NGO ถามนายกฯปู ไม่รู้หรือว่าแร่ใยหินอันตราย สับเละเตรียมเดินทางไปรัสเซีย เพื่อเจรจาให้ขายแร่ใยหินในไทยต่อ ทั้งที่ มติ ครม.เดิมสั่งแบน จวกกลืนน้ำลายตัวเอง ทำลายเจตนารมณ์ฝ่ายสนับสนุน เห็นแก่การค้ามากกว่าสุขภาพ ปชช.ด้านนักวิชาการชี้ไทยยังดื้อ ให้ดูฮ่องกงเป็นตัวอย่าง สั่งแบนแล้วทั้งหมด ฝ่าฝืนปรับ 8 แสนบาท
วันนี้ (4 ต.ค.) รศ.ภก.วิทยา กุลสมบูรณ์ ผู้จัดการแผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงการยกเลิกการใช้แร่ใยหินแอสเบสตอส ว่า เมื่อวันที่ 27 ก.ย.ที่ผ่านมา ประเทศฮ่องกง ได้ประกาศใช้กฎหมายการควบคุมมลพิษทางอากาศ 2013 เพื่อดำเนินการยกเลิกการใช้แร่ใยหินแอสเบสตอสทุกชนิด (รวมถึงแร่ใยหินสีขาว หรือ ไครโซไทล์) โดยโฆษกกรมป้องกันสิ่งแวดล้อม ได้ขยายขอบเขตการควบคุมการนำเข้าและการขายแร่ใยหิน จากเดิมที่เคยยกเลิกแร่ใยหินคลอซิโดไลท์ หรือใยหินสีฟ้า และอโมไซท์ หรือใยหินสีน้ำตาล รวมทั้งกิจการที่เกี่ยวกับการผลิตวัสดุที่ใช้ใยหินเหล่านี้ เป็นการยกเลิกการนำเข้าการส่งต่อทางเรือ การขาย การใช้แร่ใยหินทุกชนิด และวัสดุที่มีแร่ใยหินทุกชนิด การบังคับใช้ตามกฎหมายนี้ยังมีผลต่อข้อบังคับในการควบคุมโรงงานและการอุตสาหกรรม ทั้งนี้ กฎหมายยกเลิกการใช้ใยหินนี้ระบุโทษสูงสุดสำหรับการละเมิดไว้ถึง 800,000 บาท และจำคุก 6 เดือน
รศ.ภก.วิทยา กล่าวอีกว่า ฮ่องกงเป็นอีกหนึ่งประเทศในเอเชียต่อจาก ญี่ปุ่น เกาหลี สิงคโปร์ บรูไน ไต้หวัน ที่ยกเลิกการใช้แร่ใยหินแล้ว เช่นเดียวกับ ยุโรป ออสเตรเลีย แต่ประเทศไทยเสียโอกาสลดความเสี่ยงจากใยหิน ทั้งที่มี มติ ครม.ออกมาแล้ว แต่ยังหวังผลประโยชน์การค้าจากรัสเซีย มากกว่าชีวิต ผู้ใช้แรงงาน และผู้บริโภคไทย แทนที่จะทำให้ประเทศไทยเป็นผู้นำเรื่องนี้ในอาเซียน ทั้งนี้ แร่ที่ใยหินแอสเบสตอสเป็นสารก่อมะเร็งและการสูดอานุภาคของใยหินจะทำให้เกิดโรคแอสเบสโตซิส โรคปอด และมะเร็งเยื่อหุ้มปอด ดังนั้นการยกเลิกการใช้ใยหินทั้งหมดทุกชนิดจึงเป็นการขจัดความเสี่ยงต่อสุขภาพและเป็นการป้องกันสิ่งแวดล้อม
นางสมบุญ สีคำดอกแค ผู้ประสานงานเครือข่าย T-BAN และสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯเครือข่ายแรงงาน ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องขอทราบความคืบหน้าของการดำเนินการของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) โดยขอให้เปิดเผยรายงานผลการศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพจากแร่ใยหิน โดยคณะกรรมการศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพจากแร่ใยหินโดยเร็วที่สุด และแสดงความเป็นห่วงจากที่ได้รับทราบการที่นายกรัฐมนตรี จะได้ไปเยือนประเทศรัสเซีย และมีแนวโน้มที่จะมีการพูดคุยในเรื่องการให้มีการใช้ใยหินต่อไปในประเทศไทย จึงมีความกังวลต่อการที่ประเทศไทยได้นำประเด็นเรื่องการค้ากับประเทศรัสเซีย มาประกอบในการพิจารณาที่จะยกเลิกการใช้ใยหินไครโซไทล์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการนำเอาประโยชน์ที่จะได้รับทางการค้า มาใช้ตัดสินโดยไม่คำนึงถึงชีวิตและสุขภาพของประชาชน
“ล่าสุดทราบมาว่าจะกระทรวงอุตสาหกรรมจะมีการยกเลิกใยหินในสินค้าเพียงบางชนิด แต่ไม่ยอมยกเลิกในสินค้าที่มีการใช้ใยหินจำนวนมาก เช่น กระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้องปูพื้น ท่อน้ำซีเมนต์ เบรกและคลัตช์ เป็นต้น เชื่อว่าน่าจะเป็นแรงกดดันจากประเทศรัสเซีย ผ่านทางรัฐบาล และนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็จะเดินทางไปรัสเซีย จึงมีการแปรรูปอันตรายของใยหินไครโซไทล์ให้น้อยลงหรือไม่มีเลย โดยมีการดำเนินการเป็นขบวนการผ่านทั้งทางกระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงสาธารณสุข อย่างไม่คำนึงถึงชีวิตและสุขภาพของประชาชน ถือเป็นอาชญากรรมเงียบที่น่าตกใจ” นางสมบุญ กล่าวและว่า หากรัฐบาลพลิก มติ ครม.เดิมที่เคยให้มีการยกเลิกใยหิน ถือได้ว่าเป็นการทำลายเจตนารมณ์ของฝ่ายต่างๆ ที่สนับสนุน ทั้งภาคประชาชน องค์กรผู้บริโภค สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกรรมาธิการสาธารณสุข วุฒิสภา ที่เคยส่งเรื่องการยกเลิกใยหินให้ ครม.แบนไปตั้งแต่เดือนเมษายน ปี 2554
วันนี้ (4 ต.ค.) รศ.ภก.วิทยา กุลสมบูรณ์ ผู้จัดการแผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงการยกเลิกการใช้แร่ใยหินแอสเบสตอส ว่า เมื่อวันที่ 27 ก.ย.ที่ผ่านมา ประเทศฮ่องกง ได้ประกาศใช้กฎหมายการควบคุมมลพิษทางอากาศ 2013 เพื่อดำเนินการยกเลิกการใช้แร่ใยหินแอสเบสตอสทุกชนิด (รวมถึงแร่ใยหินสีขาว หรือ ไครโซไทล์) โดยโฆษกกรมป้องกันสิ่งแวดล้อม ได้ขยายขอบเขตการควบคุมการนำเข้าและการขายแร่ใยหิน จากเดิมที่เคยยกเลิกแร่ใยหินคลอซิโดไลท์ หรือใยหินสีฟ้า และอโมไซท์ หรือใยหินสีน้ำตาล รวมทั้งกิจการที่เกี่ยวกับการผลิตวัสดุที่ใช้ใยหินเหล่านี้ เป็นการยกเลิกการนำเข้าการส่งต่อทางเรือ การขาย การใช้แร่ใยหินทุกชนิด และวัสดุที่มีแร่ใยหินทุกชนิด การบังคับใช้ตามกฎหมายนี้ยังมีผลต่อข้อบังคับในการควบคุมโรงงานและการอุตสาหกรรม ทั้งนี้ กฎหมายยกเลิกการใช้ใยหินนี้ระบุโทษสูงสุดสำหรับการละเมิดไว้ถึง 800,000 บาท และจำคุก 6 เดือน
รศ.ภก.วิทยา กล่าวอีกว่า ฮ่องกงเป็นอีกหนึ่งประเทศในเอเชียต่อจาก ญี่ปุ่น เกาหลี สิงคโปร์ บรูไน ไต้หวัน ที่ยกเลิกการใช้แร่ใยหินแล้ว เช่นเดียวกับ ยุโรป ออสเตรเลีย แต่ประเทศไทยเสียโอกาสลดความเสี่ยงจากใยหิน ทั้งที่มี มติ ครม.ออกมาแล้ว แต่ยังหวังผลประโยชน์การค้าจากรัสเซีย มากกว่าชีวิต ผู้ใช้แรงงาน และผู้บริโภคไทย แทนที่จะทำให้ประเทศไทยเป็นผู้นำเรื่องนี้ในอาเซียน ทั้งนี้ แร่ที่ใยหินแอสเบสตอสเป็นสารก่อมะเร็งและการสูดอานุภาคของใยหินจะทำให้เกิดโรคแอสเบสโตซิส โรคปอด และมะเร็งเยื่อหุ้มปอด ดังนั้นการยกเลิกการใช้ใยหินทั้งหมดทุกชนิดจึงเป็นการขจัดความเสี่ยงต่อสุขภาพและเป็นการป้องกันสิ่งแวดล้อม
นางสมบุญ สีคำดอกแค ผู้ประสานงานเครือข่าย T-BAN และสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯเครือข่ายแรงงาน ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องขอทราบความคืบหน้าของการดำเนินการของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) โดยขอให้เปิดเผยรายงานผลการศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพจากแร่ใยหิน โดยคณะกรรมการศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพจากแร่ใยหินโดยเร็วที่สุด และแสดงความเป็นห่วงจากที่ได้รับทราบการที่นายกรัฐมนตรี จะได้ไปเยือนประเทศรัสเซีย และมีแนวโน้มที่จะมีการพูดคุยในเรื่องการให้มีการใช้ใยหินต่อไปในประเทศไทย จึงมีความกังวลต่อการที่ประเทศไทยได้นำประเด็นเรื่องการค้ากับประเทศรัสเซีย มาประกอบในการพิจารณาที่จะยกเลิกการใช้ใยหินไครโซไทล์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการนำเอาประโยชน์ที่จะได้รับทางการค้า มาใช้ตัดสินโดยไม่คำนึงถึงชีวิตและสุขภาพของประชาชน
“ล่าสุดทราบมาว่าจะกระทรวงอุตสาหกรรมจะมีการยกเลิกใยหินในสินค้าเพียงบางชนิด แต่ไม่ยอมยกเลิกในสินค้าที่มีการใช้ใยหินจำนวนมาก เช่น กระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้องปูพื้น ท่อน้ำซีเมนต์ เบรกและคลัตช์ เป็นต้น เชื่อว่าน่าจะเป็นแรงกดดันจากประเทศรัสเซีย ผ่านทางรัฐบาล และนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็จะเดินทางไปรัสเซีย จึงมีการแปรรูปอันตรายของใยหินไครโซไทล์ให้น้อยลงหรือไม่มีเลย โดยมีการดำเนินการเป็นขบวนการผ่านทั้งทางกระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงสาธารณสุข อย่างไม่คำนึงถึงชีวิตและสุขภาพของประชาชน ถือเป็นอาชญากรรมเงียบที่น่าตกใจ” นางสมบุญ กล่าวและว่า หากรัฐบาลพลิก มติ ครม.เดิมที่เคยให้มีการยกเลิกใยหิน ถือได้ว่าเป็นการทำลายเจตนารมณ์ของฝ่ายต่างๆ ที่สนับสนุน ทั้งภาคประชาชน องค์กรผู้บริโภค สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกรรมาธิการสาธารณสุข วุฒิสภา ที่เคยส่งเรื่องการยกเลิกใยหินให้ ครม.แบนไปตั้งแต่เดือนเมษายน ปี 2554