ชาวศิริราชกว่า 1,000 คน ทั้งหมอ พยาบาล เจ้าหน้าที่ และนักศึกษารวมตัวกันคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับสุดซอย พร้อมโห่ไล่รัฐบาลดังกระหึ่มโรงพยาบาล พบร่วมลงชื่อคัดค้านสูงถึง 8,000 รายชื่อ ด้านตัวแทนกลุ่ม 40 ส.ว.เดินทางมารับรายชื่อ พร้อมแสดงจุดยืนคัดค้านเช่นกัน ระบุรอลุ้นผล 11 พ.ย.นี้ จี้นายกฯ แสดงความจริงใจหากร่างไม่ผ่านต้องบังคับเพื่อไทยเลิกดันร่างนี้
วันนี้ (6 พ.ย.) เมื่อเวลา 17.30 น. ที่โรงพยาบาลศิริราช ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ นักศึกษาทุกภาควิชา และเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลกว่า 1,000 คน ต่างสวมชุดสีดำและสีขาว โดยออกมารวมตัวกันบริเวณลานพระรูปสมเด็จพระบรมราชชนก เพื่อแสดงการคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม นำโดย นพ.ดิฐกานต์ บริบูรณ์หิรัญสาร รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร พร้อมด้วยผู้บริหาร อาจารย์อาวุโส ศิษฐ์เก่าคณะแพทยศาสตร์ อาทิ นพ. วิศิษฏ์ วามวาณิชย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช รศ.นพ.เหลือพร ปุณณากานต์ กรรมการผู้จัดการศิริราชมูลนิธิ นพ.สุนทร แววมยุรา อดีตอาจารย์อาวุโสภาควิชานิติเวชศาสตร์ รศ.นพ.พันธุศักดิ์ ลักษณบุญส่ง รองคณบดีฝ่ายบริหาร นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล อดีตรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ทั้งนี้ ยังมีตัวแทนจากกลุ่ม 40 ส.ว. ได้แก่ นพ.เจตน์ ศิรชนานนท์ นายประสงศ์ศักดิ์ บุญเดช และนายประสงค์ นุศักดิ์ ได้มาร่วมกล่าวแสดงจุดยืนคัดค้านการออกร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม และรับรายชื่อบุคลากร รพ.ศิริราช ที่ลงนามคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมจำนวนกว่า 8,000 รายชื่อ นอกจากนี้ กลุ่มศิษย์เก่า ยังได้ตั้งโต๊ะเปิดให้บุคลากรได้ร่วมลงนามคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมที่บริเวณศาลาศิริราช 100 ปีด้วย ซึ่งมีคนทยอยมาร่วมลงนามต่อเนื่อง
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า บรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก มีตัวแทนแพทย์ พยาบาล ได้ออกมากล่าวแสดงจุดยืนไม่รับ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมชัดเจน รวมถึงมีการเป่านกหวีดแสดงการคัดค้านและโห่ร้องขับไล่รัฐบาล หากยังคงยืนยันที่จะเดินหน้าร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวด้วย
จากนั้น เวลา 17.50 น. นพ.วิศิษฎ์ วามวาณิชย์ ผู้อำนวยการ รพ.ศิริราช ได้อ่านแถลงการณ์คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง คัดค้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ว่า ตามที่สภาผู้แทนราษฎร ได้ผ่านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งเระทำความผิด เนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองขอวประชาชน พ.ศ. ... โดยแก้ไขเพิ่มเติมความมาตรา 3 ความบางส่วนว่า "ไม่ว่าผู้กระทำจะได้กระทำในเรื่องดังกล่าว ผู้สนับสนุนผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้ หากการกระทำนั้นผิดกฎหมาย ก็ให้ผู้กระทำนั้นพ้นจากความผิดโดนสิ้นเชิง..." การบัญญัติดังกล่าวข้างต้นจะไม่เพียงแค่เป็นการยกเว้นความผิดและโทษ ให้แก่ผู้เข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองโดยสงบเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการกระทำผิดตามกฎหมายอาญา และการทุจริตคอร์รัปชัน เป็นผลให้บุคคลใดๆ ที่กระทำความผิดกฎหมายอาญา การทุจริตคอร์รัปชัน พ้นจากความผิดโดยสมบูรณ์
ชาวศิริราช เห็นว่าร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับนี้ มีเนื้อหาที่เป็นการสร้างมาตรฐานที่ไม่ถูกต้องขึ้นในสังคมไทย เพราะจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า การทุจริตคอร์รัปชั่นมิใช่สิ่งผิด และสามารถหลุดพ้นจากความรับผิดไว้ด้วยการนิรโทษกรรม ซึ่งขักเต่อนิติรัฐ และหลักคุณธรรม จริยธรรมของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการคอร์รัปชัน และจะสร้างบรรทัดฐานที่ไม่ถูกต้อง
ชาวศิริราช ซึ่งเป็นบุคลากรในสังกัดมหาวิทยาลัยมหิดล ได้ดำเนินตามพันธกิจที่สำคัญของมหาวิทยาลัยในการสร้างบัณฑิตไทยรุ่นใหม่ ให้มีความรู้ความสามารถทางวิชาชีพ ควบคู่กับการมีจิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม โดยปลูกฝังค่านิยมของมหาวิทยาลัยให้แก่บัณฑิตที่จะออกไปเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยให้ดีขึ้น ร่างพ.ร.บ.นี้จึงขัดกับหลักธรรมาภิบาลที่มหาวิทยาลัยมหิดลยึดเป็นหลักในการดำเนินงานและปลูกฝังค่านิยมต่อนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัย
ชาวศิริราช จึงขอคัดค้านร่างพ.ร.บ.นี้ และขอให้สมาชิกวุฒิสภาใช้ดุลยพินิจไม่รับร่างพ.ร.บ.นี้ ตลอดจนขอเรียกร้องให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่สนับสนุนร่าง พ.ร.บ.นี้ ให้ออกมาแสดงความรับผิดชอบด้วย
นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ ส.ว.สรรหา และศิษย์เก่าศิริราช กล่าวว่า สำหรับขั้นตอนต่อจากนี้ ส.ว.จะมีการประชุมเพื่อพิจารณารับหลักการร่าง พ.ร.บ.นี้ ในวันที่ 11 พ.ย. ซึ่งไม่ว่าผลการประชุมจะเป้นอย่างไรก็คงต้องยอมรับ แต่หากที่ประชุมมีมติคว่ำร่างดังกล่าว ก็จะส่งกลับไปยังสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะเก็บร่างกฎหมายนี้ไว้ 6 เดือน เนื่องจากไม่ใช่กฎหมายการเงิน จากนั้นจะสามารถนำพิจารณาใหม่ได้ ถ้าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเกินกึ่งหนึ่งยืนยัน พ.ร.บ.นี้ก็สามารถทูลเกล้าฯ ได้ทันที ซึ่งน่ากังวลมาก และเพื่อความชัดเจน รัฐบาล โดยนายกรัฐมนตรีต้องแสดงความจริงใจ โดยออกมายืนยันว่าให้สมาชิกพรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ในสภาฯ ยกเลิกผ่านร่าง พ.ร.บ.นี้ รวมไปถึงร่างพ.ร.บ.ฉบับอื่น ที่ค้างอยู่อีก 4 ร่าง โดยต้องยกเลิกให้หมด
วันนี้ (6 พ.ย.) เมื่อเวลา 17.30 น. ที่โรงพยาบาลศิริราช ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ นักศึกษาทุกภาควิชา และเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลกว่า 1,000 คน ต่างสวมชุดสีดำและสีขาว โดยออกมารวมตัวกันบริเวณลานพระรูปสมเด็จพระบรมราชชนก เพื่อแสดงการคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม นำโดย นพ.ดิฐกานต์ บริบูรณ์หิรัญสาร รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร พร้อมด้วยผู้บริหาร อาจารย์อาวุโส ศิษฐ์เก่าคณะแพทยศาสตร์ อาทิ นพ. วิศิษฏ์ วามวาณิชย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช รศ.นพ.เหลือพร ปุณณากานต์ กรรมการผู้จัดการศิริราชมูลนิธิ นพ.สุนทร แววมยุรา อดีตอาจารย์อาวุโสภาควิชานิติเวชศาสตร์ รศ.นพ.พันธุศักดิ์ ลักษณบุญส่ง รองคณบดีฝ่ายบริหาร นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล อดีตรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ทั้งนี้ ยังมีตัวแทนจากกลุ่ม 40 ส.ว. ได้แก่ นพ.เจตน์ ศิรชนานนท์ นายประสงศ์ศักดิ์ บุญเดช และนายประสงค์ นุศักดิ์ ได้มาร่วมกล่าวแสดงจุดยืนคัดค้านการออกร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม และรับรายชื่อบุคลากร รพ.ศิริราช ที่ลงนามคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมจำนวนกว่า 8,000 รายชื่อ นอกจากนี้ กลุ่มศิษย์เก่า ยังได้ตั้งโต๊ะเปิดให้บุคลากรได้ร่วมลงนามคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมที่บริเวณศาลาศิริราช 100 ปีด้วย ซึ่งมีคนทยอยมาร่วมลงนามต่อเนื่อง
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า บรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก มีตัวแทนแพทย์ พยาบาล ได้ออกมากล่าวแสดงจุดยืนไม่รับ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมชัดเจน รวมถึงมีการเป่านกหวีดแสดงการคัดค้านและโห่ร้องขับไล่รัฐบาล หากยังคงยืนยันที่จะเดินหน้าร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวด้วย
จากนั้น เวลา 17.50 น. นพ.วิศิษฎ์ วามวาณิชย์ ผู้อำนวยการ รพ.ศิริราช ได้อ่านแถลงการณ์คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง คัดค้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ว่า ตามที่สภาผู้แทนราษฎร ได้ผ่านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งเระทำความผิด เนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองขอวประชาชน พ.ศ. ... โดยแก้ไขเพิ่มเติมความมาตรา 3 ความบางส่วนว่า "ไม่ว่าผู้กระทำจะได้กระทำในเรื่องดังกล่าว ผู้สนับสนุนผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้ หากการกระทำนั้นผิดกฎหมาย ก็ให้ผู้กระทำนั้นพ้นจากความผิดโดนสิ้นเชิง..." การบัญญัติดังกล่าวข้างต้นจะไม่เพียงแค่เป็นการยกเว้นความผิดและโทษ ให้แก่ผู้เข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองโดยสงบเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการกระทำผิดตามกฎหมายอาญา และการทุจริตคอร์รัปชัน เป็นผลให้บุคคลใดๆ ที่กระทำความผิดกฎหมายอาญา การทุจริตคอร์รัปชัน พ้นจากความผิดโดยสมบูรณ์
ชาวศิริราช เห็นว่าร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับนี้ มีเนื้อหาที่เป็นการสร้างมาตรฐานที่ไม่ถูกต้องขึ้นในสังคมไทย เพราะจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า การทุจริตคอร์รัปชั่นมิใช่สิ่งผิด และสามารถหลุดพ้นจากความรับผิดไว้ด้วยการนิรโทษกรรม ซึ่งขักเต่อนิติรัฐ และหลักคุณธรรม จริยธรรมของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการคอร์รัปชัน และจะสร้างบรรทัดฐานที่ไม่ถูกต้อง
ชาวศิริราช ซึ่งเป็นบุคลากรในสังกัดมหาวิทยาลัยมหิดล ได้ดำเนินตามพันธกิจที่สำคัญของมหาวิทยาลัยในการสร้างบัณฑิตไทยรุ่นใหม่ ให้มีความรู้ความสามารถทางวิชาชีพ ควบคู่กับการมีจิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม โดยปลูกฝังค่านิยมของมหาวิทยาลัยให้แก่บัณฑิตที่จะออกไปเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยให้ดีขึ้น ร่างพ.ร.บ.นี้จึงขัดกับหลักธรรมาภิบาลที่มหาวิทยาลัยมหิดลยึดเป็นหลักในการดำเนินงานและปลูกฝังค่านิยมต่อนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัย
ชาวศิริราช จึงขอคัดค้านร่างพ.ร.บ.นี้ และขอให้สมาชิกวุฒิสภาใช้ดุลยพินิจไม่รับร่างพ.ร.บ.นี้ ตลอดจนขอเรียกร้องให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่สนับสนุนร่าง พ.ร.บ.นี้ ให้ออกมาแสดงความรับผิดชอบด้วย
นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ ส.ว.สรรหา และศิษย์เก่าศิริราช กล่าวว่า สำหรับขั้นตอนต่อจากนี้ ส.ว.จะมีการประชุมเพื่อพิจารณารับหลักการร่าง พ.ร.บ.นี้ ในวันที่ 11 พ.ย. ซึ่งไม่ว่าผลการประชุมจะเป้นอย่างไรก็คงต้องยอมรับ แต่หากที่ประชุมมีมติคว่ำร่างดังกล่าว ก็จะส่งกลับไปยังสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะเก็บร่างกฎหมายนี้ไว้ 6 เดือน เนื่องจากไม่ใช่กฎหมายการเงิน จากนั้นจะสามารถนำพิจารณาใหม่ได้ ถ้าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเกินกึ่งหนึ่งยืนยัน พ.ร.บ.นี้ก็สามารถทูลเกล้าฯ ได้ทันที ซึ่งน่ากังวลมาก และเพื่อความชัดเจน รัฐบาล โดยนายกรัฐมนตรีต้องแสดงความจริงใจ โดยออกมายืนยันว่าให้สมาชิกพรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ในสภาฯ ยกเลิกผ่านร่าง พ.ร.บ.นี้ รวมไปถึงร่างพ.ร.บ.ฉบับอื่น ที่ค้างอยู่อีก 4 ร่าง โดยต้องยกเลิกให้หมด