มธ.รุ่นเก๋า-รุ่นใหม่ตบเท้า-เป่านกหวีด เดินแสดงพลังคัดค้าน “นิรโทษกรรม” ลั่นแม้ “ยิ่งลักษณ์” แถลงถอยก็ไม่วางใจ จวกอย่าโกหกซ้ำสองหรือสร้างตราบาปซ้ำสองอีก ขณะที่ “สุรินทร์ พิศสุวรรณ” อดีตเลขาธิการอาเซียน ขึ้นเวทีร่วมปราศรัยชี้คนไทยไม่ต้องการรัฐบาลทรราชย์ ระบุต่างชาติจับตามองประเทศไทย เปรียบเทียบรัฐบาลไทยเหมือนเผด็จการที่มาจากการเลือกตั้ง
วันที่ 7 พ.ย.ที่บริเวณสนามหญ้าด้านหน้าฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ท่าพระจันทร์ ได้มีการชุมนุมของกลุ่มประชาคมศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน มธ.คณาจารย์ รวมตัวกันเพื่อแสดงพลังต่อต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม บริเวณหน้าตึกโดม และกระจายล้นไปยังสนามฟุตบอลและบริเวณหน้าตึกคณะวารสารศาสตร์ โดยครั้งนี้มีศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันมาร่วมจำนวนกว่า 5,000 คน และผู้มีชื่อเสียงในแวดวงการเมือง อาทิ ดร.สุริทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน, ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อดีตอธิการ มธ., นายอภิชาติ ดำดี ศิษย์เก่า มธ.รุ่นที่ 21, ดร.เฉลิมชัย วศีนนท์ อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ศิษย์เก่า มธ.นายมานิจ สุขสมจิตร อดีตประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีจากแวดวงดารา-นักแสดง อาทิ เชอรี่-เข็มอัปสร สิริสุขขะ, หน่อย-บุษกร วงศ์พัวพัน, ต้อ-มารุต สาโรวาท ผู้กำกับและผู้จัดละคร เป็นต้น มาร่วมกิจกรรมของกลุ่มศิษย์เก่าและร่วมเดินขบวนแสดงพลังคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กิจกรรมที่ มธ.ดำเนินการตั้งแต่ช่วงเช้า เวลา 09.00 น.นายอภิชาติ ดำดี ศิษย์เก่า มธ.รุ่นที่ 21 โดยได้ขึ้นปราศรัยบนเวที และบรรยากาศเริ่มคึกคักต่อเนื่อง เมื่อศิษย์เก่า มธ.มีชื่อเสียงที่ต่างสลับหมุนเวียนขึ้นมาปราศรัย จากนั้น สร้างบรรยากาศเริ่มคึกคักขึ้นอย่างต่อเนื่องและได้มีการอ่านแถลงการณ์ต่อต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม มีเนื้อหา ดังนี้
ตามที่สภาผู้แทนราษฎร ได้ผ่านร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรม วาระ 2 และ 3 ไปเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2556 ดังที่ทราบกันโดยทั่วไปและเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับนี้ ขัดต่อหลักนิติธรรม ล้มล้างกระบวนการยุติธรรมและจงใจเร่งรัดให้ผ่านร่างโดยเร็วเกินกว่าปกติ โดยไม่สนใจเสียงท้วงติงจากสังคม เป็นเหตุให้เกิดแรงคัดค้านต่อต้านจากประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ เรือนแสนเรือนล้านในเวลาเพียง 3-4 วันอย่างไม่เคยมีมาก่อน นับจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ในนามประชาคมและศิษย์เก่า มธ.มีความเห็นต่อกรณีนี้ ดังนี้ 1.รัฐบาลได้สร้างตราบาปต่อระบบรัฐสภาด้วยการใช้เสียงข้างมากอย่างไร้สำนึก ด้วยหลงผิดคิดว่าเสียงข้างมากและสามารถทำอะไรก็ได้ แม้กระทั่งทำเรื่องผิดกฎหมายให้ถูกกฎหมายก็ได้ 2.ได้สร้างวิกฤตศรัทธาและวิกฤตความเชื่อถือต่อนักการเมืองและสังคมการเมืองไทยในสายตาประชาชนหนักหน่วงมากขึ้นไปอีก ซึ่งโดยปกติมีอาการหนักหน่วงอยู่แล้ว 3.ได้ใช้อำนาจที่ประชาชนลงคะแนนเสียงเลือกท่านมาในทางที่ผิดหลักนิติธรรมอย่างมหันต์ด้วยการใช้อำนาจนั้นไปก้าวก่ายและล้มล้างกระบวนการยุติธรรม บ่งบอกว่ากำลัง “เหลิงในอำนาจ” จนมองข้ามเจ้าของอำนาจที่แท้จริง และ 4.มีพฤติกรรมโกหกหลายครั้งหลายหน นับเฉพาะในกรณีการร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับนี้เพียงเพื่อต้องการชิงไหวชิงพริบและเอาชนะทางการเมือง โดยอ้างการสร้างความปรองดองบังหน้า แม้ว่าทั้งนายกรัฐมนตรีซึ่งมาจากพรรคเพื่อไทย (พท.) เลขาธิการ พท.ซึ่งมีเสียงข้างมากในสภาจะออกมาแถลงว่า จะไม่ผ่านร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ในเวลาไล่เลี่ยกันก็ตาม แต่ตราบาปทั้ง 4 ข้อตามที่กล่าวมายังไม่อาจทำให้ประชาชนคลายความคลางแคลงใจหรือไว้วางใจได้ว่า การประกาศแถลงในครั้งนี้จะไม่เป็นการโกหกซ้ำสอง ไม่เป็นการสร้างตราบาปซ้ำสองอีก จึงขอเรียกร้องต่อรัฐบาลและพรรคเพื่อไทยในฐานะเสียงข้างมากในสภาว่า หากยังยืนยันที่จะบริหารประเทศต่อไป ต้องเร่งปฏิบัติตามสิ่งที่แถลงไว้โดยเร็วที่สุด อย่าทำเพียงเพื่อเอาชนะทางการเมือง อย่าตระบัดสัตย์ซ้ำเหมือนในกรณีการออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมอีก แต่หากไม่สามารถทำได้ ท่านหมดความชอบธรรมในการบริหารประเทศอีกต่อไป บทเรียนในครั้งนี้แสดงให้เห็นแล้วว่า ไม่มีอำนาจใดเหนืออำนาจประชาชนและในฐานะที่ประชาชนคือเจ้าของอำนาจที่แท้จริง เราต้องตรวจสอบผู้รับมอบอำนาจจากเราไปว่า เขาใช้อำนาจในทางที่ถูกที่ควรตามเจตจำนงที่เรามอบให้ไปหรือไม่ หากไม่เป็นไปตามเจตจำนง เรามีสิทธิทวงคืนอำนาจนั้นได้
ขณะที่ ดร.สุรินทร์ กล่าวว่า ระยะหลังการเมืองไทยถูกบิดเบือนไปมาก ซึ่งตนอยากให้รัฐบาลเลิกคิดเลิกหวังคนไทยจะยอมอีกต่อไป เราไม่ต้องการรัฐบาลทรราชย์ จากเหตุการณ์เดินขบวนในประเทศไทย ต่างประเทศได้จับตามองเรามาตั้งแต่การเดินขบวนในวันแรกๆ ซึ่งต่างชาติก็รู้ว่ามีการใช้อำนาจ ใช้กฎหมายเสียงข้างมากในการกำหนดทิศทางการบริหารประเทศ และล่าสุดหน่วยงานหนึ่งของนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เปรียบเทียบว่า รัฐบาลไทย เหมือนกับเผด็จการที่มาจากการเลือกตั้ง ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องแสดงเจตนารมณ์ ให้นานาประเทศเข้าใจว่าคนไทยตระหนักดีถึงวิกฤตการณ์ดังกล่าว จึงได้ออกมาต่อต้านอย่างมืดฟ้ามัวดินในทุกจังหวัดแบบนี้ เพื่อออกมาแสดงประชามติตามท้องถนนแบบนี้
ด้าน เฉลิมชัย กล่าวว่า ตนเป็นศิษย์เก่ารุ่นแรกๆ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง รหัสนักศึกษา 1875 ที่ออกมาวันนี้ก็ต้องพยายามออกมาเพราะอายุมากแล้ว ตั้งใจออกมาเพราะกระแสสังคมที่ต่อต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม มีมากมาย พ.ร.บ.ฉบับนี้เปรียบเหมือนฟางเส้นสุดท้ายเรียกให้คนทั่วประเทศมาชุมนุม และการชุมนุมครั้งนี้ มีขอบเขตกว้างมากกว่าเหตุการณ์ 14 ตุลาลา 2516 เพราะเป็นเหตุการณ์ที่ผู้บริหารประเทศกระทำการที่ไม่ถูกไม่ควร เราไม่ได้มารวมตัวกันเพราะสนับสนุนพรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่ง หรือกลุ่มผลประโยชน์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่มาสนับสนุนความถูกต้อง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มประชาคมฯ ศิษย์เก่า ปัจจุบันได้เริ่มเคลื่อนขบวนออกจากมหาวิทยาลัยในเวลา 10.40 น.โดยตั้งขบวนและเริ่มเดินออกจากหอประชุมธรรมศาสตร์ พร้อมเป่านกหวีดแสดงพลังคัดค้าน ขณะเดียวกันก็จัดรถรางสำหรับกลุ่มศิษย์เก่าที่สูงอายุได้ร่วมขบวน โดยเดินทางมุ่งหน้ามายังจุดหมายแรกที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพื่อหยุดอ่านคำแถลงการณ์เป็นระยะเวลา 5 นาที ก่อนเคลื่อนขบวนผ่านสะพานมัฆวานรังสรรค์และมีเป้าหมายที่รัฐสภาเพื่อยื่นหนังสือต่อวุฒิสภา
อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลา 11.50 น.ได้เกิดความวุ่นวายขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากมีเจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งแถวปิดกั้นการชุมนุมของกลุ่มผู้ชุมนุมบริเวณราชดำเนิน ไม่ยอมให้ผู้ชุมนุมกลุ่ม มธ.เดินผ่าน ทาง มธ.จึงได้ส่งตัวแทนเจรจาและเคลื่อนขบวนต่อได้ จนมาถึงหน้าสำนักงานองค์การสหประชาชาติ บริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ ซึ่งตัวแทนของกลุ่ม มธ.ขอให้ผู้ชุมนุมทุกคนนำริบบิ้นสีเหลืองแดง ไปผูกไว้กับรั้วของสำนักงานองค์การสหประชาชาติ ประเทศไทย เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่า วันนี้ มธ.ได้เคลื่อนขบวนมาทวงสัญญาที่รัฐบาลและ ส.ว.ให้ไว้ หากมีการตระบัดสัตย์ มธ.ทุกคนจะจัดเต็มแน่นอน
จากนั้นเวลาประมาณ 13.00 น.นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานวุฒิสภา พร้อมด้วยนางรสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม.ได้เดินทางมารับหนังสือคัดค้านด้วยตัวเองที่หน้ายูเอ็น โดยนายบุญสม ตัวแทนกลุ่ม มธ.พร้อมด้วย ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน และ ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อดีตอธิการบดี มธ.เป็นตัวแทนยื่นหนังสือเปิดผนึก จากนั้นจึงเดินทางกลับ และสลายการชุมนุม โดยไม่เกิดความวุ่นวาย
วันที่ 7 พ.ย.ที่บริเวณสนามหญ้าด้านหน้าฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ท่าพระจันทร์ ได้มีการชุมนุมของกลุ่มประชาคมศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน มธ.คณาจารย์ รวมตัวกันเพื่อแสดงพลังต่อต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม บริเวณหน้าตึกโดม และกระจายล้นไปยังสนามฟุตบอลและบริเวณหน้าตึกคณะวารสารศาสตร์ โดยครั้งนี้มีศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันมาร่วมจำนวนกว่า 5,000 คน และผู้มีชื่อเสียงในแวดวงการเมือง อาทิ ดร.สุริทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน, ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อดีตอธิการ มธ., นายอภิชาติ ดำดี ศิษย์เก่า มธ.รุ่นที่ 21, ดร.เฉลิมชัย วศีนนท์ อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ศิษย์เก่า มธ.นายมานิจ สุขสมจิตร อดีตประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีจากแวดวงดารา-นักแสดง อาทิ เชอรี่-เข็มอัปสร สิริสุขขะ, หน่อย-บุษกร วงศ์พัวพัน, ต้อ-มารุต สาโรวาท ผู้กำกับและผู้จัดละคร เป็นต้น มาร่วมกิจกรรมของกลุ่มศิษย์เก่าและร่วมเดินขบวนแสดงพลังคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กิจกรรมที่ มธ.ดำเนินการตั้งแต่ช่วงเช้า เวลา 09.00 น.นายอภิชาติ ดำดี ศิษย์เก่า มธ.รุ่นที่ 21 โดยได้ขึ้นปราศรัยบนเวที และบรรยากาศเริ่มคึกคักต่อเนื่อง เมื่อศิษย์เก่า มธ.มีชื่อเสียงที่ต่างสลับหมุนเวียนขึ้นมาปราศรัย จากนั้น สร้างบรรยากาศเริ่มคึกคักขึ้นอย่างต่อเนื่องและได้มีการอ่านแถลงการณ์ต่อต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม มีเนื้อหา ดังนี้
ตามที่สภาผู้แทนราษฎร ได้ผ่านร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรม วาระ 2 และ 3 ไปเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2556 ดังที่ทราบกันโดยทั่วไปและเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับนี้ ขัดต่อหลักนิติธรรม ล้มล้างกระบวนการยุติธรรมและจงใจเร่งรัดให้ผ่านร่างโดยเร็วเกินกว่าปกติ โดยไม่สนใจเสียงท้วงติงจากสังคม เป็นเหตุให้เกิดแรงคัดค้านต่อต้านจากประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ เรือนแสนเรือนล้านในเวลาเพียง 3-4 วันอย่างไม่เคยมีมาก่อน นับจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ในนามประชาคมและศิษย์เก่า มธ.มีความเห็นต่อกรณีนี้ ดังนี้ 1.รัฐบาลได้สร้างตราบาปต่อระบบรัฐสภาด้วยการใช้เสียงข้างมากอย่างไร้สำนึก ด้วยหลงผิดคิดว่าเสียงข้างมากและสามารถทำอะไรก็ได้ แม้กระทั่งทำเรื่องผิดกฎหมายให้ถูกกฎหมายก็ได้ 2.ได้สร้างวิกฤตศรัทธาและวิกฤตความเชื่อถือต่อนักการเมืองและสังคมการเมืองไทยในสายตาประชาชนหนักหน่วงมากขึ้นไปอีก ซึ่งโดยปกติมีอาการหนักหน่วงอยู่แล้ว 3.ได้ใช้อำนาจที่ประชาชนลงคะแนนเสียงเลือกท่านมาในทางที่ผิดหลักนิติธรรมอย่างมหันต์ด้วยการใช้อำนาจนั้นไปก้าวก่ายและล้มล้างกระบวนการยุติธรรม บ่งบอกว่ากำลัง “เหลิงในอำนาจ” จนมองข้ามเจ้าของอำนาจที่แท้จริง และ 4.มีพฤติกรรมโกหกหลายครั้งหลายหน นับเฉพาะในกรณีการร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับนี้เพียงเพื่อต้องการชิงไหวชิงพริบและเอาชนะทางการเมือง โดยอ้างการสร้างความปรองดองบังหน้า แม้ว่าทั้งนายกรัฐมนตรีซึ่งมาจากพรรคเพื่อไทย (พท.) เลขาธิการ พท.ซึ่งมีเสียงข้างมากในสภาจะออกมาแถลงว่า จะไม่ผ่านร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ในเวลาไล่เลี่ยกันก็ตาม แต่ตราบาปทั้ง 4 ข้อตามที่กล่าวมายังไม่อาจทำให้ประชาชนคลายความคลางแคลงใจหรือไว้วางใจได้ว่า การประกาศแถลงในครั้งนี้จะไม่เป็นการโกหกซ้ำสอง ไม่เป็นการสร้างตราบาปซ้ำสองอีก จึงขอเรียกร้องต่อรัฐบาลและพรรคเพื่อไทยในฐานะเสียงข้างมากในสภาว่า หากยังยืนยันที่จะบริหารประเทศต่อไป ต้องเร่งปฏิบัติตามสิ่งที่แถลงไว้โดยเร็วที่สุด อย่าทำเพียงเพื่อเอาชนะทางการเมือง อย่าตระบัดสัตย์ซ้ำเหมือนในกรณีการออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมอีก แต่หากไม่สามารถทำได้ ท่านหมดความชอบธรรมในการบริหารประเทศอีกต่อไป บทเรียนในครั้งนี้แสดงให้เห็นแล้วว่า ไม่มีอำนาจใดเหนืออำนาจประชาชนและในฐานะที่ประชาชนคือเจ้าของอำนาจที่แท้จริง เราต้องตรวจสอบผู้รับมอบอำนาจจากเราไปว่า เขาใช้อำนาจในทางที่ถูกที่ควรตามเจตจำนงที่เรามอบให้ไปหรือไม่ หากไม่เป็นไปตามเจตจำนง เรามีสิทธิทวงคืนอำนาจนั้นได้
ขณะที่ ดร.สุรินทร์ กล่าวว่า ระยะหลังการเมืองไทยถูกบิดเบือนไปมาก ซึ่งตนอยากให้รัฐบาลเลิกคิดเลิกหวังคนไทยจะยอมอีกต่อไป เราไม่ต้องการรัฐบาลทรราชย์ จากเหตุการณ์เดินขบวนในประเทศไทย ต่างประเทศได้จับตามองเรามาตั้งแต่การเดินขบวนในวันแรกๆ ซึ่งต่างชาติก็รู้ว่ามีการใช้อำนาจ ใช้กฎหมายเสียงข้างมากในการกำหนดทิศทางการบริหารประเทศ และล่าสุดหน่วยงานหนึ่งของนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เปรียบเทียบว่า รัฐบาลไทย เหมือนกับเผด็จการที่มาจากการเลือกตั้ง ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องแสดงเจตนารมณ์ ให้นานาประเทศเข้าใจว่าคนไทยตระหนักดีถึงวิกฤตการณ์ดังกล่าว จึงได้ออกมาต่อต้านอย่างมืดฟ้ามัวดินในทุกจังหวัดแบบนี้ เพื่อออกมาแสดงประชามติตามท้องถนนแบบนี้
ด้าน เฉลิมชัย กล่าวว่า ตนเป็นศิษย์เก่ารุ่นแรกๆ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง รหัสนักศึกษา 1875 ที่ออกมาวันนี้ก็ต้องพยายามออกมาเพราะอายุมากแล้ว ตั้งใจออกมาเพราะกระแสสังคมที่ต่อต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม มีมากมาย พ.ร.บ.ฉบับนี้เปรียบเหมือนฟางเส้นสุดท้ายเรียกให้คนทั่วประเทศมาชุมนุม และการชุมนุมครั้งนี้ มีขอบเขตกว้างมากกว่าเหตุการณ์ 14 ตุลาลา 2516 เพราะเป็นเหตุการณ์ที่ผู้บริหารประเทศกระทำการที่ไม่ถูกไม่ควร เราไม่ได้มารวมตัวกันเพราะสนับสนุนพรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่ง หรือกลุ่มผลประโยชน์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่มาสนับสนุนความถูกต้อง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มประชาคมฯ ศิษย์เก่า ปัจจุบันได้เริ่มเคลื่อนขบวนออกจากมหาวิทยาลัยในเวลา 10.40 น.โดยตั้งขบวนและเริ่มเดินออกจากหอประชุมธรรมศาสตร์ พร้อมเป่านกหวีดแสดงพลังคัดค้าน ขณะเดียวกันก็จัดรถรางสำหรับกลุ่มศิษย์เก่าที่สูงอายุได้ร่วมขบวน โดยเดินทางมุ่งหน้ามายังจุดหมายแรกที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพื่อหยุดอ่านคำแถลงการณ์เป็นระยะเวลา 5 นาที ก่อนเคลื่อนขบวนผ่านสะพานมัฆวานรังสรรค์และมีเป้าหมายที่รัฐสภาเพื่อยื่นหนังสือต่อวุฒิสภา
อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลา 11.50 น.ได้เกิดความวุ่นวายขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากมีเจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งแถวปิดกั้นการชุมนุมของกลุ่มผู้ชุมนุมบริเวณราชดำเนิน ไม่ยอมให้ผู้ชุมนุมกลุ่ม มธ.เดินผ่าน ทาง มธ.จึงได้ส่งตัวแทนเจรจาและเคลื่อนขบวนต่อได้ จนมาถึงหน้าสำนักงานองค์การสหประชาชาติ บริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ ซึ่งตัวแทนของกลุ่ม มธ.ขอให้ผู้ชุมนุมทุกคนนำริบบิ้นสีเหลืองแดง ไปผูกไว้กับรั้วของสำนักงานองค์การสหประชาชาติ ประเทศไทย เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่า วันนี้ มธ.ได้เคลื่อนขบวนมาทวงสัญญาที่รัฐบาลและ ส.ว.ให้ไว้ หากมีการตระบัดสัตย์ มธ.ทุกคนจะจัดเต็มแน่นอน
จากนั้นเวลาประมาณ 13.00 น.นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานวุฒิสภา พร้อมด้วยนางรสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม.ได้เดินทางมารับหนังสือคัดค้านด้วยตัวเองที่หน้ายูเอ็น โดยนายบุญสม ตัวแทนกลุ่ม มธ.พร้อมด้วย ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน และ ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อดีตอธิการบดี มธ.เป็นตัวแทนยื่นหนังสือเปิดผนึก จากนั้นจึงเดินทางกลับ และสลายการชุมนุม โดยไม่เกิดความวุ่นวาย