รมว.ศึกษาฯ ย้ำยังไม่กำหนดนโยบายชัดให้ “ตกซ้ำชั้น” แต่จุดประเด็นให้ตื่นตัว ถามกลับคนห่วงว่าเด็กจะเสียอนาคต เพราะซ้ำชั้นทำใจได้อย่างไรถ้าเด็กจะจบไปแบบไม่รู้เรื่อง ชี้ต้องฟังความเห็นรอบด้าน และมีหลายวิธีที่จะทำได้ เช่น ซ้ำเป็นรายวิชา ด้าน ปลัด ศธ.การให้ตกหรือไม่ตกซ้ำชั้นไม่สำคัญเท่าวิธีการที่จะแก้ไขจุดอ่อนของเด็ก
นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงกรณีที่มีนโยบายให้ทบทวนเรื่องการตกซ้ำชั้นใหม่ โดยขณะนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ยกร่าง ระเบียบ ศธ.ว่าด้วยการวัดผล ประเมินผลการศึกษาขั้นพื้นฐานใหม่ มีเนื้อหาสาระที่จะให้มีการตกซ้ำชั้นในระดับชั้นประถมศึกษาหากไม่ผ่านวิชาใดวิชาหนึ่งก็จะต้องตกซ้ำชั้น เพราะเป็นการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ส่วนระดับมัธยมศึกษานั้นหากไม่ผ่านในรายวิชาใดจะต้องมาลงเรียนรายวิชานั้นใหม่ในภาคเรียนถัดไป หรือเมื่อโรงเรียนเปิดให้โดยไม่ต้องซ้ำชั้น ว่า ขณะนี้ตนยังไม่ได้กำหนดเป็นนโยบายที่ชัดเจน แต่ได้ตั้งประเด็นว่าการที่ไม่ให้เด็กตกซ้ำชั้นหรือซ้ำวิชา เป็นสาเหตุให้มีการปล่อยเด็กที่เรียนอ่อนมากผ่านขึ้นมาเรื่อยๆ จนมีจำนวนไม่น้อยที่เรียนจนจบมัธยมแล้วยังอ่านหนังสือไม่ได้เลย ดังนั้นควรจะต้องมีการแก้ไข ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าวถือว่ามีความซับซ้อน ยุ่งยาก เพราะการบอกว่าจะให้เด็กตกซ้ำชั้น ถ้าไม่มีมาตรการ ไม่มีระบบรองรับก็จะไม่เกิดผลอะไร เพราะครูกับโรงเรียนก็จะไม่ยอมให้เด็กสอบตกอยู่ดี เพราะเวลานี้ครูวัดผลกันเอง และอยู่ภายใต้ความกดดันของผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา และผู้ปกครอง ที่ไม่อยากให้เด็กตกซ้ำชั้น ถึงแม้เด็กจะเรียนไม่ได้ หรือเรียนไม่รู้เรื่องเลยก็อยากให้ผ่านไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้น จึงโยงมากับเรื่องการทดสอบวัดผลกลางที่ได้มาตรฐาน โดยต้องไปคิดกันว่าควรจะต้องมีการสอบวัดผลกลางระดับชั้นใดบ้าง มีความเข้มข้นมากน้อยแค่ไหน โดยหลายประเทศก็ใช้วัดผลกลางเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน แต่จะต้องทำระบบวัดผลกลางให้ได้มาตรฐานด้วย
“เวลานี้หลายคนเป็นห่วงว่าถ้าให้จบซ้ำชั้นจะทำให้เด็กเสียอนาคต เสียเวลา และทำใจไม่ได้ แต่ปัญหาคือ คนที่เป็นห่วงเหล่านี้ทำไมจึงทำใจได้ที่ปล่อยให้เด็กเรียนกันแบบไม่รู้เรื่อง จบ ม.6 แล้วยังอ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง ทำไมจึงจะปล่อยให้เด็กเสียอนาคตแบบนี้ การซ่อมเสริมที่ทำอย่างทุกวันนี้ก็ไม่มีประสิทธิภาพ และไม่เห็นผลจริง เช่น ให้นักเรียนมาทำความสะอาดห้อง แล้วผ่าน เด็กยังอ่านไม่ออก ก็ยังอ่านไม่ออกอยู่ดี ดังนั้นจึงต้องพูดทั้งระบบ โดยโจทย์ใหญ่คือจะปล่อยให้เด็กเรียนจบมาโดยอ่านไม่ออก จบมาโดยไม่มีคุณภาพไม่ได้” นายจาตุรนต์ กล่าว
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า คำว่าตกซ้ำชั้นสมัยนี้ อาจจะมีทางออกอื่นๆ เช่น ตกซ้ำชั้นบางวิชาแต่ปัญหาคือถ้าตกซ้ำหลายวิชา จะทำอย่างไร ซึ่งก็อาจจะหนีไม่พ้นการตกซ้ำชั้นเหมือนกัน เรื่องใหญ่คือทำอย่างไรให้โรงเรียนสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ ไม่ใช่เด็กเรียนไม่ได้ก็ให้ผ่านไปเรื่อยๆ ส่วนจะเป็นแนวทางไหนนั้นก็จะต้องมีการระดมความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องด้วย ส่วนกรณีที่ สพฐ.จะไปพิจารณาเรื่องการกลับไปใช้เปอร์เซ็นต์ในผลการเรียนแทนการใช้ระบบเกรดเหมือนเดิมนั้น เรื่องนี้ยังไม่ได้มีการหารือกัน คงต้องนำไปหารือกับนักวิชาการ และผู้ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับเรื่องการเรียนการสอนและการวัดผลก่อน ดังนั้นเวลานี้จึงยังเป็นเรื่องที่ยังไม่ลงตัว และยังไม่มีข้อสรุป
ด้าน นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัด ศธ.กล่าวว่า การให้เด็กตกซ้ำชั้นจะต้องมองให้รอบด้าน เพราะปัจจุบันการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน หรือคุณภาพการเรียนการสอนมีหลายแนวทาง โดยในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ก็จะต้องไปดูรายละเอียด และหาแนวทางการแก้ปัญหาคุณภาพการศึกษาที่เหมาะสม ซึ่งการให้เด็กคนหนึ่งตกซ้ำชั้น ต้องดูด้วยว่าเด็กคนนั้นเรียนอ่อนทุกวิชาหรือไม่ ยกตัวอย่าง เด็กคนหนึ่งเรียนดีทุกวิชาแต่อ่อนในวิชาภาษาอังกฤษและสอบตกวิชานั้น แต่จะต้องตกซ้ำชั้น แบบนี้จะเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งอาจจะมีแนวทางให้ตกซ้ำเป็นรายวิชา หรืออาจะพิจารณาที่เกรดเฉลี่ย หากไม่ได้มาตรฐานที่กำหนด ก็อาจจะต้องให้ตกซ้ำชั้น เป็นต้น
“ปัจจุบันเราจัดการศึกษาโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญก็ควรจะต้องคิดหาวิธีการเพื่อมาพัฒนาช่วยเหลือเด็ก โดยโรงเรียนและครูจะมีบทบาทสำคัญที่จะต้องสังเกตและรู้ว่าเด็กคนใดมีปัญหาเรียนอ่อน หรือไม่ทันเพื่อน เพื่อจะได้เร่งแก้ไขปัญหา เพราะปัญหาการตกหรือไม่ตกซ้ำชั้น ไม่ใช่เรื่องสำคัญเท่ากับเรามีวิธีการใดที่จะช่วยแก้ไขจุดอ่อนของเด็ก” นางสุทธศรี กล่าว
นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงกรณีที่มีนโยบายให้ทบทวนเรื่องการตกซ้ำชั้นใหม่ โดยขณะนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ยกร่าง ระเบียบ ศธ.ว่าด้วยการวัดผล ประเมินผลการศึกษาขั้นพื้นฐานใหม่ มีเนื้อหาสาระที่จะให้มีการตกซ้ำชั้นในระดับชั้นประถมศึกษาหากไม่ผ่านวิชาใดวิชาหนึ่งก็จะต้องตกซ้ำชั้น เพราะเป็นการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ส่วนระดับมัธยมศึกษานั้นหากไม่ผ่านในรายวิชาใดจะต้องมาลงเรียนรายวิชานั้นใหม่ในภาคเรียนถัดไป หรือเมื่อโรงเรียนเปิดให้โดยไม่ต้องซ้ำชั้น ว่า ขณะนี้ตนยังไม่ได้กำหนดเป็นนโยบายที่ชัดเจน แต่ได้ตั้งประเด็นว่าการที่ไม่ให้เด็กตกซ้ำชั้นหรือซ้ำวิชา เป็นสาเหตุให้มีการปล่อยเด็กที่เรียนอ่อนมากผ่านขึ้นมาเรื่อยๆ จนมีจำนวนไม่น้อยที่เรียนจนจบมัธยมแล้วยังอ่านหนังสือไม่ได้เลย ดังนั้นควรจะต้องมีการแก้ไข ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าวถือว่ามีความซับซ้อน ยุ่งยาก เพราะการบอกว่าจะให้เด็กตกซ้ำชั้น ถ้าไม่มีมาตรการ ไม่มีระบบรองรับก็จะไม่เกิดผลอะไร เพราะครูกับโรงเรียนก็จะไม่ยอมให้เด็กสอบตกอยู่ดี เพราะเวลานี้ครูวัดผลกันเอง และอยู่ภายใต้ความกดดันของผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา และผู้ปกครอง ที่ไม่อยากให้เด็กตกซ้ำชั้น ถึงแม้เด็กจะเรียนไม่ได้ หรือเรียนไม่รู้เรื่องเลยก็อยากให้ผ่านไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้น จึงโยงมากับเรื่องการทดสอบวัดผลกลางที่ได้มาตรฐาน โดยต้องไปคิดกันว่าควรจะต้องมีการสอบวัดผลกลางระดับชั้นใดบ้าง มีความเข้มข้นมากน้อยแค่ไหน โดยหลายประเทศก็ใช้วัดผลกลางเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน แต่จะต้องทำระบบวัดผลกลางให้ได้มาตรฐานด้วย
“เวลานี้หลายคนเป็นห่วงว่าถ้าให้จบซ้ำชั้นจะทำให้เด็กเสียอนาคต เสียเวลา และทำใจไม่ได้ แต่ปัญหาคือ คนที่เป็นห่วงเหล่านี้ทำไมจึงทำใจได้ที่ปล่อยให้เด็กเรียนกันแบบไม่รู้เรื่อง จบ ม.6 แล้วยังอ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง ทำไมจึงจะปล่อยให้เด็กเสียอนาคตแบบนี้ การซ่อมเสริมที่ทำอย่างทุกวันนี้ก็ไม่มีประสิทธิภาพ และไม่เห็นผลจริง เช่น ให้นักเรียนมาทำความสะอาดห้อง แล้วผ่าน เด็กยังอ่านไม่ออก ก็ยังอ่านไม่ออกอยู่ดี ดังนั้นจึงต้องพูดทั้งระบบ โดยโจทย์ใหญ่คือจะปล่อยให้เด็กเรียนจบมาโดยอ่านไม่ออก จบมาโดยไม่มีคุณภาพไม่ได้” นายจาตุรนต์ กล่าว
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า คำว่าตกซ้ำชั้นสมัยนี้ อาจจะมีทางออกอื่นๆ เช่น ตกซ้ำชั้นบางวิชาแต่ปัญหาคือถ้าตกซ้ำหลายวิชา จะทำอย่างไร ซึ่งก็อาจจะหนีไม่พ้นการตกซ้ำชั้นเหมือนกัน เรื่องใหญ่คือทำอย่างไรให้โรงเรียนสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ ไม่ใช่เด็กเรียนไม่ได้ก็ให้ผ่านไปเรื่อยๆ ส่วนจะเป็นแนวทางไหนนั้นก็จะต้องมีการระดมความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องด้วย ส่วนกรณีที่ สพฐ.จะไปพิจารณาเรื่องการกลับไปใช้เปอร์เซ็นต์ในผลการเรียนแทนการใช้ระบบเกรดเหมือนเดิมนั้น เรื่องนี้ยังไม่ได้มีการหารือกัน คงต้องนำไปหารือกับนักวิชาการ และผู้ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับเรื่องการเรียนการสอนและการวัดผลก่อน ดังนั้นเวลานี้จึงยังเป็นเรื่องที่ยังไม่ลงตัว และยังไม่มีข้อสรุป
ด้าน นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัด ศธ.กล่าวว่า การให้เด็กตกซ้ำชั้นจะต้องมองให้รอบด้าน เพราะปัจจุบันการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน หรือคุณภาพการเรียนการสอนมีหลายแนวทาง โดยในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ก็จะต้องไปดูรายละเอียด และหาแนวทางการแก้ปัญหาคุณภาพการศึกษาที่เหมาะสม ซึ่งการให้เด็กคนหนึ่งตกซ้ำชั้น ต้องดูด้วยว่าเด็กคนนั้นเรียนอ่อนทุกวิชาหรือไม่ ยกตัวอย่าง เด็กคนหนึ่งเรียนดีทุกวิชาแต่อ่อนในวิชาภาษาอังกฤษและสอบตกวิชานั้น แต่จะต้องตกซ้ำชั้น แบบนี้จะเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งอาจจะมีแนวทางให้ตกซ้ำเป็นรายวิชา หรืออาจะพิจารณาที่เกรดเฉลี่ย หากไม่ได้มาตรฐานที่กำหนด ก็อาจจะต้องให้ตกซ้ำชั้น เป็นต้น
“ปัจจุบันเราจัดการศึกษาโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญก็ควรจะต้องคิดหาวิธีการเพื่อมาพัฒนาช่วยเหลือเด็ก โดยโรงเรียนและครูจะมีบทบาทสำคัญที่จะต้องสังเกตและรู้ว่าเด็กคนใดมีปัญหาเรียนอ่อน หรือไม่ทันเพื่อน เพื่อจะได้เร่งแก้ไขปัญหา เพราะปัญหาการตกหรือไม่ตกซ้ำชั้น ไม่ใช่เรื่องสำคัญเท่ากับเรามีวิธีการใดที่จะช่วยแก้ไขจุดอ่อนของเด็ก” นางสุทธศรี กล่าว