สธ.ยันไม่มีงานวิจัยชี้ชัดว่า “กินไข่” ทำให้เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด แนะควรกินไข่ทุกวันสำหรับเด็กอายุ 7 เดือนขึ้น ผู้ใหญ่ 3-5 ฟองต่อสัปดาห์ ชี้กินร่วมกับผักผลไม้ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลได้ เตือนเลี่ยงกินกับเบคอน ไส้กรอก ชูไข่ต้ม ไข่ตุ๋น ไข่พะโล้ ไขมันน้อยกว่า ไข่ดาว ไข่เจียว ไข่ลูกเขย
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ไข่เป็นอาหารที่มีคุณค่า หาได้ง่าย และเหมาะสมสำหรับทุกเพศ ทุกวัย เพราะนอกจากจะให้โปรตีนที่สมบูรณ์แล้ว ยังมีไขมัน ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส วิตามินบี 12 วิตามินเอ วิตามินดี และเลซิตินที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกาย ซึ่งการปรุงอาหารประเภทไข่สามารถทำได้ง่ายและสารพัดเมนู หากให้เด็กอายุตั้งแต่ 7 เดือนเต็มขึ้นไปจนถึงวัยเรียนกินไข่วันละ 1 ฟอง ส่วนผู้ใหญ่ที่มีภาวะโภชนาการปกติควรกินไข่ 3-5 ฟองต่อสัปดาห์ ส่วนกลุ่มคอเลสเตอรอลสูง อาจกินสัปดาห์ละ 1-2 ฟอง หรือกินแต่ไข่ขาว หรือตามคำแนะนำของแพทย์ ก็จะช่วยให้มีสุขภาพดี
นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า ผู้บริโภคควรกินไข่ควบคู่กับอาหารที่หลากหลายในแต่ละมื้อ โดยให้มีอาหารประเภทแป้ง ธัญพืช เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ ครบทั้ง 5 หมู่ในปริมาณที่เหมาะสม โดยเฉพาะผักและผลไม้สด จะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไขมันส่วนเกินให้เป็นปกติ ซึ่งกากใยอาหารที่ได้รับจากการกินผักและผลไม้จะช่วยดูดซับสารที่ช่วยทำให้ไขมันมีขนาดเล็กลงบางส่วนที่อยู่ในทางเดินอาหารออกจากร่างกาย ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำไขมันไปใช้ได้ ทำให้ลดการส่งผลที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ อาทิ โรคอ้วน โรคหัวใจและหลอดเลือดตามมาได้ นอกจากนี้ ในกรณีที่พ่อแม่ต้องการให้เด็กได้กินไข่ทุกวัน และไม่เบื่อนั้นควรใช้วิธีการประกอบอาหารที่มีการใส่ผักลงไปในไข่ ยังเป็นการจูงใจให้เด็กกินผักได้อีกทางหนึ่ง แทนที่จะเป็นผักล้วนๆ ก็ควรปรุงไปกับไข่ เช่น ไข่เจียว หรือไข่ตุ๋นใส่ผักสับละเอียด โดยจะช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกายแก่เด็ก
“ที่สำคัญควรเลี่ยงการกินไข่ดิบ เพราะถ้าไข่ไม่สุกอาจปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ และไข่ขาวที่ไม่สุกจะขัดขวางการดูดซึมไบโอติน ทำให้ย่อยยากจึงได้รับประโยชน์ ไม่เต็มที่ การบริโภคไข่ควรบริโภคในรูปแบบไข่ต้ม ไข่ตุ๋น ไข่พะโล้ จะมีประมาณไขมันน้อยกว่าไข่ดาว ไข่เจียว และไข่ลูกเขย การปรุงอาหารควรใช้น้ำมันที่ไม่อิ่มตัว อาจกินเป็นสลัดไข่ ยำไข่ เพราะจะทำให้ได้สารจากไข่ และได้ไฟเบอร์และวิตามินซีจากผัก และผลไม้” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
นพ.พรเทพ กล่าวด้วยว่า อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงคือ ขนมปังไข่ดาวใส่เบคอน หรือไส้กรอก เพราะจะได้รับปริมาณไขมันสูงมากจากเบคอน น้ำมันที่ใช้ทอด และเนยที่ทาขนมปัง สำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องฟันที่ไม่สามารถทานอาหารโปรตีนอื่นได้ โดยแนะนำให้ให้กินไข่เป็นแหล่งของโปรตีนแทนเนื้อสัตว์ ในคนสูงอายุถ้ามีปัญหาเรื่องไขมันในเลือดสูงในบางมื้ออาจหลีกเลี่ยงการกินไข่แดง
“สำหรับความเชื่อที่ว่าไข่มีคอเลสเตอรอลสูง ส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น โรคหัวใจ ซึ่งการหลีกเลี่ยงไม่ให้ร่างกายมีคอเลสเตอรอลสูงไม่ได้อยู่ที่การลดหรืองดกินไข่ แต่ผู้บริโภคต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ ควบคู่กับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดไขมันส่วนเกินและควบคุมระดับคอเลสเตอรอลได้ และควรตรวจร่างกายเป็นประจำ เพื่อควบคุมและป้องกันปริมาณส่วนเกินของไขมันในเลือด ที่สำคัญยังไม่มีงานวิจัยใดที่ระบุว่าไข่คือสาเหตุหลักของโรคหัวใจและหลอดเลือด ดังนั้น การกินไข่ร่วมกับอาหารชนิดอื่น อย่างเหมาะสม จะช่วยเสริมคุณค่าสารอาหารตามที่ร่างกายต้องการได้” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ไข่เป็นอาหารที่มีคุณค่า หาได้ง่าย และเหมาะสมสำหรับทุกเพศ ทุกวัย เพราะนอกจากจะให้โปรตีนที่สมบูรณ์แล้ว ยังมีไขมัน ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส วิตามินบี 12 วิตามินเอ วิตามินดี และเลซิตินที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกาย ซึ่งการปรุงอาหารประเภทไข่สามารถทำได้ง่ายและสารพัดเมนู หากให้เด็กอายุตั้งแต่ 7 เดือนเต็มขึ้นไปจนถึงวัยเรียนกินไข่วันละ 1 ฟอง ส่วนผู้ใหญ่ที่มีภาวะโภชนาการปกติควรกินไข่ 3-5 ฟองต่อสัปดาห์ ส่วนกลุ่มคอเลสเตอรอลสูง อาจกินสัปดาห์ละ 1-2 ฟอง หรือกินแต่ไข่ขาว หรือตามคำแนะนำของแพทย์ ก็จะช่วยให้มีสุขภาพดี
นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า ผู้บริโภคควรกินไข่ควบคู่กับอาหารที่หลากหลายในแต่ละมื้อ โดยให้มีอาหารประเภทแป้ง ธัญพืช เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ ครบทั้ง 5 หมู่ในปริมาณที่เหมาะสม โดยเฉพาะผักและผลไม้สด จะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไขมันส่วนเกินให้เป็นปกติ ซึ่งกากใยอาหารที่ได้รับจากการกินผักและผลไม้จะช่วยดูดซับสารที่ช่วยทำให้ไขมันมีขนาดเล็กลงบางส่วนที่อยู่ในทางเดินอาหารออกจากร่างกาย ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำไขมันไปใช้ได้ ทำให้ลดการส่งผลที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ อาทิ โรคอ้วน โรคหัวใจและหลอดเลือดตามมาได้ นอกจากนี้ ในกรณีที่พ่อแม่ต้องการให้เด็กได้กินไข่ทุกวัน และไม่เบื่อนั้นควรใช้วิธีการประกอบอาหารที่มีการใส่ผักลงไปในไข่ ยังเป็นการจูงใจให้เด็กกินผักได้อีกทางหนึ่ง แทนที่จะเป็นผักล้วนๆ ก็ควรปรุงไปกับไข่ เช่น ไข่เจียว หรือไข่ตุ๋นใส่ผักสับละเอียด โดยจะช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกายแก่เด็ก
“ที่สำคัญควรเลี่ยงการกินไข่ดิบ เพราะถ้าไข่ไม่สุกอาจปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ และไข่ขาวที่ไม่สุกจะขัดขวางการดูดซึมไบโอติน ทำให้ย่อยยากจึงได้รับประโยชน์ ไม่เต็มที่ การบริโภคไข่ควรบริโภคในรูปแบบไข่ต้ม ไข่ตุ๋น ไข่พะโล้ จะมีประมาณไขมันน้อยกว่าไข่ดาว ไข่เจียว และไข่ลูกเขย การปรุงอาหารควรใช้น้ำมันที่ไม่อิ่มตัว อาจกินเป็นสลัดไข่ ยำไข่ เพราะจะทำให้ได้สารจากไข่ และได้ไฟเบอร์และวิตามินซีจากผัก และผลไม้” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
นพ.พรเทพ กล่าวด้วยว่า อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงคือ ขนมปังไข่ดาวใส่เบคอน หรือไส้กรอก เพราะจะได้รับปริมาณไขมันสูงมากจากเบคอน น้ำมันที่ใช้ทอด และเนยที่ทาขนมปัง สำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องฟันที่ไม่สามารถทานอาหารโปรตีนอื่นได้ โดยแนะนำให้ให้กินไข่เป็นแหล่งของโปรตีนแทนเนื้อสัตว์ ในคนสูงอายุถ้ามีปัญหาเรื่องไขมันในเลือดสูงในบางมื้ออาจหลีกเลี่ยงการกินไข่แดง
“สำหรับความเชื่อที่ว่าไข่มีคอเลสเตอรอลสูง ส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น โรคหัวใจ ซึ่งการหลีกเลี่ยงไม่ให้ร่างกายมีคอเลสเตอรอลสูงไม่ได้อยู่ที่การลดหรืองดกินไข่ แต่ผู้บริโภคต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ ควบคู่กับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดไขมันส่วนเกินและควบคุมระดับคอเลสเตอรอลได้ และควรตรวจร่างกายเป็นประจำ เพื่อควบคุมและป้องกันปริมาณส่วนเกินของไขมันในเลือด ที่สำคัญยังไม่มีงานวิจัยใดที่ระบุว่าไข่คือสาเหตุหลักของโรคหัวใจและหลอดเลือด ดังนั้น การกินไข่ร่วมกับอาหารชนิดอื่น อย่างเหมาะสม จะช่วยเสริมคุณค่าสารอาหารตามที่ร่างกายต้องการได้” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว