โรงแรมขาดแคลนแรงงานภาคปฏิบัติการไม่ต่ำกว่า 1 ล้านคน “จาตุรนต์” มอบ สอศ.วางแผนผลิตคนป้อน ระยะสั้นจัดคอร์สติวเข้ม 3 เดือน พร้อมขอให้ สทท.จัดหาผู้ประกอบการและผู้เชี่ยวชาญงานบุคคลร่วมพัฒนาหลักสูตร และสำรวจตัวเลขความต้องการในแต่ละสาขา ส่วนระยะยาวให้ สอศ.ไปปรับหลักสูตร ขณะที่ สอศ.จะร่วมกับ สทท.ตั้งคณะทำงาน 1 ชุด เพื่อวางแผนดำเนินการอย่างเป็นระบบ
วันนี้ (28 ต.ค.) ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวภายหลังหารือร่วมกับ นางปิยะมาน เตชะไพบูลย์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยงแห่งประเทศไทย (สทท.) และคณะเดินทางเข้าพบ และ นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) ว่า ทาง สทท.ได้มาหารือเพื่อขอให้ ศธ.และ สอศ.ผลิตนักศึกษาเพื่อรองรับการท่องเที่ยว โดยเฉพาะแรงงานภาคปฏิบัติการในโรงแรมมีความต้องการมาก ทั้งนี้ สอศ.มีการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีกับสถานประกอบการอยู่แล้ว จึงขอให้ สทท.มาร่วมจัดหาผู้มีความเชี่ยวชาญงานบุคคล และนักวิชาการด้านหลักสูตรมาร่วมกันในการกำหนดหลักสูตรเพื่อพัฒนา ขณะเดียวกันที่จะต้องทำเร่งด่วน คือ จัดคอร์สฝึกอบรมระยะสั้น เวลา 3 เดือน เพื่อพัฒนาทักษะในเรื่องที่ สทท.ต้องการทั้งเทคนิค งานบริการบางด้าน และภาษา โดยจะเปิดสอนแบบเข้มข้น ซึ่งอาจจะเปิดสอนทั้งคนที่เรียนจบและกำลังจะทำงานหรือผู้ที่ทำงานแล้วแต่ต้องการเพิ่มทักษะ ส่วนในระยะยาว ก็จะนำแนวคิดไปปรับใช้หลักสูตรในการเรียนระดับประกาศนีบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในบางสาขาที่จำเป็นต้องปรับการเรียนอย่างเข้มข้นก่อนจบในสัปดาห์สุดท้าย และจะขอความร่วมมือจากต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จทางท่องเที่ยวและมีความร่วมมือกับ สอศ.ในการพัฒนาอาชีวศึกษาที่มาร่วมพัฒนา ทั้งนี้ คาดว่าจะเริ่มดำเนินการในช่วงปิดภาคเรียน ทั้งนี้ ตนได้ขอให้ สทท.ไปสำรวจความต้องการแรงงานภาคการโรงแรมจำนวนเท่าไร สาขาใดบ้าง รวมถึงความต้องการของล่ามและมัคคุเทศก์ด้วย ซึ่งการดำเนินการจัดคอร์สอบรมระยะสั้นจะจัดในบางพื้นที่ที่มีความต้องการโดยจะเป็นที่ใดบ้างนั้นขอรอดูตัวเลขที่ทาง สทท.จะเป็นผู้สำรวจก่อน
นางปิยะมาน กล่าวว่า ขณะนี้ภาคการท่องเที่ยวของไทยเติบโตมากโดยปี 2555 ที่ผ่านมา มีนักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศถึง 22.34 ล้านคน แต่ในปีนี้ (2556) คาดว่าตัวเลขนักท่องเที่ยวจะพุ่งสูงถึง 26 ล้านคนโดยประมาณ ในขณะที่ภาคการบริการโรงแรมที่พักมีการขยายตัวต่อเนื่องเช่นกัน แต่ปัญหาที่เรากำลังเผชิญในเรื่องของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว คือ การขาดแคลนแรงงานฝีมือที่จะรองรับ โดยเฉพาะในด้านการโรงแรมกำลังประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานภาคปฏิบัติการ ประมาณ 1 ล้านคน เพราะที่ผ่านมาสถาบันการศึกษาของไทยทั้งระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาจะผลิตนักศึกษาที่ออกมาทำงานด้านการบริหารและการโรงแรม จึงได้มาหารือร่วมกับรมว.ศึกษาธิการ และ สอศ.ร่วมสนับสนุนพัฒนาบุคลากรเพื่อผลิตแรงงานภาคปฏิบัติการ โดยเฉพาะ 4 สาขาหลักได้แก่ 1.สาขาการต้อนรับส่วนหน้า 2.งานแม่บ้าน 3.การต้อนรับในห้องอาหาร และ4.การผลิตอาหารสู่ระบบโรงแรม ซึ่งเป็นกลุ่มสาขาสอดคล้องกับความต้องการแรงงานตามมาตรฐานอาเซียน
“ที่ผ่านมาเราไม่มีคนที่จบเฉพาะด้าน ส่วนใหญ่จะนำคนมาอบรมและพัฒนามากกว่าแต่เราต้องการคนที่เก่งจริงมาทำงาน เพราะในอนาคตเราต้องแข่งขันกับอาเซียน เมื่อเราก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จึงได้มาหารือเพื่อขอความร่วมมือและจะกำหนดสัดส่วน หลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อให้ได้มาตรฐานที่นำไปใช้ผลิตบุคลากรร่วมกันในทุกวิทยาลัยอาชีวศึกษา” นางปิยะมาน กล่าว
นายชัยพฤกษ์ กล่าวว่า จากการหารือได้ข้อสรุปว่าจะตั้งคณะทำงานร่วมกัน 1 ชุดระหว่าง สทท.และ สอศ.เพื่อดำเนินการเรื่องนี้ โดยจะขอให้ นางปิยะมาน เป็นประธาน และเร็วๆ นี้ ในการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) อาชีวศึกษาก็จะได้นำเรื่องดังกล่าวเข้าเสนอในที่ประชุมด้วย โดยคณะทำงานชุดนี้จะยึดความต้องการของภาคประกอบการเป็นหลัก โดยจะดำเนินการในระยะสั้นซึ่งจะทำร่วมกันในการอบรมพนักงาน นักศึกษาและครูผู้สอน ส่วนระยะยาว สอศ.จะต้องปรับหลักสูตรและปรับการสอนอย่างมาก โดยต้องเน้นการสอนที่เข้มข้นมั่นใจว่าทำงานได้แท้จริง โดยอาจจะต้องปรับหลักสูตรบางวิชาจากเดิมที่สอนสัปดาห์ละ 2 ครั้ง อาจจะ
ต้องเป็นตลอด 2 สัปดาห์สุดท้ายจะเน้นสอนวิชานั้นอย่างเข้มข้น เป็นต้น
วันนี้ (28 ต.ค.) ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวภายหลังหารือร่วมกับ นางปิยะมาน เตชะไพบูลย์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยงแห่งประเทศไทย (สทท.) และคณะเดินทางเข้าพบ และ นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) ว่า ทาง สทท.ได้มาหารือเพื่อขอให้ ศธ.และ สอศ.ผลิตนักศึกษาเพื่อรองรับการท่องเที่ยว โดยเฉพาะแรงงานภาคปฏิบัติการในโรงแรมมีความต้องการมาก ทั้งนี้ สอศ.มีการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีกับสถานประกอบการอยู่แล้ว จึงขอให้ สทท.มาร่วมจัดหาผู้มีความเชี่ยวชาญงานบุคคล และนักวิชาการด้านหลักสูตรมาร่วมกันในการกำหนดหลักสูตรเพื่อพัฒนา ขณะเดียวกันที่จะต้องทำเร่งด่วน คือ จัดคอร์สฝึกอบรมระยะสั้น เวลา 3 เดือน เพื่อพัฒนาทักษะในเรื่องที่ สทท.ต้องการทั้งเทคนิค งานบริการบางด้าน และภาษา โดยจะเปิดสอนแบบเข้มข้น ซึ่งอาจจะเปิดสอนทั้งคนที่เรียนจบและกำลังจะทำงานหรือผู้ที่ทำงานแล้วแต่ต้องการเพิ่มทักษะ ส่วนในระยะยาว ก็จะนำแนวคิดไปปรับใช้หลักสูตรในการเรียนระดับประกาศนีบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในบางสาขาที่จำเป็นต้องปรับการเรียนอย่างเข้มข้นก่อนจบในสัปดาห์สุดท้าย และจะขอความร่วมมือจากต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จทางท่องเที่ยวและมีความร่วมมือกับ สอศ.ในการพัฒนาอาชีวศึกษาที่มาร่วมพัฒนา ทั้งนี้ คาดว่าจะเริ่มดำเนินการในช่วงปิดภาคเรียน ทั้งนี้ ตนได้ขอให้ สทท.ไปสำรวจความต้องการแรงงานภาคการโรงแรมจำนวนเท่าไร สาขาใดบ้าง รวมถึงความต้องการของล่ามและมัคคุเทศก์ด้วย ซึ่งการดำเนินการจัดคอร์สอบรมระยะสั้นจะจัดในบางพื้นที่ที่มีความต้องการโดยจะเป็นที่ใดบ้างนั้นขอรอดูตัวเลขที่ทาง สทท.จะเป็นผู้สำรวจก่อน
นางปิยะมาน กล่าวว่า ขณะนี้ภาคการท่องเที่ยวของไทยเติบโตมากโดยปี 2555 ที่ผ่านมา มีนักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศถึง 22.34 ล้านคน แต่ในปีนี้ (2556) คาดว่าตัวเลขนักท่องเที่ยวจะพุ่งสูงถึง 26 ล้านคนโดยประมาณ ในขณะที่ภาคการบริการโรงแรมที่พักมีการขยายตัวต่อเนื่องเช่นกัน แต่ปัญหาที่เรากำลังเผชิญในเรื่องของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว คือ การขาดแคลนแรงงานฝีมือที่จะรองรับ โดยเฉพาะในด้านการโรงแรมกำลังประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานภาคปฏิบัติการ ประมาณ 1 ล้านคน เพราะที่ผ่านมาสถาบันการศึกษาของไทยทั้งระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาจะผลิตนักศึกษาที่ออกมาทำงานด้านการบริหารและการโรงแรม จึงได้มาหารือร่วมกับรมว.ศึกษาธิการ และ สอศ.ร่วมสนับสนุนพัฒนาบุคลากรเพื่อผลิตแรงงานภาคปฏิบัติการ โดยเฉพาะ 4 สาขาหลักได้แก่ 1.สาขาการต้อนรับส่วนหน้า 2.งานแม่บ้าน 3.การต้อนรับในห้องอาหาร และ4.การผลิตอาหารสู่ระบบโรงแรม ซึ่งเป็นกลุ่มสาขาสอดคล้องกับความต้องการแรงงานตามมาตรฐานอาเซียน
“ที่ผ่านมาเราไม่มีคนที่จบเฉพาะด้าน ส่วนใหญ่จะนำคนมาอบรมและพัฒนามากกว่าแต่เราต้องการคนที่เก่งจริงมาทำงาน เพราะในอนาคตเราต้องแข่งขันกับอาเซียน เมื่อเราก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จึงได้มาหารือเพื่อขอความร่วมมือและจะกำหนดสัดส่วน หลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อให้ได้มาตรฐานที่นำไปใช้ผลิตบุคลากรร่วมกันในทุกวิทยาลัยอาชีวศึกษา” นางปิยะมาน กล่าว
นายชัยพฤกษ์ กล่าวว่า จากการหารือได้ข้อสรุปว่าจะตั้งคณะทำงานร่วมกัน 1 ชุดระหว่าง สทท.และ สอศ.เพื่อดำเนินการเรื่องนี้ โดยจะขอให้ นางปิยะมาน เป็นประธาน และเร็วๆ นี้ ในการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) อาชีวศึกษาก็จะได้นำเรื่องดังกล่าวเข้าเสนอในที่ประชุมด้วย โดยคณะทำงานชุดนี้จะยึดความต้องการของภาคประกอบการเป็นหลัก โดยจะดำเนินการในระยะสั้นซึ่งจะทำร่วมกันในการอบรมพนักงาน นักศึกษาและครูผู้สอน ส่วนระยะยาว สอศ.จะต้องปรับหลักสูตรและปรับการสอนอย่างมาก โดยต้องเน้นการสอนที่เข้มข้นมั่นใจว่าทำงานได้แท้จริง โดยอาจจะต้องปรับหลักสูตรบางวิชาจากเดิมที่สอนสัปดาห์ละ 2 ครั้ง อาจจะ
ต้องเป็นตลอด 2 สัปดาห์สุดท้ายจะเน้นสอนวิชานั้นอย่างเข้มข้น เป็นต้น