เอ็นจีโอ จี้ สปส.ประสาน กกจ.เร่งขึ้นทะเบียนประกันสังคมแรงงานต่างด้าว ห่วงตัวเลขกว่า 1.5 ล้านคนเพิ่งเข้าได้ 3.5 แสน นักวิชาการแนะผ่อนปรนออกใบอนุญาตใหม่เปิดช่องนายจ้างนำต่างด้าวเข้าประกันสังคม ด้านรองเลขาธิการ สปส.เตรียมหารือ กกจ.ผ่อนปรนเกณฑ์ แจงศึกษารูปแบบประกันสังคมต่างด้าวคงไว้ 7 สิทธิ์ แต่ปรับเงื่อนไข-เวลาเกิดสิทธิ คาดสรุปผลสิ้นปีนี้
วันนี้ (30 ก.ย.) น.ส.โรยทราย วงศ์สุบรรณ เจ้าหน้าที่เครือข่ายประชากรข้ามชาติ (MWG) กล่าวในการสัมมนา “ประกันสังคมที่เหมาะสมกับแรงงานข้ามชาติ มองมุมไหนในมิติ AEC” ที่สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) จ.นนทบุรีว่า จากข้อมูลล่าสุดของกรมการจัดหางาน (กกจ.) มีแรงงานต่างด้าวที่จดทะเบียนและรอรับรองสถานะทั้งหมดกว่า 1.5 ล้านคน แต่ขณะนี้มีแรงงานต่างด้าวขึ้นทะเบียนประกันสังคมเพียงกว่า 3.5 แสนคน และซื้อประกันสุขภาพกับกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) 2 แสนคน รวมทั้งหมดมีแค่กว่า 5.5 แสนคนที่ได้รับการคุ้มครอง ซึ่งประเมินแล้วไม่ถึงร้อยละ 50 ของแรงงานต่างด้าวทั้งหมด จึงอยากให้สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ประสานกับ กกจ.เร่งขึ้นทะเบียนประกันสังคมแรงงานต่างด้าว รวมทั้งให้ความรู้แก่แรงงานต่างด้าว ลดขั้นตอนการดำเนินการยื่นขอใช้สิทธิประกันสังคมเพื่อเข้าถึงการบริการและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ได้ง่าย
นายทรงพันธ์ ต้นตระกูล อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) กล่าวว่า จ.เชียงใหม่ มีแรงงานต่างด้าวกว่า 6.1 หมื่นคน ตนจึงได้ทำวิจัยเกี่ยวกับการเข้าถึงสิทธิประกันสังคมของแรงงานต่างด้าวในช่วงเดือน ธ.ค.2555-ก.ค.2556 โดยใช้แบบสอบถามแรงงานต่างด้าวทั้งพม่า กัมพูชา ลาว และชาติอื่นๆ ซึ่งแรงงาน 3 สัญชาติได้จดทะเบียนเข้ามาทำงานด้านเกษตรกับบริษัทแห่งหนึ่งมีพาสปอร์ต และใบอนุญาตทำงาน แต่ความจริงกลับต้องไปหางานทำเอง จึงไปทำงานกับนายจ้างรายใหม่แต่เป็นงานอื่นๆ เช่น ร้านขายของชำ ร้านอาหาร นายจ้างรายใหม่บางส่วนก็หลีกเลี่ยงไม่ได้นำลูกจ้างต่างด้าวมาขึ้นทะเบียนกับประกันสังคม ขณะที่นายจ้างรายใหม่ที่ต้องการนำลูกจ้างมาขึ้นทะเบียนประกันสังคมก็ไม่สามารถทำได้เพราะลูกจ้างไม่สามารถมาขอใบอนุญาตทำงานใหม่ได้
“อยากให้ กกจ.ร่วมกับ สปส.ผ่อนปรนการออกใบอนุญาตทำงานใหม่แก่แรงงานต่างด้าวในกรณีจำเป็นเพื่อให้นายจ้างรายใหม่สามารถนำแรงงานต่างด้าวมาขึ้นทะเบียนกับประกันสังคมได้ง่ายโดยคิดค่าปรับและค่าธรรมเนียมกับนายจ้างรายใหม่” นายทรงพันธ์ กล่าว
นายอารักษ์ พรหมณี รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า สปส.กำลังศึกษาการวางระบบประกันสังคมสำหรับแรงงานต่างด้าว เบื้องต้นเห็นว่าแรงงานต่างด้าวที่ขึ้นทะเบียนและทำงานในไทยถูกต้องตามกฎหมายควรได้รับสิทธิประโยชน์ทั้ง 7 กรณี ได้แก่ เจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพและว่างงาน แต่จะต้องปรับเงื่อนไขและระยะเวลาเกิดสิทธิประโยชน์ให้เหมาะสมกับช่วงเวลาที่ทำงานในไทย เช่น กรณีเงินชราภาพอาจจะปรับเป็นเงินบำเหน็จจ่ายให้เมื่อต้องกลับประเทศ คาดว่าคณะทำงานที่ศึกษาจะได้ข้อสรุปก่อนสิ้นปีนี้ หลังจากนั้นจะเสนอต่อคณะกรรมการประกันสังคมต่อไป นอกจากนี้ สปส.กำลังพิจารณาว่าควรจะขยายระบบประกันสังคมไปสู่แรงงานด้านเกษตร ประมง ทำงานบ้านซึ่งครอบคลุมทั้งแรงงานไทยและต่างด้าวด้วยหรือไม่ เพื่อให้แรงงานทุกกลุ่ม ทุกคนที่ทำงานในไทยได้รับการคุ้มครองตามหลักสากล
“สปส.จะไปหารือกับ กกจ.เพื่อเร่งนำแรงงานต่างด้าวมาขึ้นทะเบียนกับประกันสังคมให้รวดเร็วขึ้นโดยในกลุ่มแรงงานต่างด้าวที่อยู่ระหว่างรอพิสูจน์สัญชาติเพื่อรับรองสถานะ จะขอให้ กกจ.ออกใบอนุญาตทำงานชั่วคราว หรือให้นายจ้างสามารถนำใบเสร็จค่าธรรมเนียมขอใบอนุญาตทำงานมายื่นขึ้นทะเบียนประกันสังคมลูกจ้างแรงงานต่างด้าวได้ ขณะเดียวกันจะทำคู่มือชี้แจงให้นายจ้างได้มีความรู้ความเข้าใจและรู้ถึงประโยชน์ของการนำลูกจ้างต่างด้าวเข้าสู่ประกันสังคมด้วย” นายอารักษ์ กล่าว
รองเลขาธิการ สปส.กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีแรงงานต่างด้าวกลุ่มที่อยู่ระหว่างรอพิสูจน์สัญชาติเพื่อรับรองสถานะและกลุ่มลักลอบเข้ามาทำงานในไทย เมื่อมีการจ้างงานกฎหมายคุ้มครองแรงงานได้ให้การคุ้มครอง หากเกิดบาดเจ็บ ประสบอุบัติเหตุจากการทำงานก็สามารถใช้สิทธิรักษาพยาบาลและได้รับเงินชดเชยถ้าสูญเสียอวัยวะจากกองทุนเงินทดแทน ซึ่ง สปส.กำลังศึกษาจะปรับแนวทางโดยจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างไปก่อนและไปเรียกเก็บจากนายจ้างภายหลังเพื่อให้ลูกจ้างได้รับการดูแลทันทีและไม่ต้องมีภาระฟ้องร้องนายจ้าง ขณะเดียวกันกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ส่งเสริมให้มีการซื้อประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว ซึ่งขณะนี้อยู่ที่คนละกว่า 2,800 บาทต่อปีโดยนายจ้างเป็นผู้จ่าย
วันนี้ (30 ก.ย.) น.ส.โรยทราย วงศ์สุบรรณ เจ้าหน้าที่เครือข่ายประชากรข้ามชาติ (MWG) กล่าวในการสัมมนา “ประกันสังคมที่เหมาะสมกับแรงงานข้ามชาติ มองมุมไหนในมิติ AEC” ที่สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) จ.นนทบุรีว่า จากข้อมูลล่าสุดของกรมการจัดหางาน (กกจ.) มีแรงงานต่างด้าวที่จดทะเบียนและรอรับรองสถานะทั้งหมดกว่า 1.5 ล้านคน แต่ขณะนี้มีแรงงานต่างด้าวขึ้นทะเบียนประกันสังคมเพียงกว่า 3.5 แสนคน และซื้อประกันสุขภาพกับกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) 2 แสนคน รวมทั้งหมดมีแค่กว่า 5.5 แสนคนที่ได้รับการคุ้มครอง ซึ่งประเมินแล้วไม่ถึงร้อยละ 50 ของแรงงานต่างด้าวทั้งหมด จึงอยากให้สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ประสานกับ กกจ.เร่งขึ้นทะเบียนประกันสังคมแรงงานต่างด้าว รวมทั้งให้ความรู้แก่แรงงานต่างด้าว ลดขั้นตอนการดำเนินการยื่นขอใช้สิทธิประกันสังคมเพื่อเข้าถึงการบริการและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ได้ง่าย
นายทรงพันธ์ ต้นตระกูล อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) กล่าวว่า จ.เชียงใหม่ มีแรงงานต่างด้าวกว่า 6.1 หมื่นคน ตนจึงได้ทำวิจัยเกี่ยวกับการเข้าถึงสิทธิประกันสังคมของแรงงานต่างด้าวในช่วงเดือน ธ.ค.2555-ก.ค.2556 โดยใช้แบบสอบถามแรงงานต่างด้าวทั้งพม่า กัมพูชา ลาว และชาติอื่นๆ ซึ่งแรงงาน 3 สัญชาติได้จดทะเบียนเข้ามาทำงานด้านเกษตรกับบริษัทแห่งหนึ่งมีพาสปอร์ต และใบอนุญาตทำงาน แต่ความจริงกลับต้องไปหางานทำเอง จึงไปทำงานกับนายจ้างรายใหม่แต่เป็นงานอื่นๆ เช่น ร้านขายของชำ ร้านอาหาร นายจ้างรายใหม่บางส่วนก็หลีกเลี่ยงไม่ได้นำลูกจ้างต่างด้าวมาขึ้นทะเบียนกับประกันสังคม ขณะที่นายจ้างรายใหม่ที่ต้องการนำลูกจ้างมาขึ้นทะเบียนประกันสังคมก็ไม่สามารถทำได้เพราะลูกจ้างไม่สามารถมาขอใบอนุญาตทำงานใหม่ได้
“อยากให้ กกจ.ร่วมกับ สปส.ผ่อนปรนการออกใบอนุญาตทำงานใหม่แก่แรงงานต่างด้าวในกรณีจำเป็นเพื่อให้นายจ้างรายใหม่สามารถนำแรงงานต่างด้าวมาขึ้นทะเบียนกับประกันสังคมได้ง่ายโดยคิดค่าปรับและค่าธรรมเนียมกับนายจ้างรายใหม่” นายทรงพันธ์ กล่าว
นายอารักษ์ พรหมณี รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า สปส.กำลังศึกษาการวางระบบประกันสังคมสำหรับแรงงานต่างด้าว เบื้องต้นเห็นว่าแรงงานต่างด้าวที่ขึ้นทะเบียนและทำงานในไทยถูกต้องตามกฎหมายควรได้รับสิทธิประโยชน์ทั้ง 7 กรณี ได้แก่ เจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพและว่างงาน แต่จะต้องปรับเงื่อนไขและระยะเวลาเกิดสิทธิประโยชน์ให้เหมาะสมกับช่วงเวลาที่ทำงานในไทย เช่น กรณีเงินชราภาพอาจจะปรับเป็นเงินบำเหน็จจ่ายให้เมื่อต้องกลับประเทศ คาดว่าคณะทำงานที่ศึกษาจะได้ข้อสรุปก่อนสิ้นปีนี้ หลังจากนั้นจะเสนอต่อคณะกรรมการประกันสังคมต่อไป นอกจากนี้ สปส.กำลังพิจารณาว่าควรจะขยายระบบประกันสังคมไปสู่แรงงานด้านเกษตร ประมง ทำงานบ้านซึ่งครอบคลุมทั้งแรงงานไทยและต่างด้าวด้วยหรือไม่ เพื่อให้แรงงานทุกกลุ่ม ทุกคนที่ทำงานในไทยได้รับการคุ้มครองตามหลักสากล
“สปส.จะไปหารือกับ กกจ.เพื่อเร่งนำแรงงานต่างด้าวมาขึ้นทะเบียนกับประกันสังคมให้รวดเร็วขึ้นโดยในกลุ่มแรงงานต่างด้าวที่อยู่ระหว่างรอพิสูจน์สัญชาติเพื่อรับรองสถานะ จะขอให้ กกจ.ออกใบอนุญาตทำงานชั่วคราว หรือให้นายจ้างสามารถนำใบเสร็จค่าธรรมเนียมขอใบอนุญาตทำงานมายื่นขึ้นทะเบียนประกันสังคมลูกจ้างแรงงานต่างด้าวได้ ขณะเดียวกันจะทำคู่มือชี้แจงให้นายจ้างได้มีความรู้ความเข้าใจและรู้ถึงประโยชน์ของการนำลูกจ้างต่างด้าวเข้าสู่ประกันสังคมด้วย” นายอารักษ์ กล่าว
รองเลขาธิการ สปส.กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีแรงงานต่างด้าวกลุ่มที่อยู่ระหว่างรอพิสูจน์สัญชาติเพื่อรับรองสถานะและกลุ่มลักลอบเข้ามาทำงานในไทย เมื่อมีการจ้างงานกฎหมายคุ้มครองแรงงานได้ให้การคุ้มครอง หากเกิดบาดเจ็บ ประสบอุบัติเหตุจากการทำงานก็สามารถใช้สิทธิรักษาพยาบาลและได้รับเงินชดเชยถ้าสูญเสียอวัยวะจากกองทุนเงินทดแทน ซึ่ง สปส.กำลังศึกษาจะปรับแนวทางโดยจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างไปก่อนและไปเรียกเก็บจากนายจ้างภายหลังเพื่อให้ลูกจ้างได้รับการดูแลทันทีและไม่ต้องมีภาระฟ้องร้องนายจ้าง ขณะเดียวกันกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ส่งเสริมให้มีการซื้อประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว ซึ่งขณะนี้อยู่ที่คนละกว่า 2,800 บาทต่อปีโดยนายจ้างเป็นผู้จ่าย