สธ.สั่งโรงพยาบาลแนวชายแดนไทย-กัมพูชา เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน สั่งสำรองเลือด ห้องผ่าตัด บุคลากร ยาเวชภัณฑ์เต็มพิกัด โดยเฉพาะที่โรงพยาบาลด่านหน้า 3 แห่ง คือกันทรลักษ์ ขุนหาญ และภูสิงห์ เชื่อความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา ไม่มีปัญหา
วันนี้ (9 พ.ย.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังตรวจเยี่ยม รพ.กันทรลักษ์ และ รพ.ศรีสะเกษ จ.ศรีสะเกษ เพื่อติดตามความพร้อมด้านการแพทย์และสาธารณสุข ในการรับมือสถานการณ์อุบัติภัยและภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา และให้กำลังใจประชาชนหมู่บ้านภูมิซรอล ว่า การเดินทางมาในครั้งนี้ เพื่อให้กำลังใจประชาชนและติดตามความพร้อมการแพทย์และสาธารณสุขของโรงพยาบาลตามชายแดน ในการบริการประชาชน ในภาวะปกติและการรับมือหากเกิดสถานการณ์ภัยพิบัติทุกประเภท เพื่อดูแลช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มที่และรวดเร็วที่สุด โดยได้มอบให้สถานพยาบาลใน จ.ศรีสะเกษ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ติดบริเวณเขาพระวิหาร มีพรมแดนติดกัมพูชาเป็นระยะทาง 127 กิโลเมตร มีโรงพยาบาลทั้งหมด 19 แห่ง ให้เตรียมความพร้อมในการดูแลรักษาผู้บาดเจ็บหรือเจ็บป่วย รวมทั้งการดูแลทางกายภาพให้พร้อมตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งแต่วันที่ 9-30 พ.ย.
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า ตนให้จัดเตรียมระบบการแพทย์ฉุกเฉินที่โรงพยาบาล 3 แห่ง คือ รพ.กันทรลักษ์ รพ.ขุนหาญ และ รพ.ภูสิงห์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลด่านหน้าของไทยที่อยู่ติดแนวชายแดนให้เตรียมแผนความพร้อมรับเหตุ จัดเตรียมสถานที่ห้องฉุกเฉิน ห้องผ่าตัด บุคลากร ยาเวชภัณฑ์ คลังเลือด เตียงผู้ป่วย ระบบสื่อสารให้พร้อมปฏิบัติงานตลอดเวลา มีโรงพยาบาลร่วมเครือข่ายอีก 14 แห่ง โดยตั้งศูนย์ประสานงานด้านการแพทย์ฉุกเฉินที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ศรีสะเกษ
“สำหรับ รพ.กันทรลักษ์ อยู่ห่างผามออีแดงประมาณ 30 กิโลเมตร จะเป็นศูนย์ประสานงานรับแจ้งเหตุการณ์จากกองกำลังสุรนารี ได้เตรียมความพร้อมบุคลากรทางการแพทย์ ระดมรถพยาบาลฉุกเฉิน 20 คัน ภายใน 1 ชั่วโมง สำรองคลังเลือด 200 ยูนิต มีห้องผ่าตัด 4 ห้อง เป็นจุดรักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บจากภาคสนาม และส่งต่อผู้ป่วยหนักไปยังโรงพยาบาล 5 แห่ง คือ รพ.ศรีสะเกษ รพ.สรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี รพ.ค่ายสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี รพ.ค่ายวีรวัฒน์โยธิน จ.สุรินทร์ และ รพ.ค่ายสุรนารี จ.นครราชสีมา สำรองเลือดไว้ผ่าตัด 400 ยูนิต ห้องผ่าตัด 3 ห้อง ไอ.ซี.ยู.3 ห้อง ห้องผู้ป่วยศัลยกรรม 31 เตียง ห้องพิเศษ 3 ห้อง สำหรับผู้ป่วยฉุกเฉิน และผู้ป่วยทั่วไปยังให้บริการตามปกติ จากการตรวจเยี่ยมทุกแห่งมีความพร้อมเต็มที่ และเชื่อมั่นว่าจากความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทย-กัมพูชา จะไม่มีปัญหาเกิดขึ้น” รมว.สาธารณสุข กล่าว
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า ในส่วนกลาง สธ.ได้ตั้งศูนย์ปฏิบัติการด้านการแพทย์และการสาธารณสุข ที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยมอบหมายให้ นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัด สธ.เป็นหัวหน้าศูนย์ เพื่อประสานให้ความช่วยเหลือสนับสนุนตามที่โรงพยาบาลในพื้นที่จังหวัดชายแดนไทย-กัมพูชา มีความต้องการ ซึ่งนอกจากพื้นที่ จ.ศรีสะเกษ แล้ว ยังได้สั่งการให้โรงพยาบาลในพื้นที่ใกล้เคียง เช่น สุรินทร์ บุรีรัมย์ เตรียมพร้อมสนับสนุนบริการด้านการแพทย์อย่างเต็มที่ด้วย
วันนี้ (9 พ.ย.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังตรวจเยี่ยม รพ.กันทรลักษ์ และ รพ.ศรีสะเกษ จ.ศรีสะเกษ เพื่อติดตามความพร้อมด้านการแพทย์และสาธารณสุข ในการรับมือสถานการณ์อุบัติภัยและภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา และให้กำลังใจประชาชนหมู่บ้านภูมิซรอล ว่า การเดินทางมาในครั้งนี้ เพื่อให้กำลังใจประชาชนและติดตามความพร้อมการแพทย์และสาธารณสุขของโรงพยาบาลตามชายแดน ในการบริการประชาชน ในภาวะปกติและการรับมือหากเกิดสถานการณ์ภัยพิบัติทุกประเภท เพื่อดูแลช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มที่และรวดเร็วที่สุด โดยได้มอบให้สถานพยาบาลใน จ.ศรีสะเกษ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ติดบริเวณเขาพระวิหาร มีพรมแดนติดกัมพูชาเป็นระยะทาง 127 กิโลเมตร มีโรงพยาบาลทั้งหมด 19 แห่ง ให้เตรียมความพร้อมในการดูแลรักษาผู้บาดเจ็บหรือเจ็บป่วย รวมทั้งการดูแลทางกายภาพให้พร้อมตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งแต่วันที่ 9-30 พ.ย.
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า ตนให้จัดเตรียมระบบการแพทย์ฉุกเฉินที่โรงพยาบาล 3 แห่ง คือ รพ.กันทรลักษ์ รพ.ขุนหาญ และ รพ.ภูสิงห์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลด่านหน้าของไทยที่อยู่ติดแนวชายแดนให้เตรียมแผนความพร้อมรับเหตุ จัดเตรียมสถานที่ห้องฉุกเฉิน ห้องผ่าตัด บุคลากร ยาเวชภัณฑ์ คลังเลือด เตียงผู้ป่วย ระบบสื่อสารให้พร้อมปฏิบัติงานตลอดเวลา มีโรงพยาบาลร่วมเครือข่ายอีก 14 แห่ง โดยตั้งศูนย์ประสานงานด้านการแพทย์ฉุกเฉินที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ศรีสะเกษ
“สำหรับ รพ.กันทรลักษ์ อยู่ห่างผามออีแดงประมาณ 30 กิโลเมตร จะเป็นศูนย์ประสานงานรับแจ้งเหตุการณ์จากกองกำลังสุรนารี ได้เตรียมความพร้อมบุคลากรทางการแพทย์ ระดมรถพยาบาลฉุกเฉิน 20 คัน ภายใน 1 ชั่วโมง สำรองคลังเลือด 200 ยูนิต มีห้องผ่าตัด 4 ห้อง เป็นจุดรักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บจากภาคสนาม และส่งต่อผู้ป่วยหนักไปยังโรงพยาบาล 5 แห่ง คือ รพ.ศรีสะเกษ รพ.สรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี รพ.ค่ายสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี รพ.ค่ายวีรวัฒน์โยธิน จ.สุรินทร์ และ รพ.ค่ายสุรนารี จ.นครราชสีมา สำรองเลือดไว้ผ่าตัด 400 ยูนิต ห้องผ่าตัด 3 ห้อง ไอ.ซี.ยู.3 ห้อง ห้องผู้ป่วยศัลยกรรม 31 เตียง ห้องพิเศษ 3 ห้อง สำหรับผู้ป่วยฉุกเฉิน และผู้ป่วยทั่วไปยังให้บริการตามปกติ จากการตรวจเยี่ยมทุกแห่งมีความพร้อมเต็มที่ และเชื่อมั่นว่าจากความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทย-กัมพูชา จะไม่มีปัญหาเกิดขึ้น” รมว.สาธารณสุข กล่าว
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า ในส่วนกลาง สธ.ได้ตั้งศูนย์ปฏิบัติการด้านการแพทย์และการสาธารณสุข ที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยมอบหมายให้ นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัด สธ.เป็นหัวหน้าศูนย์ เพื่อประสานให้ความช่วยเหลือสนับสนุนตามที่โรงพยาบาลในพื้นที่จังหวัดชายแดนไทย-กัมพูชา มีความต้องการ ซึ่งนอกจากพื้นที่ จ.ศรีสะเกษ แล้ว ยังได้สั่งการให้โรงพยาบาลในพื้นที่ใกล้เคียง เช่น สุรินทร์ บุรีรัมย์ เตรียมพร้อมสนับสนุนบริการด้านการแพทย์อย่างเต็มที่ด้วย