สธ.สั่งทุกจังหวัดคุมคุณภาพอาหาร ทั้งในและนอกโรงเรียน สกัดเด็กกินอาหารไร้ประโยชน์ ทำอ้วนเกินพิกัด รณรงค์ลดใช้เครื่องปรุงเกินจำเป็น พร้อมจัดทำแผนรับมือและระบบการจัดการอาหารภาวะฉุกเฉินร้ายแรง
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ขณะนี้ปัญหาจากอาหารมีผลกระทบต่อสุขภาพมากขึ้น โดยเฉพาะการบริโภคเกินหรือไม่ถูกสัดส่วน และสารเคมีอันตรายปนเปื้อน ก่อให้เกิดโรคไม่ติดต่อ เช่น โรคอ้วน มะเร็ง เบาหวาน เป็นต้น ซึ่งตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป สธ.จะเน้นที่คุณภาพความปลอดภัยอาหาร ควบคู่กับคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย โดยมอบนโยบายให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ทั่วประเทศ และประสานกับกทม.ดำเนินการในพื้นที่ให้เป็นแนวเดียวกันทั่วประเทศ
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า กลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 4 ปี เน้นให้กินนมแม่ เพราะมีสารอาหารครบถ้วนที่สุด ซึ่งจะต้องดูแลอาหารของหญิงตั้งครรภ์และช่วงระหว่างให้นมบุตร และพัฒนาอาหารศูนย์เด็กเล็กให้มีคุณภาพทั่วประเทศ รวมทั้งส่งเสริมพฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กของพ่อแม่ เพื่อให้เด็กมีส่วนสูงดีและรูปร่างสมส่วน กลุ่มเด็กวัยเรียน 5-14 ปี เน้นเฝ้าระวังอาหารที่มีผลต่อภาวะอ้วนและความฉลาด ซึ่งเด็กวัยนี้อ้วนมากขึ้น เนื่องจากกินมากเกินไปและกินไม่ถูกสัดส่วน โดยผลสำรวจในปี 2552 พบเด็กอายุ 6-14 ปี มีปัญหาน้ำหนักเกินและอ้วน ร้อยละ 9.7 และในรอบ 3 เดือนของปี 2556 เด็กอายุ 6-12 ปี มีภาวะอ้วนถึงร้อยละ 8.7 โดยจะให้ทุกจังหวัดดูแลอาหารในโรงเรียนและหน้า
โรงเรียนให้จำหน่ายอาหารที่มีประโยชน์และปลอดภัย รวมทั้งรณรงค์และให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ครู ผู้ดูแลอาหาร และนักเรียน ลดการใช้เครื่องปรุงรสเกินความจำเป็น เพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไต และมะเร็ง เป็นต้น
นพ.ประดิษฐ กล่าวด้วยว่า สำหรับสถานการณ์ของโรคติดเชื้อที่มากับอาหารที่สำคัญ ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง พบว่าแนวโน้มดีขึ้น ในปี 2555 ทั่วประเทศป่วย 1,256,649 ราย เสียชีวิต 24 ราย ลดลงกว่าปี 2554 ที่มีจำนวนผู้ป่วย 1,323,105 ราย เสียชีวิต 55 ราย กลุ่มอายุที่ป่วยมากที่สุดคือ กลุ่มผู้สูงอายุ รองลงมาคือวัยแรงงาน โดยในปี 2556 ข้อมูลถึงวันที่ 7 ต.ค.2556 ทั่วประเทศมีรายงานผู้ป่วย 901,797 ราย เสียชีวิต 7 ราย โดยจะเน้นการปลูกฝังพฤติกรรมกินร้อน ช้อนกลาง และล้างมือแก่ประชาชนทุกวัย เพื่อเสริมความเข้มแข็งป้องกันโรคด้วย
“เนื่องในวันอาหารโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 16 ต.ค.ของทุกปี สธ.ได้มอบหมายให้สำนักส่งเสริมและสนับสนุนอาหารปลอดภัย พัฒนายุทธศาสตร์ และกลไกการขับเคลื่อนนโยบายสุขภาพระดับชาติด้านอาหารและโภชนาการ เน้นการป้องกัน เฝ้าระวังและจัดการด้านความปลอดภัยอาหารและโภชนาการที่เหมาะสมต่อสุขภาพประชาชนทุกกลุ่ม ทุกช่วงวัย พร้อมพัฒนาความร่วมมือเรื่องนี้ทั้งในระดับอาเซียน เอเชีย-แปซิฟิก และภูมิภาคอื่นๆ โดยจัดแผนรับมือและระบบการจัดการอาหารในภาวะฉุกเฉินร้ายแรง เช่น กรณีเกิดความไม่ปลอดภัยของอาหารภายในประเทศและระหว่างประเทศ เพื่อดูแลคุ้มครองความปลอดภัยและสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชนไทยและต่างประเทศ” รมว.สาธารณสุข กล่าว
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ขณะนี้ปัญหาจากอาหารมีผลกระทบต่อสุขภาพมากขึ้น โดยเฉพาะการบริโภคเกินหรือไม่ถูกสัดส่วน และสารเคมีอันตรายปนเปื้อน ก่อให้เกิดโรคไม่ติดต่อ เช่น โรคอ้วน มะเร็ง เบาหวาน เป็นต้น ซึ่งตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป สธ.จะเน้นที่คุณภาพความปลอดภัยอาหาร ควบคู่กับคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย โดยมอบนโยบายให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ทั่วประเทศ และประสานกับกทม.ดำเนินการในพื้นที่ให้เป็นแนวเดียวกันทั่วประเทศ
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า กลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 4 ปี เน้นให้กินนมแม่ เพราะมีสารอาหารครบถ้วนที่สุด ซึ่งจะต้องดูแลอาหารของหญิงตั้งครรภ์และช่วงระหว่างให้นมบุตร และพัฒนาอาหารศูนย์เด็กเล็กให้มีคุณภาพทั่วประเทศ รวมทั้งส่งเสริมพฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กของพ่อแม่ เพื่อให้เด็กมีส่วนสูงดีและรูปร่างสมส่วน กลุ่มเด็กวัยเรียน 5-14 ปี เน้นเฝ้าระวังอาหารที่มีผลต่อภาวะอ้วนและความฉลาด ซึ่งเด็กวัยนี้อ้วนมากขึ้น เนื่องจากกินมากเกินไปและกินไม่ถูกสัดส่วน โดยผลสำรวจในปี 2552 พบเด็กอายุ 6-14 ปี มีปัญหาน้ำหนักเกินและอ้วน ร้อยละ 9.7 และในรอบ 3 เดือนของปี 2556 เด็กอายุ 6-12 ปี มีภาวะอ้วนถึงร้อยละ 8.7 โดยจะให้ทุกจังหวัดดูแลอาหารในโรงเรียนและหน้า
โรงเรียนให้จำหน่ายอาหารที่มีประโยชน์และปลอดภัย รวมทั้งรณรงค์และให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ครู ผู้ดูแลอาหาร และนักเรียน ลดการใช้เครื่องปรุงรสเกินความจำเป็น เพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไต และมะเร็ง เป็นต้น
นพ.ประดิษฐ กล่าวด้วยว่า สำหรับสถานการณ์ของโรคติดเชื้อที่มากับอาหารที่สำคัญ ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง พบว่าแนวโน้มดีขึ้น ในปี 2555 ทั่วประเทศป่วย 1,256,649 ราย เสียชีวิต 24 ราย ลดลงกว่าปี 2554 ที่มีจำนวนผู้ป่วย 1,323,105 ราย เสียชีวิต 55 ราย กลุ่มอายุที่ป่วยมากที่สุดคือ กลุ่มผู้สูงอายุ รองลงมาคือวัยแรงงาน โดยในปี 2556 ข้อมูลถึงวันที่ 7 ต.ค.2556 ทั่วประเทศมีรายงานผู้ป่วย 901,797 ราย เสียชีวิต 7 ราย โดยจะเน้นการปลูกฝังพฤติกรรมกินร้อน ช้อนกลาง และล้างมือแก่ประชาชนทุกวัย เพื่อเสริมความเข้มแข็งป้องกันโรคด้วย
“เนื่องในวันอาหารโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 16 ต.ค.ของทุกปี สธ.ได้มอบหมายให้สำนักส่งเสริมและสนับสนุนอาหารปลอดภัย พัฒนายุทธศาสตร์ และกลไกการขับเคลื่อนนโยบายสุขภาพระดับชาติด้านอาหารและโภชนาการ เน้นการป้องกัน เฝ้าระวังและจัดการด้านความปลอดภัยอาหารและโภชนาการที่เหมาะสมต่อสุขภาพประชาชนทุกกลุ่ม ทุกช่วงวัย พร้อมพัฒนาความร่วมมือเรื่องนี้ทั้งในระดับอาเซียน เอเชีย-แปซิฟิก และภูมิภาคอื่นๆ โดยจัดแผนรับมือและระบบการจัดการอาหารในภาวะฉุกเฉินร้ายแรง เช่น กรณีเกิดความไม่ปลอดภัยของอาหารภายในประเทศและระหว่างประเทศ เพื่อดูแลคุ้มครองความปลอดภัยและสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชนไทยและต่างประเทศ” รมว.สาธารณสุข กล่าว