กรรมการปฏิรูปกฎหมายแนะกระทรวงแรงงาน เร่งนำแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ มาจดทะเบียนรับรองสถานะให้ถูกกฎหมาย พร้อมดันเข้าสู่ระบบประกันสังคม เตือนนำเข้าแรงงานบังกลาเทศ-อินเดีย ระวังเกิดปัญหาสังคม ชี้วัฒนธรรม-ศาสนา-วิถีชีวิตแตกต่างเกิน
นายสมชาย หอมลออ กรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) กล่าวถึงการแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวว่า ตนมองว่าการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือ กระทรวงแรงงานควรเร่งนำแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ ทั้งพม่า กัมพูชา และลาว ที่ลักลอบเข้ามาทำงานในไทยโดยผิดกฎหมาย ซึ่งปัจจุบันมีอยู่เป็นจำนวนมากขึ้นมาจดทะเบียนเพื่อเข้าสู่ระบบให้เป็นแรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมายทั้งหมด และผลักดันให้นายจ้างนำลูกจ้างต่างด้าวเข้าสู่ระบบประกันสังคมเพื่อให้แรงงานต่างด้าวได้รับการดูแลที่เหมาะสมตามหลักสากล และเพื่อป้องกันปัญหาการถูกต่างประเทศมองว่ามีการกดขี่ การค้ามนุษย์ เอาเปรียบแรงงานต่างด้าว หากนายจ้างไม่ยอมดำเนินการก็ต้องมีบทลงโทษโดยคิดค่าปรับ หลังจากนั้นหากสถานประกอบการที่มีปัญหาขาดแคลนแรงงานและต้องการแรงงานต่างด้าวเพิ่มเติม ก็ให้นำเข้าแรงงานต่างด้าวโดยผ่านระบบความร่วมมือระหว่างประเทศ (เอ็มโอยู) เท่านั้น เพื่อจะได้เข้ามาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
นายสมชาย กล่าวอีกว่า การนำเข้าแรงงานต่างด้าวเพิ่มเติมเพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานนั้นควรนำเข้าเฉพาะแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน 3 สัญชาติ เนื่องจากมีศาสนา วัฒนธรรม ประเพณีและวิถีชีวิตใกล้เคียงกับประเทศไทย จึงสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบโดยไม่มีปัญหาใดๆ ดังนั้น กระทรวงแรงงานจึงไม่ควรนำเข้าแรงงานจากประเทศอื่นๆ เช่น บังกลาเทศ อินเดีย ซึ่งมีศาสนา วัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่แตกต่างกับประเทศไทยอย่างมาก จะทำให้การปรับตัวที่จะอยู่ร่วมกันและการดูแลทำได้ยาก อาจเกิดปัญหาสังคมตามมาในอนาคต
นายสมชาย หอมลออ กรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) กล่าวถึงการแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวว่า ตนมองว่าการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือ กระทรวงแรงงานควรเร่งนำแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ ทั้งพม่า กัมพูชา และลาว ที่ลักลอบเข้ามาทำงานในไทยโดยผิดกฎหมาย ซึ่งปัจจุบันมีอยู่เป็นจำนวนมากขึ้นมาจดทะเบียนเพื่อเข้าสู่ระบบให้เป็นแรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมายทั้งหมด และผลักดันให้นายจ้างนำลูกจ้างต่างด้าวเข้าสู่ระบบประกันสังคมเพื่อให้แรงงานต่างด้าวได้รับการดูแลที่เหมาะสมตามหลักสากล และเพื่อป้องกันปัญหาการถูกต่างประเทศมองว่ามีการกดขี่ การค้ามนุษย์ เอาเปรียบแรงงานต่างด้าว หากนายจ้างไม่ยอมดำเนินการก็ต้องมีบทลงโทษโดยคิดค่าปรับ หลังจากนั้นหากสถานประกอบการที่มีปัญหาขาดแคลนแรงงานและต้องการแรงงานต่างด้าวเพิ่มเติม ก็ให้นำเข้าแรงงานต่างด้าวโดยผ่านระบบความร่วมมือระหว่างประเทศ (เอ็มโอยู) เท่านั้น เพื่อจะได้เข้ามาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
นายสมชาย กล่าวอีกว่า การนำเข้าแรงงานต่างด้าวเพิ่มเติมเพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานนั้นควรนำเข้าเฉพาะแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน 3 สัญชาติ เนื่องจากมีศาสนา วัฒนธรรม ประเพณีและวิถีชีวิตใกล้เคียงกับประเทศไทย จึงสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบโดยไม่มีปัญหาใดๆ ดังนั้น กระทรวงแรงงานจึงไม่ควรนำเข้าแรงงานจากประเทศอื่นๆ เช่น บังกลาเทศ อินเดีย ซึ่งมีศาสนา วัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่แตกต่างกับประเทศไทยอย่างมาก จะทำให้การปรับตัวที่จะอยู่ร่วมกันและการดูแลทำได้ยาก อาจเกิดปัญหาสังคมตามมาในอนาคต