กกจ.หารือสมาคมประมงฯ สรุปช่วงเวลาให้ผู้ประกอบการประมงยื่นจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย 2 รอบ รอบแรกเปิดให้ยื่น 16 ก.ย.-15 ธ.ค.56 รอบสอง 1 มี.ค.-31 พ.ค.57 ส่งหนังสือถึง สธ.จี้ลดค่าทำประกันสุขภาพจาก 2.8 พันเหลือ 1.3 พันตามมติ ครม.
นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กกจ.ได้หารือกับสมาคมการประมงแห่งประเทศไทยกันเพื่อกำหนดช่วงเวลาการให้ผู้ประกอบการมายื่นจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวด้านประมงตามที่ก่อนหน้านี้คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานด้านประมงโดยอนุญาตให้ผู้ประกอบการด้านประมงสามารถนำลูกจ้างซึ่งเป็นแรงงานต่างด้าวมายื่นจดทะเบียนเพื่อเป็นแรงงานต่างด้าวที่ทำงานในไทยอย่างถูกกฎหมายได้ปีละ 2 ครั้งโดยให้เวลาในการยื่นจดทะเบียนครั้งละ 3 เดือน ซึ่งได้ข้อสรุปร่วมกันว่า ช่วงเวลาที่เปิดให้ผู้ประกอบการมายื่นจดทะเบียนครั้งแรกอยู่ระหว่างวันที่ 16 กันยายน-15 ธันวาคม พ.ศ.2556 และรอบที่สองระหว่างวันที่ 1 มีนาคม-31 พฤษภาคม พ.ศ.2557 แต่ละรอบกระทรวงมหาดไทย (มท.) จะต้องออกประกาศผ่อนผันเพื่อให้แรงงานต่างด้าวด้านประมงที่เข้าทำงานในไทยโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายสามารถอาศัยและทำงานอยู่ในประเทศไทยได้ชั่วคราว 1 ปี โดยหากแรงงานต่างด้าวที่มาขึ้นทะเบียนรอบแรกอยู่ในไทยได้จนถึงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ.2557 และรอบที่สองอยู่ในไทยได้ถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2558
นายประวิทย์ กล่าวอีกว่า กกจ.จะเปิดให้ผู้ประกอบการประมงมายื่นจดทะเบียนรอบแรกตั้งแต่วันที่ 16 กันยายนนี้ โดยผู้ประกอบการประมงจะต้องรวบรวมรายชื่อลูกจ้าง ซึ่งเป็นแรงงานต่างด้าวที่เข้าทำงานในไทยโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายไปยื่นต่อสำนักงานจัดหางานจังหวัด 22 จังหวัด เช่น สมุทรสาคร ระยอง ตราด สตูล ระนอง และนายจ้างต้องแจ้งต่อศูนย์ประสานแรงงานประมงในพื้นที่หรือจังหวัดใกล้เคียงซึ่งปัจจุบันมีศูนย์นี้อยู่ใน 7 จังหวัด ได้แก่ สมุทรสาคร ระยอง ตราด ชุมพร สงขลา ระนอง และสตูล ด้วย
อธิบดี กกจ.กล่าวต่อว่า หลังจากนั้นนายจ้างต้องไปยื่นขอจัดทำทะเบียนประวัติคนต่างด้าว (ท.ร.38/1) กับที่ว่าการอำเภอในพื้นที่และนายจ้างนำใบ ท.ร.38/1 ของลูกจ้างแรงงานต่างด้าวแต่ละคนไปยื่นเพื่อให้ลูกจ้างเข้ารับการตรวจสุขภาพและทำประกันสุขภาพกับโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จากนั้นก็ไปยื่นคำขอใบอนุญาตทำงานกับสำนักงานจัดหางานจังหวัดในพื้นที่โดยเสียค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนรวมทั้งหมด 3,880 บาทต่อคน เช่น ค่าตรวจสุขภาพ 600 บาท ค่าทำประกันสุขภาพ 1,300 บาท ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงานมีอายุ 1 ปี 1,900 บาท
“ค่าทำประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวนั้นตามมติครม.กำหนดให้ สธ.เก็บได้คนละ 1,300 บาท แต่ขณะนี้ สธ.ได้ปรับเพิ่มเป็นคนละ 2,800 บาท เมื่อเร็วๆ นี้ กกจ.จึงได้ทำหนังสือแจ้งมติ ครม.ไปยัง สธ.เพื่อขอให้ลดเหลือ 1,300 บาทตามมติ ครม.ขณะนี้กำลังรอหนังสือตอบกลับจาก สธ.” อธิบดี กกจ.กล่าว
นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กกจ.ได้หารือกับสมาคมการประมงแห่งประเทศไทยกันเพื่อกำหนดช่วงเวลาการให้ผู้ประกอบการมายื่นจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวด้านประมงตามที่ก่อนหน้านี้คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานด้านประมงโดยอนุญาตให้ผู้ประกอบการด้านประมงสามารถนำลูกจ้างซึ่งเป็นแรงงานต่างด้าวมายื่นจดทะเบียนเพื่อเป็นแรงงานต่างด้าวที่ทำงานในไทยอย่างถูกกฎหมายได้ปีละ 2 ครั้งโดยให้เวลาในการยื่นจดทะเบียนครั้งละ 3 เดือน ซึ่งได้ข้อสรุปร่วมกันว่า ช่วงเวลาที่เปิดให้ผู้ประกอบการมายื่นจดทะเบียนครั้งแรกอยู่ระหว่างวันที่ 16 กันยายน-15 ธันวาคม พ.ศ.2556 และรอบที่สองระหว่างวันที่ 1 มีนาคม-31 พฤษภาคม พ.ศ.2557 แต่ละรอบกระทรวงมหาดไทย (มท.) จะต้องออกประกาศผ่อนผันเพื่อให้แรงงานต่างด้าวด้านประมงที่เข้าทำงานในไทยโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายสามารถอาศัยและทำงานอยู่ในประเทศไทยได้ชั่วคราว 1 ปี โดยหากแรงงานต่างด้าวที่มาขึ้นทะเบียนรอบแรกอยู่ในไทยได้จนถึงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ.2557 และรอบที่สองอยู่ในไทยได้ถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2558
นายประวิทย์ กล่าวอีกว่า กกจ.จะเปิดให้ผู้ประกอบการประมงมายื่นจดทะเบียนรอบแรกตั้งแต่วันที่ 16 กันยายนนี้ โดยผู้ประกอบการประมงจะต้องรวบรวมรายชื่อลูกจ้าง ซึ่งเป็นแรงงานต่างด้าวที่เข้าทำงานในไทยโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายไปยื่นต่อสำนักงานจัดหางานจังหวัด 22 จังหวัด เช่น สมุทรสาคร ระยอง ตราด สตูล ระนอง และนายจ้างต้องแจ้งต่อศูนย์ประสานแรงงานประมงในพื้นที่หรือจังหวัดใกล้เคียงซึ่งปัจจุบันมีศูนย์นี้อยู่ใน 7 จังหวัด ได้แก่ สมุทรสาคร ระยอง ตราด ชุมพร สงขลา ระนอง และสตูล ด้วย
อธิบดี กกจ.กล่าวต่อว่า หลังจากนั้นนายจ้างต้องไปยื่นขอจัดทำทะเบียนประวัติคนต่างด้าว (ท.ร.38/1) กับที่ว่าการอำเภอในพื้นที่และนายจ้างนำใบ ท.ร.38/1 ของลูกจ้างแรงงานต่างด้าวแต่ละคนไปยื่นเพื่อให้ลูกจ้างเข้ารับการตรวจสุขภาพและทำประกันสุขภาพกับโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จากนั้นก็ไปยื่นคำขอใบอนุญาตทำงานกับสำนักงานจัดหางานจังหวัดในพื้นที่โดยเสียค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนรวมทั้งหมด 3,880 บาทต่อคน เช่น ค่าตรวจสุขภาพ 600 บาท ค่าทำประกันสุขภาพ 1,300 บาท ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงานมีอายุ 1 ปี 1,900 บาท
“ค่าทำประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวนั้นตามมติครม.กำหนดให้ สธ.เก็บได้คนละ 1,300 บาท แต่ขณะนี้ สธ.ได้ปรับเพิ่มเป็นคนละ 2,800 บาท เมื่อเร็วๆ นี้ กกจ.จึงได้ทำหนังสือแจ้งมติ ครม.ไปยัง สธ.เพื่อขอให้ลดเหลือ 1,300 บาทตามมติ ครม.ขณะนี้กำลังรอหนังสือตอบกลับจาก สธ.” อธิบดี กกจ.กล่าว