สธ.เตือนคนแห่เที่ยวภาคเหนือ เตรียมเครื่องกันหนาวให้พร้อม เน้นย้ำสร้างความอบอุ่นร่างกายบริเวณ หัว คอ และหน้าอก ห้ามดื่มเหล้าคลายหนาวและจุดไฟเพิ่มความอบอุ่นในเต็นท์ ชี้เสี่ยงตายแบบไม่รู้ตัวได้ทั้ง 2 กรณี แนะดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อรักษาความชุ่มชื้นผิว ออกกำลังกายเพิ่มภูมิต้านทานโรค และรักษาความอบอุ่นร่างกาย
วันนี้ (7 พ.ย.) พญ.พรรณพิมล วิปุลากร โฆษกกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า เรื่องที่น่าเป็นห่วงในช่วงฤดูหนาว ซึ่งมักเป็นข่าวทุกปีคือ 1.ความเชื่อเรื่องการดื่มสุราจะช่วยแก้หนาวได้ เพราะดื่มแล้วร่างกายอบอุ่น จึงไม่สวมเสื้อกันหนาว ซึ่งไม่เป็นความจริงและเป็นเรื่องที่อันตราย โดยในช่วงแรกหลังดื่มสุราจะรู้สึกร้อนวูบวาบ ซึ่งเกิดจากเส้นเลือดฝอยใต้ผิวหนังขยายตัว ผลที่ตามมาที่ประชาชนคิดไม่ถึงคือร่างกายจะสูญเสียความร้อนและน้ำออกทางผิวหนังอย่างรวดเร็ว อุณหภูมิในร่างกายลดต่ำลง หากดื่มเข้าไปมากแอลกอฮอล์จะออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง ทำให้เมาจนหลับไปโดยไม่ได้ดูแลร่างกายอบอุ่นอย่างเพียงพอ ทำให้เสียชีวิตจากภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำได้ และมักพบในผู้ที่มีประวัติดื่มสุราเป็นประจำเกือบทุกปี
พญ.พรรณพิมล กล่าวอีกว่า 2.ไม่ควรผิงไฟ โดยการนำเตาถ่านหรือตะเกียงน้ำมันก๊าดเข้าไปจุดให้ความอบอุ่นในเต็นท์ เนื่องจากในควันไฟที่เกิดจากการเผาไหม้ จะมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ เมื่อผู้ที่อยู่ในเต็นท์หายใจเอาก๊าซ 2 ชนิดนี้เข้าไป จะทำให้เซลล์ของอวัยวะต่างๆ ขาดออกซิเจนไปเลี้ยง โดยเฉพาะสมอง ทำให้เกิดอาการง่วง หลับโดยไม่รู้ตัว และเสียชีวิตได้
“ผู้ที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวและพักแรมในเต็นท์ ควรเตรียมเครื่องกันหนาวไปให้พร้อม เช่น ถุงนอน ผ้าปูรองพื้นเต็นท์ ผ้าห่ม เสื้อกันหนาว เพื่อให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายอย่างเพียงพอ จุดที่จะต้องดูแลให้ความอบอุ่นเป็นพิเศษคือ ศีรษะ คอ และหน้าอก เนื่องจากมีเส้นเลือดใหญ่อยู่ใกล้ผิวหนังและไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญคือสมอง หัวใจ หากสัมผัสอากาศเย็นมากเป็นเวลานาน เส้นเลือดจะหดตัว เลือดไหลเวียนช้าลง อาจทำให้อวัยวะขาดเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยง เป็นอันตรายได้” โฆษก สธ.กล่าว
พญ.พรรณพิมล กล่าวด้วยว่า สิ่งที่ประชาชนควรปฏิบัติในช่วงฤดูหนาวเพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรงคือ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ประเภทแป้งและไขมัน เช่น ข้าว ก๋วยเตี๋ยว เนื้อสัตว์ติดมัน เพื่อช่วยสร้างความอบอุ่นแก่ร่างกาย หากเป็นเด็กทารกควรให้กินนมแม่ เพราะนอกจากเด็กจะได้รับภูมิต้านทานโรคจากนมแม่แล้ว การที่แม่กอดลูกขณะกินนมยังสร้างความอบอุ่นให้กับเด็กด้วย ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นผิวหนัง ทำให้ริมฝีปากและผิวหนังไม่แห้งแตก ทาโลชั่นป้องกันผิวแห้ง และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละอย่างน้อย 3 วัน วันละไม่ต่ำกว่า 30 นาที เพื่อสร้างภูมิต้านทานร่างกาย
วันนี้ (7 พ.ย.) พญ.พรรณพิมล วิปุลากร โฆษกกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า เรื่องที่น่าเป็นห่วงในช่วงฤดูหนาว ซึ่งมักเป็นข่าวทุกปีคือ 1.ความเชื่อเรื่องการดื่มสุราจะช่วยแก้หนาวได้ เพราะดื่มแล้วร่างกายอบอุ่น จึงไม่สวมเสื้อกันหนาว ซึ่งไม่เป็นความจริงและเป็นเรื่องที่อันตราย โดยในช่วงแรกหลังดื่มสุราจะรู้สึกร้อนวูบวาบ ซึ่งเกิดจากเส้นเลือดฝอยใต้ผิวหนังขยายตัว ผลที่ตามมาที่ประชาชนคิดไม่ถึงคือร่างกายจะสูญเสียความร้อนและน้ำออกทางผิวหนังอย่างรวดเร็ว อุณหภูมิในร่างกายลดต่ำลง หากดื่มเข้าไปมากแอลกอฮอล์จะออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง ทำให้เมาจนหลับไปโดยไม่ได้ดูแลร่างกายอบอุ่นอย่างเพียงพอ ทำให้เสียชีวิตจากภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำได้ และมักพบในผู้ที่มีประวัติดื่มสุราเป็นประจำเกือบทุกปี
พญ.พรรณพิมล กล่าวอีกว่า 2.ไม่ควรผิงไฟ โดยการนำเตาถ่านหรือตะเกียงน้ำมันก๊าดเข้าไปจุดให้ความอบอุ่นในเต็นท์ เนื่องจากในควันไฟที่เกิดจากการเผาไหม้ จะมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ เมื่อผู้ที่อยู่ในเต็นท์หายใจเอาก๊าซ 2 ชนิดนี้เข้าไป จะทำให้เซลล์ของอวัยวะต่างๆ ขาดออกซิเจนไปเลี้ยง โดยเฉพาะสมอง ทำให้เกิดอาการง่วง หลับโดยไม่รู้ตัว และเสียชีวิตได้
“ผู้ที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวและพักแรมในเต็นท์ ควรเตรียมเครื่องกันหนาวไปให้พร้อม เช่น ถุงนอน ผ้าปูรองพื้นเต็นท์ ผ้าห่ม เสื้อกันหนาว เพื่อให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายอย่างเพียงพอ จุดที่จะต้องดูแลให้ความอบอุ่นเป็นพิเศษคือ ศีรษะ คอ และหน้าอก เนื่องจากมีเส้นเลือดใหญ่อยู่ใกล้ผิวหนังและไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญคือสมอง หัวใจ หากสัมผัสอากาศเย็นมากเป็นเวลานาน เส้นเลือดจะหดตัว เลือดไหลเวียนช้าลง อาจทำให้อวัยวะขาดเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยง เป็นอันตรายได้” โฆษก สธ.กล่าว
พญ.พรรณพิมล กล่าวด้วยว่า สิ่งที่ประชาชนควรปฏิบัติในช่วงฤดูหนาวเพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรงคือ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ประเภทแป้งและไขมัน เช่น ข้าว ก๋วยเตี๋ยว เนื้อสัตว์ติดมัน เพื่อช่วยสร้างความอบอุ่นแก่ร่างกาย หากเป็นเด็กทารกควรให้กินนมแม่ เพราะนอกจากเด็กจะได้รับภูมิต้านทานโรคจากนมแม่แล้ว การที่แม่กอดลูกขณะกินนมยังสร้างความอบอุ่นให้กับเด็กด้วย ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นผิวหนัง ทำให้ริมฝีปากและผิวหนังไม่แห้งแตก ทาโลชั่นป้องกันผิวแห้ง และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละอย่างน้อย 3 วัน วันละไม่ต่ำกว่า 30 นาที เพื่อสร้างภูมิต้านทานร่างกาย