“เฉลิม” เล็งแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน ชี้ต้องเปิดจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบทำงานในไทย หากนำเข้าแรงงานต่างด้าวเพิ่มเติมทุกฝ่ายต้องหารือกัน เชื่อปี 57 พม่าให้แรงงานทำบัตรประชาชนไม่วุ่นวาย หากเปิดจุดให้บริการตามแนวชายแดนไทย-พม่า
วันนี้ (17 ก.ย.) ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (รมว.รง.) กล่าวถึงการจัดการเรื่องแรงงานต่างด้าวว่า ปัจจุบันมีแรงงานต่างด้าวในระบบกว่า 2 ล้านคน มีแรงงานต่างด้าวอีกกว่า 1.5 แสนคนที่มาขึ้นทะเบียนไว้กับกรมการจัดหางาน (กกจ.) แต่ยังออกเอกสารรับรองสถานะให้เป็นแรงงานต่างด้าวที่ถูกกฎหมายไม่เรียบร้อย นอกจากนี้ ยังมีแรงงานต่างด้าวที่อยู่นอกระบบอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งต่อไปจะต้องนำแรงงานต่างด้าวกลุ่มนี้เข้ามาอยู่ในระบบโดยการจดทะเบียนให้เป็นแรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมายเพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยต้องใช้แรงงานต่างด้าวเป็นจำนวนมาก ส่วนการนำเข้าแรงงานต่างด้าวเพิ่มเติมนั้น จะต้องมีการหารือกันระหว่างกระทรวงแรงงาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคเอกชน ว่า ประเทศไทยมีความต้องการแรงงานต่างด้าวเพิ่มเติมอีกเป็นจำนวนเท่าใด
รมว.แรงงาน กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลพม่าประกาศให้แรงงานสัญชาติพม่ากลับประเทศเพื่อทำบัตรประชาชนในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ปี พ.ศ.2557 ทั้งผู้ที่มีหนังสือเดินทางและไม่มีหนังสือเดินทางแล้วอาจก่อให้เกิดปัญหาขาดแรงงานและความวุ่นวายว่า เชื่่อว่าไม่น่าจะมีปัญหาดังกล่าว หากมีการบริหารจัดการที่เป็นระบบ อาจประสานกับรัฐบาลพม่าให้มาตั้งจุดให้บริการแรงงานพม่าตามแนวชายแดนที่ติดกับประเทศไทย เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางและลดระยะเวลาในการขาดงาน ทั้งนี้ตนคิดว่าแรงงานพม่าเองไม่อยากเดินทางกลับประเทศ เนื่องจากต้องเดินทางกลับมาประเทศไทยอีก ทำให้เสียทั้งเวลาและค่าเดินทาง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากข้อมูลของ กกจ.เมื่อเดือนสิงหาคม 2556 พบว่า มีแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ ทั้งพม่า กัมพูชา และลาว ที่ทำงานอยู่ในไทยที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เเละแรงงานต่างด้าวที่รอการออกเอกสารรับรองเป็นแรงงานถูกกฎหมายรวมกว่า 2 ล้านคน ซึ่งแยกออกเป็นแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานอยู่ในไทยอย่างถูกกฎหมาย 1,667,549 คน และแรงงานต่างด้าวที่มายื่นเรื่องเพื่อขอปรับเปลี่ยนสถานะเป็นแรงงานเข้าเมืองและทำงานอย่างถูกกฎหมายเป็นกรณีพิเศษ 651,143 คน โดยในจำนวนนี้มีแรงงานที่ได้รับการออกเอกสารรับรองปรับเปลี่ยนสถานะให้ทำงานอย่างถูกกฎหมายแล้ว 492,881 คน ขณะที่ตัวเลขจากนักวิจัยด้านประชากรศาสตร์ได้คาดการณ์ว่าแรงงานต่างด้าวทั้งที่ถูกกฎหมายและไม่ถูกกฎหมายรวมแล้วน่าจะมีอยู่ในประเทศไทยกว่า 4 ล้านคน
วันนี้ (17 ก.ย.) ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (รมว.รง.) กล่าวถึงการจัดการเรื่องแรงงานต่างด้าวว่า ปัจจุบันมีแรงงานต่างด้าวในระบบกว่า 2 ล้านคน มีแรงงานต่างด้าวอีกกว่า 1.5 แสนคนที่มาขึ้นทะเบียนไว้กับกรมการจัดหางาน (กกจ.) แต่ยังออกเอกสารรับรองสถานะให้เป็นแรงงานต่างด้าวที่ถูกกฎหมายไม่เรียบร้อย นอกจากนี้ ยังมีแรงงานต่างด้าวที่อยู่นอกระบบอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งต่อไปจะต้องนำแรงงานต่างด้าวกลุ่มนี้เข้ามาอยู่ในระบบโดยการจดทะเบียนให้เป็นแรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมายเพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยต้องใช้แรงงานต่างด้าวเป็นจำนวนมาก ส่วนการนำเข้าแรงงานต่างด้าวเพิ่มเติมนั้น จะต้องมีการหารือกันระหว่างกระทรวงแรงงาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคเอกชน ว่า ประเทศไทยมีความต้องการแรงงานต่างด้าวเพิ่มเติมอีกเป็นจำนวนเท่าใด
รมว.แรงงาน กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลพม่าประกาศให้แรงงานสัญชาติพม่ากลับประเทศเพื่อทำบัตรประชาชนในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ปี พ.ศ.2557 ทั้งผู้ที่มีหนังสือเดินทางและไม่มีหนังสือเดินทางแล้วอาจก่อให้เกิดปัญหาขาดแรงงานและความวุ่นวายว่า เชื่่อว่าไม่น่าจะมีปัญหาดังกล่าว หากมีการบริหารจัดการที่เป็นระบบ อาจประสานกับรัฐบาลพม่าให้มาตั้งจุดให้บริการแรงงานพม่าตามแนวชายแดนที่ติดกับประเทศไทย เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางและลดระยะเวลาในการขาดงาน ทั้งนี้ตนคิดว่าแรงงานพม่าเองไม่อยากเดินทางกลับประเทศ เนื่องจากต้องเดินทางกลับมาประเทศไทยอีก ทำให้เสียทั้งเวลาและค่าเดินทาง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากข้อมูลของ กกจ.เมื่อเดือนสิงหาคม 2556 พบว่า มีแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ ทั้งพม่า กัมพูชา และลาว ที่ทำงานอยู่ในไทยที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เเละแรงงานต่างด้าวที่รอการออกเอกสารรับรองเป็นแรงงานถูกกฎหมายรวมกว่า 2 ล้านคน ซึ่งแยกออกเป็นแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานอยู่ในไทยอย่างถูกกฎหมาย 1,667,549 คน และแรงงานต่างด้าวที่มายื่นเรื่องเพื่อขอปรับเปลี่ยนสถานะเป็นแรงงานเข้าเมืองและทำงานอย่างถูกกฎหมายเป็นกรณีพิเศษ 651,143 คน โดยในจำนวนนี้มีแรงงานที่ได้รับการออกเอกสารรับรองปรับเปลี่ยนสถานะให้ทำงานอย่างถูกกฎหมายแล้ว 492,881 คน ขณะที่ตัวเลขจากนักวิจัยด้านประชากรศาสตร์ได้คาดการณ์ว่าแรงงานต่างด้าวทั้งที่ถูกกฎหมายและไม่ถูกกฎหมายรวมแล้วน่าจะมีอยู่ในประเทศไทยกว่า 4 ล้านคน