ศธ.ยันไม่ตัดวิชา “นาฏศิลป์” ออกจากหลักสูตรใหม่ แจงถูกบรรจุในกลุ่มความรู้สังคมและความเป็นมนุษย์ “จาตุรนต์” ชี้สังคมเข้าใจผิดและขยายความจนเลยเถิด ย้ำจำเป็นต้องปรับหลักสูตรใหม่เหตุที่ใช้อยู่ไม่สอดคล้องกับองค์ความรู้ ขณะที่ “ภาวิช” ในฐานะประธานปฏิรูปหลังสูตร เป็นงง สังคมวิจารณ์แหลก แจงนาฏศิลป์ยังอยู่ โดยระดับประถมอยู่ภายใต้วิชาศิลปะและพลานามัยเพื่อชีวิต ส่วนมัธยมเป็นวิชาเลือกในกลุ่มศิลปกรรม
วันนี้ (15 ต.ค.) ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยถึงกรณีที่กลุ่มอาจารย์นาฏศิลป์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) และวิทยาลัยนาฏศิลป์ทั่วประเทศ จะรวมกลุ่มยื่นหนังสือต่อ รมว.ศึกษาธิการ เพื่อทวงถามถึงเหตุผลการตัดรายวิชานาฏศิลป์ออกจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จะมีการปรับปรุงใหม่ ขณะเดียวกัน มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์คัดค้านเรื่องดังกล่าวอย่างมากในโซเชียลเน็ตเวิร์ก ว่า ตนยังไม่เคยได้ยินเรื่องที่ ศธ.จะตัดวิชานาฏศิลป์ออกจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับใหม่ และจากการหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องก็ไม่เคยได้ยินในเรื่องนี้เช่นกัน ทั้งนี้ เมื่อสอบถามผู้ที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ก็พบว่า ข้อความหรือข่าวที่ส่งกันไปในโซเชียลมีเดียไม่ตรงกับความเป็นจริง เพราะหลักสูตรใหม่ไม่ได้มีการตัดวิชานาฏศิลป์ออก โดยการปรับหลักสูตรครั้งนี้ได้มีการจัดกลุ่มสาระการเรียนรู้กันใหม่ ซึ่งปรับจาก 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ มาเป็น 6 กลุ่มความรู้ โดยวิชานาฏศิลป์ถูกบรรจุอยู่ในกลุ่มความรู้สังคมและความเป็นมนุษย์ สำหรับนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษา ส่วนในระดับมัธยมศึกษาจะอยู่ในระบบวิชาเลือก
“การจัดทำหลักสูตรฉบับใหม่อยู่ระหว่างยกร่าง และดำเนินงานความคืบหน้าไปมากแล้ว และผมได้เร่งรัดให้มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง และผู้ที่สนใจให้มากขึ้น รวมทั้งให้มีการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับความคืบหน้าในเรื่องการปรับปรุงหลักสูตร เพราะการปรับปรุงหลักสูตรถือเป็นเรื่องจำเป็น และจะเป็นประโยชน์อย่างมาก เพราะหลักสูตรฉบับปัจจุบันที่ใช้กันอยู่นี้ไม่สอดคล้องกับองค์ความรู้ใหม่ๆ ในการที่จะให้การศึกษาแก่เด็ก และเยาวชน อีกทั้งหลักสูตรเก่าที่มี 8 กลุ่มสาระ ก็เกิดปัญหามาก โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่เป็นปัญหาทำให้การใช้เวลาในการเรียนสำหรับวิชาพื้นฐานที่จำเป็นมากๆ เช่น ภาษาไทย คณิตศาสตร์ เหลืออยู่น้อย ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กในวิชาภาษาไทย และคณิตศาสตร์อยู่ในสภาพที่ไม่น่าพอใจอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ขณะนี้เรื่องการตัดวิชานาฏศิลป์ออกจากหลักสูตรใหม่ มีการนำไปขยายความในแบบผิดๆ และนำไปเชื่อมโยงกับวิชาอื่น เรียกว่าแต่งเสริมตกแต่งกันจนเลยเถิดไปมาก ดังนั้น จึงจะต้องมีการชี้แจงเพิ่มเติมในเรื่องนี้ให้ทุกคนเข้าใจว่าไม่ได้มีการตัดวิชานาฏศิลป์ออก และจำเป็นต้องมีการปรับหลักสูตรเพราะอะไร” นายจาตุรนต์ กล่าว
ด้าน นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวว่า สพฐ.ยืนยันว่ายังคงให้ความสำคัญกับวิชานาฏศิลป์ และไม่มีการตัดออกจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับใหม่แต่อย่างใด เพราะเป็นวิชาที่เกี่ยวกับการพัฒนาด้านอารมณ์ ความรู้สึก ช่วยกล่อมเกลาจิตใจ ฝึกความอดทน และสร้างเสริมความสามัคคี อีกทั้งวิชานาฏศิลป์ก็ยังอยู่ในหมวดศิลปะที่ครอบคลุมเนื้อหาหมวดนี้อยู่แล้วด้วย
ขณะที่ ศ.(พิเศษ) ดร.ภาวิช ทองโรจน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการปฏิรูปหลักสูตรและตำราการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า ยื่นยันว่าเนื้อหาวิชานาฏศิลป์ยังคงอยู่เหมือนเดิม โดยถูกบรรจุอยู่ในกลุ่มความรู้สังคม และความเป็นมนุษย์ โดยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 จะถูกบรรจุเป็นสาระหลักในวิชาศิลปะและพลานามัยเพื่อชีวิต ส่วนในระดับมัธยมศึกษาจะอยู่ในวิชาเลือกในกลุ่มศิลปกรรม สำหรับนักเรียนที่มุ่งมั่นจะเรียนทางด้านนี้อย่างจริงจัง จะมีประโยชน์มากเพราะจะได้เรียนรู้เนื้อหาที่เจาะลึกและมากกว่าเนื้อหาในหลักสูตรเก่า
“แม้จะไม่มีชื่อวิชานาฏศิลป์อยู่ในวิชาต่างๆ ในหลักสูตรใหม่ แต่หากเราจะมัวแต่มาถกเถียงกันเรื่องชื่อวิชา ก็คงไม่จบ และนาฏศิลป์ก็ถือเป็นศิลปกรรมแขนงหนึ่ง ดังนั้นยืนยันว่าหลักสูตรใหม่ไม่ตัดวิชานาฏศิลป์ออกแน่นอน ผมไม่รู้คนที่ออกมาพูด นำข้อมูลมาจากไหน เข้าใจว่าอาจจะเป็นเอกสารเก่า ไม่ได้มีการเผยแพร่ต่อสาธารณะ และไม่เข้าใจว่าคนที่กระพือข่าวต้องการอะไร โดยผมเองหลังจากเห็นข่าวที่ออกมาก็พยายามชี้แจงผ่านทางช่องทางต่างๆ ทั้งทางเฟซบุ๊ก ที่มีการรวมตัวกัน แต่ปรากฏว่าข้อความของผมก็ไม่ปรากฏต่อสาธารณะ”ศ.(พิเศษ) ดร.ภาวิช กล่าว
วันนี้ (15 ต.ค.) ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยถึงกรณีที่กลุ่มอาจารย์นาฏศิลป์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) และวิทยาลัยนาฏศิลป์ทั่วประเทศ จะรวมกลุ่มยื่นหนังสือต่อ รมว.ศึกษาธิการ เพื่อทวงถามถึงเหตุผลการตัดรายวิชานาฏศิลป์ออกจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จะมีการปรับปรุงใหม่ ขณะเดียวกัน มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์คัดค้านเรื่องดังกล่าวอย่างมากในโซเชียลเน็ตเวิร์ก ว่า ตนยังไม่เคยได้ยินเรื่องที่ ศธ.จะตัดวิชานาฏศิลป์ออกจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับใหม่ และจากการหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องก็ไม่เคยได้ยินในเรื่องนี้เช่นกัน ทั้งนี้ เมื่อสอบถามผู้ที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ก็พบว่า ข้อความหรือข่าวที่ส่งกันไปในโซเชียลมีเดียไม่ตรงกับความเป็นจริง เพราะหลักสูตรใหม่ไม่ได้มีการตัดวิชานาฏศิลป์ออก โดยการปรับหลักสูตรครั้งนี้ได้มีการจัดกลุ่มสาระการเรียนรู้กันใหม่ ซึ่งปรับจาก 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ มาเป็น 6 กลุ่มความรู้ โดยวิชานาฏศิลป์ถูกบรรจุอยู่ในกลุ่มความรู้สังคมและความเป็นมนุษย์ สำหรับนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษา ส่วนในระดับมัธยมศึกษาจะอยู่ในระบบวิชาเลือก
“การจัดทำหลักสูตรฉบับใหม่อยู่ระหว่างยกร่าง และดำเนินงานความคืบหน้าไปมากแล้ว และผมได้เร่งรัดให้มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง และผู้ที่สนใจให้มากขึ้น รวมทั้งให้มีการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับความคืบหน้าในเรื่องการปรับปรุงหลักสูตร เพราะการปรับปรุงหลักสูตรถือเป็นเรื่องจำเป็น และจะเป็นประโยชน์อย่างมาก เพราะหลักสูตรฉบับปัจจุบันที่ใช้กันอยู่นี้ไม่สอดคล้องกับองค์ความรู้ใหม่ๆ ในการที่จะให้การศึกษาแก่เด็ก และเยาวชน อีกทั้งหลักสูตรเก่าที่มี 8 กลุ่มสาระ ก็เกิดปัญหามาก โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่เป็นปัญหาทำให้การใช้เวลาในการเรียนสำหรับวิชาพื้นฐานที่จำเป็นมากๆ เช่น ภาษาไทย คณิตศาสตร์ เหลืออยู่น้อย ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กในวิชาภาษาไทย และคณิตศาสตร์อยู่ในสภาพที่ไม่น่าพอใจอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ขณะนี้เรื่องการตัดวิชานาฏศิลป์ออกจากหลักสูตรใหม่ มีการนำไปขยายความในแบบผิดๆ และนำไปเชื่อมโยงกับวิชาอื่น เรียกว่าแต่งเสริมตกแต่งกันจนเลยเถิดไปมาก ดังนั้น จึงจะต้องมีการชี้แจงเพิ่มเติมในเรื่องนี้ให้ทุกคนเข้าใจว่าไม่ได้มีการตัดวิชานาฏศิลป์ออก และจำเป็นต้องมีการปรับหลักสูตรเพราะอะไร” นายจาตุรนต์ กล่าว
ด้าน นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวว่า สพฐ.ยืนยันว่ายังคงให้ความสำคัญกับวิชานาฏศิลป์ และไม่มีการตัดออกจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับใหม่แต่อย่างใด เพราะเป็นวิชาที่เกี่ยวกับการพัฒนาด้านอารมณ์ ความรู้สึก ช่วยกล่อมเกลาจิตใจ ฝึกความอดทน และสร้างเสริมความสามัคคี อีกทั้งวิชานาฏศิลป์ก็ยังอยู่ในหมวดศิลปะที่ครอบคลุมเนื้อหาหมวดนี้อยู่แล้วด้วย
ขณะที่ ศ.(พิเศษ) ดร.ภาวิช ทองโรจน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการปฏิรูปหลักสูตรและตำราการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า ยื่นยันว่าเนื้อหาวิชานาฏศิลป์ยังคงอยู่เหมือนเดิม โดยถูกบรรจุอยู่ในกลุ่มความรู้สังคม และความเป็นมนุษย์ โดยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 จะถูกบรรจุเป็นสาระหลักในวิชาศิลปะและพลานามัยเพื่อชีวิต ส่วนในระดับมัธยมศึกษาจะอยู่ในวิชาเลือกในกลุ่มศิลปกรรม สำหรับนักเรียนที่มุ่งมั่นจะเรียนทางด้านนี้อย่างจริงจัง จะมีประโยชน์มากเพราะจะได้เรียนรู้เนื้อหาที่เจาะลึกและมากกว่าเนื้อหาในหลักสูตรเก่า
“แม้จะไม่มีชื่อวิชานาฏศิลป์อยู่ในวิชาต่างๆ ในหลักสูตรใหม่ แต่หากเราจะมัวแต่มาถกเถียงกันเรื่องชื่อวิชา ก็คงไม่จบ และนาฏศิลป์ก็ถือเป็นศิลปกรรมแขนงหนึ่ง ดังนั้นยืนยันว่าหลักสูตรใหม่ไม่ตัดวิชานาฏศิลป์ออกแน่นอน ผมไม่รู้คนที่ออกมาพูด นำข้อมูลมาจากไหน เข้าใจว่าอาจจะเป็นเอกสารเก่า ไม่ได้มีการเผยแพร่ต่อสาธารณะ และไม่เข้าใจว่าคนที่กระพือข่าวต้องการอะไร โดยผมเองหลังจากเห็นข่าวที่ออกมาก็พยายามชี้แจงผ่านทางช่องทางต่างๆ ทั้งทางเฟซบุ๊ก ที่มีการรวมตัวกัน แต่ปรากฏว่าข้อความของผมก็ไม่ปรากฏต่อสาธารณะ”ศ.(พิเศษ) ดร.ภาวิช กล่าว