฑ์การจัดสรรงบรายหัวของ สปสช.แต่จะใช้จัดสรรเพิ่มเติมให้กับโรงพยาบาลที่ได้รับเงินรายหัวน้อยกว่าค่าใช้จ่ายขั้นต่ำ เป็นคนละส่วน” นพ.บัญชา กล่าว
นพ.บัญชา กล่าวด้วยว่า สำหรับเงินบำรุงของโรงพยาบาลทั่วประเทศ มีราว 40,000 ล้านบาท แต่เมื่อหักหนี้จะเหลือเพียง 15,000-17,000 ล้านบาท และบางโรงพยาบาลติดลบ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรงพยาบาลชุมชน และอาจมีบางแห่งขาดสภาพคล่องทางการเงิน ทั้งนี้มีโรงพยาบาลที่อยู่ในการเฝ้าระวังทางการเงินระดับ 7 จำนวน 160-170 แห่ง คิดเป็น 15-20% เนื่องจากประชากรในพื้นที่น้อยจึงได้รับการจัดสรรงบประมาณเหมาจ่ายร่ายหัวต่ำ, มีโรงพยาบาลขนาดใหญ่ในพื้นที่ 2 แห่ง ทำให้มีบุคลากรจำนวนมาก งบรายหัวที่ได้รับเมื่อหักค่าเงินเดือน จึงเหลือเงินทำงานจริงน้อย เหล่านี้ทำให้ต้องใช้กรอบ MOC เข้าไปช่วยเหลือทางการเงินให้กับโรงพยาบาล