บอร์ด กรอ.อศ.นัดแรกไฟเขียวตั้งคณะอนุกรรมฯ 14 กลุ่มอาชีพ “จาตุรนต์” มอบสำรวจตัวเลขความต้องการ วางแผนพัฒนาหลักสูตรและประเมินรายได้ของผู้จบ ปวช.-ปวส.แต่ละกลุ่มอาชีพ พร้อมสั่งจัดคอร์สอบรมระยะสั้นแบบเข้มข้น ขณะที่ระยะปานกลางและระยะยาวต้องปรับหลักสูตร วางแผนผลิตกำลังคนให้ตรงความต้องการในอีก 5 ปีข้างหน้า
นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวภายหลังประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (กรอ.อศ.) ครั้งแรก เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ที่ประชุมได้รับทราบคำสั่ง ศธ.เรื่องการแต่งตั้ง กรอ.อศ.มี รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธาน มีกรรมการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อร่วมกันกำหนดเป้าหมายและทิศทางพัฒนาการเรียนการสอน พัฒนาผู้เรียนสายอาชีวศึกษาให้มีคุณภาพได้มาตรฐานสากล ขยายความร่วมมือระบบทวิภาคีในการร่วมมือกับภาคการผลิตและสถานประกอบการมากขึ้น และร่วมกันวางแผนสร้างค่านิยมเพื่อจูงใจเด็กเลือกเรียนสายอาชีวะมากขึ้น โดย ศธ.มีเป้าหมายจะเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนสายอาชีวะต่อสายสามัญ เป็น 50:50 ภายในปี 2558 นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนกลุ่มอาชีพ (Skill Cluster) ที่เน้นกลุ่มอุตสาหกรรม 14 กลุ่ม อาชีพ ได้แก่ กลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วน กลุ่มแม่พิมพ์ กลุ่มพลังงาน กลุ่มอาหาร กลุ่มโรงแรมและท่องเที่ยว กลุ่มอัญมณี กลุ่มก่อสร้าง กลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มโลจิสติกส์ กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (รวมโทรคมนาคม) กลุ่มปิโตรเคมี กลุ่มเฟอร์นิเจอร์ กลุ่มเกษตรกรรม และกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอ
สำหรับคณะอนุกรรมการทั้ง 10 กลุ่ม มีหน้าที่สำรวจและรวบรวมความต้องการกำลังคนในแต่ละกลุ่ม วางแผนพัฒนาหลักสูตรและฝึกอบรม รวมถึงศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประเมินรายได้สำหรับผู้ที่จบระดับประกาศนียบัติวิชาชีพ (ปวช.) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ด้วย ซึ่งในส่วนของการฝึกอบรมได้มอบนโยบายให้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ช่วงปิดภาคเรียนโดยจัดเป็นคอร์สสั้นๆ ส่วนระยะปานกลาง และระยะยาวต้องทำหลักสูตรการเรียนการสอนใหม่หรือปรับปรุงที่ทำไว้อยู่เดิมให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคเอกชน โดยต้องเริ่มทันทีในปีการศึกษา 2557 และต้องทำต่อเนื่องคือจัดทำระบบผลิตกำลังคนในอีก 5 ปีข้างหน้าสอดคล้องกับที่ภาคเอกชนต้องการ ขณะเดียวกันจะส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างอาชีวะเอกชนและภาคเอกชนด้วย เมื่อกำหนดเป้าหมายแนวทางที่ชัดเจนแล้ว สอศ.พบว่ามีปัญหาติดขัดในเรื่องใดก็ขอให้แจ้งมา ศธ.ก็จะหาทางสนับสนุนให้
นายถาวร ชลัษเฐียร เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) กล่าวว่า ขณะนี้ภาคอุตสาหกรรมกำลังประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานปฏิบัติการจำนวนมาก โดยคาดว่าอีก 5 ปีข้างหน้าเราภาคอุตสาหกรรมต้องการแรงงานอีก 3 แสนคน โดยเฉพาะสาขาช่างต้องการถึง 1.2 แสนคน ฉะนั้นจึงเป็นเรื่องที่ รมว.ศธ.วางระบบให้มี กรอ.อศ.ทั้งนี้ ยังพบว่าการจัดการศึกษาของอาชีวะ ได้แก่ จำนวนผู้เรียนไม่พอ วิชาที่สอนของวิทยาลัยไม่ตรงกับความต้องการของสถานประกอบการ 100% หรือผลิตไม่ตรงความต้องการ และคุณภาพของนักเรียน นักศึกษาไม่ถึงเกณฑ์ แต่เรื่องนี้สามารถแก้ไขได้ หากมีการทำทวิภาคีระหว่างวิทยาลัยและสถานประกอบการมากขึ้น ซึ่งหากมีการร่วมมืออย่างจริงจัง คิดว่าภายใน 3-5 ปี ก็จะเริ่มเห็นผลลัพธ์แน่นอน
ด้าน นางปิยะมาน เตชะไพบูลย์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ความต้องการของตลาดเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ตามการประเมินนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะเข้ามาในปี 2557 และ 2558 จำนวน 28 ล้านคน และ 30 ล้านคน ตามลำดับ และต้องเร่งพัฒนาคนเพื่อเข้าสู่อาเซียนอีกด้วย ทั้งนี้ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการขาดแคลนแรงงานในปัจจุบันมี 2 เรื่องคือ ค่านิยมต่ออาชีพบริการ และแรงงานที่ผลิตได้ไม่ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการท่องเที่ยว ทำให้แรงงานที่สถานศึกษาผลิตออกมาไม่สามารถทำงานได้ในตำแหน่งที่มี ทั้งที่มีการผลิตแรงงานในด้านนี้จำนวนมาก รวมถึงการปรับทัศนคติของผู้เรียนให้รักการบริการด้วย
นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวภายหลังประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (กรอ.อศ.) ครั้งแรก เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ที่ประชุมได้รับทราบคำสั่ง ศธ.เรื่องการแต่งตั้ง กรอ.อศ.มี รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธาน มีกรรมการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อร่วมกันกำหนดเป้าหมายและทิศทางพัฒนาการเรียนการสอน พัฒนาผู้เรียนสายอาชีวศึกษาให้มีคุณภาพได้มาตรฐานสากล ขยายความร่วมมือระบบทวิภาคีในการร่วมมือกับภาคการผลิตและสถานประกอบการมากขึ้น และร่วมกันวางแผนสร้างค่านิยมเพื่อจูงใจเด็กเลือกเรียนสายอาชีวะมากขึ้น โดย ศธ.มีเป้าหมายจะเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนสายอาชีวะต่อสายสามัญ เป็น 50:50 ภายในปี 2558 นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนกลุ่มอาชีพ (Skill Cluster) ที่เน้นกลุ่มอุตสาหกรรม 14 กลุ่ม อาชีพ ได้แก่ กลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วน กลุ่มแม่พิมพ์ กลุ่มพลังงาน กลุ่มอาหาร กลุ่มโรงแรมและท่องเที่ยว กลุ่มอัญมณี กลุ่มก่อสร้าง กลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มโลจิสติกส์ กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (รวมโทรคมนาคม) กลุ่มปิโตรเคมี กลุ่มเฟอร์นิเจอร์ กลุ่มเกษตรกรรม และกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอ
สำหรับคณะอนุกรรมการทั้ง 10 กลุ่ม มีหน้าที่สำรวจและรวบรวมความต้องการกำลังคนในแต่ละกลุ่ม วางแผนพัฒนาหลักสูตรและฝึกอบรม รวมถึงศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประเมินรายได้สำหรับผู้ที่จบระดับประกาศนียบัติวิชาชีพ (ปวช.) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ด้วย ซึ่งในส่วนของการฝึกอบรมได้มอบนโยบายให้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ช่วงปิดภาคเรียนโดยจัดเป็นคอร์สสั้นๆ ส่วนระยะปานกลาง และระยะยาวต้องทำหลักสูตรการเรียนการสอนใหม่หรือปรับปรุงที่ทำไว้อยู่เดิมให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคเอกชน โดยต้องเริ่มทันทีในปีการศึกษา 2557 และต้องทำต่อเนื่องคือจัดทำระบบผลิตกำลังคนในอีก 5 ปีข้างหน้าสอดคล้องกับที่ภาคเอกชนต้องการ ขณะเดียวกันจะส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างอาชีวะเอกชนและภาคเอกชนด้วย เมื่อกำหนดเป้าหมายแนวทางที่ชัดเจนแล้ว สอศ.พบว่ามีปัญหาติดขัดในเรื่องใดก็ขอให้แจ้งมา ศธ.ก็จะหาทางสนับสนุนให้
นายถาวร ชลัษเฐียร เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) กล่าวว่า ขณะนี้ภาคอุตสาหกรรมกำลังประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานปฏิบัติการจำนวนมาก โดยคาดว่าอีก 5 ปีข้างหน้าเราภาคอุตสาหกรรมต้องการแรงงานอีก 3 แสนคน โดยเฉพาะสาขาช่างต้องการถึง 1.2 แสนคน ฉะนั้นจึงเป็นเรื่องที่ รมว.ศธ.วางระบบให้มี กรอ.อศ.ทั้งนี้ ยังพบว่าการจัดการศึกษาของอาชีวะ ได้แก่ จำนวนผู้เรียนไม่พอ วิชาที่สอนของวิทยาลัยไม่ตรงกับความต้องการของสถานประกอบการ 100% หรือผลิตไม่ตรงความต้องการ และคุณภาพของนักเรียน นักศึกษาไม่ถึงเกณฑ์ แต่เรื่องนี้สามารถแก้ไขได้ หากมีการทำทวิภาคีระหว่างวิทยาลัยและสถานประกอบการมากขึ้น ซึ่งหากมีการร่วมมืออย่างจริงจัง คิดว่าภายใน 3-5 ปี ก็จะเริ่มเห็นผลลัพธ์แน่นอน
ด้าน นางปิยะมาน เตชะไพบูลย์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ความต้องการของตลาดเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ตามการประเมินนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะเข้ามาในปี 2557 และ 2558 จำนวน 28 ล้านคน และ 30 ล้านคน ตามลำดับ และต้องเร่งพัฒนาคนเพื่อเข้าสู่อาเซียนอีกด้วย ทั้งนี้ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการขาดแคลนแรงงานในปัจจุบันมี 2 เรื่องคือ ค่านิยมต่ออาชีพบริการ และแรงงานที่ผลิตได้ไม่ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการท่องเที่ยว ทำให้แรงงานที่สถานศึกษาผลิตออกมาไม่สามารถทำงานได้ในตำแหน่งที่มี ทั้งที่มีการผลิตแรงงานในด้านนี้จำนวนมาก รวมถึงการปรับทัศนคติของผู้เรียนให้รักการบริการด้วย